ศบค.รายงาน ไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 1 ราย จากอินเดีย รวมป่วยสะสม 3,445 ราย
วันนี้ (7 ก.ย.) เมื่อเวลา 11.00 น. ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รายงานถึงสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ว่า....☂️
ล่าสุด สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ (7 ก.ย.) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 1 ราย และเข้า State Quarantine จากประเทศอินเดีย
ส่งผลให้ผู้ป่วยติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 3,445 ราย หายป่วยแล้ว 3,281 ราย โดยยังมีผู้ป่วยที่รักษาอาการอยู่ 106 คน ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม มีผู้เสียชีวิตรวม 58 ราย
https://www.sanook.com/news/8247078/
พบจุดโหว่ร้านดีเจติดโควิด มีเมนู “แก้วร่วมสาบาน” เมินสวมหน้ากาก-ลงทะเบียนไทยชนะ ยอดสัมผัสเสี่ยงเกือบ 1,000 ราย
ศบค.สรุปจำนวนผู้สัมผัสดีเจหนุ่ม 970 คน เสี่ยงสูง 119 เสี่ยงต่ำ 851 ตรวจแล้ว 516 ไม่พบเชื้อ 513 คน อีก 3 รอผล พบจุดโหว่เปิดช่องแพร่เชื้อ ร้านไม่วัดอุณหภูมิ เมินสวมหน้ากาก-เว้นระยะห่าง มีเมนู “แก้วร่วมสาบาน” ดื่มแก้วเดียวกัน ละเลยลงทะเบียนไทยชนะ
วันนี้ (6 ก.ย.) ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (ศบค.) ได้รายงานจำนวนผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ กรณีผู้ป่วยโควิด-19 ที่เป็นผู้ต้องขังชายอายุ 37 ปี อาชีพดีเจ ว่า มีจำนวนผู้สัมผัสทั้งสิ้น 970 ราย แบ่งเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 119 ราย และผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 851 ราย ตรวจทางห้องปฏิบัติการแล้ว 516 คน ไม่พบเชื้อ 513 คน รอผล 3 คน แยกตามสถานที่ต่างๆ ได้แก่....☂️
1. บุคคลในครอบครัว 6 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทั้ง 6 คน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อ ให้กักกันในโรงแรมย่านรัชดา และปิดทำความสะอาดที่พักอาศัย
2. คอนโดมิเนียมบ้านสวนธน 137 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำทั้งหมด ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทั้ง 137 คน ไม่พบเชื้อ ให้เฝ้าระวังอาการที่บ้าน 14 วัน
3. ศาลอาญา มีจำนวนผู้สัมผัส 492 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 14 คน ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 478 คน ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 11 คน ไม่พบเชื้อ 2 คน รอผล และอีก 1 คน อยู่ระหว่างติดตามตัว และผลตรวจกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 146 คน เมื่อวันที่ 3 ก.ย.ไม่พบเชื้อ มีมาตรการสำหรับกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงให้กักกันเฝ้าระวังอยู่ที่บ้าน (Home Quarantine) 14 วัน ส่วนกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ประสานศูนย์ติดตามเฝ้าระวังและเฝ้าระวังอาการ 14 วัน
3. โรงพยาบาลราชทัณฑ์ มีจำนวนผู้สัมผัส 6 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำทั้งหมด ให้เฝ้าระวังอาการ 14 วัน
4. ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง แบ่งเป็น....☂️
4.1 กลุ่มเจ้าหน้าที่/อสรจ มีจำนวนผู้สัมผัส 76 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 24 คน ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 52 คน การตรวจทางห้องปฏิบัติการ นัดหมายเก็บตัวอย่างผู้สัมผัสเสี่ยงสูงวันที่ 8 ก.ย. 63 และ 16 ก.ย. 63 มีมาตรการสำหรับกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงควรมีการแยกกักกันเพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายของเชื้อ สำหรับกลุ่มเสี่ยงต่ำ ติดตามเฝ้าระวังอาการ 14 วัน
4.2 กลุ่มผู้ต้องขังที่นอนห้องพักเดียวกัน มีจำนวนผู้สัมผัส 36 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทั้ง 36 คน การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 2 ก.ย.ไม่พบเชื้อ นัดหมายเก็บตัวอย่างอีก 2 ครั้ง วันที่ 8 ก.ย. 63 และ 16 ก.ย. 63 มีมาตรการแยกกักกันจากผู้ต้องขังรายอื่นๆ
5. เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มีจำนวนผู้สัมผัส 8 คน (ผู้ต้องขังในรถคันเดียวกัน) เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทั้ง 8 คน ตรวจทางห้องปฏิบัติการทั้ง 8 คน เมื่อวันที่ 3 ก.ย.ผลตรวจไม่พบเชื้อ มีมาตรการแยกกักกันจากผู้ต้องขังราย อื่นๆ
6. ร้านอาหาร “3 วัน 2 คืน” สาขาพระราม 3 มีจำนวนผู้สัมผัส 22 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 4 ราย ประกอบด้วย พนักงานร้าน 3 ราย ลูกค้าที่มาร้าน 1 ราย ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 18 ราย ประกอบด้วย พนักงานร้าน 11 ราย ลูกค้าที่มาร้าน 7 ราย (4 ใน 7 อยู่ระหว่างการตรวจสอบ) การตรวจทางห้องปฏิบัติการ กลุ่มเสี่ยงสูง พนักงานร้าน 3 ราย ไม่พบเชื้อ พนักงานร้านที่เข้าข่ายสอบสวนโรค (PUI) 1 ราย ผลตรวจไม่พบเชื้อ ลูกค้าที่มาร้าน 1 ราย ไม่พบเชื้อ กลุ่มเสี่ยงต่ำ พนักงานร้าน 11 ราย ไม่พบเชื้อ ลูกค้าที่มาร้าน 3 ราย ไม่พบเชื้อ มาตรการกลุ่มเสี่ยงสูง กักกันและเฝ้าระวังอาการที่บ้าน 14 วัน กลุ่มเสี่ยงต่ำ ประชาสัมพันธ์ให้ผู้มารับบริการ ประเมินความเสี่ยง โดยใช้ BKK COVID ด้านสิ่งแวดล้อมให้ปิดร้าน 14 วันและทำความสะอาด
7. ที่ร้านอาหาร “3 วัน 2 คืน” สาขาพระราม 5 มีจำนวนผู้สัมผัส 60 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 25 ราย ทั้งหมดเป็น พนักงานร้าน ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 35 ราย ประกอบด้วย พนักงานร้าน 29 ราย นักดนตรี 6 ราย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ กลุ่มเสี่ยงสูง 25 ราย เมื่อ 5 ก.ย. ผลตรวจไม่พบเชื้อ มีมาตรการกลุ่มเสี่ยงสูง กักกันและเฝ้าระวังอาการที่ Local Quarantine 14 วัน กลุ่มเสี่ยงต่ำ ประสานศูนย์ติดตามเฝ้าระวัง กักกัน/เฝ้าระวังอาการที่บ้าน 14 วัน
8. ร้านอาหาร First Cafe ถนนข้าวสาร มีจำนวนผู้สัมผัส 15 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 2 ราย ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 13 ราย เป็นพนักงานร้านทั้งหมด การตรวจทางห้องปฏิบัติการ กลุ่มเสี่ยงสูง พนักงานร้าน 2 เข้าข่ายสอบสวนโรค(PUI) 2 ราย ผลตรวจเมื่อ 5 ก.ย.ไม่พบเชื้อ 1 ราย รอผล 1 ราย กลุ่มเสี่ยงต่ำ พนักงานร้าน 13 ราย ตรวจเมื่อ 4 ก.ย.ไม่พบเชื้อ มาตรการกลุ่มเสี่ยงสูง กักกันและเฝ้าระวังอาการที่บ้าน 14 วัน กลุ่มเสี่ยงต่ำ ประชาสัมพันธ์ให้ผู้มารับบริการ ประเมินความเสี่ยง โดยใช้ BKK COVID ด้านสิ่งแวดล้อมให้ปิดร้าน 14 วันและทำความสะอาด
