SS Baychimo เรือผีที่แล่นได้ไกลและนานที่สุดในโลก

1.

.
เรือไม่ต้องการจม ชาวเรือรักเรือยิ่งนัก
แต่บางครั้งมีพลังบางอย่างที่มองไม่เห็น
ทำให้เรือไร้กัปตันและลูกเรือลอยลำอยู่ได้
ทั้งยังแล่นไปได้ไกลแล่นไปได้นานที่สุดในโลก
เรือลำนี้คือ SS Baychimo

เป็นเวลาเกือบ 4 ทศวรรษ
หลังจากที่เธอถูกทิ้งร้าง
เรือที่มีระวางบรรทุกขนาด 1,322 ตัน
เรือลำนี้แล่นไปในทะลอาร์กติก
โดยไม่ใช้เชื้อเพลิง กัปตันและลูกเรือ
มีเพียงคลื่น ลม กระแสน้ำในทะเลเท่านั้น

จนกระทั่งเธอหายไปเมื่อ 50 ปีก่อน
แต่บางคนยังเชื่อว่า
เธอยังคงล่องลอยอยู่ที่นั่น
ท่ามกลางภูเขาน้ำแข็งที่เย็นเยือกแข็ง
.
2.

.


© Martin Triple Marine Steam Engine

.
ในปี 1914 เรือ SS Baychimo ออกจากอู่ต่อเรือ
เดิมเธอชื่อว่า Ångermanelfven
ตั้งตามชื่อแม่น้ำ Ångerman ที่ยาวลำดับที่ 3 ของสวีเดน
ความยาว 460 กิโลเมตร(290 ไมล์)
รองจากแม่น้ำ Göta älv กับ Lule
เธอได้รับการออกแบบและสร้างโดย
อู่ต่อเรือรบสวีเดน Lindholmens
ให้กับ Baltische Reederei GmbH
บริษัทเยอรมันที่ตั้งอยู่ใน Hamburg
.

.
เรือลำนี้โครงสร้าง/ชิ้นส่วนส่วนใหญ่
ทำด้วยเหล็กยาว 230 ฟุต (70.1 เมตร)
มีระวางบรรทุกน้ำหนักได้ 1,322 ตัน
และขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักรไอน้ำ
Triple Expansion Steam Engine
ความเร็ว 10 knots (19 km/h; 12 m/h)
และเธอยังติดตั้งอุปกรณ์เรือใบ
เพื่อช่วยขับเคลื่อนในบางโอกาศ
.
3.


ลูกเรือ Baychimo กำลังขนย้ายข้าวของ
ออกจากเรือที่ติดค้างบนก้อนน้ำแข็ง

.
เรือ Ångermanelfven ใช้เป็นเรือพาณิชย์
โดยเจ้าของเธอเป็นชาวเยอรมัน
เธอแล่นรอบทะเลบอลติก
แล่นระหว่าง Hamburg-Sweden
จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่มขึ้น
เรือลำนี้ถูกดัดแปลงใช้งานทางทหาร

หลังจากสงครามโลกครั้งที่1 ยุติลง
เธอตกเป็นของรัฐบาลอังกฤษ
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของค่าปฏิกรรมสงคราม
จากการที่เยอรมันแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1

ในปี 1921 รัฐบาลอังกฤษได้ขายเธอ
ให้กับ Hudson's Bay Company
หลังจากนั้นเธอได้เปลี่ยนชื่อเป็น Baychimo 
โดยประจำอยู่ที่  Ardrossan สกอตแลนด์
แล่นเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ
ระหว่างบ้านของเธอและแคนาดา
แวะตามจุดซื้อขายสินค้า/รวบรวมหนังสัตว์
นำมาขายต่อตามจุดการค้าที่แวะพัก
.
4.

.
ในปี 1923
เธอได้รับมอบหมายให้ไปแล่นในเส้นทางอื่น
คราวนี้อยู่ในฝั่งอาร์กติกตะวันตก
ระหว่าง Vancouver และอ่าว Hudson's Bay
เลียบตามชายฝั่งของ Yukon 
กับ Northwest Territories

นอกจากเธอบรรทุกสินค้าแล้ว
เธอยังแอบรับผู้โดยสารเป็นครั้งคราวด้วย
ทั้งนี้เพราะตามกฎหมายเดินเรือทะเล
เรือลำนี้ห้ามบรรทุกผู้โดยสาร
นักเดินทางที่ผิดกฎหมายเหล่านี้
จึงถูกระบุว่าเป็นลูกเรือส่วนหนึ่ง
ส่วนคนจนจำเป็นต้องทำงานบนเรือ
เพื่อแลกกับห้องพัก/อาหารบนเรือ
ก่อนเดินทางกลับบ้าน 
 
