อินเดียโดนๆ : 🌟 ดิวาลี : เทศกาลแห่งแสงไฟและความสว่างไสว (Diwali : Festival of Lights) ✨✴️

เวียนบรรจบครบรอบปีก้อจะถึงเทศกาลดิวาลีกันอีกหนึ่งครั้งแล้วนะจ้ะ 🌟✨ ดิวาลีหรือดิพาวาลี (Diwali or Dipawali) เป็นเทศกาลที่ใหญ่ที่สุดและเป็นช่วงวันหยุดที่สำคัญที่สุดในอินเดีย 👌 เพราะไม่ใช่เฉพาะชาวฮินดูที่เฉลิมฉลองเทศกาลนี้ ชาวพุทธ ชาวซิกข์ และขาวเชน (Jain) ในอินเดียก้อฉลองเทศกาลนี้ด้วยเหมือนกัน (จะแตกต่างกันนิดหน่อยในเรื่องราว แต่ความหมายจะคล้ายกันคือเป็นเรื่องของธรรมะชนะอธรรม หรือการรู้แจ้งทางปัญญา) ถ้าจะพูดให้เห็นภาพชัด ๆ คือ ดีวาลีมีความสำคัญเหมือนกับเทศกาลคริสตมาสต์ที่มีต่อชาวคริสต์ทั่วโลกกันเลยจ้า 👌 เทศกาลใหญ่ขนาดนี้ หลายคนคงรู้จักกันดีอยู่แล้ว โพสต์นี้เลยถือโอกาสมาทำความรู้จักเพิ่มเติมกันอีกซักกะติ๊ดดดดดส์เด้อค่า 😉

ฝากเพจเล็ก ๆ ของเราไว้ด้วยนะคะ : www.CHARMSHANTI.com
FB : https://www.facebook.com/charmshanti/


ชื่อ Diwali มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า “แสงไฟที่เรียงรายต่อกันเป็นแถว” คำว่า dipa แปลว่า ตะเกียง แสงไฟ โคมไฟ เทียนหรืออะไรก้อตามที่ส่องแสงได้ ✨ หรือแปลว่า ความรู้ก้อได้ ✅ ส่วนคำว่า aavali แปลว่า แถว เป็นแนวต่อเนื่องกันเป็นสายหรือเป็นชุด ในแต่ละปี วันที่จะไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับปฏิทินจันทรคติของศาสนาฮินดู (Hindu Lunar calendar) 🌙🌔🌓🌒🌑🌎


ในเทศกาลนี้คนอินเดียจะประดับตกแต่งบ้านและสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ด้วยหลอดไฟหรือสายไฟหลากสี เทียนไข โคมไฟ ตะเกียง หรืออะไรที่ส่องแสงได้ 🌟✨ รวมไปถึงการทำความสะอาดบ้านใหม่ ใส่เสื้อผ้าใหม่ 👚👕🥻 ฟีลลิ่งของเทศกาลจะคล้ายกับช่วงสิ้นปีย่างเข้าปีใหม่ คืออะไรก้อจะใหม่ เป็นสิ่งใหม่ เริ่มต้นสิ่งใหม่ สิ่งดี ๆ 🥳 จะมีการจุดพลุและทำขนมหวานกินกันอีกด้วย 🍧🥨 เทศกาลนี้จึงเป็นที่ถูกใจเด็ก ๆ กันม๊ากกกกกก 😍 ถ้าเราไปอินเดียช่วงเทศกาลนี้ เราจะได้ยินเสียงจุดพลุกันอุตลุต แล้วก้อจะได้เห็นแสงสีประดับประดาบ้านเมืองอย่างสวยงาม 👍


