คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ขออนุญาติแชร์ประสบการณ์ให้ จขกท เพิ่มเติมจากท่านอื่นนะครับ
Maintenance Engineer (ME) หลักๆ ก็ต้องคอย Support ทีมซ่อมบำรุงในการดูแลเครื่องจักรให้พร้อมทำงานเสมอในทุกทาง ดิน(พื้นที่ตั้งเครื่องจักร) นํ้า(สำหรับใช้กับเครื่องจักร) ลม(อากาศอัด) ไฟ(ไฟฟ้า) ของเครื่องต้องเรียบร้อย ซึ่งปกติจะมี KPI หรือ OKRs ของแผนกซ่อมบำรุงคอยกำกับเป้าหมายและมาตรฐานของตำแหน่งอยู่ว่า แผนกที่เราอยู่นั้นทำผลงานในส่วนของตนเองเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับมาตรฐานที่ตั้งไว้ในกรณี KPI หรือทำได้ประสิทธิภาพสูงสุดสมํ่าเสมอไหมในกรณีของ OKRs เช่น เดือนนี้มีเครื่องจักรเสียจนหยุดเดินรวมกันนานแค่ไหน (กรณีที่ดีที่สุดคือไม่มีเลย) ฯลฯ ซึ่งผู้จัดการโรงงานจะสามารถเห็นผลงานของเราและแผนกนี้ได้ผ่านทางสิ่งเหล่านี้ได้อีกทางเพิ่มเติมจากสิ่งที่เห็นด้วยตา นอกจากนี้ก็จะได้ปรับปรุงหรือสร้างเครื่องจักรขึ้นมาใหม่ให้ฝ่ายผลิตใช้ในบางโอกาส, จัดสรรเครื่องมือและ Spare Part สำหรับงานซ่อมบำรุง, วางแผน-ทบทวนแผนบำรุงรักษาเครื่องจักร-จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร / อุปกรณ์เครื่องมือที่มาใหม่ที่เกี่ยวกับแผนกที่เราอยู่ เช่น Work Insturction ฯลฯ เมื่ออายุงานเพิ่มขึ้น ME, บางที่ก็ประจำอยู่แผนกซ่อมบำรุงส่วนกลางโดยจะดูแลเครื่องจักรทั้งโรงงาน และบางที่ก็จะมีคนที่คล้าย ME ประจำแต่ละไลน์การผลิต ขึ้นอยู่กับจำนวนเครื่องจักรที่มี
Facility Engineer (FE) ก็จะคล้าย ๆกับ Maintenance Engineer เพียงแต่จะดูแลระบบสาธารณูปโภครอบโรงงานแทน จะไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับเครื่องจักร (สำคัญไม่แพ้เครื่องจักร) ซึ่งถ้าองค์กรไม่ใหญ่มากก็จะมี FE ที่ส่วนกลางอย่างเดียว ถ้าองค์กรใหญ่มากก็อาจจะต้องมี FE ประจำส่วนย่อย
ในบางโรงงานที่ไม่ใหญ่มากนั้น ME กับ FE จะเป็นคนเดียวกัน ซึ่งดีตรงที่ว่าจะได้ใช้ความสามารถเต็มที่ทำให้ Skill เราครบเครื่องมากขึ้น
เมื่อทำงานไปเรื่อย ๆแล้ว จขกท จะมี Soft Skill เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ได้แก่ ความสามารถในการลงมือทำ-ซ่อมเองบ้างตามความเหมาะสม ความสามารถในการนำ-จัดการ-จัดสรรทีม ความสามารถการนำเสนอ-สื่อสาร-ประสานงาน ฯลฯ และ Hard Skill เพิ่มเติมนอกจากที่เรียนมา เช่น จบเครื่องกลมาอาจจะเขียน PLC ควบคุมเครื่องจักรได้ด้วย ซึ่งเป็นวิชาของไฟฟ้า ฯลฯ ยิ่ง จขกท ชอบลุยเองแล้วยินดีเรียนรู้ด้วยล่ะก็รับรองว่าทำงานสนุกขึ้นเยอะ
