คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ใช้ไม่ได้ดีครับ ใช้ได้จำกัด
ต้องแยกครับ
หากจบกฎหมาย ป. ตรีที่ต่างประเทศ หรือจบโท กลับมาไทย ส่วนใหญ่ จะทำงาน ใน Law Firm ที่เกี่ยวกับกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และต้องมาศึกษาเพิ่มเติมในข้อกฎหมายของไทย ส่วนใหญ่กฎหมายพวกนี้ จะเป็นสากล
ยกเว้น พวกกฎหมายแพ่ง พาณิย์ อาญา ที่อาจจำเป็นต้องมาเรียนรู้เพิ่ม ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำหรอก เพราะเขาก็จะให้
ทำงานร่วมกับนักกฎหมาย ที่จบในไทย จบเนฯ และไปจบ ป.โท ที่ต่างประเทศมา
กลุ่มนี้ หากจะมาสอบรับราชการเป็นนิติกร , อัยการ หรือผู้พิพากษา ก็ยาก เพราะข้อจำกัดด้านกฎหมายไทย และ
นอกจากต้องมาเรียนเพิ่มแล้ว ปริญญาต้องอยู่ในบัญชีรายชื่อที่ กต. หรือ กอ. รับรอง ก.พ. รับรอง และยังต้องผ่าน
เนติยบัณฑิตด้วย (ยกเว้น นิติกร ไม่ต้อง จบเนฯ)
หากจบ ป.ตรี กฎหมายในไทย จบเนติยบัณฑิต แล้วไปต่อปริญญาโท ทางกฎหมายเฉพาะทาง ในต่างประเทศ
อันนี้ ง่ายเลย เพราะผ่านกฎหมายไทยมาก่อน ยิ่งจบเนติยบัณฑิตด้วย และก็ไปรู้กฎหมายเฉพาะทางในต่างประเทศ
พวกนี้ หากเก่งภาษา จะภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ หลายคนก็ได้งาน Law Firm เป็นที่ปรึกษากฎหมายสากล
จะทำในต่างประเทศหรือในไทยก็ไม่ยาก กลับมาสอบ อัยการ หรือผู้พิพากษา ก็จะง่ายขึ้นอีกมาก เรียกว่าสอบสนาม
เล็กหรือสนามจิ๋ว
ซึ่งการจะไปต่อ ป.โท กฎหมาย มหาวิทยาลัยในประเทศนั้นๆ ต้องอยู่ในบัญชีที่ กต. หรือ กอ. รับรอง ก.พ.
รับรอง
ปล. ในต่างประเทศ มีหลายประเทศ ที่เขารับ ผู้เรียนที่จบปริญญาตรี จากสาขาอื่นๆ ไปเรียน ป.โท ทางกฎหมาย เช่น จบแพทย์ จบวิทยาศาสตร์
วิศวกรรม จบบริหาร จบนิเทศน์ ในไทยไม่ยอม จะต่อ ป.โท กฎหมายได้ ต้อง จบ ป.ตรี กฎหมาย
ในศาลชำนัญพิเศษ ส่วนใหญ่เขาต้องการคนที่มีความรู้ลึกเฉพาะทาง เช่น จบแพทย์ และไปจบนิติศาสตร์ จบเนฯ ก็สอบสนามเล็กได้
จบวิศวะ+ นิติ จบเนฯ อะไรอย่างนี้ เขาจะได้นักกฎหมาย ที่รู้ถึงปัญหาคดีที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี
อย่างสมัยก่อน จบนิติทั่วไป + จบเนฯ สอบเป็นผู้พิพากษา หาไปเจอคดีที่เกี่ยวกับ ลิขสิทธิพวกพันธุ์พืช เซลต่างๆ มึนเลย หรือเจอคดีเกี่ยวกับ การค้าระหว่างประเทศ ก็ใช้เวลามาก จึงทำให้มีการแยกศาล มีการกำหนดคุณสมบัติผู้พิพากษา, อัยการ ให้มีความชำนาญเฉพาะทางมากขึ้น
ดังนั้น หากไม่แน่ใจ หรืออาจจะ ย้ำว่าอาจจะ กลับมาทำงานเกี่ยวกับกฎหมายในไทย ควรเรียน ป.ตรี กฎหมายในไทยก่อน เรียนเนฯ จบแล้วไปหาต่อ ป.โท กฎหมายเฉพาะทาง ในต่างประเทศ ==> แบบนี้ ทำได้ทั้งในและต่างประเทศ
การเรียน ป.ตรี สาขานิติศาสตร์ในไทย ไม่มีคำว่า อินเตอร์ 100% เพราะจะโดนบังคับว่า กฎหมายแพ่ง อาญา ต้องเรียนกฎหมายไทย ภาษาไทย และต้องรู้จักคำในสำนวนกฎหมายไทยด้วย เช่น คำว่า โมฆียกรรม การให้สัตยาบัน เป็นต้น ฯลฯ และอาจต้องรู้จักคำที่ใช้ในวงการตุลาการ เช่น คำว่า ยี่ต๊อก เป็นต้น ฯลฯ
ในไทย ที่จัดเป้นหลักสูตรอินเตอร์ ก็จะมี ม.ธรรมศาสตร์ , ABAC เป็นต้น ส่วน ม.แม่ฟ้าหลวง ไม่นับว่าเป็นหลักสูตรอินเตอร์ แต่การเรียนการสอน เน้นภาษาต่างประเทศ (จ่ายธรรมดา เรียนอินเตอร์)
คร่าวๆ ครับ
ต้องแยกครับ
