ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 7
ตามความเชื่อ เรื่องการนับขั้นบันได โดยนับจำนวนลูกนอนเป็นเลขคี่ เท่าที่อ่านพบ มาจากเรื่องที่ไปอิงกับเรื่องพิธีกรรมทางศาสนาในการนิมนต์จำนวนรูปพระมาสวดมนต์ ในหลักที่ว่า " คนตายเป็นคู่ คนเป็นเป็นคี่" ไม่รวมประพุทธรูปที่เป้นพระประธาน ถ้ารวม คนตายจะเป็นคี่ คนเป็นจะเป็นคู่ (ข้อมูลนี้ถ้าไม่ตรง และท่านใดมีข้อมูลแตกต่างออกไป ขอแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นข้อมูลเพื่ม)
เช่นเดียวกับบันไดที่แบ่งช่วงแล้วต้องการลงท้ายด้วยเลขคี่ เพราะมีขั้นขานพัก และขั้นพื้นบนเสมือนเป็นประธานแล้ว ถ้านับรวมจะลงตัวเป็นเลขคู่ ตรงกับการนับจำนวนลูกตั้งที่จะเป็นเลขคู่เช่นกัน จนมีผู้อ้างว่าต้องก้าวเท้าให้ครบข้างซ้ายขวาตามหลักหลักสรีรศาสตร์ (Pัhysiology) [ในเรื่องของบันไดควรใช้คำว่า หลักการยศาสตร์ Ergonomics or Human Factor และยังไม่เคยอ่านพบในการกล่าวอ้าง ศึกษา ค้นคว้าเรื่องนี้ในตำราบันไดของยุโรป อเมริกา เครือจักรภพอังกฤษ ซึ่งเป็นต้นตำหรับศาสตร์บันได ในเรื่องที่ต้องก้าวเท้าขึ้นบันไดให้ครบข้างเท้า]
ขั้นบันได (Step) 1ขั้นประกอบด้วยความสูงขั้นและความลึกขั้น หรือลูกตั้ง ลูกนอน หลายๆขั้นประกอบกันเป็นบันได 1 หลัง ดังนั้นการก้าวเดินขึ้นบันไดตั้งแต่ขั้นแรกและขั้นต่อๆไปทุกขั้น จะต้องยกเท้าสูงข้ามความสูงขั้นหรือระยะตั้งหรือลูกตั้ง แล้วเหยียบเท้าบนความลึกขั้นหรือลูกนอนในแนวราบ การก้าวลงบันได ก็ต้องก้าวข้ามลงมา ไม่เว้นแม้แต่ขั้นขานพักและขั้นพื้นชั้นบน (เรียกทั่วไป ตัดคำว่า ขั้น ออก) ที่ต้องก้าวขึ้นความสูงขั้นหรือระยะตั้งหรือลูกตั้ง ดังนั้นชานพักหรือพื้นบนจึงเหมือนขั้นบันได 1 ขั้นที่มีลูกนอน แล้วมีพื้นราบมาต่อยาวออกไป ทำหน้าที่
-เป็นชานพัก เพื่อใช้เป็นที่พักในการเดินขึ้น-ลงและการเปลี่ยนทิศทางของแนวทางเดินบันได ต้องก้าวเท้ามากกว่า 1 ย่างก้าว
-เป็นพื้นชั้นบน เพื่อก้าวเดินต่อไปยังพื้นที่อื่นๆ
ตำราจะเรียกว่า Landing Step
ในบันไดที่ปู ติดตั้งลูกนอนไม้ ขั้นชานพักและขั้นพื้นชั้นบน จะมีจมูกบันไดยื่นและใช้ไม้หนาเท่าลูกนอนบันได จึงจะดูสมบูรณ์ ต่อเนื่อง และสวยงาม
ในการออกแบบคำนวณบันไดตามหลักศาสตร์บันได(สถาปัตยกรรม) ในรูปแบบ-รูปลักษณ์บันได และตามหลักวิศวกรรม ในระบบโครงสร้างบันได ต้องรวมในตัวบันไดทั้งหลัง ทั้งขั้นบันได ชานพักบันได พื้นที่หน้าบันไดและหลังบันได(พื้นชั้นบน)ตามข้อกำหนด