9. ถนนข้าวสาร มีจำนวนผู้สัมผัส 112 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำทั้งหมด การตรวจทางห้องปฏิบัติการประชาชนทั้ง 112 คน เมื่อ 5 ก.ย.ไม่พบเชื้อ มีมาตรการให้เฝ้าระวังอาการที่บ้าน 14 วัน และประชาสัมพันธ์ให้ผู้มารับบริการ ประเมินความเสี่ยง โดยใช้ BKK COVID
นอกจากนี้ จากการสอบสวนผู้ป่วยรายนี้ พบประเด็นที่ควรระมัดระวัง ได้แก่
1. ไม่คัดกรองวัดอุณหภูมิ
2. ละเลยเรื่องการสวมหน้ากากอนามัยและการเว้นระยะห่าง
3. ให้บริการเมนู “แก้วร่วมสาบาน”
4. ดื่มแก้วเดียวกัน และทิปโดยการชงเครื่องดื่มให้พนักงานในร้านดื่ม
5. ละเลยการลงทะเบียนไทยชนะ (พบข้อมูลการลงทะเบียนครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2563)
https://mgronline.com/qol/detail/9630000091376
"เมียนมา"พบติดโควิดใหม่82ราย ยอดรวมพุ่งกว่า 1,200ราย
"เมียนมา"ยังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดเจออีก 82 ราย ทำยอดรวมเพิ่มเป็น 1,253 ราย ขณะที่หลายเมืองคุมเข้มห้ามประชาชนออกนอกบ้าน
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า กระทรวงสาธารณสุขและกีฬาของเมียนมา รายงานว่าพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 82 รายในวันที่ 5 ก.ย.63 ส่งผลให้ยอดรวมผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 1,253 ราย
ผู้ติดเชื้อรายใหม่ จำแนกได้ดังนี้ 65 รายในย่างกุ้ง 11 รายในรัฐยะไข่ 2 รายในรัฐฉาน และในพะโค มัณฑะเลย์ อิรวดี และเนปิดอว์ แห่งละ 1 ราย
https://www.posttoday.com/world/632353#cxrecs_s
ความจนจะบีบให้เพื่อนบ้านหนีเข้าไทยไม่หยุด
แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะมีอาการร่อแร่ในปีนี้แต่ก็ยังมีโอกาสให้กับงานบางกลุ่ม และแรงงานจากเพื่อนบ้านที่อพยพกลับบ้านไปในตอนนี้อาจกำลังถูกบีบจากความยากจนในบ้านตัวเองให้ต้องรีบกลับมาหางานทำในเมืองไทย หรือบางคนที่ยังไม่เคยมาทำงานในเมืองก็อาจต้องดิ้นรนเข้ามาในบ้านเรา
ตัวอย่างเช่น กัมพูชาที่มียอดผู้ติดเชื้อต่ำมากแต่ผลสะเทือนจากเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรงมากกว่า และสื่อต่างประเทศ เช่น Deutsche Welle ชี้ว่าอาจทำให้กัมพูชาต้องกลับไปจมปลักกับความยากจนอีก ในเวลานี้โรงงานหลายแห่งไล่คนงานออก ทำให้แรงงานไม่มีงานทำและยังติดหนี้
ความยากจนและไม่มีงานทำเริ่มบีบให้คนกัมพูชาหลบหนีเข้าไทยมากขึ้น เช่นเมื่อต้นเดือนสิงหาคมหน่วยทหารของกัมพูชาจับกุมชาวกัมพูชาที่พยายามหลบหนีเข้าไทยถึง 400 คนที่ จ. บอนเตีย เมียนเจย
แต่นี่ไม่ใช่แค่ปัญหาของไทยเท่านั้น เมื่อคนกัมพูชาที่พยายามหนีเข้าไทยถูกจับได้แล้วส่งตัวกลับมา ทางการกัมพูชาก็ต้องกักตัวเอาไว้ด้วยเพื่อรอดูอาการ เช่น เมื่อวันที่ 4 กันยายน Khmer Times รายงานว่า แรงงาน 28 คนที่ถูกส่งตัวกลับจากไทยฐานลักลอบเข้าเมืองต้องถูกกักตัวไว้ที่ จ. บอนเตีย เมียนเจย
