" Gonggong " ดาวเคราะห์แคระที่ใหญ่อันดับห้าในระบบสุริยะ

ระบบสุริยะแยกบริวารดวงอาทิตย์ที่มีลักษณะกลมหรือเกือบกลมออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือดาวเคราะห์ทั้ง 8 ได้แก่ดาวพุธ ศุกร์ โลก อังคาร พฤหัส เสาร์ ยูเรนัส เนปจูน กลุ่มหลังคือดาวเคราะห์แคระจำนวนมากโดย 6 ดวงแรกที่มีขนาดใหญ่สุดคือ พลูโต(โดนย้ายมาจากกลุ่มแรก) ตามด้วย อีริส ซีริส เฮาเมอา
มาคีมาคี และดวงสุดท้ายในกลุ่มคือ ดาวเคราะห์แคระนิรนาม

ดาวเคราะห์แคระนิรนาม มีขนาดใหญ่กว่าที่ทีมนักวิทยาศาสตร์คิดไว้อย่างมาก ทีมนักวิทยาศาสตร์จึงรวมข้อมูลจากหอสังเกตการณ์อวกาศสองแห่งเพื่อให้อ่านค่าวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ห่างไกลที่อยู่ในระบบสุริยะได้แม่นยำยิ่งขึ้น จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า มันเป็นดาวเคราะห์แคระที่ไม่มีชื่อที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และยังเป็นดาวเคราะห์แคระที่ใหญ่เป็นอันดับสามของดาวเคราะห์แคระทั้งหมดในปัจจุบัน

มันมีพื้นผิวหินน้ำแข็งที่มีสีแดงเนื่องจากมีก๊าซมีเธนที่อยู่พื้นผิวที่เป็นน้ำแข็งของมัน  โดยเรียกชื่อตอนค้นพบว่า  "2007 OR10" แต่ยังไม่มีชื่อเรียกจริงจัง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1,535 กม. ใหญ่รองลงมาจากดาวพลูโต และดาวอีรีส ถูกค้นพบโดย 3 นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน Megan Schwamb, Michael Brown และ David Rabinowitz ทีมนักดาราศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนียซึ่งใช้กล้องโทรทรรศน์ Samuel Oschin ที่ Palomar Observatory

"2007 OR10" เป็นดาวเคราะห์แคระ โคจรอยู่ในแถบไคเปอร์เช่นเดียวกับดาวพลูโต มีวงโคจรที่รีมาก ช่วงที่อยู่ที่จุดไกลสุดในวงโคจรอยู่ห่างออกไปถึง 101 หน่วยดาราศาสตร์ ส่วนช่วงที่เข้าใกล้ที่สุดอยู่ห่างออกไป 33 หน่วยดาราศาสตร์ซึ่งอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวเนปจูนกับดาวพลูโต มีคาบโคจร 549 ปี การค้นพบเกิดขึ้นจากการใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์สำรวจดาวเคราะห์แคระดวงนี้

กล้องเคปเลอร์เป็นกล้องเฉพาะกิจในด้านการค้นหาดาวเคราะห์ต่างระบบโดยการสังเกตแสงดาวที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งเกิดจากการผ่านหน้าของดาวเคราะห์ และศึกษาดาวแปรแสงและค้นหาวัตถุไคเปอร์  ข้อมูลด้านการแปรแสงของ "2007 OR10" ที่ได้จากกล้องเคปเลอร์แสดงว่า วัตถุดวงนี้หมุนรอบตัวเองด้วยคาบ 45 ชั่วโมง วัตถุไคเปอร์ส่วนใหญ่หมุนรอบตัวเองด้วยคาบต่ำว่า 24 ชั่วโมง ซึ่งถือว่าช้าผิดสังเกต

นักดาราศาสตร์จึงตั้งสมมุติฐานว่าอาจมีบริวารที่ยังมองไม่เห็นโคจรรอบอยู่ เพราะการมีดวงจันทร์บริวารโคจรรอบจะหน่วงให้คาบการหมุนรอบตัวเองของวัตถุแม่ช้าลง  เมื่อตรวจสอบจากคลังข้อมูลของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลซึ่งได้สำรวจดาวเคราะห์แคระดวงนี้มาก่อน  พบว่ามีจุดแสงจาง ๆ ของดวงจันทร์บริวารจริง ๆ เบื้องต้นคาดว่าดวงจันทร์ดวงนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 320 กม. โคจรอยู่ห่างจาก 2007 โออาร์ 10 ประมาณ 15,000 กม.

