JJNY : 4in1 บีทีเอสทวงหนี้3หมื่นล./ไทยทุ่มเงินในเมียนมาแล้วกว่า3แสนล./อาเซียนเตือนเมียนมา/เอกชนหวั่นรปห.เมียนมาดันแรงงาน

บีทีเอส "โนติส" ทวงหนี้ 3 หมื่นล้านบาท
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/920290

 
 
บีทีเอส มีหนังสือถึงกรุงเทพธนาคม ขอให้ชำระค่าจ้างเดินรถและค่าจัดซื้อระบบการเดินรถ 3 หมื่นล้านบาท
 
รายงานข่าวแจงว่า บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารรถไฟฟ้าบีทีเอส มีหนังสือถึงบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ลงวันที่ 1 ก.พ.2564 ขอให้ชำระค่าจ้างเดินรถและค่าจัดซื้อระบบการเดินรถของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย รวม 3 หมื่นล้านบาท
 

 
อดีต-ปัจจุบัน : ไทยทุ่มเงินในเมียนมาแล้วกว่า 3 แสนล้าน
https://voicetv.co.th/read/fFGxUyt8-
 
ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา 'สิงคโปร์' ครองตำแหน่งนักลงทุนต่างชาติสูงสุดตามกฎหมายลงทุนปกติ ขณะ 'ญี่ปุ่น' ครองแชมป์จากฝั่งกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ
 
ตามข้อมูล จากคณะกรรมการบริหารจัดการการลงทุนแห่งเมียนมาสะท้อนชัด ‘ไทย’ คือหนึ่งในประเทศนักลงทุนสำคัญของเมียนมานับตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน 
 
เมื่อมองเม็ดเงินลงทุนรวมตั้งแต่ปีงบประมาณ 2531-2532 มาจนถึงปีงบประมาณ 2553-2554 ไทยเข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านที่เพิ่งเกิดการรัฐประหาร (1 ก.พ. 2564) แล้วทั้งสิ้น 9,568 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 287,040 ล้านบาท เป็นรองเพียงแค่จีนที่มีเม็ดเงินลงทุนรวมสูงกว่าเล็กน้อยที่ 9,596 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 287,880 ล้านบาท 
 
เท่านั้นยังไม่พอ นับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556-2557 มาจนถึงปี 2563 มีเพียงแค่ 2 ปีงบประมาณเท่านั้นที่ไทยเข้าไปลงทุนด้วยเม็ดเงินต่ำกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 3,000 ล้านบาท 
 
วอยซ์’ พบว่า ในปีงบประมาณ 2556-2557 นั้น ไทยเข้าไปลงทุนในเมียนมาสูงถึง 529 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 15,870 ล้านบาท 
 
เมื่อรวมตัวเลขคาดการณ์การลงทุนรวมของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปลายปีงบประมาณ 2564 สูงถึง 11,430 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 342,900 ล้านบาท
 
ในเอกสารการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของเมียนมา (FDI) เมื่อสิ้น ธ.ค.ซึ่งเมียนมายังอยู่ภายใต้การบริหารประเทศที่มี ‘อู วินมิ่นท์’ นั่งเป็นประธานาธิบดี พบว่าไทยเตรียมเข้าไปลงทุนในเมียนมาด้วยมูลค่ารวมประมาณ 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 720 ล้านบาท ระหว่างปีงบประมาณ 2563-2564 นี้ 
 
ทั้งนี้หากมองตัวเลขในช่วงปัจจุบัน ‘สิงคโปร์’ ลงทุนในเมียนมาด้วยเม็ดเงินมหาศาลที่ไม่เคยต่ำกว่าหลักพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แม้แต่ปีเดียวนับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557-2558 เป็นต้นมา สูงกว่าทั้งจีนและญี่ปุ่น
 