ทีนี้เรามาดูความแตกต่างของดิวาลีในแต่ละที่ แต่ละความเชื่อแบบสั้น ๆ กันค่ะ 🙂
✴️ ภาคเหนือ : ฉลองเทศกาลนี้ตามความเชื่อทางฮินดูสำหรับการที่พระรามและนางสีดา (Rama and Sita) กลับคืนสู่เมืองอโยธยาหลังจากชนะราวณะหรือราวัน (Ravana หรือบ้านเราเรียกว่า ทศกัณฐ์) โดยการจุดตะเกียงดินเผาเรียงรายเป็นทาง
✴️ ภาคใต้ (และเนปาล) : ฉลองวันนี้เป็นวันที่พระกฤษณะ ฝ่ายธรรม สังหารปีศาจนรกอสูร ผู้นำฝ่ายอธรรม
✴️ ภาคตะวันตก : ฉลองวันนี้เป็นวันที่พระวิษณุส่งท้าวมหาพลี (Mahabali) ไปปกครองโลกหลังความตายในส่วนของสุตาละโลก (Sutala-loka) โลกชั้นที่ 10 ในจักรวาลวิษณุปุราณะ (Vishu Purana) 
✴️ เบงกอล - ฉลองที่เจ้าแม่กาลี (goddess Kali) ปราบมารต่าง ๆ
✴️ ชาวฮินดู - ฉลองดิวาลีเป็นเทศกาลที่ธรรมะชนะอธรรม และเชื่อกันว่าการจุดดวงไฟจะเป็นการนำทางให้พระลักษณมีมาถึงบ้านนั้น ๆ เพื่อนำความเจริญรุ่งเรืองมากับขวบปีใหม่ที่กำลังจะมา
✴️ ชาวเจน – ฉลองเป็นวันที่มหาวีระตื่นรู้นิพพานทางจิตวิญญาณ การจุดดวงไฟเป็นสัญลักษณ์อขงการทำให้ปัญญาของมหาวีระยังคงดำรงอยู่ โดยจะมีการอดอาหาร การร้องบทสวดต่าง ๆ รวมไปถึงการบริจาคและทำบุญอีกด้วย
✴️ ชาวซิกข์ – ฉลองเป็นวันที่คุรุหรโคพินท์ (Guru Hargobind - คุรุคนที่ 6) ถูกปลดปล่อยจากการจองจำ โดยจะมีการประดับไฟแบบอลังการงานสร้างที่วิหารทองคำ (Golden temple) และสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน (คงจะยิ่งสวยยยกว่าเดิมมมม น่าไปดูจังงงงงงงง 😮)



แล้วเค้าฉลองดิวาลีกันแบบไหน ยังไง ✨ อาฮ่ะ เค้าฉลองกัน "5 วัน" ค่ะ มาดูคร่าว ๆ กันตามนี้เลยจ้า 😉 :
วันแรก : ทำความสะอาดบ้าน จัดบ้านหรือร้านค้าของตัวเองเพื่อรอรับสิ่งดี ๆ ที่เชื่อว่ากำลังจะมา
วันที่สอง : ตกแต่งบ้านด้วยตะเกียงดินเผา ดอกไม้ และรังโกลีแบบต่าง ๆ ที่แต่ละบ้านจะออกแบบมา (Rangoli - การตกแต่งด้วยดอกไม้และทรายสีหรือแป้งสี) 🌺
วันที่สาม : เป็นวันหลักของเทศกาลนี้ คนในครอบครัวจะมรรวมตัวกันพื่อทำพิธีลักษมีบูชา (Lakshmi puja) ตามด้วยการกินข้าวกินเลี้ยงด้วยกันและจุดพลุจุดไฟต่าง ๆ 🌟✨🎊
วันที่สี่ : วันนี้ถือเป็นวันแรกของปีใหม่ 🎀 บรรดาเพื่อนและญาติมิตรจะไปเยี่ยมเยียนกันเพื่อให้ของขวัญและอวยพรซึ่งกันและกัน 🎁 ❤️
วันที่ห้า : พี่ชายหรือน้องชายไปเยี่ยมน้องสาวหรือพี่สาวที่แต่งงานไปแล้ว ซึ่งแน่นอนต้องตบท้ายด้วยกันทานข้าวมื้ออร่อยด้วยกันโดยฝั่งบ้านน้องสาวจะเป็นผู้ทำเตรียมต้อนรับไว้อย่างพิเศษ 💖🤟👍


