พิพิธภัณฑ์วัดลี อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

โบราณวัตถุที่ถูกทอดทิ้งอยู่ตามวัดร้างต่างๆ ในจังหวัดพะเยาจำนวนมาก ได้ถูกรวบรวมและนำมาเก็บรักษาไว้โดยพระสงฆ์ 2 รูป
คือ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ หอวัฒนธรรมนิทัศน์ ในบริเวณวัดศรีโคมคำ
และ พระครูอนุรักษ์บุรานันท์ (บุญชื่น ฐิตธมฺโม) ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑ์วัดลี 


จากจารึกวัดลี
เจ้าสี่หมื่นเป็นตำแหน่งเจ้าเมืองพยาว-ที่ได้รับการแต่งตั้งจากอาณาจักรเชียงใหม่
ปรากฎครั้งแรกปี พ.ศ. 1954 โดยพระเจ้าสามฝั่งแกน ได้แต่งตั้งอาเลี้ยงขึ้นครองเมืองพยาวเพราะสนับสนุนให้พระองค์ได้ขึ้นครองเชียงใหม่
และเจ้าสี่หมื่นพยาวอีกองค์คือ หมื่นหน่อเทพครู - โอรสของพระยายุทธิษฐิระ เป็นราชครูของพญายอดเชียงราย
เมื่อ พ.ศ.2038 ซึ่งเป็นปีที่พระเจ้ายอดเชียงรายสวรรคต เจ้าสี่หมื่นพะเยาก็ได้สร้างวัดลี และถวายที่นาให้วัด เรียกว่า “นาจังหัน” - คนที่ทำนาในจังหันต้องเสียภาษีให้วัด เป็นการบำรุงวัด


เมื่อล้านนา ตกอยู่ในการปกครองของพม่า ประชาชนถูกข่มเหงจึงหนีไปทำให้วัดส่วนใหญ่กลายเป็นวัดร้าง วัดลีก็เช่นกัน
ได้รับการบูรณปฎิสังขรณ์ครั้งใหญ่ และยกเป็นวัดอีกครั้ง พ.ศ. 2463-2478 โดยพระครูบาศรีวิชัย ตนบญแห่งล้านนา มาเป็นผู้นำในการบูรณะ
(คำว่าล้านนาใช้ตั้งแต่สมัยพระเจ้าติโลกเป็นต้นมา)




เนื่องจาก เมืองพยาวตั้งอยู่ริมน้ำอิง ด้านข้าง (ก้ำแปลว่าข้าง) ของภูเขา (ภู) ตามแนวยาว นักวิชาการจึงสันนิษฐานว่า มาจากคำว่า
ภูก้ำยาว >> ภูกามยาว >> พยาว 
เป็นเมืองในกลุ่มที่ตั้งอยู่ริมน้ำที่ไหลลงแม่น้ำโขงคือ สาย กก อิง สัมพันธ์กับนครหิรัญเงินยาง
โดย ขุนจอมธรรม ปฐมกษัตริย์ของพยาว เป็นเชื้อสายกษัตริย์หิรัญเงินยางเชียงแสน ได้ยกไพร่พลมาตั้งเมืองใหม่ชื่อ พยาว
เวียงแห่งแรกมีผังเมืองเป็นรูปน้ำเต้าเรียก "เวียงน้ำเต้า"
ต่อมาในสมัยพญาสิงหราชได้มีการขยายชุมชนออกมาทางกว๊านพะเยา
เป็นเวียงรูปสี่เหลี่ยมเรียก "เวียงลูกตะวันตก" ถือว่าเวียงทั้งสองเป็นเวียงแฝด และเป็นเวียงหลักของพะเยา
นอกจากนี้ยังมีเวียงบริวารอื่น ๆ อีกหลายเมือง
ทำให้เห็นได้ว่า เวียงคือบริเวณที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ แต่ไม่ใช่ชื่อของเมืองหรืออาณาจักร


เมืองพะเยา ปรากฎชื่อครั้งแรกในในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 (วัดศรีชุม) - พุทธศตวรรษที่ 19-20
ซึ่งเล่าย้อนเหตุการณ์ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 มีชื่อเมืองพยาว ว่าในสมัยพ่อขุนศรีนาวนำถุม แห่งเมือสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย เมืองพยาวมีความเจริญรุ่งเรือง