สำหรับการต่อยอดในอาชีพนี้ เมื่อได้เริ่มต้นทำงานในที่แรกแล้วจะมีโอกาสก้าวหน้าในสายงานซ่อมบำรุงโดยการขึ้นตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนก ผู้ช่วยผู้จัดการแผนก ผู้จัดการแผนก ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่าย ผู้จัดการฝ่าย และบางที่จะมีผู้ช่วยผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการด้วยตามลำดับ (แต่ละที่มีโครงสร้างองค์กรไม่เหมือนกัน อันนี้คือยกตัวอย่างให้เห็นภาพเฉย ๆนะ) ซึ่งเป็นไปได้ทั้งการได้รับการเลื่อนขั้นในองค์กรเดิม หรือ ย้ายไปรับตำแหน่งที่ใหม่ โดยทั่วไปประมาณ 5 ปีขึ้นจะเริ่มเลื่อนขั้นขึ้นเป็นหัวหน้าแผนก บางที่อาจเร็วกว่านั้นหรือช้ากว่านั้น
แต่ต้องยอมรับว่ารายละเอียดงานจะเป็นงานเชิง Routine เป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้ามองภาพกว้างจะเห็นว่าจริง ๆแล้วเป็นงานโครงการอ่ะแหละเพียงแต่ Set-Up ตั้งไลน์ผลิตแล้วรันผลิตภัณฑ์นั้นยาวไป ยกเว้นว่าบริษัทจะหางานใหม่เข้ามาเพิ่มถึงจะ Set-Up ใหม่อีกครั้ง
แล้วก็อีกข้อหนึ่งที่ชัดเจน คือ เป็นงานที่มีเวลาเข้างานและเลิกงานที่แน่นอน ซึ่งจะเหมาะสมกับผู้ที่จะลงหลักปักฐาน มีครอบครัวของตัวเอง โดยอาจจะต่างจากกลุ่มงานก่อสร้างที่เมื่อเสร็จโครงการแล้วต้องย้ายไปประจำโครงการอื่นต่อไป ซึ่งจะทำอย่างที่กล่าวไปยากขึ้น แต่สามารถทำได้เช่นกัน
ส่วนเรื่องใบประกอบวิชาชีพ อันดับแรกคือ ควรมีไว้ ไม่ว่าจะได้ใช้หรือไม่ใช้ก็ตาม เพราะถือว่าเรามีความชอบธรรมในการทำงานอาชีพวิศวกรได้ตามกฎหมาย (หลาย ๆที่ไม่ซีเรียสเรื่องนี้) และแน่นอนว่าถ้าทำงานโรงงานก็จะเลื่อนขั้นค่อนข้างยากหน่อย เพราะแทบไม่ได้ใช้หรือไม่ได้ใช้เลย จขกท อาจต้องมีงานเสริมเพิ่ม หรือบริษัทที่ทำอยู่มีโครงการก่อสร้าง ขยายกำลังการผลิตก็อาจมีจังหวะได้ใช้เพื่อเก็บผลงานเลื่อนขั้นได้ (เช่น 2-3โครงการภายใน 3ปี, แนะนำให้ใช้ผลงานที่ทำด้วยตัวเองหรือทำร่วมกับผู้อื่นเท่านั้นจะสนิทใจและภูมิใจมากกว่า+อบรมหรือไปงานประชุมวิชาการเพิ่มซักหน่อย)
ถ้าบริษัทที่ จขกท ทำงานอยู่ใช้กำลังไฟฟ้าเยอะกว่าปกติแล้วบริษัทนั้นจะถือเป็นโรงงานควบคุมและ จขกท อาจจะได้รับเกียรติให้ถือ license ด้านการจัดการพลังงานเพิ่มอีกใบนอกจาก กว. ด้วย ในที่นี้อาจเป็นได้ทั้ง ผชร. (โรงงาน) และ/หรือ ผอส. (ความร้อน) ซึ่งบริษัทจะส่ง จขกท ไปอบรมเพื่อการนี้ และมีหน้าที่ในการจัดสรรการใชัพลังงาน วางมาตรการการประหยัดพลังงานให้แต่ละแผนก / ฝ่าย ให้ใช้ไฟฟ้า ความร้อน อย่างคุ้มค่าที่สุด รวมทั้งทำรายงานประจำปีส่งกลับ พพ. (ถ้าบริษัทมีบุคคลดังกล่าวแล้วก็แล้วไป)