ในช่วงปลายเดือนกันยายน 1931
ระหว่างเดินทางกลับไปยัง Vancouver
เรือ Baychimo ได้เผชิญกับพายุหิมะ
ที่ผิดเวลา/ฤดูกาลใกล้ Point Barrow
บนชายฝั่งทางตอนเหนือของ Alaska
ซึ่งทำให้เธอติดค้างอยู่ในก้อนน้ำแข็ง
ในวันที่ 1 ตุลาคม 1931
เห็นได้ชัดว่าลูกเรืออาจจะต้องติดอยู่บนเรือ
ยาวนานไปจนตลอดฤดูหนาวใน Arctic
แต่เพราะเรือ Baychimo มีเชื้อเพลิงไม่เพียงพอ
ที่จะให้ความอบอุ่นลูกเรือได้ตลอดฤดูหนาว
กัปตันจึงตัดสินใจสั่งให้อพยพออกจากเรือ
ย้ายไปตั้งค่ายใกล้กับเมือง Barrow
ห่างจากเรือออกไปเพียงครึ่งไมล์

แต่เธอเริ่มจะหลุดออกจากก้อนน้ำแข็งได้
ในเวลาอีก 2 วันต่อมา
แต่วันที่ 8 ตุลาคม 1931
เรือกลับติดอยู่ในกองน้ำแข็งอีกครั้ง
ดังนั้นในวันที่ 15 ตุลาคม 1931
ทาง Hudson's Bay Company จึงส่งเรือบิน
รับกลาสีเรือกลับไปจำนวน 22 คน
เหลือแต่กลาสีชาย 15 คนรอดูสถานะการณ์

ตลอดเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนส่วนใหญ่
ลูกเรือบางคนจะเดินทางไปกลับที่เรือทุกวัน
เพื่อเคาะน้ำแข็งออกจากหางเสือเรือ
และอุปกรณ์สำคัญอื่น ๆ บนลำเรือ
.
5.

.
วันที่ 24 พฤศจิกายน 1931
เกิดพายุหิมะอย่างรุนแรง
และเมื่อพายุสงบลงแล้ว
พวกลูกเรือก็พบว่าเรือ Baychimo หายไปแล้ว
กัปตันและลูกเรือต่างสันนิษฐานว่า เรือจมไปแล้ว

แต่ในไม่ช้าพวกเขาก็ได้รับคำบอกเล่าจาก
นักล่าสัตว์ Inuit หรือ Inuk ชาวเอสกิโมในพื้นที่ว่า
พวกเขาเห็นเรือ Baychimo
อยู่ห่างออกไปประมาณ 72 กิโลเมตร
ทางใต้ของค่ายพักชาว Inuit แถวนั้น

กัปตันและลูกเรือจึงพยายามติดตามจนพบเธอ
แต่แล้วตัดสินใจว่า เธอไม่น่าจะรอดในฤดูหนาวนี้
กัปตันและลูกเรือจึงต่างขนข้าวของที่มีค่า
ออกจากห้องเก็บของ/คลังสินค้าในเรือ
แล้วสละเรือทิ้งเป็นครั้งสุดท้าย
.
6.


ลูกเรือกำลังเคาะน้ำแข็งออกจากหางเสือเรือ

.
กัปตัน Cornwell  และลูกเรือที่เหลือ
ต่างเดินทางกลับไปยัง Vancouver
และทางบริษัทเดินเรือได้บันทึกว่าเรือจม
พร้อมทั้งตัดหนี้สูญข้าวของ/ทรัพย์สินทั้งหมด

หลังจากนั้นไม่นาน
เรือ Baychimo ก็ถูกพบอีกครั้ง
คราวนี้อยู่ห่างไปประมาณ 480 กิโลเมตร
ทางทิศตะวันออกของจุดที่เธอถูกพบครั้งสุดท้าย

ในปีต่อมามีผู้พบเห็นเธออีกครั้ง
เธอลอยอยู่ใกล้ชายฝั่งของ Alaska
ในช่วงหลายทศวรรษต่อมา
ผู้คนจำนวนมากได้เห็นเรือ Baychimo
จอดนิ่งอยู่รอบ ๆ ทะเล Arctic
อย่างสงบเงียบในน้ำที่เย็นจัด
หลายครั้งที่เธอถูกนักสำรวจ
หรือลูกเรือของเรือแล่นผ่านไปมา
ขึ้นบนเรือพยายามจะกู้เรือ/ลากจูง
แต่ทุกครั้งเธอก็หนีรอดไปได้