เจ้าหน้าที่สั่งสอนแรงงานเหล่านี้ก่อนจะส่งไปกักตัวว่าอย่าไว้ใจตัวแทนจัดหางานและยังให้พวกเขาทำสัญญาว่าจะหยุดหางานทำในประเทศไทยเพราะถูกโกงได้ง่าย
แต่สำหรับบางคนแล้วความจนน่ากลัวกว่าการถูกโกงค่านายหน้า ดังนั้นเราจึงเห็นแรงงานข้ามชาติพยายามข้ามมายังที่ไทยตลอดเวลา
เช่น กรณีของคนลาวที่หลบหนีเข้าไทยโดยข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาเมื่อวันที่ 5 กันยายน รายงานของสยามรัฐระบุว่า ชาวลาวที่หนีข้ามมาอยู่ที่ลาวก็ไม่มีรายได้ ไม่มีงานทำ จึงหนีความอดอยากเข้ามาไทย โดยถึงกับต้องขายวัว ขายควาย ขายหมูเป็นค่ารถค่าเดินทางมีนายหน้าทั้งชาวไทยและลาวเรียกเก็บค่าหัวไปแล้วรายละ 5,000 บาท เพื่อเข้าไปทำงานที่กรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล แต่มาถูกจับกุมตัวเสียก่อน
สยามรัฐรายงานเพิ่มเติมว่า กลุ่มขบวนการลักลอบขนแรงงานต่างชาติ จะโฆษณาชวนเชื่อว่าเมืองไทยเปิดรับแรงงานต่างชาติ ทั้งลาว เขมร และพม่า เข้ามาทำงานได้แล้วทำให้แรงงานต่างชาติหลายคนหลงเชื่อ ตกเป็นเหยื่อมาแล้วหลายราย คิดเป็นมูลค่าความเสียหายหลายแสนบาท
จะเห็นได้ว่าไม่ใช่แค่ความจนเท่านั้นที่บีบให้แรงงานจากเพื่อนบ้านหนีเข้าไทย แต่เป็นเพราะคนบางกลุ่มหากินกับความยากลำบากของเพื่อนบ้านและบนความเสี่ยงของประเทศชาติ
ดังนั้นนอกจากความยากจนของเพื่อนบ้านแล้ว ความต้องการแรงงานจากเพื่อนบ้านยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ขบวนการลักลอบเขาเมืองกำลังเปิดเกมส์รุกหนักมากในเวลานี้
หากมีแรงานต่างด้าวหลุดเข้ามาพร้อมโรคระบาดจนเกิดการระบาดในวงกว้างขึ้นมาอีก หากถึงขั้นล็อคดาวน์ธุรกิจที่ลักลอบแรงงานเข้ามาอาจะถึงขั้นพังพินาศจนไม่มีโอกาสทำแบบนั้นเป็นครั้งสองอีก
ดังนั้นใครที่คิดจะจ้างแรงงานที่มีความเสี่ยงสูงเข้ามาสร้างความพินาศให้เศรษฐกิจต้องคิดให้ดีๆ
ไม่ต้องคิดไกลถึงสถานการณ์สมมติ แค่ตอนนี้คนไทยก็เริ่มผวากับการปรากฎตัวของแรงงานต่างด้าวโดยไม่ต้องถามกันเลยว่าแรงงานเหล่านั้นอยู่ในไทยมานานแล้วหรือหลบหนีเข้ามา แต่คนไทยกลัวเอาไว้ก่อนเพราะข่าวการระบาดของโควิด-19 ที่เมียนมาทำให้เราตื่นตัวจนกลายเป็นความตื่นกลัว
สิ่งที่เกิดขึ้นกับแรงงานต่าวด้าวในไทยนับว่าเลวร้ายมากในแง่สิทธิมนุษยชน แต่ยังน้อยเมื่อเทียบกับมาเลเซีย เมื่อเดือนมิถุนายนมีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายชาวเมียนมาถึง 8 คนที่ฆ่าตัวตายในมาเลเซียเพราะแบกรับแรงกดดันไม่ไหวจากปัญหาโรคระบาด
https://www.posttoday.com/world/632347
🔴มาลาริน/7ก.ย.ไทบพบโควิด 1 ราย จากตปท. จุดโหว่ร้านดีเจมีเมนู“แก้วร่วมสาบาน”เมินสวมหน้ากาก พม่าป่วยพุ่ง ต่างด้าวหนีจน
วันนี้ (7 ก.ย.) เมื่อเวลา 11.00 น. ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รายงานถึงสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ว่า....☂️
ล่าสุด สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ (7 ก.ย.) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 1 ราย และเข้า State Quarantine จากประเทศอินเดีย