และถ้า จขกท ได้มีโอกาสผ่านงานในอุตสาหกรรมที่ 2 ที่ 3 หรือที่ไม่คุ้นเคยนั้น จขกท มีพื้นฐานจากที่แรกแล้วสามารถไปต่อยอดในที่ 2 ที่ 3 ได้อย่างแน่นอน ภายนอกอาจจะดูต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่โดยพื้นฐานแล้วมีหลักการเหมือนกันทั้งหมด ต่างกันที่ฟังก์ชันการทำงานเท่านั้น เช่น แต่ละโรงงานใช้เครื่องจักรต่างประเภทกัน แต่ถูกสร้างขึ้นจากอุปกรณ์ที่เหมือนกัน, ทุกโรงงานต้องมีเครื่องปรับอากาศ (แอร์ติดผนัง-ตั้งพื้น/VRV/Chiller), เครื่องอัดอากาศ(ปั้มลม), ปั้มนํ้า, ปั้มเติมอากาศที่ต้องใช้เหมือนกัน ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องไปเรียนรู้เพิ่มและจะเป็นประโยชน์ต่อ จขกท โดยตรง
อีกสิ่งที่จะเป็นประโยชน์มาก คือ ภาษาที่ 2 (ภาษาอังกฤษ) ภาษาที่ 3 (ญี่ปุ่น-จีน) จะทำให้ จขกท มีอัตราการเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆเร็วขึ้นกว่าคนปกติแบบติดจรวด ส่งผลให้ จขกท ครบเครื่องมากขึ้น ไปอยู่ที่ไหนก็เนื้อหอม ค่าตอบแทนก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน
คิดว่าน่าจะพอเป็นข้อมูลเพิ่มเติมให้ จขกท มีข้อมูลวางแผนอนาคตระยะยาวได้บ้างนะครับ
Maintenance Engineer (ME) หลักๆ ก็ต้องคอย Support ทีมซ่อมบำรุงในการดูแลเครื่องจักรให้พร้อมทำงานเสมอในทุกทาง ดิน(พื้นที่ตั้งเครื่องจักร) นํ้า(สำหรับใช้กับเครื่องจักร) ลม(อากาศอัด) ไฟ(ไฟฟ้า) ของเครื่องต้องเรียบร้อย ซึ่งปกติจะมี KPI หรือ OKRs ของแผนกซ่อมบำรุงคอยกำกับเป้าหมายและมาตรฐานของตำแหน่งอยู่ว่า แผนกที่เราอยู่นั้นทำผลงานในส่วนของตนเองเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับมาตรฐานที่ตั้งไว้ในกรณี KPI หรือทำได้ประสิทธิภาพสูงสุดสมํ่าเสมอไหมในกรณีของ OKRs เช่น เดือนนี้มีเครื่องจักรเสียจนหยุดเดินรวมกันนานแค่ไหน (กรณีที่ดีที่สุดคือไม่มีเลย) ฯลฯ ซึ่งผู้จัดการโรงงานจะสามารถเห็นผลงานของเราและแผนกนี้ได้ผ่านทางสิ่งเหล่านี้ได้อีกทางเพิ่มเติมจากสิ่งที่เห็นด้วยตา นอกจากนี้ก็จะได้ปรับปรุงหรือสร้างเครื่องจักรขึ้นมาใหม่ให้ฝ่ายผลิตใช้ในบางโอกาส, จัดสรรเครื่องมือและ Spare Part สำหรับงานซ่อมบำรุง, วางแผน-ทบทวนแผนบำรุงรักษาเครื่องจักร-จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร / อุปกรณ์เครื่องมือที่มาใหม่ที่เกี่ยวกับแผนกที่เราอยู่ เช่น Work Insturction ฯลฯ เมื่ออายุงานเพิ่มขึ้น ME, บางที่ก็ประจำอยู่แผนกซ่อมบำรุงส่วนกลางโดยจะดูแลเครื่องจักรทั้งโรงงาน และบางที่ก็จะมีคนที่คล้าย ME ประจำแต่ละไลน์การผลิต ขึ้นอยู่กับจำนวนเครื่องจักรที่มี