หากจบกฎหมาย ป. ตรีที่ต่างประเทศ หรือจบโท กลับมาไทย ส่วนใหญ่ จะทำงาน ใน Law Firm ที่เกี่ยวกับกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และต้องมาศึกษาเพิ่มเติมในข้อกฎหมายของไทย ส่วนใหญ่กฎหมายพวกนี้ จะเป็นสากล
ยกเว้น พวกกฎหมายแพ่ง พาณิย์ อาญา ที่อาจจำเป็นต้องมาเรียนรู้เพิ่ม ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำหรอก เพราะเขาก็จะให้
ทำงานร่วมกับนักกฎหมาย ที่จบในไทย จบเนฯ และไปจบ ป.โท ที่ต่างประเทศมา
กลุ่มนี้ หากจะมาสอบรับราชการเป็นนิติกร , อัยการ หรือผู้พิพากษา ก็ยาก เพราะข้อจำกัดด้านกฎหมายไทย และ
นอกจากต้องมาเรียนเพิ่มแล้ว ปริญญาต้องอยู่ในบัญชีรายชื่อที่ กต. หรือ กอ. รับรอง ก.พ. รับรอง และยังต้องผ่าน
เนติยบัณฑิตด้วย (ยกเว้น นิติกร ไม่ต้อง จบเนฯ)
หากจบ ป.ตรี กฎหมายในไทย จบเนติยบัณฑิต แล้วไปต่อปริญญาโท ทางกฎหมายเฉพาะทาง ในต่างประเทศ
อันนี้ ง่ายเลย เพราะผ่านกฎหมายไทยมาก่อน ยิ่งจบเนติยบัณฑิตด้วย และก็ไปรู้กฎหมายเฉพาะทางในต่างประเทศ
พวกนี้ หากเก่งภาษา จะภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ หลายคนก็ได้งาน Law Firm เป็นที่ปรึกษากฎหมายสากล
จะทำในต่างประเทศหรือในไทยก็ไม่ยาก กลับมาสอบ อัยการ หรือผู้พิพากษา ก็จะง่ายขึ้นอีกมาก เรียกว่าสอบสนาม
เล็กหรือสนามจิ๋ว
ซึ่งการจะไปต่อ ป.โท กฎหมาย มหาวิทยาลัยในประเทศนั้นๆ ต้องอยู่ในบัญชีที่ กต. หรือ กอ. รับรอง ก.พ.
รับรอง
ปล. ในต่างประเทศ มีหลายประเทศ ที่เขารับ ผู้เรียนที่จบปริญญาตรี จากสาขาอื่นๆ ไปเรียน ป.โท ทางกฎหมาย เช่น จบแพทย์ จบวิทยาศาสตร์
วิศวกรรม จบบริหาร จบนิเทศน์ ในไทยไม่ยอม จะต่อ ป.โท กฎหมายได้ ต้อง จบ ป.ตรี กฎหมาย
ในศาลชำนัญพิเศษ ส่วนใหญ่เขาต้องการคนที่มีความรู้ลึกเฉพาะทาง เช่น จบแพทย์ และไปจบนิติศาสตร์ จบเนฯ ก็สอบสนามเล็กได้
จบวิศวะ+ นิติ จบเนฯ อะไรอย่างนี้ เขาจะได้นักกฎหมาย ที่รู้ถึงปัญหาคดีที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี
อย่างสมัยก่อน จบนิติทั่วไป + จบเนฯ สอบเป็นผู้พิพากษา หาไปเจอคดีที่เกี่ยวกับ ลิขสิทธิพวกพันธุ์พืช เซลต่างๆ มึนเลย หรือเจอคดีเกี่ยวกับ การค้าระหว่างประเทศ ก็ใช้เวลามาก จึงทำให้มีการแยกศาล มีการกำหนดคุณสมบัติผู้พิพากษา, อัยการ ให้มีความชำนาญเฉพาะทางมากขึ้น
ดังนั้น หากไม่แน่ใจ หรืออาจจะ ย้ำว่าอาจจะ กลับมาทำงานเกี่ยวกับกฎหมายในไทย ควรเรียน ป.ตรี กฎหมายในไทยก่อน เรียนเนฯ จบแล้วไปหาต่อ ป.โท กฎหมายเฉพาะทาง ในต่างประเทศ ==> แบบนี้ ทำได้ทั้งในและต่างประเทศ
การเรียน ป.ตรี สาขานิติศาสตร์ในไทย ไม่มีคำว่า อินเตอร์ 100% เพราะจะโดนบังคับว่า กฎหมายแพ่ง อาญา ต้องเรียนกฎหมายไทย ภาษาไทย และต้องรู้จักคำในสำนวนกฎหมายไทยด้วย เช่น คำว่า โมฆียกรรม การให้สัตยาบัน เป็นต้น ฯลฯ และอาจต้องรู้จักคำที่ใช้ในวงการตุลาการ เช่น คำว่า ยี่ต๊อก เป็นต้น ฯลฯ
ในไทย ที่จัดเป้นหลักสูตรอินเตอร์ ก็จะมี ม.ธรรมศาสตร์ , ABAC เป็นต้น ส่วน ม.แม่ฟ้าหลวง ไม่นับว่าเป็นหลักสูตรอินเตอร์ แต่การเรียนการสอน เน้นภาษาต่างประเทศ (จ่ายธรรมดา เรียนอินเตอร์)
คร่าวๆ ครับ
แสดงความคิดเห็น
เรียนกฎหมายที่ต่างประเทศ แล้วกฎหมายไทยหละ?
ถามเพราะไม่รู้จริงๆ ครับ.
ใครที่คิดว่านี่เป็นคำถามโง่ๆ ต้องขอโทษด้วยครับ.