แก้ฝุ่น PM 2.5 ห้ามรถบรรทุกวิ่งเข้า กทม. โลจิสติกส์ป่วน-ต้นทุนพุ่ง
https://www.prachachat.net/economy/news-556265
รัฐตื่นตัวฝุ่น PM 2.5 ถล่มกรุง “บิ๊กป้อม” สั่งงัดแผนแก้พื้นที่เสี่ยง ห้ามเผาพืชเกษตร 9 จังหวัดภาคเหนือ “สรท.” โอดห้ามรถบรรทุกวิ่งเข้ากรุงเทพฯ ทำธุรกิจชะงัก กระทบต้นทุน ชี้โลจิสติกส์ป่วนแน่ เผยท่าเรือคลองเตยอาจสะดุด 1 แสนตู้ แฉต้นตอรถเครื่องดีเซลเกลื่อนเมืองรถใหม่จดทะเบียนพุ่ง 1.18 ล้านคัน กทม.ประชุมด่วน 17 พ.ย. จ่อปิดไซต์ก่อสร้าง-โรงเรียน 437 แห่ง
ผู้สื่อข่าว “
ประชาชาติธุรกิจ ” รายงานว่า วันนี้ (13 พ.ย. 63) พล.อ.
ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี สั่งการมอบนโยบายให้ นาย
วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เร่งแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในกรุงเทพฯและปริมณฑล พร้อมให้เร่งติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศให้มากขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง
เปิดแผนแก้ฝุ่นจิ๋ว
นาย
วิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย “
ประชาชาติธุรกิจ” ว่า 17 พ.ย.นี้จะประชุมคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่ กทม. มี พล.ต.อ.
อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. เป็นประธานร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ กรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมอุตุนิยมวิทยา กรมการขนส่งทางบก
กรมธุรกิจพลังงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบังคับการตำรวจจราจร เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ หลังฝุ่นเริ่มกลับมาในฤดูหนาวที่อากาศปิดในเดือน ธ.ค. 2563-ก.พ. 2564
ห้ามรถบรรทุกเข้ากรุง
กทม.เตรียมการรับมือ 3 ระดับ ได้แก่ 1.ค่าฝุ่นไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร เช่น ห้ามรถยนต์บรรทุกตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป วิ่งเข้าพื้นที่ กทม.ช่วงเวลา 06.00-21.00 น. ให้วิ่งได้ถึงถนนกาญจนาภิเษก ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 2563-28 ก.พ. 2564 รอการพิจารณาจากกองบังคับการตำรวจจราจร จากปัจจุบันให้วิ่งเข้าได้ในช่วงเร่งด่วนเช้าและเย็น แต่ประกาศใหม่จะห้ามตลอดเวลา
“อยู่ที่ตำรวจจะออกประกาศคุมทั้งพื้นที่ หรือแยกเป็นพื้นที่ รอผลวันที่ 18 พ.ย.นี้ ที่ตำรวจประชุม เพราะมีสภาอุตสาหกรรมฯไม่เห็นด้วย”
นอกจากนี้จะมีการกำกับดูแลไซต์ก่อสร้าง เช่น ให้ล้างพื้นที่ ล้อรถบรรทุก ฉีดพ่นละอองน้ำงดกิจกรรมกลางแจ้งในโรงเรียนเฉพาะเด็กเล็ก, ติดเครื่องตรวจวัดฝุ่นใน 20 สวนสาธารณะ จ่อปิดไซต์ก่อสร้าง-โรงเรียน
2. ค่าฝุ่นระดับ 51-75 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร เช่น ปิดการเรียนโรงเรียนสังกัด กทม. จำนวน 437 แห่ง ไม่เกิน 3 วัน/ครั้ง, ห้ามจอดรถริมถนนสายหลักสายรอง, ให้รถเก็บขนมูลฝอยให้เสร็จก่อนตี 4, และ 3.ค่าฝุ่นระดับ 76-100 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร เช่น หยุดการก่อสร้างอาคารและรถไฟฟ้า 5-7 วัน, ปิดการเรียนไม่เกิน 15 วัน/ครั้ง, ให้บุคลากรของ กทม.เหลื่อมเวลาทำงาน และงดใช้รถยนต์ส่วนตัว เป็นต้น
