สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า tidal locking ครับ
อธิบายคร่าว ๆ ก็คือ แรงดึงดูดที่ดาวแม่ (โลก) กระทำต่อดาวลูก (ดวงจันทร์) ในแต่ละจุดของดาวลูกจะไม่เท่ากัน จุดที่ดาวลูกอยู่ใกล้ดาวแม่มากกว่าจะโดนดูดมากกว่า และจุดที่อยู่ไกลจะโดนดูดน้อยกว่า ซึ่งจะทำให้ดาวลูกป่องขึ้นเล็กน้อย
ในขณะที่ดาวลูกยังมีคาบการหมุนรอบตัวเองไม่เท่าคาบการโคจร การป่องนี้จะเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ (คือด้านไหนหมุนมาหาดาวแม่ก็จะป่องตรงนั้น) ทำให้เกิดแรงเสียดทานขึ้น และทำให้คาบการหมุนรอบตัวเองช้าลง จนในที่สุดคาบการหมุนรอบตัวเองก็จะเท่ากับคาบการโคจรรอบดาวแม่
ปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะดวงจันทร์ของโลกครับ แต่เกิดกับดวงจันทร์จำนวนมากในระบบสุริยะคือ
Earth: Moon
Mars: Phobos · Deimos
Jupiter: Metis · Adrastea · Amalthea · Thebe · Io · Europa · Ganymede · Callisto
Saturn: Pan · Atlas · Prometheus · Pandora · Epimetheus · Janus · Mimas · Enceladus · Telesto · Tethys · Calypso · Dione · Rhea · Titan · Iapetus
Uranus: Miranda · Ariel · Umbriel · Titania · Oberon
Neptune: Proteus · Triton
Pluto <--> Charon
กรณีของพลูโตและคารอนนี่พิเศษหน่อย เพราะพลูโตก็หมุนรอบตัวเองเท่ากับคาบการโคจรของคารอนเช่นกัน นั่นคือพลูโตและคารอนต่างก็หันด้านเดียวเข้าหากันซึ่งกันและกัน
นอกจากนี้ยังมีกรณีพิเศษคือ ดาวพุธ ซึ่งจะหมุนรอบตัวเอง 3 รอบทุก ๆ การโคจรอรอบดวงอาทิตย์ 2 รอบ ซึ่งความสมดุลนี้เกิดจากปัจจัยอื่นมาเสริม เช่น ความรีของวงโคจร
อธิบายคร่าว ๆ ก็คือ แรงดึงดูดที่ดาวแม่ (โลก) กระทำต่อดาวลูก (ดวงจันทร์) ในแต่ละจุดของดาวลูกจะไม่เท่ากัน จุดที่ดาวลูกอยู่ใกล้ดาวแม่มากกว่าจะโดนดูดมากกว่า และจุดที่อยู่ไกลจะโดนดูดน้อยกว่า ซึ่งจะทำให้ดาวลูกป่องขึ้นเล็กน้อย
ในขณะที่ดาวลูกยังมีคาบการหมุนรอบตัวเองไม่เท่าคาบการโคจร การป่องนี้จะเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ (คือด้านไหนหมุนมาหาดาวแม่ก็จะป่องตรงนั้น) ทำให้เกิดแรงเสียดทานขึ้น และทำให้คาบการหมุนรอบตัวเองช้าลง จนในที่สุดคาบการหมุนรอบตัวเองก็จะเท่ากับคาบการโคจรรอบดาวแม่
ปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะดวงจันทร์ของโลกครับ แต่เกิดกับดวงจันทร์จำนวนมากในระบบสุริยะคือ
Earth: Moon
Mars: Phobos · Deimos
Jupiter: Metis · Adrastea · Amalthea · Thebe · Io · Europa · Ganymede · Callisto
Saturn: Pan · Atlas · Prometheus · Pandora · Epimetheus · Janus · Mimas · Enceladus · Telesto · Tethys · Calypso · Dione · Rhea · Titan · Iapetus
Uranus: Miranda · Ariel · Umbriel · Titania · Oberon
Neptune: Proteus · Triton
Pluto <--> Charon
กรณีของพลูโตและคารอนนี่พิเศษหน่อย เพราะพลูโตก็หมุนรอบตัวเองเท่ากับคาบการโคจรของคารอนเช่นกัน นั่นคือพลูโตและคารอนต่างก็หันด้านเดียวเข้าหากันซึ่งกันและกัน
นอกจากนี้ยังมีกรณีพิเศษคือ ดาวพุธ ซึ่งจะหมุนรอบตัวเอง 3 รอบทุก ๆ การโคจรอรอบดวงอาทิตย์ 2 รอบ ซึ่งความสมดุลนี้เกิดจากปัจจัยอื่นมาเสริม เช่น ความรีของวงโคจร
แสดงความคิดเห็น
ทำไมดวงจันทร์ถึงใช้เวลาหมุนรอบตัวเองเท่ากับโคจรรอบโลกพอดี มันจะเปะเลยเหรอคะ