Facility Engineer (FE) ก็จะคล้าย ๆกับ Maintenance Engineer เพียงแต่จะดูแลระบบสาธารณูปโภครอบโรงงานแทน จะไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับเครื่องจักร (สำคัญไม่แพ้เครื่องจักร) ซึ่งถ้าองค์กรไม่ใหญ่มากก็จะมี FE ที่ส่วนกลางอย่างเดียว ถ้าองค์กรใหญ่มากก็อาจจะต้องมี FE ประจำส่วนย่อย
ในบางโรงงานที่ไม่ใหญ่มากนั้น ME กับ FE จะเป็นคนเดียวกัน ซึ่งดีตรงที่ว่าจะได้ใช้ความสามารถเต็มที่ทำให้ Skill เราครบเครื่องมากขึ้น
เมื่อทำงานไปเรื่อย ๆแล้ว จขกท จะมี Soft Skill เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ได้แก่ ความสามารถในการลงมือทำ-ซ่อมเองบ้างตามความเหมาะสม ความสามารถในการนำ-จัดการ-จัดสรรทีม ความสามารถการนำเสนอ-สื่อสาร-ประสานงาน ฯลฯ และ Hard Skill เพิ่มเติมนอกจากที่เรียนมา เช่น จบเครื่องกลมาอาจจะเขียน PLC ควบคุมเครื่องจักรได้ด้วย ซึ่งเป็นวิชาของไฟฟ้า ฯลฯ ยิ่ง จขกท ชอบลุยเองแล้วยินดีเรียนรู้ด้วยล่ะก็รับรองว่าทำงานสนุกขึ้นเยอะ
สำหรับการต่อยอดในอาชีพนี้ เมื่อได้เริ่มต้นทำงานในที่แรกแล้วจะมีโอกาสก้าวหน้าในสายงานซ่อมบำรุงโดยการขึ้นตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนก ผู้ช่วยผู้จัดการแผนก ผู้จัดการแผนก ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่าย ผู้จัดการฝ่าย และบางที่จะมีผู้ช่วยผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการด้วยตามลำดับ (แต่ละที่มีโครงสร้างองค์กรไม่เหมือนกัน อันนี้คือยกตัวอย่างให้เห็นภาพเฉย ๆนะ) ซึ่งเป็นไปได้ทั้งการได้รับการเลื่อนขั้นในองค์กรเดิม หรือ ย้ายไปรับตำแหน่งที่ใหม่ โดยทั่วไปประมาณ 5 ปีขึ้นจะเริ่มเลื่อนขั้นขึ้นเป็นหัวหน้าแผนก บางที่อาจเร็วกว่านั้นหรือช้ากว่านั้น
แต่ต้องยอมรับว่ารายละเอียดงานจะเป็นงานเชิง Routine เป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้ามองภาพกว้างจะเห็นว่าจริง ๆแล้วเป็นงานโครงการอ่ะแหละเพียงแต่ Set-Up ตั้งไลน์ผลิตแล้วรันผลิตภัณฑ์นั้นยาวไป ยกเว้นว่าบริษัทจะหางานใหม่เข้ามาเพิ่มถึงจะ Set-Up ใหม่อีกครั้ง
แล้วก็อีกข้อหนึ่งที่ชัดเจน คือ เป็นงานที่มีเวลาเข้างานและเลิกงานที่แน่นอน ซึ่งจะเหมาะสมกับผู้ที่จะลงหลักปักฐาน มีครอบครัวของตัวเอง โดยอาจจะต่างจากกลุ่มงานก่อสร้างที่เมื่อเสร็จโครงการแล้วต้องย้ายไปประจำโครงการอื่นต่อไป ซึ่งจะทำอย่างที่กล่าวไปยากขึ้น แต่สามารถทำได้เช่นกัน
