กีฬาอเมริกันฟุตบอล NFL มีช่วงเข้ามาได้รับความนิยมในไทยก็เป็นเวลา 40 ปีแล้ว โดยทาง ทีวีสีช่อง 3 เอาเทปมาฉายตอนบ่ายๆ วันอาทิตย์ ตัดต่อให้เหลือ 2 ชั่วโมง อาศัยการบรรยายของ คุณ ศุภพร มาถึ่งพงษ์ ที่รู้ว่าต้องค่อยๆ หยอดความรู้กติกา วิธีการเล่นให้กับคนเมื่อ 40 ปีก่อนอย่างไร ตอนแรกเริ่มอาจารย์ ชัยณรงค์ มณเฑียรวิเชียรฉายร่วมพากย์ด้วย ยุคนั้นความนิยมของ NFL อาจถูกจำกัดอยู่ในกลุ่มของคนจำนวนไม่มาก แต่เมื่อผ่านไปหลายปี ความนิยมก็เพิ่มมากขึ้น จนถึงกับได้ถ่ายทอดสด SB 20 ซึ่งก็รวมเวลา 7 ปีจาก SB 13 ที่ฉายเป็นเทปในปีแรกในการนำเสนอในไทย
ยุคนั้น เกมส์บุกเป็นจุดขาย ควอเตอร์แบ็ค ระดับ Superstars มากมาย ไม่ว่าจะ โรเจอร์ สตอแบ็ค เทอรี่ แบรดชอว์ จิม ซอร์น แดน เฟาท์ บ๊อบ กริศซี่ แดน แพสโทรินี่ วินซ์ เฟอเรกาโม่ แฟรน ทาเก็นตัน หรือ อาร์ชี่ แมนนิ่ง ซึ่งรายชื่อเหล่านี้เป็น บิ๊กเนม ในยุคนั้น แต่วันนี้ขอเขียนถึง คนที่อาจมีคนรู้จักน้อยหน่อยจำได้น้อยหน่อย และเป็นหนึ่งในคนที่ผมชอบดูก็คือ ไบรอัน ไซป์
ไบรอัน ไซป์ หลายคนอาจไม่เคยได้ยินชื่อ แต่ถ้าคุณรู้จัก เทอรี่ แบรดชอว์ / รอเจอร์ สตอแบ็ค / จิม ซอร์น /จิม พลังค์เก็ต/ แดน เฟาท์ /รอน จาววอร์สกี้ และ อาร์ชี่ แมนนิ่ง ก็ ไบรอัน ไซป์ คือ ควอเตอร์แบ็คให้ คลีฟแลนด์ บราวน์ ในยุคสมัยแห่งยอดควอเตอร์แบ็คเหล่านั้น
ไซป์ เล่นให้ คลีฟแลนด์นานเกือบสิบปี ในยุคที่ สตีลเลอร์ยิ่งใหญ่สมคำว่า ม่านเหล็ก Steel Curtain หลังจากได้ SB 13 คว่ำดัลลัส คาวบอยส์ ทีมรับม่านเหล็กขึ้นชื่อว่าเสียแต้มน้อยมาก แต่ ไบรอัน ไซป์ ก็ขว้าง 5 TD ถล่มใส่ ม่านเหล็กให้กลายเป็นเหมือน เนยแข็ง สวิส อดีตชื่อเล่นของทีม บัฟฟาโล่ บิลส์ไปเลย ผมว่าสมัยนั้นน แม้แต่แดนเฟาท์ ที่ว่าแน่ๆก็ทำกับ สตีลเลอร์แบบนั้นไม่ได้ แต่แม้เกมส์นั้น บราวน์ส์จะจบผลการแข่งขันด้วยการแพ้ เพราะ ทีมรับบราวส์ ก็ไม่สามารถต้าน เทอรี่ แบรดชอว์ได้เลยเหมือนกัน จบที่ 51 - 35 แต่วันนั้น ไบรอัน ไซป์ ก็ได้รับการยอมรับจากคนดูว่าเป็นหนึ่งในยอดควอเตอร์แบ็คที่ทำให้ ทีมรับ ม่านเหล็ก เสียอาการไปไม่น้อยเหมือนกัน เสียดายที่ บราวน์ในยุคนั้น มีแต่ทีมบุก ไม่อาจฝ่าด่านไปถึง SB ได้แม้แต่ครั้งเดียว
และด้วยอายุที่ย่างเข้าเลข 3 แล้ว ไม่นานหลังจากนั้น ไซป์ พา เจ้าตูบเป็นแชมป์กลุ่มได้ แบบไม่มี สตีลเลอร์ติดมาแม้แต่ ไวล์คาร์ด
แต่ก็พ่ายให้กับ ทีม ไวลคาร์ด อย่าง Raiders ของ จิม พลั้งเก็ต ซินเดอเรลล่า ที่ไม่ยอมกลับบ้าน ( พลังค์เก็ต เป็นสำรองด้วยนะครับถ้าจำไม่ผิด แทน เค็นเน็ท แอนเดอร์สัน ถ้าจำผิดขออภัย ) ก่อน ปล่อย Raiders ทะลุไปหักปีก อินทรีย์มรกต ที่เฉือน คาวบอยส์เข้าเป็นแชมป์ตะวันออก NFC และเต็งแชมป์ปีนั้นแบบ ล็อคถล่มเหมือนกัน
มีอีกหลายเกมส์ที่ ไซป์ โชว์ฟอร์มดีแต่ แดน มาริโน่ ก็เป็นตัวอย่างชัดเจนแล้วว่า แค่ QB ไม่อาจเป็นแชมป์ได้ เพราะต้องอาศัย ถึง 3 ทีมจำนวนคนมากมายประกอบกัน ทีมบุกดี ทีมรับไม่ดี ก็ไม่ได้ แต่ ไบรอัน ไซป์ ก็เป็นหนึ่งในยอด QB ท่ามกลาง ยอด QB มากมายในยุคนั้น
ก็ถือว่า เป็นกระทู้แทรกกลางสัปดาห์ที่หลายๆคนอาจเหนื่อยล้า แบตหมดไปครึ่งก้อน รอวันศุกร์ตอนเย็นได้พักไปชาร์จแบตกันใหม่ แล้วถ้ามีโอกาสจะมาตั้งกระทู้ใหม่เกี่ยวกับ NFL คราวหน้าอาจจะเป็น สตีฟ บัดเคาสกี้ แห่ง แอตแลนต้า ฟอลคอนส์
ขอบคุณสำหรับการแวะเข้ามาอ่านครับ
NFL : Memory of NFL
ยุคนั้น เกมส์บุกเป็นจุดขาย ควอเตอร์แบ็ค ระดับ Superstars มากมาย ไม่ว่าจะ โรเจอร์ สตอแบ็ค เทอรี่ แบรดชอว์ จิม ซอร์น แดน เฟาท์ บ๊อบ กริศซี่ แดน แพสโทรินี่ วินซ์ เฟอเรกาโม่ แฟรน ทาเก็นตัน หรือ อาร์ชี่ แมนนิ่ง ซึ่งรายชื่อเหล่านี้เป็น บิ๊กเนม ในยุคนั้น แต่วันนี้ขอเขียนถึง คนที่อาจมีคนรู้จักน้อยหน่อยจำได้น้อยหน่อย และเป็นหนึ่งในคนที่ผมชอบดูก็คือ ไบรอัน ไซป์