(วงโคจร Gonggong เมื่อเทียบกับบรรดาErisและดาวพลูโต)
ดาว 2007 โออาร์ 10 (2007 OR10) และบริวาร ภาพจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ภาพซ้ายถ่ายในปี 2009 ภาพขวาถ่ายในปี 2010 
(จาก NASA/Hubble/ESA/STScI )
 
โค้ดเนมซึ่งตั้งเป็นเลขของปีที่ค้นพบ ดาวเคราะห์แคระนิรนามดวงนี้ถูกพบในปี 2007 (อักษร O หมายถึงปักษ์หลังของเดือนกรกฏาคม) หลังการค้นพบดาวเคราะห์แคระอีริส 4 ปี (อีริสมีโค้ดเนมเดิมว่า 2003 UB313) เหตุที่เพิ่งมาพบในระยะหลังนี้เนื่องเพราะ 2007 OR10 นี้อยู่ไกลจากดาวพลูโตออกไปมาก และผิวดาวค่อนข้างมืด ทำให้การตรวจพบด้วยกล้องดูดาวบนผิวโลกเป็นไปยากมาก   

Michael E. Brown หนึ่งในกลุ่มนักดาราศาสตร์ผู้ค้นพบ ตั้งชื่อเล่นตอนแรกให้มันว่า “สโนว์ไวท์” (Snow White) เนื่องจากทีมค้นพบเชื่อว่ามันมีขนาดเล็กกว่าและสะท้อนแสงได้มากกว่า แต่ต้องรอชื่อจริงที่ตั้งโดย สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล หรือ IAU ( International Astronomical Union) ก่อน  ต่อมานักดาราศาสตร์ได้ชวนคนทั่วโลกร่วมตั้งชื่อให้ดาวเคราะห์แคระ (225088) 2007 OR10 โดยมีให้เลือก 3 ชื่อคือ

- Gonggong - เทพแห่งน้ำของจีน
- Holle - เทพเยอรมันผู้สร้างหิมะ
- Vili - เทพนอร์ดิกผู้ฆ่าปีศาจน้ำแข็ง

(ความประทับใจของศิลปินที่มีต่อดาวเคราะห์แคระ (225088) 2007 OR10 Cr.ภาพ NASA)
 
ปัจจุบันดาวเคราะห์แคระที่ใหญ่เป็นอันดับห้าในระบบสุริยะได้ชื่ออย่างเป็นทางการแล้วว่า " Gonggong " เป็นภาษาจีนอ่านว่า " ก้งกง " เป็นเทพแห่งน้ำของจีน มีตัวเป็นงูหรือมังกร มีหัวเป็นคนผมสีแดง มักก่อความเดือดร้อนและเป็นต้นเหตุแห่งภัยพิบัติ  มีลูกน้องชื่อ " เซียงหลิ่ว " เป็นงูเก้าหัว ผู้ก่อให้เกิดมหาอุทกภัยกุ๋น-ยฺหวี่ นอกจากนี้ " ก้งกง " ยังเป็นต้นเหตุทำให้โลกเอียงและดวงดาวต่าง ๆ โคจรในทิศทางปัจจุบัน

ดังนั้นจึงมีการตั้งดวงจันทร์จิ๋วบริวารที่โคจรรอบ Gonggong ตามนิทานพื้นบ้านของจีนว่า Xiangliu (เซียงหลิ่ว) และ Simon Porter นักดาราศาสตร์ได้
ทวีตว่าเป็นครั้งแรกที่วัตถุหลักในระบบสุริยะมีชื่อเป็นภาษาจีน
 