คมนาคมประชุมด่วน
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า วันที่ 16 พ.ย.นี้จะมีประชุมเรื่องฝุ่น PM 2.5 มีนาย
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นประธาน มีติดตามการดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา และมีข้อเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา โดยมาตรการระยะสั้นปี 2563-2564 เช่น บำรุงรักษาเครื่องยนต์ ตรวจสภาพรถ ปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน แก้ปัญหารถติด ลดฝุ่น, มาตรการระยะกลางปี 2565-2569 เช่น ส่งเสริมขนส่งสาธารณะ เพิ่มจุดจอดรถ เปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นพลังงานสะอาด มาตรการภาษี จำกัดการใช้รถเก่า และมาตรการระยะยาวปี 2570-2575 เช่น บังคับมาตรการทางภาษี จำกัดการเดินทาง ห้ามรถบรรทุกขนาดใหญ่ เป็นต้น
แหล่งข่าวจากกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) กล่าวว่า กรมจะลดอายุรถที่ตรวจสภาพรถครั้งแรกโดย ตรอ. ซึ่งมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศึกษาให้ โดยแนะว่าควรลดจำนวนปีรถจะตรวจสภาพครั้งแรก จากเดิมอายุ 7 ปี เหลือ 5 ปี
โอดสูญรายได้ 100 ล้าน/วัน
นาย
อภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กล่าวกับ “
ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ได้ยื่นหนังสือถึง พล.ต.อ.
อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. คัดค้านออกนโยบายห้ามรถบรรทุกวิ่งเข้า กทม. เวลา 06.00-21.00 น. เพราะไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกจุด กทม.ชี้แจงว่า คำสั่งยังไม่ได้บังคับใช้ ต้องรอกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) พิจารณาออกคำสั่งในส่วนของตำรวจจราจรก่อน
“รถบรรทุกบนถนนมี 30,000-40,000 คัน/วัน หรือคิดเป็น 2% จาก 5-6 ล้านคัน/วัน ขอ กทม.คุมรถยนต์ดีกว่า เพราะผู้ประกอบการจะสูญเสียรายได้วันละ 100 ล้านบาท และเกิดภาวะสินค้าตกค้างที่ท่าเรือคลองเตยไม่น้อยกว่า 2,000 ตู้ วันที่ 16 พ.ย.นี้ ตำรวจจราจรนัดสมาคมไปหารือแล้ว”
สหพันธ์ขนส่งฯค้าน
นาย
ยู เจียรยืนยงพงศ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เปิดเผย “
ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ไม่เห็นด้วยกับการแก้ปัญหาของภาครัฐที่ไม่ตรงจุด ซ้ำยังเป็นการสร้างปัญหาใหม่ ทำให้จราจรติดขัดมากขึ้นอีก ซึ่งเป็นต้นเหตุให้ปริมาณฝุ่น PM 2.5 มีมากขึ้น เนื่องจากทางหลวงหมายเลข 9 ก่อนถึงสุวรรณภูมิ-รังสิต-วังน้อย เป็นการข้ามจากภาคตะวันออกไปภาคใต้ และภาคตะวันตกเข้ามาในกรุงเทพฯ เมื่อไม่ให้ใช้วงแหวนเข้าเมือง แน่นอนว่ารถต้องติดหนัก
“หากประกาศแล้วส่งผลกระทบต่อการสัญจรก็คงต้องร้องเรียน ผมพูดมาหลายครั้งแล้วว่า การห้ามรถใหญ่วิ่งนั้นไม่ใช่การแก้ที่ต้นเหตุ ไม่ใช่ว่าเราห่วงเรื่องต้นทุนผู้ประกอบการจะเพิ่ม แต่การออกประกาศจะทำให้รถยิ่งติด ฝุ่นจะยิ่งเพิ่ม”
สรท.เดือดร้อน
นางสาว
กัญญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สรท.ไม่เห็นด้วยที่รัฐจะออกประกาศห้ามรถบรรทุกขนส่งเข้าเขตพื้นที่ชั้นในกรุงเทพฯ ในเวลา 06.00-21.00 น. เพราะจะกระทบต่อการขนส่งสินค้านำเข้า-ส่งออก ที่ต้องขนส่งผ่านกรุงเทพฯชั้นใน เพื่อไปขึ้นเรือ ณ ท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งแต่ละเดือนมีปริมาณกว่า 30,000 ตู้ หากประกาศห้าม 3 เดือนเท่ากับกระทบ 1 แสนตู้สินค้า ผู้ประกอบการอาจเสียเวลาและมีต้นทุนเพิ่มขึ้น
“จากเดิม 24 ชม.อาจขนส่งได้ 2-3 เที่ยว หากประกาศห้าม รถต้องจอดค้างคืนในรอบนอก เมื่อส่งเสร็จก็อาจกลับไม่ทันเวลาที่กำหนด ซึ่ง 24 ชม.อาจวิ่งได้แค่ 1 เที่ยว หรือต่ำกว่านั้น ระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศ ทางเอกชนมองว่ากระทบแน่นอน ในแง่ที่ต้องเปลี่ยนบรรทุกไปใช้รถยนต์ขนาดเล็กแทน ซึ่งต้องใช้รถจำนวนมากขึ้น ต้นทุนก็เพิ่ม เช่น เดิมบรรทุก 1 คัน ก็อาจต้องใช้รถยนต์แทน 6 คัน
'โฆษกเพื่อไทย' ชวนปชช.จับตาสภาถกแก้รธน. ย้ำทางออกเดียวคือ 'ประยุทธ์' ลาออก
https://www.matichon.co.th/politics/news_2442905
‘โฆษกเพื่อไทย’ ชวนปชช.จับตาสภาถกแก้รธน. ย้ำทางออกเดียวคือ ‘ประยุทธ์’ ลาออก
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน น.ส.
อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงท่าทีรัฐบาลที่เตรียมเชิญกลุ่มเห็นต่างเสนอไอเดียด้านเศรษฐกิจ ว่า เป็นเพียงข้ออ้างซื้อเวลา หวังผลในการลดแรงกดดัน และสร้างความชอบธรรม เพื่อให้ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล และปฏิบัติการไอโอนำไปเบี่ยงประเด็นจากสถานการณ์ชุมนุมเท่านั้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมาพรรคฝ่ายค้าน ผู้ชุมนุม และนักวิชาการ ได้เสนอทางออกด้านการเมือง และเศรษฐกิจ มาโดยตลอด แต่รัฐบาลไม่เคยได้ยิน 6 ปีที่ผ่านมา คือบทพิสูจน์การบริหารประเทศที่ปราศจากการรับฟังเสียงของสังคมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจไทยที่อยู่ในขั้นตกต่ำที่สุด หนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นหลายเท่า เฉพาะหนี้ครัวเรือนไตรมาส 2 แตะร้อยละ 83.8 และอาจทะลุร้อยละ 90 ภายในสิ้นปีนี้ สอดคล้องกับตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพีที่จะลดต่ำลง รวมถึงปัญหาตกงาน บัณฑิตจบใหม่ว่างงานอีกจำนวนมหาศาล และการส่งออกที่อาจติดลบกว่าร้อยละ 10 ในปีนี้ ขณะที่ ส.ส. และ ส.ว. หลายคนยังทำตัวเป็นปรปักษ์ต่อประชาชน ทั้งหมดแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลนี้ไร้ความสามารถและไร้ประสิทธิภาพในการทำงาน ผู้นำรัฐบาลมีหน้าที่บริหารประเทศให้ก้าวพ้นวิกฤต แต่ต้องมาขอไอเดีย ขอร้องให้ช่วยกัน จึงไม่ใช่วิสัยของผู้บริหารมืออาชีพ ทางออกเดียวของประเทศในเวลานี้คือการเสียสละลาออกของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพียงคนเดียว จะเป็นประโยชน์ต่อคนไทยเกือบ 70 ล้านคน ทันที พล.อ.ประยุทธ์ออกมาให้สัมภาษณ์หลายครั้งว่าไม่อยากเป็นนายกฯ ไม่ยึดติดตำแหน่ง แต่ก็ไม่ลาออกเสียที ยิ่งอยู่ยิ่งเสื่อมถอยในตัวเอง และถ่วงประเทศชาติ
น.ส.