เช่นเดียวกับบันไดที่แบ่งช่วงแล้วต้องการลงท้ายด้วยเลขคี่ เพราะมีขั้นขานพัก และขั้นพื้นบนเสมือนเป็นประธานแล้ว ถ้านับรวมจะลงตัวเป็นเลขคู่ ตรงกับการนับจำนวนลูกตั้งที่จะเป็นเลขคู่เช่นกัน จนมีผู้อ้างว่าต้องก้าวเท้าให้ครบข้างซ้ายขวาตามหลักหลักสรีรศาสตร์ (Pัhysiology) [ในเรื่องของบันไดควรใช้คำว่า หลักการยศาสตร์ Ergonomics or Human Factor และยังไม่เคยอ่านพบในการกล่าวอ้าง ศึกษา ค้นคว้าเรื่องนี้ในตำราบันไดของยุโรป อเมริกา เครือจักรภพอังกฤษ ซึ่งเป็นต้นตำหรับศาสตร์บันได ในเรื่องที่ต้องก้าวเท้าขึ้นบันไดให้ครบข้างเท้า]
ขั้นบันได (Step) 1ขั้นประกอบด้วยความสูงขั้นและความลึกขั้น หรือลูกตั้ง ลูกนอน หลายๆขั้นประกอบกันเป็นบันได 1 หลัง ดังนั้นการก้าวเดินขึ้นบันไดตั้งแต่ขั้นแรกและขั้นต่อๆไปทุกขั้น จะต้องยกเท้าสูงข้ามความสูงขั้นหรือระยะตั้งหรือลูกตั้ง แล้วเหยียบเท้าบนความลึกขั้นหรือลูกนอนในแนวราบ การก้าวลงบันได ก็ต้องก้าวข้ามลงมา ไม่เว้นแม้แต่ขั้นขานพักและขั้นพื้นชั้นบน (เรียกทั่วไป ตัดคำว่า ขั้น ออก) ที่ต้องก้าวขึ้นความสูงขั้นหรือระยะตั้งหรือลูกตั้ง ดังนั้นชานพักหรือพื้นบนจึงเหมือนขั้นบันได 1 ขั้นที่มีลูกนอน แล้วมีพื้นราบมาต่อยาวออกไป ทำหน้าที่
-เป็นชานพัก เพื่อใช้เป็นที่พักในการเดินขึ้น-ลงและการเปลี่ยนทิศทางของแนวทางเดินบันได ต้องก้าวเท้ามากกว่า 1 ย่างก้าว
-เป็นพื้นชั้นบน เพื่อก้าวเดินต่อไปยังพื้นที่อื่นๆ
ตำราจะเรียกว่า Landing Step
ในบันไดที่ปู ติดตั้งลูกนอนไม้ ขั้นชานพักและขั้นพื้นชั้นบน จะมีจมูกบันไดยื่นและใช้ไม้หนาเท่าลูกนอนบันได จึงจะดูสมบูรณ์ ต่อเนื่อง และสวยงาม
ในการออกแบบคำนวณบันไดตามหลักศาสตร์บันได(สถาปัตยกรรม) ในรูปแบบ-รูปลักษณ์บันได และตามหลักวิศวกรรม ในระบบโครงสร้างบันได ต้องรวมในตัวบันไดทั้งหลัง ทั้งขั้นบันได ชานพักบันได พื้นที่หน้าบันไดและหลังบันได(พื้นชั้นบน)ตามข้อกำหนด
แสดงความคิดเห็น
บันไดไหนคือบันไดคู่บันไดคี่กันแน่?
มีจุดนึงที่ไม่แน่ใจ คือเรื่องบันได
บ้านพักอาศัย ห้ามเป็นบันไดคู่
คำถามคือ บันไดไหนคือบันไดคู่
ระหว่างภาพ 1 หรือภาพ 2 ภาพไหนคือบันไดคู่กันแน่ครับ
ช่วยแนะนำที
นับคู่/คี่ ที่ก้าว หรือที่ลูกบันไดกันแน่
ขอบคุณครับ