มีครั้งหนึ่ง ชาว Alaska  กลุ่มหนึ่งขึ้นบนเรือได้
แต่ต้องติดอยู่บนเรือเป็นเวลา 10 วัน
โดยพายุที่มาผิดเวลา/ผิดฤดูกาลมาก

ในปี 1969  กินเวลาถึง 38 ปี
หลังจากที่เธอถูกทอดทิ้งไป
เธอถูกพบว่าติดอยู่ในก้อนน้ำแข็งในทะเล Beaufort 
ระหว่าง Point Barrow และ Icy Cape
นอกชายฝั่ง Alaskan ทางตะวันตกเฉียงเหนือ
นั่นคือการพบเห็นเรือ Baychimo
ครั้งสุดท้ายที่ได้บันทึกไว้

7.

.
เกือบ 40 ปีต่อมาในปี 2006
รัฐบาล Alaska เริ่มดำเนินโครงการ
เพื่อค้นหาเรือ Baychimo
กับเรืออื่น ๆ ประมาณ 4,000 ลำ
ที่หายไปตามชายฝั่งของ Alaska
แต่การค้นหายังไม่มีใครพบเรือ Baychimo

คาดว่าเรือ Baychimo จมลงไม่นานนัก
หลังจากมีคนพบเห็นเธอครั้งสุดท้าย
ทำให้เธอยังครองตำแหน่งลำดับหนึ่ง
ของเรือผีที่แล่นได้ไกลที่สุดในโลก
และแล่นได้นานที่สุดในโลก

เพราะเรือส่วนใหญ่แล้ว
แทบจะไม่สามารถอยู่รอดได้
โดยไม่มีกัปตันและลูกเรือบนเรือ
ยิ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
อยู่ท่ามกลางก้อนน้ำแข็งขนาดยักษ์
จึงมีความเป็นไปได้มากว่า
เรือผีลำนี้คงจมอยู่ที่ไหนสักแห่งหนึ่ง
ใต้ท้องทะเลอาร์กติกที่เย็นจัด
และปกคลุมไปด้วยก้อนน้ำแข็งขนาดยักษ์

 .
เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/2WHfMUe
https://bit.ly/37PydfQ
https://bit.ly/3rARud1

.


.
ช่วงเวลาที่มีคนพบเห็นเธอ


- ไม่กี่วันหลังจากเรือ Baychimo สูญหาย
ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 1931
ก็มีคนพบเธออยู่ที่ 45 ไมล์ (72 กิโลเมตร)
ทางตอนใต้จากจุดที่เธอหายตัวไป
แต่เธอก็ติดอยู่ท่ามกลางน้ำแข็ง
- หลังจากนั้นอีกหลายเดือนต่อมา
ก็มีคนพบเห็นเธออีกที่ทางทิศตะวันออก
ราว ๆ 300 ไมล์ (480 กิโลเมตร)
- มีนาคม ปีต่อมา
เธอจอดสงบนิ่งใกล้ชายหาด
พบเห็นโดย Leslie Melvin ชายพร้อมสุนัขลากเลื่อนหิมะ
ในระหว่างเดินทางไป Nome
- อีกไม่กี่เดือนต่อมา
เธอก็ถูกพบเห็นอีกครั้ง โดยคณะสำรวจแร่ธาตุ
- สิงหาคม 1932
เธอถูกชาย Alaskan 20 คนขึ้นบนลำเรือ
ตอนลมมรสุมพัดเธอออกจาก Wainwright Alaska
- มีนาคม 1933
เธอถูกชนพื้นเมือง Alaska ขึ้นบนลำเรือ
แล้วเกิดพายุประหลาดพัดพาคนทั้งหมด
ลอยออกไปกลางทะเลถึง 10 วัน
- สิงหาคม 1933  
Hudson's Bay Company ได้ทราบข่าวว่า
เธอยังลอยลำอยู่  แต่อยู่ในย่านทะลที่ห่างไกล
เกินกว่าจะกอบกู้/ลากจูงกลับมา
- กรกฏาคม 1934
เธอถูกนักสำรวจที่แล่นเรือใบขึ้นไปบนลำเรือ
- สิงหาคม 1935
เธอถูกขับไล่ไปให้พ้นจาก
ชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของ Alaska
- พฤศจิกายน 1939
เธอถูกขึ้นบนเรือโดย Captain Hugh Polson
และพยายามจะกู้เรือ/ลากจูงไปยังท่าเรือใกล้ที่สุด
แต่ก้อนน้ำแข็งขัดขวางการทำงานอย่างแรง
ทำให้ตัองยกเลิกการลากจูงเธอ
นี่คือบันทึกครั้งสุดท้ายที่มีคนขึ้นบนเรือ Baychimo
- หลังจากปี 1939
ยังมีคนพบเห็นเธอลอยลำไร้กลาสี  
แต่เธอก็หลุดรอดจากการลากจูง/กู้เรือ
- มีนาคม 1962
เธอถูกพบเห็นโดยชาว Inuit ว่า
เธอล่องลออย่าวไร้จุดหมายลอยเท้งเต้ง
เลียบตามชายฝั่ง Beaufort Sea
- 1969
มีคนรายงานว่าเธอถูกห้อมล้อมเต็มไปด้วย
ก้อนน้ำแข็ง ซึ่งกินเวลาถึง 38 ปีแล้ว
หลังจากที่เธอถูกละทิ้ง/สละเรือหนี
และนี่คือบันทึกครั้งสุดท้ายที่มีคนพบเห็นเธอ
- 2006
รัฐบาลรัฐ Alaskan ได้เริ่มโครงการค้นหา
ความลับเรือผี Ghost Ship of the Arctic
และค้นหาเรือ Baychimo ว่ายังลอยอยู่หรือไม่
หรือจมใต้ท้องทะเลไปแล้ว  จนกระทั่งถึงทุกวันนี้
ยังไม่มีใครพบซากเรือลำนี้เลย
.


