คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
ผมใช้วิธีเขียนอีเมล์ไปที่ ทรู customer service โดยตรงครับ โดยเนื้อหาในอีเมล์ผมแจ้งว่า ขอแจ้งสิทธิ์ตาม พรบ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ ข้าพเจ้าไม่ยินยอมให้กลุ่มบริษัททรูใช้ข้อมูลส่วนบุคคลตามหมายเลขบัตรประชานชน xxxx
แล้ว cc ตัวเองด้วยนะครับ ถ้าหากยังโดนทรูละเมิด เราสามารถนำอีเมล์นี้ไปฟ้องร้องตาม พรบ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้ครับ
แล้ว cc ตัวเองด้วยนะครับ ถ้าหากยังโดนทรูละเมิด เราสามารถนำอีเมล์นี้ไปฟ้องร้องตาม พรบ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้ครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 23
ผมได้รับแจ้งมาทางหลังไมค์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการขอความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งก็ไม่ได้ตอบคำถามที่มีคนสงสัยในความเห็นก่อนหน้าเลย ผมจะไม่เปิดเผยเนื้อหาข้อความดังกล่าว แต่ผมมีคำถาม 2 ข้อ ง่าย ๆ ที่ถ้าตอบได้ ลูกค้าท่านอื่น ๆ และคนทั่วไปน่าจะหายสงสัย และผมเองก็จะหายสงสัยไปด้วย
1. "มีความจำเป็นอะไร" ที่ (อาจ) จะเปิดเผยข้อมูลลูกค้าแก่บริษัทพันธมิตรที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับประกันภัย และ/หรือ การเงินการลงทุน
2. สำหรับลูกค้าท่านอื่น ๆ จะกด "ไม่ยินยอม" ได้อย่างไร
ผมจะยกตัวอย่างของแอพที่ดี ที่แยกการขอใช้ข้อมูลเพื่อพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตัวเอง และการเปิดเผยแก่บริษัทในเครือ และ/หรือ บริษัทพันธมิตรครับ

เป็นหน้าจอของแอพเป๋าตังเวอร์ชั่นเก่าครับ
แค่นี้เองครับ แต่ละหัวข้อการขอใช้ข้อมูลชัดเจน ควรนำเรื่องนี้ไปพิจารณาอย่างจริงจังนะครับ
1. "มีความจำเป็นอะไร" ที่ (อาจ) จะเปิดเผยข้อมูลลูกค้าแก่บริษัทพันธมิตรที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับประกันภัย และ/หรือ การเงินการลงทุน
2. สำหรับลูกค้าท่านอื่น ๆ จะกด "ไม่ยินยอม" ได้อย่างไร
ผมจะยกตัวอย่างของแอพที่ดี ที่แยกการขอใช้ข้อมูลเพื่อพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตัวเอง และการเปิดเผยแก่บริษัทในเครือ และ/หรือ บริษัทพันธมิตรครับ

เป็นหน้าจอของแอพเป๋าตังเวอร์ชั่นเก่าครับ
แค่นี้เองครับ แต่ละหัวข้อการขอใช้ข้อมูลชัดเจน ควรนำเรื่องนี้ไปพิจารณาอย่างจริงจังนะครับ
ความคิดเห็นที่ 34
เลิกใช้ค่ายนี้ไปหลายปีแล้ว
ทำธุรกิจแบบไม่ค่อยมีศักดิ์ศรี ทำราวกับว่า ถ้าขายของตรงไปตรงมา จะไม่มีใครซื้องั้นแหละ
ในขณะที่พยายามงุบงิบเงินไม่กี่บาทจากลูกค้า กลับไปทุ่มเงินไม่รู้กี่ล้านเพื่อการโฆษณาตัวเองว่าแสนจะโปร่งใส ตลกดี
เวลาดูทีวีแล้วเจอโฆษณาตัวเองว่า โปร่งใสถึงขั้นได้รางวัล ทำโน่นนี่นั่นเพื่อสังคมแล้ว เฮ้อ ... อยากจะอาเจียน กดเปลี่ยนช่องโดยไว
คนเลว จะเลวมากขึ้นเมื่อแสร้งทำเป็นคนดี
นิสัยทำธุรกิจเหมือนพ่อเขาแหละ
ทำธุรกิจแบบไม่ค่อยมีศักดิ์ศรี ทำราวกับว่า ถ้าขายของตรงไปตรงมา จะไม่มีใครซื้องั้นแหละ
ในขณะที่พยายามงุบงิบเงินไม่กี่บาทจากลูกค้า กลับไปทุ่มเงินไม่รู้กี่ล้านเพื่อการโฆษณาตัวเองว่าแสนจะโปร่งใส ตลกดี
เวลาดูทีวีแล้วเจอโฆษณาตัวเองว่า โปร่งใสถึงขั้นได้รางวัล ทำโน่นนี่นั่นเพื่อสังคมแล้ว เฮ้อ ... อยากจะอาเจียน กดเปลี่ยนช่องโดยไว
คนเลว จะเลวมากขึ้นเมื่อแสร้งทำเป็นคนดี
นิสัยทำธุรกิจเหมือนพ่อเขาแหละ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมลูกค้า TrueOnline ไม่สามารถกด "ไม่ยินยอม" การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้?