ในสมัยพญางำเมือง ท่านก็ได้ไปเล่าเรียนที่เมืองละโว้กับพ่อขุนรามคำแหง และพญามังราย
แล้วท่านทั้งสามก็ได้ร่วมทำสัญญาเป็นพันธมิตรกันที่บริเวณสบร่องขุย
- ขุยเป็นร่องน้ำที่มาจากเทือกเขาในเขตอำเภอดอกคำใต้ ไหลมาลงน้ำอิงที่นี่ - จึงเรียก สบ

ได้พบฐานอิฐเป็นแนวยาวตามชายฝั่งน้ำ และวัตถุโบราณมากมาย
ที่สำคัญคือ วัดลีจัดแสดง จารึก และ พระพุทธรูปมีจารึกที่ฐาน ที่นำมาจากสบร่องขุยบอกว่าสถานที่นี้ เป็นริมฝั่งน้ำอิงที่ทำสัญญาเป็นพันธมิตรกัน


ส่วนบนของจารึกรูปใบเสมามีรูปดวงฤกษ์ - เวลาที่บันทึกเรื่องราว
ส่วนล่างเป็นข้อความกล่าวถึงคำสนทนาของ  ... ลาวงำเมิง ... และ พะญาร่วง ซึ่งเกิดการสันนิษฐานว่า อาจมีพญามังรายร่วมสนทนาด้วย




ในช่วงปลายสมัยสุโขทัย เจ้าสามพระยาได้พระราชธิดาในพระมหาธรรมราชาที่ 2 ที่ครองกรุงสุโขทัยเป็นพระมเหสี
(พระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นพระโอรสของพญาลิไท - พระมหาธรรมราชาที่ 1)
- เป็นการผนวกอาณาจักรโดยการอภิเษกสมรส -

พระโอรสของเจ้าสามพระยาคือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ให้คำมั่นไว้กับ พระยายุทธิษฐิระ เพื่อนสนิทยามพระเยาว์ว่า
" ถ้าพระองค์ได้ขึ้นครองอยุธยา จะให้พระยายุทธิษฐิระครองสุโขทัย "
แต่เมื่อขึ้นครองสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถกลับให้พระยายุทธิษฐิระไปครองสองแคว แทนที่จะเป็นพระร่วงเจ้าสุโขทัย
พระยายุทธิษฐิระจึงไปเข้ากับพระเจ้าติโลกราช  พระเจ้าติโลกได้ให้พระยายุทธิษฐิระไปครองเมืองพยาว
พระพุทธศาสนาจึงได้รับการทำนุบำรุงมีความเจริญรุ่งเรือง จึงพบจารึกที่บอกถึงงานบุญที่ชนชั้นสูงได้ทำบุญอุทิศแก่พุทธศาสนาจำนวนมาก


มีการสร้างวัดหลายวัด
มีการสร้างพระพุทธรูปหินทรายมากที่สุดในประเทศไทย
พระพุทธรูปหินทรายจะแกะจากหินทรายทั้งก้อน ไม่ได้แกะแต่ละส่วนแล้วเอามาต่อกันแบบอยุธยา
มีความละเอียด นิ่มนวล


พระพุทธรูปหินทรายเดิมอยู่ในวิหารวัดลี


พระพุทธรูปส่วนใหญ่จะมีพระพักตร์ยิ้ม


เศียรพระพุทธรูปมีพระพักตร์กลมเป็นรูปไข่ ได้รับอิทธิพลสุโขทัย และ องค์พระ พบที่วัดติโลกอาราม กลางกว๊านพะเยา 

นิยมทำรูปช้างแบกฐานบัวรับพระพุทธรูป




พับสาเขียนด้วยทองคำ


และ อื่น ๆ 





ดาบด้ามเหลืองเป็นดาบที่ผ่านการใช้งาน - มีจารึกอาคมด้วย 








จบเรื่องด้วยส้วมหินทรายแกะ นะคะ




แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่