(รังโกลี - Rangoli : บางบ้าน บางตระกูล จะมีการดีไซน์แบบรังโกลีเป็นของตัวเอง และส่งต่อกันมาเป็นรุ่น ๆ เหมือนกับเป็นลายเซ็นต์ว่าถ้าเราเห็นรังโฏลีแบบนี้ปุ๊บ จะรู้ปั๊บเลยว่ามาจากบ้านไหนอะไรยังไง เก๋ ๆ นะ น่าภูมิใจไปอีกแบบ)

นอกเหนือจากทั่วประเทศอินเดียแล้ว นอกประเทศ เค้าก้อมีฉลองกันกริ๊บ ๆ เกร๋ ๆ น๊าเอออววววว! 😮 ที่เมืองเลสเตอร์ (Leicester) ในอังกฤษ (ขอย้ำกว่า ประเทศอังกฤษจ้ะ 😆) จัดว่าเป็นเมืองที่เฉลิมฉลองเทศกาลดิวาลีอย่างยิ่งใหญ่ที่สุด คือเริ่มตั้งแต่ต้น ๆ ปี ‘80 ชุมชนแรงงาน ผู้อยู่อาศัย สมาชิกสภาและเจ้าหน้าที่ได้ปรึกษากันเป็นครั้งแรกสำหรับไอเดียในการตกแตกดวงไฟดิวาลี ซึ่งการตกแต่งแสงไฟปีแรกคือในปี 1983 ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของการฉลองดิวาลีในเลสเตอร์ ซึ่งเราเห็นได้จนถึงปัจจุบันี้ ในทุกปี จะมีคนกว่าพัน ๆ หมื่น ๆ คนรวมตัวกันบนท้องถนนเพื่อฉลองเทศกาลนี้ ไม่ใช่แบบธรรมดานะจ้ะ มีมาทั้งแสง สี เสียง และการแด๊นนนนนซ์เลยจ้า! 💕 อั๊คช่า ม่ะจาเล๊ะ 🎵🎶🤩


(ดิวาลีในเมืองเลสเตอร์ ประเทศอังกฤษ)

อ๊ะ อ๊ะ ติดดิสเบรกให้นิดดดดส์นุงนะจ้ะสำหรับคนที่แพลนจะไปฉลองดิวาลีที่เดลลีหรือจะไปช่วง ตค. – ธค. ❗️เหมือนที่เราเห็นรายงานข่าวกันทุกปีคือจะมีภาวะหมอกและฝุ่นควันหนาจัด ๆ ย้ำว่า หนาจริงไม่ติงนัง แบบมองทางข้างหน้าแทบจะไม่เห็น การหายใจก้ออาจจะลำบากกว่าช่วงอื่นนิดนึง ไม่ใช่แค่เพราะควันและไฟจากการฉลองเทศกาลนี้ แต่ยังเป็นช่วงที่ไม่มีลม ชาวนาชาวไร่เค้าเผาไร่นากันสำหรับเตรียมในหน้าการเกษตรต่อไป และบริเวณนี้เป็นจุดที่ไม่ติดกับทะเล ทำให้ฝุ่นควันต่าง ๆ ไม่มีที่ระบายออกไป 😅 ถ้าต้องไปช่วงนี้จริง ๆ ลองแพลนกันด้วยความระวังในส่วนนี้ด้วยนะจ้ะ การท่องเที่ยวของเราจะได้ดีงาม ไม่ใช่กลับมาเจ็บกลับมาป่วยเด้อค่ะเด้อ อยากไป ต้องได้ปายยยยยยย แต่ไปแบบเซฟ ๆ ไว้ก่อน ดีที่สุดจ้า 🥳 🤟👍
 
(Credit sources - translated from (แปลข้อมูลจาก) : Ancient.eu / glorioushinduism.com / antaryami.com / huffpost.com / natgeokids.com / storyofleicester.info / indiatoday.in / Wikipedia.org / bbc.co.uk / kids.nationalgeographic.com, thank you to all respective owners)

(Credit photos : thank you for all respective owners from internet and Unsplash)

#CharmShanti #อินเดียโดนๆ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่