คำถามคือ "ทำไมไม่มีตัวเลือก 'ไม่ยินยอม' ให้ผม" ?
ซึ่งบอกตรง ๆ ผมตกใจและงง (+หงุดหงิดมาก) เพราะเนื้อหาในข้อตกลงบอกชัดเจนว่า เอาข้อมูลไปทำ targeted ads เอาไปทำการตลาดและอาจเปิดเผยข้อมูลแก่พันธมิตรของบริษัทในกลุ่ม True (ซึ่งความเห็นส่วนตัวคิดว่า น่าจะเอาไปเปิดเผยแน่ๆ 5555) คือคุณจ่ายเงินค่าบริการรายเดือนทุกเดือน แล้วบังคับคุณให้มอบข้อมูลเพื่อไปหาประโชน์ให้ตัวเองอีก
สำหรับผู้ที่ไม่ทราบว่า targeted ads คืออะไร
มันคือการที่ผู้ให้บริการโฆษณาเอาข้อมูลของเราหรือข้อมูลพฤติกรรมของเราไปประมวลผล จนได้เป็นองค์ความรู้ว่าเราชอบอะไร สนใจอะไร และทำนายต่อได้ว่า เราอาจจะชอบอะไร จากนั้นก็สร้างเป็นโฆษณาหรือเป็นการแนะนำสินค้าและผลิตภัณฑ์หรือบริการ ที่คาดว่าเราน่าจะชอบน่าจะสนใจ มายัดเยียดให้เราเห็น ลองนึกถึงโฆษณาในเฟสบุค หรือในลาซาด้า ที่เคยสงสัยมั้ยครับ ว่าทำไมมันรู้ใจเราจัง? นั่นละครับ targeted ads
พอผมอ่านทุกอย่างหมดทุกตัวอักษร ยิ่งหงุดหงิดไปใหญ่ ถ้าสังเกตตัวอักษรสีเทาอ่อน ๆ ข้างล่าง จะมีการเขียนรายชื่อบริษัทพันธมิตรที่อาจนำข้อมูลไปเปิดเผยได้ ตั้งแต่หมายเลข 9 - 13 ซึ่งแน่นอนมีบริษัทประกันประกอบอยู่ในนั้นด้วย และที่พีคสุดๆ (และทำให้โมโหสุดๆ ด้วย) คือการมีแต่ปุ่ม "ยินยอม" ตัวใหญ่เท่าบ้าน ให้กด แต่ไม่มีปุ่ม "ไม่ยินยอม"
ถ้าใครเคยสมัครแอคเค้าจากเว็บที่อยู่ในต่างประเทศ อาจจะเคยเห็นเว็บที่มีปุ่ม Accept ลอยๆ ให้เรากด ถ้าสังเกตสักนิด จะพบว่า "ทุกเว็บ" เหล่านั้น จะมีปุ่ม "ไม่ยอมรับ" อยู่ด้วยเสมอ แม้ว่าจะจาง ๆ หรือตัวเล็กเท่าไหร่ก็ตาม แต่นี่ บริษัทเครือข่ายชั้นนำของไทย กลับพยายามบีบคอให้ลูกค้ากด "ยอมรับ" ให้เอาข้อมูลของเราไปให้คนอื่นโดยไม่มีตัวเลือกเลย แบบนี้ถูกต้องแล้วเหรอครับ?
ผมทราบว่าการบังคับใช้ "พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒" หรือ Personal Data Protection Act (PDPA) ถูกเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ตามประกาศพระราชกฤษฎีกาเล่ม 138 ตอนที่ 32 ก ด้วยเหตุผลความไม่พร้อมและอะไรหลายๆ อย่าง แต่ทำแบบนี้ มันคือการใช้ช่องโหว่ของกฎหมายอาศัยช่วง grace period เพื่อผลประโยชน์ก่อนมีการบังคับใช้ มันไม่มากไปเหรอครับ?
โดยเบื้องต้นผม "ยัง" ไม่ได้กดยินยอม แต่กดกากบาททางด้านขวาบนของหน้าเว็บบีบคอนี้แทน เพราะผมทำได้เท่านี้จริงๆ และผมทำด้วยความ "ไม่ยินยอม" ในเจตนาด้วย ก็ไม่รู้ว่าทาง True บันทึกเข้าระบบว่าผมยินยอมไปแล้วหรือยัง
เพื่อน ๆ มีความเห็นยังไงบ้างครับกับเรื่องนี้