ส่งผลให้ผู้ป่วยติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 3,445 ราย หายป่วยแล้ว 3,281 ราย โดยยังมีผู้ป่วยที่รักษาอาการอยู่ 106 คน ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม มีผู้เสียชีวิตรวม 58 ราย
https://www.sanook.com/news/8247078/
พบจุดโหว่ร้านดีเจติดโควิด มีเมนู “แก้วร่วมสาบาน” เมินสวมหน้ากาก-ลงทะเบียนไทยชนะ ยอดสัมผัสเสี่ยงเกือบ 1,000 ราย
ศบค.สรุปจำนวนผู้สัมผัสดีเจหนุ่ม 970 คน เสี่ยงสูง 119 เสี่ยงต่ำ 851 ตรวจแล้ว 516 ไม่พบเชื้อ 513 คน อีก 3 รอผล พบจุดโหว่เปิดช่องแพร่เชื้อ ร้านไม่วัดอุณหภูมิ เมินสวมหน้ากาก-เว้นระยะห่าง มีเมนู “แก้วร่วมสาบาน” ดื่มแก้วเดียวกัน ละเลยลงทะเบียนไทยชนะ
วันนี้ (6 ก.ย.) ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (ศบค.) ได้รายงานจำนวนผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ กรณีผู้ป่วยโควิด-19 ที่เป็นผู้ต้องขังชายอายุ 37 ปี อาชีพดีเจ ว่า มีจำนวนผู้สัมผัสทั้งสิ้น 970 ราย แบ่งเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 119 ราย และผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 851 ราย ตรวจทางห้องปฏิบัติการแล้ว 516 คน ไม่พบเชื้อ 513 คน รอผล 3 คน แยกตามสถานที่ต่างๆ ได้แก่....☂️
1. บุคคลในครอบครัว 6 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทั้ง 6 คน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อ ให้กักกันในโรงแรมย่านรัชดา และปิดทำความสะอาดที่พักอาศัย
2. คอนโดมิเนียมบ้านสวนธน 137 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำทั้งหมด ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทั้ง 137 คน ไม่พบเชื้อ ให้เฝ้าระวังอาการที่บ้าน 14 วัน
3. ศาลอาญา มีจำนวนผู้สัมผัส 492 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 14 คน ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 478 คน ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 11 คน ไม่พบเชื้อ 2 คน รอผล และอีก 1 คน อยู่ระหว่างติดตามตัว และผลตรวจกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 146 คน เมื่อวันที่ 3 ก.ย.ไม่พบเชื้อ มีมาตรการสำหรับกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงให้กักกันเฝ้าระวังอยู่ที่บ้าน (Home Quarantine) 14 วัน ส่วนกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ประสานศูนย์ติดตามเฝ้าระวังและเฝ้าระวังอาการ 14 วัน
3. โรงพยาบาลราชทัณฑ์ มีจำนวนผู้สัมผัส 6 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำทั้งหมด ให้เฝ้าระวังอาการ 14 วัน
4. ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง แบ่งเป็น....☂️
4.1 กลุ่มเจ้าหน้าที่/อสรจ มีจำนวนผู้สัมผัส 76 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 24 คน ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 52 คน การตรวจทางห้องปฏิบัติการ นัดหมายเก็บตัวอย่างผู้สัมผัสเสี่ยงสูงวันที่ 8 ก.ย. 63 และ 16 ก.ย. 63 มีมาตรการสำหรับกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงควรมีการแยกกักกันเพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายของเชื้อ สำหรับกลุ่มเสี่ยงต่ำ ติดตามเฝ้าระวังอาการ 14 วัน
