ทำไมคนไทยบางส่วนยังยึดติดกับคำว่า "สถาบัน" ทั้ง ๆที่โลกเค้าไปถึงไหนแล้ว ??

เมื่อวานแม่บอกว่า เห็นเพื่อนในเฟสเลี้ยงฉลองกันใหญ่โตเนื่องจากหลานของเพื่อนสอบถามสถาบันดังมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ  เราก็ได้แต่เออออไปแล้วก็ไม่ได้สนใจอะไรสักเท่าไหร่ ? 

ก็เข้าใจว่าการสอบติดหรือได้เข้าเรียนสถาบันดัง ๆ มีชื่อเสียง  มันก็คงน่าภูมิใจมั้งนะ  ถือว่าเป็นเกียรติภูมิอย่างยิ่ง  ถือเป็นความภูมิใจของตระกูลเลยหรือเปล่า   แล้วคนอื่น ๆละ  ที่เค้าเรียนสถาบันที่ไม่มีชื่อเสียง ไม่ดัง และถูกมองว่าเป็นสถาบันของเด็กฉลาดน้อย  (อันนี้สังคมมองซะส่วนใหญ่)  หรือถ้าอยากให้แบบถึงแม้จะไม่ได้ฉลาดมากแต่ก็มีเงิน ก็เข้าเอกชนดัง ๆ ก็พอจะได้อยู่  ค่าเทอมเอกชนก็แพงนะ แต่ถ้ารวยก็เอาเลย แต่ถ้ารวยจริงไปเรียนต่างประเทศดีกว่า

สังคมไทยบางส่วนยังดักดานและยึดติดกับค่านิยมว่า เรียนสถาบันดัง ๆ มีชื่อเสียงจะดูเป็นคนเก่ง คนน่าชื่นชม  น่ายกย่อง  และเป็นหน้าเป็นตาของวงศ์ตระกูล   เอาง่าย ๆ นะ ลองให้เด็ก 2 คนมายืนตรงหน้า  แล้วถามว่าเรียนสถาบันไหนคะ  อีกคนบอกว่า  จุ..... อีกคนบอก  ราช......   เอาตรง ๆนะ ใครภาษีดีกว่า  ใครน่าจะได้รับความชื่นชมมากกว่า   โดยเด็กสองคนนี้อาจจะเก่งพอ ๆ กัน  อีกคนเก่งทฤษฎี  อีกคนเก่งปฎิบัติ   แต่เพียงแต่อีกคนไม่ชอบเรียนท่อง ๆ เพื่อไปสอบ  

และประเทศไทยยังกระจายครูเก่ง ๆ ดี ๆ ได้น้อย   ครูเก่ง ๆ ส่วนใหญ่จะเลือกอยู่สถาบันดังๆ อยู่แล้วเพราะถือว่าสอนโรงเรียนดังได้ภาษีและน่าเอาไปแชร์สังคมมากกว่า  และการสอบครูบรรจุครูก็มีให้เลือกลงว่าจะลงที่ไหน  สอนที่ไหน คะแนนดีกว่าก็ได้เลือกและก็จะเลือกโรงเรียนระดับแนวหน้า

แต่หารู้ไหมว่า    ปัจจุบันโลกไปไกลแล้ว และสถาบันที่เราเห็นว่าอันดับหนึ่งของไทย   คืออันดับที่ หกร้อยกว่า  ๆของโลก

แล้วเราจะจมปรับกับความคิดเดิม ๆ ทำไม  ว่าต้องไปเรียนที่นั่นที่นี่    ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมคนไทยยังดักดานอยู่กับความคิดเดิม ๆ 

และเด็กบางคนที่สอบติดและเรียนสถาบันดัง ๆ ก็ยังวังวนอยู่กับความคิดว่าเก่ง  แน่  และอีโก้แรง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่