อรุณี กล่าวอีกว่า ขอให้ประชาชนจับตาการพิจารณาญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ วันที่ 17-18 พฤศจิกายนนี้ว่ารัฐบาลจะคำนึงถึงความต้องการประชาชนทั้งประเทศอีกหรือไม่ หรือจะตีมึนดึงดันไม่แก้ไขในประเด็นที่ประชาชนเรียกร้อง ยิ่งทำตัวเองเป็นตัวปัญหามากกว่าเดิม พล.อ.ประยุทธ์และรัฐบาลถนัดทำแต่สิ่งที่ย้อนแย้งในตัวเองเสมอ ทั้งกลับลำแก้รัฐธรรมนูญ ใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ชุมนุม สวนทางกับปากที่สื่อสารกับประชาชน
JJNY : 4in1 แก้ฝุ่น โลจิสติกส์ป่วน/พท.ชวนจับตาถกแก้รธน./ก้าวหน้าเมินเสื้อเหลืองป่วน/มือมืดติดสติ๊กเกอร์รักประยุท์ท้ายรถ
https://www.prachachat.net/economy/news-556265
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ ” รายงานว่า วันนี้ (13 พ.ย. 63) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี สั่งการมอบนโยบายให้ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เร่งแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในกรุงเทพฯและปริมณฑล พร้อมให้เร่งติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศให้มากขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง
เปิดแผนแก้ฝุ่นจิ๋ว
นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า 17 พ.ย.นี้จะประชุมคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่ กทม. มี พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. เป็นประธานร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ กรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมอุตุนิยมวิทยา กรมการขนส่งทางบก
กรมธุรกิจพลังงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบังคับการตำรวจจราจร เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ หลังฝุ่นเริ่มกลับมาในฤดูหนาวที่อากาศปิดในเดือน ธ.ค. 2563-ก.พ. 2564
ห้ามรถบรรทุกเข้ากรุง
กทม.เตรียมการรับมือ 3 ระดับ ได้แก่ 1.ค่าฝุ่นไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร เช่น ห้ามรถยนต์บรรทุกตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป วิ่งเข้าพื้นที่ กทม.ช่วงเวลา 06.00-21.00 น. ให้วิ่งได้ถึงถนนกาญจนาภิเษก ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 2563-28 ก.พ. 2564 รอการพิจารณาจากกองบังคับการตำรวจจราจร จากปัจจุบันให้วิ่งเข้าได้ในช่วงเร่งด่วนเช้าและเย็น แต่ประกาศใหม่จะห้ามตลอดเวลา
“อยู่ที่ตำรวจจะออกประกาศคุมทั้งพื้นที่ หรือแยกเป็นพื้นที่ รอผลวันที่ 18 พ.ย.นี้ ที่ตำรวจประชุม เพราะมีสภาอุตสาหกรรมฯไม่เห็นด้วย”
นอกจากนี้จะมีการกำกับดูแลไซต์ก่อสร้าง เช่น ให้ล้างพื้นที่ ล้อรถบรรทุก ฉีดพ่นละอองน้ำงดกิจกรรมกลางแจ้งในโรงเรียนเฉพาะเด็กเล็ก, ติดเครื่องตรวจวัดฝุ่นใน 20 สวนสาธารณะ จ่อปิดไซต์ก่อสร้าง-โรงเรียน
2. ค่าฝุ่นระดับ 51-75 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร เช่น ปิดการเรียนโรงเรียนสังกัด กทม. จำนวน 437 แห่ง ไม่เกิน 3 วัน/ครั้ง, ห้ามจอดรถริมถนนสายหลักสายรอง, ให้รถเก็บขนมูลฝอยให้เสร็จก่อนตี 4, และ 3.ค่าฝุ่นระดับ 76-100 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร เช่น หยุดการก่อสร้างอาคารและรถไฟฟ้า 5-7 วัน, ปิดการเรียนไม่เกิน 15 วัน/ครั้ง, ให้บุคลากรของ กทม.เหลื่อมเวลาทำงาน และงดใช้รถยนต์ส่วนตัว เป็นต้น
