สวัสดีค่ะ พอดีสงสัยเรื่องภาษีหัก ณ ที่จ่ายมากๆ เลยค่ะ พยายามหาข้อมูลแล้วแต่ก็ยังสงสัยอยู่
คือเรื่องมีอยู่ว่า
นาย A เป็นบุคคลธรรมดาที่ถูกว่าจ้างจากบริษัทจ้างให้ทำงานให้
ซึ่งเวลาจ่ายเงินเนี่ยก็จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามปกติ
ซึ่งตัวนาย A เอง มีลูกน้องที่อยู่ในความรับผิดชอบ
โดยนาย A ต้องจ่ายเงินเดือนให้กับลูกน้องซึ่งก็คือ นาย B C D และ E
ซึ่งนาย B C D ได้รับเงินเดือนน้อยกว่า E แต่ว่าได้เงินเต็มจำนวน
กลับกันกับนาย E ที่ได้มากกว่าโดนหักภาษีออก 3%
เลยอยากถามว่า
1. สิทธิ์ที่จะหักภาษีหรือไม่หักภาษีนี้ขึ้นอยู่กับนาย A หรือไม่คะ
เขามีสิทธิ์เลือกหักหรือเปล่า หรือว่าเขาพิจารณาจากบุคคลเป็นคนๆ ไป
ว่าคนนี้ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ เลยไม่ต้องหักภาษีออกจากเงินเดือน
2. ถ้าเกิดว่าเขาสามารถหักภาษีออกจากเงินเดือนของนาย E ได้จริง
นาย A จะต้องมีเอกสารหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่ จ่ายออกให้นาย E ด้วยใช่ไหมคะ
3. ถ้าในกรณีที่นาย E โดนหักภาษีจากเงินเดือนออกไปแล้วแต่ดันไม่มีหนังสือรับรอง
โดยนาย A ได้รับปากบอกไว้ว่าไปจ่ายภาษีให้แล้ว คือในส่วนนี้เขาสามารถทำแทนนาย E
เหมือนที่บริษัททำให้เขาได้ใช่ไหมคะ
ขอบคุณค่ะ
สงสัยเรื่องภาษีหัก ณ ที่จ่ายของผู้จ่ายที่เป็นบุคคลธรรมดาค่ะ
คือเรื่องมีอยู่ว่า
นาย A เป็นบุคคลธรรมดาที่ถูกว่าจ้างจากบริษัทจ้างให้ทำงานให้
ซึ่งเวลาจ่ายเงินเนี่ยก็จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามปกติ
ซึ่งตัวนาย A เอง มีลูกน้องที่อยู่ในความรับผิดชอบ
โดยนาย A ต้องจ่ายเงินเดือนให้กับลูกน้องซึ่งก็คือ นาย B C D และ E
ซึ่งนาย B C D ได้รับเงินเดือนน้อยกว่า E แต่ว่าได้เงินเต็มจำนวน
กลับกันกับนาย E ที่ได้มากกว่าโดนหักภาษีออก 3%
เลยอยากถามว่า
1. สิทธิ์ที่จะหักภาษีหรือไม่หักภาษีนี้ขึ้นอยู่กับนาย A หรือไม่คะ
เขามีสิทธิ์เลือกหักหรือเปล่า หรือว่าเขาพิจารณาจากบุคคลเป็นคนๆ ไป
ว่าคนนี้ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ เลยไม่ต้องหักภาษีออกจากเงินเดือน
2. ถ้าเกิดว่าเขาสามารถหักภาษีออกจากเงินเดือนของนาย E ได้จริง
นาย A จะต้องมีเอกสารหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่ จ่ายออกให้นาย E ด้วยใช่ไหมคะ
3. ถ้าในกรณีที่นาย E โดนหักภาษีจากเงินเดือนออกไปแล้วแต่ดันไม่มีหนังสือรับรอง
โดยนาย A ได้รับปากบอกไว้ว่าไปจ่ายภาษีให้แล้ว คือในส่วนนี้เขาสามารถทำแทนนาย E
เหมือนที่บริษัททำให้เขาได้ใช่ไหมคะ
ขอบคุณค่ะ