หลักจากถูกค้นพบและได้ชื่อที่ชนะก็คือ Gonggong จึงถูกส่งไปยังสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลที่จัดการสารบบของจักรวาลอย่างเป็นทางการ และล่าสุดเมื่อวันพุธ 19 กุมภาพันธ์ 2020 ที่ผ่านมา ศูนย์ดาวเคราะห์น้อย (Minor Planet Center คือ องค์กรที่รับผิดชอบในการรวบรวมข้อมูลเชิงสังเกตการณ์สำหรับดาวเคราะห์น้อย) ของสหภาพดาราศาสตร์ระหว่างประเทศ (International Astronomical Union : IAU) ได้ยอมรับและอัปเดตชื่อใหม่เป็นที่เรียบร้อย
 
ปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศของจีนได้ล้ำหน้าส่งมนุษย์สู่อวกาศและส่งยานสำรวจไปดวงจันทร์ การตั้งชื่อดาวเคราะห์แคระและดวงจันทร์บริวารในระบบสุริยะเป็นภาษาจีนก็ถือว่าเหมาะสม อนาคตถ้าอินเดียทำภารกิจส่งยานสำรวจดวงจันทร์สำเร็จก็อาจจะมีชื่อภาษาฮินดีบ้างก็ได้

(ภาพวาด Gonggong เทพเจ้าน้ำของจีน)
Gong-Gong ในตำนานจีนโบราณเป็นเทพเจ้าแห่งน้ำ มีรูปแบบของมังกรสีดำขนาดใหญ่ที่มีศีรษะเป็นมนุษย์ซึ่งมีหน้าผากเป็นเหล็กและศีรษะของเขาปกคลุมด้วยผมสีแดงยาว
ตำนานกล่าวว่าเขาท้าทายบิดาของเขาจู้หรงเพื่อชิงบัลลังก์แห่งสวรรค์ แต่เขารู้สึกละอายใจมากที่แพ้การต่อสู้การต่อสู้ที่ดุเดือดมากจนจักรวาลเสียสมดุลจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้แม่น้ำทุกสายไหลไปทางทิศตะวันออก ด้วยความโกรธเกรี้ยวที่เกิดจากความพ่ายแพ้ของเขากงกงทุบศีรษะของเขากับภูเขาบูโจวซึ่งเป็นเสาที่ยื่นขึ้นฟ้าทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากจนท้องฟ้าเอียงไปทางตะวันตกเฉียงเหนือและโลกก็เลื่อนไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่บนโลก

(ภาพวาด Xiangliu จากสมัยเอโดะของญี่ปุ่น Cr.https://en.wikipedia.org/wiki/Xiangliu)
เซียงหลิ่ว (相柳) หรือมีอีกชื่อว่า เซียงกุ่น (相繇) ความสามารถพิเศษคือปล่อยน้ำพิษออกมาทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ตามที่มีการบันทึกเอาไว้ในตำราซานห่ายจิง บท “ต้าฮวงเป่ยจิง” เซียงกุ่นมีร่างเป็นงู มีหัว 9 หัว รูปร่างของมันใหญ่โตมหึมาจนสามารถกินอาหารบนภูเขา 9 ลูกได้พร้อมกัน เซียงหลิ่วจะสำรอกน้ำพิษออกมาตลอดเวลา น้ำพิษนี้จะไหลมารวมตัวกันเป็นบึงน้ำที่มีรสขมฝาดและมีกลิ่นเหม็นจัด กลิ่นเหม็นจัดของบึงน้ำพิษนี้ร้ายแรงถึงขนาดสามารถฆ่านกที่บินผ่านและสัตว์ที่เดินผ่านให้ตายได้

ที่มา cnet /  http://www.jpl.nasa.gov/news/news.php?feature=6509
       An Astronomical Detective Tale and the Moon of 2007 OR10 - universetoday.com
Cr.ภาพ edition.cnn.com/
Cr.https://stem.in.th/ยังมีพิภพนิรนามอีก-1-แห่/ เรียบเรียงโดย @MrVop
Cr.http://thaiastro.nectec.or.th/news/3113/รายงานโดย วิมุติ วสะหลาย
Cr.https://www.facebook.com/permalink.php?id=263790997140682&story_fbid=1097985213721252
Cr.http://www.gooddigit.shop.th/news/ดาวเคราะห์แคระที่ใหญ่อ/
Cr.https://marketbusinessnews.com/dwarf-planet-2007-or10-much-bigger-thought-say-scientists/134687/
Cr.https://www.vipjiu8.com/baijiu-blog/gonggong-the-chinese-water-god/

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่