คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
กรุงธนบุรีได้อ้างสิทธิธรรมทางการปกครองสืบต่อมาจากกรุงศรีอยุทธยาโดยตรง และเรียกชื่อพระนครอย่างเป็นทางการว่า "กรุงพระมหานครศรีอยุทธยา" เหมือนกับกรุงเก่า รูปแบบการปกครองอ้างอิงจากสมัยกรุงศรีอยุทธยา ข้าราชการในสมัยกรุงธนบุรีก็มีข้าราชการกรุงเก่าอยู่จำนวนมาก
แต่พระเจ้ากรุงธนบุรีก็ไม่ได้ฟื้นฟูรูปแบบจารีตธรรมเนียมในสมัยกรุงศรีอยุทธยาขึ้นมาอย่างสมบูรณ์ และมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบบางอย่างให้ผิดไปจากบรรทัดฐานการปกครองสมัยอยุทธยาตอนปลาย พระจริยวัตรโดยรวมก็แตกต่างไปจากการปฏิบัติของกษัตริย์สมัยอยุทธยาเช่นโปรดให้ราษฎรเข้าเฝ้าใกล้ชิด แจกข้าวปลาอาหารโปรยทานให้ราษฎรด้วยพระองค์เอง ไม่ได้เป็นเทวราชเท่ากษัตริย์อยุทธยา จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ ๑ จึงมีการฟื้นฟูจารีตธรรมเนียมสมัยอยุทธยาขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ (แต่ก็ประยุกต์ให้แตกต่างไปจากสมัยอยุทธยาบ้าง)
พระราชสาส์นคำหับของพระเจ้ากรุงธนบุรีส่งไปเมืองจีน จุลศักราช ๑๑๔๓ (พ.ศ. ๒๓๒๔) เขียนด้วยอักษรไทยและจีน จัดแสดงอยู่ที่ Southern Branch of The National Palace Museum เมืองเจียอี้ ไต้หวัน
ข้อความภาษาไทยของ "สมเดจพระเจ้ากรุงพระมหาณคอรศรีอยุทธ่ยาปราบฎาพีเสกใหม่"
มีอักษรจีนกำกับด้านล่างว่า 暹羅國望閣新城國長鄭昭 แปลว่า "ประมุขนครใหม่บางกอกแห่งประเทศเซียนหลัว เจิ้งเจา"
แต่พระเจ้ากรุงธนบุรีก็ไม่ได้ฟื้นฟูรูปแบบจารีตธรรมเนียมในสมัยกรุงศรีอยุทธยาขึ้นมาอย่างสมบูรณ์ และมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบบางอย่างให้ผิดไปจากบรรทัดฐานการปกครองสมัยอยุทธยาตอนปลาย พระจริยวัตรโดยรวมก็แตกต่างไปจากการปฏิบัติของกษัตริย์สมัยอยุทธยาเช่นโปรดให้ราษฎรเข้าเฝ้าใกล้ชิด แจกข้าวปลาอาหารโปรยทานให้ราษฎรด้วยพระองค์เอง ไม่ได้เป็นเทวราชเท่ากษัตริย์อยุทธยา จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ ๑ จึงมีการฟื้นฟูจารีตธรรมเนียมสมัยอยุทธยาขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ (แต่ก็ประยุกต์ให้แตกต่างไปจากสมัยอยุทธยาบ้าง)
พระราชสาส์นคำหับของพระเจ้ากรุงธนบุรีส่งไปเมืองจีน จุลศักราช ๑๑๔๓ (พ.ศ. ๒๓๒๔) เขียนด้วยอักษรไทยและจีน จัดแสดงอยู่ที่ Southern Branch of The National Palace Museum เมืองเจียอี้ ไต้หวัน
ข้อความภาษาไทยของ "สมเดจพระเจ้ากรุงพระมหาณคอรศรีอยุทธ่ยาปราบฎาพีเสกใหม่"
มีอักษรจีนกำกับด้านล่างว่า 暹羅國望閣新城國長鄭昭 แปลว่า "ประมุขนครใหม่บางกอกแห่งประเทศเซียนหลัว เจิ้งเจา"

แสดงความคิดเห็น
กรุงธนบุรี รับสืบทอดอะไรมาจาก กรุงศรีอยุธยา ครับ