ส่วนเรื่องใบประกอบวิชาชีพ อันดับแรกคือ ควรมีไว้ ไม่ว่าจะได้ใช้หรือไม่ใช้ก็ตาม เพราะถือว่าเรามีความชอบธรรมในการทำงานอาชีพวิศวกรได้ตามกฎหมาย (หลาย ๆที่ไม่ซีเรียสเรื่องนี้) และแน่นอนว่าถ้าทำงานโรงงานก็จะเลื่อนขั้นค่อนข้างยากหน่อย เพราะแทบไม่ได้ใช้หรือไม่ได้ใช้เลย จขกท อาจต้องมีงานเสริมเพิ่ม หรือบริษัทที่ทำอยู่มีโครงการก่อสร้าง ขยายกำลังการผลิตก็อาจมีจังหวะได้ใช้เพื่อเก็บผลงานเลื่อนขั้นได้ (เช่น 2-3โครงการภายใน 3ปี, แนะนำให้ใช้ผลงานที่ทำด้วยตัวเองหรือทำร่วมกับผู้อื่นเท่านั้นจะสนิทใจและภูมิใจมากกว่า+อบรมหรือไปงานประชุมวิชาการเพิ่มซักหน่อย)
ถ้าบริษัทที่ จขกท ทำงานอยู่ใช้กำลังไฟฟ้าเยอะกว่าปกติแล้วบริษัทนั้นจะถือเป็นโรงงานควบคุมและ จขกท อาจจะได้รับเกียรติให้ถือ license ด้านการจัดการพลังงานเพิ่มอีกใบนอกจาก กว. ด้วย ในที่นี้อาจเป็นได้ทั้ง ผชร. (โรงงาน) และ/หรือ ผอส. (ความร้อน) ซึ่งบริษัทจะส่ง จขกท ไปอบรมเพื่อการนี้ และมีหน้าที่ในการจัดสรรการใชัพลังงาน วางมาตรการการประหยัดพลังงานให้แต่ละแผนก / ฝ่าย ให้ใช้ไฟฟ้า ความร้อน อย่างคุ้มค่าที่สุด รวมทั้งทำรายงานประจำปีส่งกลับ พพ. (ถ้าบริษัทมีบุคคลดังกล่าวแล้วก็แล้วไป)
และถ้า จขกท ได้มีโอกาสผ่านงานในอุตสาหกรรมที่ 2 ที่ 3 หรือที่ไม่คุ้นเคยนั้น จขกท มีพื้นฐานจากที่แรกแล้วสามารถไปต่อยอดในที่ 2 ที่ 3 ได้อย่างแน่นอน ภายนอกอาจจะดูต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่โดยพื้นฐานแล้วมีหลักการเหมือนกันทั้งหมด ต่างกันที่ฟังก์ชันการทำงานเท่านั้น เช่น แต่ละโรงงานใช้เครื่องจักรต่างประเภทกัน แต่ถูกสร้างขึ้นจากอุปกรณ์ที่เหมือนกัน, ทุกโรงงานต้องมีเครื่องปรับอากาศ (แอร์ติดผนัง-ตั้งพื้น/VRV/Chiller), เครื่องอัดอากาศ(ปั้มลม), ปั้มนํ้า, ปั้มเติมอากาศที่ต้องใช้เหมือนกัน ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องไปเรียนรู้เพิ่มและจะเป็นประโยชน์ต่อ จขกท โดยตรง
อีกสิ่งที่จะเป็นประโยชน์มาก คือ ภาษาที่ 2 (ภาษาอังกฤษ) ภาษาที่ 3 (ญี่ปุ่น-จีน) จะทำให้ จขกท มีอัตราการเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆเร็วขึ้นกว่าคนปกติแบบติดจรวด ส่งผลให้ จขกท ครบเครื่องมากขึ้น ไปอยู่ที่ไหนก็เนื้อหอม ค่าตอบแทนก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน
คิดว่าน่าจะพอเป็นข้อมูลเพิ่มเติมให้ จขกท มีข้อมูลวางแผนอนาคตระยะยาวได้บ้างนะครับ
แสดงความคิดเห็น
สอบถามเรื่องงาน วิศว ระหว่าง facility engineer กับ maintenance engineer สายโรงงาน
เท่าที่ศึกษาดูคือ
บางโรงงานมี facility engineer แต่ไม่มี maintenance engineer
บางโรงงานมี maintenance engineer แต่ไม่มี facility engineer
ผมสายลุยๆงานได้หมดจบ ปวช ปวส ป.ตรี
แล้วตำแหน่งไหนมีโอกาศก้าวหน้ากว่ากันครับและเงินเดือนดีกว่ากัน
ขอบคุณสำหรับทุกคอมเม้นครับ