สิงคโปร์ครองแชมป์
 
หากจัดอันดับนักลงทุนโดยตรงในเมียนมา (ตามกฎหมายการลงทุนปกติ) ผ่านมูลค่าเม็ดเงินลงทุนระหว่างปีงบประมาณ 2559-2560 ถึงปีงบประมาณ 2563-2564 สิงคโปร์ครองอันดับที่หนึ่งด้วยมูลค่ากว่า 11,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 330,000 ล้านบาท
 
ขณะที่จีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกงครองอันดับที่ 2 และ 3 ตามลำดับ ด้วยเม็ดเงิน 3,500 และ 2,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 105,000 และ 72,000 ล้านบาท ตามลำดับ
 
ฝั่งประเทศเพื่อนบ้านของไทยซึ่งมีเศรษฐกิจเติบโตแซงหน้าประเทศอื่นๆ ท่ามกลางวิกฤตโรคระบาดอย่างเวียดนามติดเข้ามาอยู่ในอันดับที่ 4 ด้วยเม็ดเงินลงทุนรวม 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 45,000 ล้านบาท โดยมีญี่ปุ่นปิดท้ายในลำดับที่ 5 ด้วยเงินลงทุนที่น้อยกว่าเวียดนามราว 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 3,300 ล้านบาท 
 
อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาเดียวกันกับสถิติข้างต้น แต่เปลี่ยนมาพิจารณาฝั่งการลงทุนภายใต้กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ (special economic zone law) พบว่า ญี่ปุ่นขึ้นมาเบอร์หนึ่งในฐานะผู้ลงทุนด้วยเม็ดเงินรวม 447 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 13,410 ล้านบาท 
 
ด้านสิงคโปร์และไทยตามเข้ามาอยู่ในลำดับที่ 2 และ 3 ตามลำดับ ด้วยเม็ดเงิน 415 และ 175 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 12,450 และ 5,250 ล้านบาท ขณะที่เกาหลีใต้และไต้หวันตามเข้ามาในลำดับที่ 4 และ 5 ด้วยเม็ดเงิน 96 และ 63 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 2,880 และ 1,890 ล้านบาท ตามลำดับ 
 
หากวิเคราะห์ให้ลึกลงมาไป พบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่ต่างประเทศให้ความสนใจเข้าไปลงทุนอย่างมากได้แก่ กลุ่มธุรกิจพลังงาน พร้อมด้วยธุรกิจน้ำมันและแก๊ส คิดเป็นเม็ดเงินที่เมียนมาคาดจะได้รับ นับจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2564 สูงถึง 22,898 และ 22,773 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 686,940 และ 683,190 ล้านบาท ตามลำดับ 
 
อ้างอิง; DICA , World Bank, UNCTAD
 

 
อาเซียนเตือนเมียนมา เคารพกฎบัตรอาเซียน จี้หาทางเจรจาปรองดอง
https://www.matichon.co.th/foreign/news_2557742
 
อาเซียนเตือนเมียนมาเคารพกฎบัตรอาเซียน จี้หาทางเจรจาปรองดอง
 
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรูไน ในฐานะประธานอาเซียนได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับพัฒนาการในเมียนมาโดยระบุว่า ชาติสมาชิกอาเซียนกำลังติดตามพัฒนาการของสถานการณ์ในเมียนมาอย่างใกล้ชิด อาเซียนขอให้คำนึงถึงเป้าหมายและหลักการที่ปรากฏในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งรวมถึงการยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย กฎหมาย และธรรมาภิบาล การเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชน รวมถึงเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
 
แถลงการณ์อาเซียนระบุอีกว่า เราขอเน้นย้ำว่าความมั่นคงทางการเมืองในชาติสมาชิกอาเซียนเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเป็นประชาคมอาเซียนที่มีสันติภาพ ความมั่นคง และมั่งคั่ง เราส่งเสริมให้มีการเข้าสู่กระบวนการเจรจา การปรองดอง และการทำให้สถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ ซึ่งสอดคล้องเจตนารมณ์และผลประโยชน์ของประชาชนชาวเมียนมา
 
 https://twitter.com/ASEAN/status/1356190653454008326
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่