8.


9.


10.


11.

.



.
© ทำไมจึงนิยมตั้งชื่อเรือเป็นชื่อผู้หญิง

มีอยู่หลายข้อสันนิษฐานที่มีคนตั้งขึ้น เช่น
ความเชื่อที่ว่า คนบนเรือสมัยก่อนส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย
และห่างบ้านเรือนมานาน ก็เลยตั้งชื่อเรือเป็นผู้หญิง
หรือเรียกเรือเป็นผู้หญิงเพื่อแทนความคิดถึงคนรัก

บางสมมติฐานเชื่อว่าเป็นอิทธิพลจากภาษา
เพราะภาษาในยุโรปหลายภาษา และบาลี/สันสกฤต
จะมีการกำหนดเพศให้กับคน สัตว์ สิ่งของ
และคำว่า เรือ ถูกกำหนดให้เป็นเพศหญิง
จึงทำให้เกิดเป็นประเพณีตั้งชื่อเรือเป็นผู้หญิง

บางสมมติฐานก็เชื่อว่า เป็นเพราะเรือเป็นของใช้ที่มีราคาแพง
การบำรุงรักษาสูง ต้องดูแลอย่างทะนุถนอม
ประดุจเดียวกับผู้หญิงที่ต้องมีการแต่งองค์ทรงเครื่องอย่างงดงาม

บางสมมติฐานก็กล่าวว่า น่าจะเป็นเพราะเพศหญิง
เป็นสัญลักษณ์ของการปกป้องคุ้มครองภัยอันตราย
คนจึงได้นำเอาชื่อเทพีต่าง ๆ มาตั้งเป็นชื่อเรือกัน 
เพื่อให้เทพีเหล่านั้นคุ้มครองพวกตน
ซึ่งความเชื่อนี้ก็ปรากฏอยู่ในหลายวัฒนธรรม
อย่างเช่นในไทยก็จะนับถือ แม่ย่านาง เป็นผู้คุ้มครองเรือ
ต่อมาจึงมีการนำชื่อผู้หญิงที่ตนรักหรือยกย่องมาตั้งเป็นชื่อเรือของตนเอง

แต่ประเพณีดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นข้อบังคับ
การตั้งชื่อเรือไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผู้หญิงเสมอไป
โดยเฉพาะพวกเรือรบ/เรือขนาดใหญ่
ก็มีการนำเอาชื่อผู้ชายมาตั้งเช่นกัน
เช่น เรือบิสมาร์กของเยอรมัน
เรือ USS แกรนต์ของสหรัฐฯ เป็นต้น

ส่วนเรือไทยมักตั้งตามชื่อจังหวัด/วรรณคดี
และตัวละครในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์
.
คำพูดชาวบ้านสมัยก่อน
เหล็กดีต้องตีที่สวีเดนกับเยอรมัน
เพราะทนถึก คมกิน ใช้ทน ใช้นาน ใช้จนรำคาญ
.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  โบราณคดี ประวัติศาสตร์ สิ่งลี้ลับ (mystery)
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่