คมนาคมประชุมด่วน
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า วันที่ 16 พ.ย.นี้จะมีประชุมเรื่องฝุ่น PM 2.5 มีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นประธาน มีติดตามการดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา และมีข้อเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา โดยมาตรการระยะสั้นปี 2563-2564 เช่น บำรุงรักษาเครื่องยนต์ ตรวจสภาพรถ ปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน แก้ปัญหารถติด ลดฝุ่น, มาตรการระยะกลางปี 2565-2569 เช่น ส่งเสริมขนส่งสาธารณะ เพิ่มจุดจอดรถ เปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นพลังงานสะอาด มาตรการภาษี จำกัดการใช้รถเก่า และมาตรการระยะยาวปี 2570-2575 เช่น บังคับมาตรการทางภาษี จำกัดการเดินทาง ห้ามรถบรรทุกขนาดใหญ่ เป็นต้น
แหล่งข่าวจากกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) กล่าวว่า กรมจะลดอายุรถที่ตรวจสภาพรถครั้งแรกโดย ตรอ. ซึ่งมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศึกษาให้ โดยแนะว่าควรลดจำนวนปีรถจะตรวจสภาพครั้งแรก จากเดิมอายุ 7 ปี เหลือ 5 ปี
โอดสูญรายได้ 100 ล้าน/วัน
นายอภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ได้ยื่นหนังสือถึง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. คัดค้านออกนโยบายห้ามรถบรรทุกวิ่งเข้า กทม. เวลา 06.00-21.00 น. เพราะไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกจุด กทม.ชี้แจงว่า คำสั่งยังไม่ได้บังคับใช้ ต้องรอกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) พิจารณาออกคำสั่งในส่วนของตำรวจจราจรก่อน
“รถบรรทุกบนถนนมี 30,000-40,000 คัน/วัน หรือคิดเป็น 2% จาก 5-6 ล้านคัน/วัน ขอ กทม.คุมรถยนต์ดีกว่า เพราะผู้ประกอบการจะสูญเสียรายได้วันละ 100 ล้านบาท และเกิดภาวะสินค้าตกค้างที่ท่าเรือคลองเตยไม่น้อยกว่า 2,000 ตู้ วันที่ 16 พ.ย.นี้ ตำรวจจราจรนัดสมาคมไปหารือแล้ว”
สหพันธ์ขนส่งฯค้าน
นายยู เจียรยืนยงพงศ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ไม่เห็นด้วยกับการแก้ปัญหาของภาครัฐที่ไม่ตรงจุด ซ้ำยังเป็นการสร้างปัญหาใหม่ ทำให้จราจรติดขัดมากขึ้นอีก ซึ่งเป็นต้นเหตุให้ปริมาณฝุ่น PM 2.5 มีมากขึ้น เนื่องจากทางหลวงหมายเลข 9 ก่อนถึงสุวรรณภูมิ-รังสิต-วังน้อย เป็นการข้ามจากภาคตะวันออกไปภาคใต้ และภาคตะวันตกเข้ามาในกรุงเทพฯ เมื่อไม่ให้ใช้วงแหวนเข้าเมือง แน่นอนว่ารถต้องติดหนัก
“หากประกาศแล้วส่งผลกระทบต่อการสัญจรก็คงต้องร้องเรียน ผมพูดมาหลายครั้งแล้วว่า การห้ามรถใหญ่วิ่งนั้นไม่ใช่การแก้ที่ต้นเหตุ ไม่ใช่ว่าเราห่วงเรื่องต้นทุนผู้ประกอบการจะเพิ่ม แต่การออกประกาศจะทำให้รถยิ่งติด ฝุ่นจะยิ่งเพิ่ม”
สรท.เดือดร้อน
นางสาวกัญญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สรท.ไม่เห็นด้วยที่รัฐจะออกประกาศห้ามรถบรรทุกขนส่งเข้าเขตพื้นที่ชั้นในกรุงเทพฯ ในเวลา 06.00-21.00 น. เพราะจะกระทบต่อการขนส่งสินค้านำเข้า-ส่งออก ที่ต้องขนส่งผ่านกรุงเทพฯชั้นใน เพื่อไปขึ้นเรือ ณ ท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งแต่ละเดือนมีปริมาณกว่า 30,000 ตู้ หากประกาศห้าม 3 เดือนเท่ากับกระทบ 1 แสนตู้สินค้า ผู้ประกอบการอาจเสียเวลาและมีต้นทุนเพิ่มขึ้น
“จากเดิม 24 ชม.อาจขนส่งได้ 2-3 เที่ยว หากประกาศห้าม รถต้องจอดค้างคืนในรอบนอก เมื่อส่งเสร็จก็อาจกลับไม่ทันเวลาที่กำหนด ซึ่ง 24 ชม.อาจวิ่งได้แค่ 1 เที่ยว หรือต่ำกว่านั้น ระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศ ทางเอกชนมองว่ากระทบแน่นอน ในแง่ที่ต้องเปลี่ยนบรรทุกไปใช้รถยนต์ขนาดเล็กแทน ซึ่งต้องใช้รถจำนวนมากขึ้น ต้นทุนก็เพิ่ม เช่น เดิมบรรทุก 1 คัน ก็อาจต้องใช้รถยนต์แทน 6 คัน
'โฆษกเพื่อไทย' ชวนปชช.จับตาสภาถกแก้รธน. ย้ำทางออกเดียวคือ 'ประยุทธ์' ลาออก
https://www.matichon.co.th/politics/news_2442905
‘โฆษกเพื่อไทย’ ชวนปชช.จับตาสภาถกแก้รธน. ย้ำทางออกเดียวคือ ‘ประยุทธ์’ ลาออก
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน น.ส.อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงท่าทีรัฐบาลที่เตรียมเชิญกลุ่มเห็นต่างเสนอไอเดียด้านเศรษฐกิจ ว่า เป็นเพียงข้ออ้างซื้อเวลา หวังผลในการลดแรงกดดัน และสร้างความชอบธรรม เพื่อให้ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล และปฏิบัติการไอโอนำไปเบี่ยงประเด็นจากสถานการณ์ชุมนุมเท่านั้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมาพรรคฝ่ายค้าน ผู้ชุมนุม และนักวิชาการ ได้เสนอทางออกด้านการเมือง และเศรษฐกิจ มาโดยตลอด แต่รัฐบาลไม่เคยได้ยิน 6 ปีที่ผ่านมา คือบทพิสูจน์การบริหารประเทศที่ปราศจากการรับฟังเสียงของสังคมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจไทยที่อยู่ในขั้นตกต่ำที่สุด หนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นหลายเท่า เฉพาะหนี้ครัวเรือนไตรมาส 2 แตะร้อยละ 83.8 และอาจทะลุร้อยละ 90 ภายในสิ้นปีนี้ สอดคล้องกับตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพีที่จะลดต่ำลง รวมถึงปัญหาตกงาน บัณฑิตจบใหม่ว่างงานอีกจำนวนมหาศาล และการส่งออกที่อาจติดลบกว่าร้อยละ 10 ในปีนี้ ขณะที่ ส.ส. และ ส.ว. หลายคนยังทำตัวเป็นปรปักษ์ต่อประชาชน ทั้งหมดแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลนี้ไร้ความสามารถและไร้ประสิทธิภาพในการทำงาน ผู้นำรัฐบาลมีหน้าที่บริหารประเทศให้ก้าวพ้นวิกฤต แต่ต้องมาขอไอเดีย ขอร้องให้ช่วยกัน จึงไม่ใช่วิสัยของผู้บริหารมืออาชีพ ทางออกเดียวของประเทศในเวลานี้คือการเสียสละลาออกของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพียงคนเดียว จะเป็นประโยชน์ต่อคนไทยเกือบ 70 ล้านคน ทันที พล.อ.ประยุทธ์ออกมาให้สัมภาษณ์หลายครั้งว่าไม่อยากเป็นนายกฯ ไม่ยึดติดตำแหน่ง แต่ก็ไม่ลาออกเสียที ยิ่งอยู่ยิ่งเสื่อมถอยในตัวเอง และถ่วงประเทศชาติ
น.ส.อรุณี กล่าวอีกว่า ขอให้ประชาชนจับตาการพิจารณาญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ วันที่ 17-18 พฤศจิกายนนี้ว่ารัฐบาลจะคำนึงถึงความต้องการประชาชนทั้งประเทศอีกหรือไม่ หรือจะตีมึนดึงดันไม่แก้ไขในประเด็นที่ประชาชนเรียกร้อง ยิ่งทำตัวเองเป็นตัวปัญหามากกว่าเดิม พล.อ.ประยุทธ์และรัฐบาลถนัดทำแต่สิ่งที่ย้อนแย้งในตัวเองเสมอ ทั้งกลับลำแก้รัฐธรรมนูญ ใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ชุมนุม สวนทางกับปากที่สื่อสารกับประชาชน