4.2 กลุ่มผู้ต้องขังที่นอนห้องพักเดียวกัน มีจำนวนผู้สัมผัส 36 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทั้ง 36 คน การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 2 ก.ย.ไม่พบเชื้อ นัดหมายเก็บตัวอย่างอีก 2 ครั้ง วันที่ 8 ก.ย. 63 และ 16 ก.ย. 63 มีมาตรการแยกกักกันจากผู้ต้องขังรายอื่นๆ
5. เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มีจำนวนผู้สัมผัส 8 คน (ผู้ต้องขังในรถคันเดียวกัน) เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทั้ง 8 คน ตรวจทางห้องปฏิบัติการทั้ง 8 คน เมื่อวันที่ 3 ก.ย.ผลตรวจไม่พบเชื้อ มีมาตรการแยกกักกันจากผู้ต้องขังราย อื่นๆ
6. ร้านอาหาร “3 วัน 2 คืน” สาขาพระราม 3 มีจำนวนผู้สัมผัส 22 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 4 ราย ประกอบด้วย พนักงานร้าน 3 ราย ลูกค้าที่มาร้าน 1 ราย ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 18 ราย ประกอบด้วย พนักงานร้าน 11 ราย ลูกค้าที่มาร้าน 7 ราย (4 ใน 7 อยู่ระหว่างการตรวจสอบ) การตรวจทางห้องปฏิบัติการ กลุ่มเสี่ยงสูง พนักงานร้าน 3 ราย ไม่พบเชื้อ พนักงานร้านที่เข้าข่ายสอบสวนโรค (PUI) 1 ราย ผลตรวจไม่พบเชื้อ ลูกค้าที่มาร้าน 1 ราย ไม่พบเชื้อ กลุ่มเสี่ยงต่ำ พนักงานร้าน 11 ราย ไม่พบเชื้อ ลูกค้าที่มาร้าน 3 ราย ไม่พบเชื้อ มาตรการกลุ่มเสี่ยงสูง กักกันและเฝ้าระวังอาการที่บ้าน 14 วัน กลุ่มเสี่ยงต่ำ ประชาสัมพันธ์ให้ผู้มารับบริการ ประเมินความเสี่ยง โดยใช้ BKK COVID ด้านสิ่งแวดล้อมให้ปิดร้าน 14 วันและทำความสะอาด
7. ที่ร้านอาหาร “3 วัน 2 คืน” สาขาพระราม 5 มีจำนวนผู้สัมผัส 60 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 25 ราย ทั้งหมดเป็น พนักงานร้าน ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 35 ราย ประกอบด้วย พนักงานร้าน 29 ราย นักดนตรี 6 ราย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ กลุ่มเสี่ยงสูง 25 ราย เมื่อ 5 ก.ย. ผลตรวจไม่พบเชื้อ มีมาตรการกลุ่มเสี่ยงสูง กักกันและเฝ้าระวังอาการที่ Local Quarantine 14 วัน กลุ่มเสี่ยงต่ำ ประสานศูนย์ติดตามเฝ้าระวัง กักกัน/เฝ้าระวังอาการที่บ้าน 14 วัน
8. ร้านอาหาร First Cafe ถนนข้าวสาร มีจำนวนผู้สัมผัส 15 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 2 ราย ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 13 ราย เป็นพนักงานร้านทั้งหมด การตรวจทางห้องปฏิบัติการ กลุ่มเสี่ยงสูง พนักงานร้าน 2 เข้าข่ายสอบสวนโรค(PUI) 2 ราย ผลตรวจเมื่อ 5 ก.ย.ไม่พบเชื้อ 1 ราย รอผล 1 ราย กลุ่มเสี่ยงต่ำ พนักงานร้าน 13 ราย ตรวจเมื่อ 4 ก.ย.ไม่พบเชื้อ มาตรการกลุ่มเสี่ยงสูง กักกันและเฝ้าระวังอาการที่บ้าน 14 วัน กลุ่มเสี่ยงต่ำ ประชาสัมพันธ์ให้ผู้มารับบริการ ประเมินความเสี่ยง โดยใช้ BKK COVID ด้านสิ่งแวดล้อมให้ปิดร้าน 14 วันและทำความสะอาด
9. ถนนข้าวสาร มีจำนวนผู้สัมผัส 112 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำทั้งหมด การตรวจทางห้องปฏิบัติการประชาชนทั้ง 112 คน เมื่อ 5 ก.ย.ไม่พบเชื้อ มีมาตรการให้เฝ้าระวังอาการที่บ้าน 14 วัน และประชาสัมพันธ์ให้ผู้มารับบริการ ประเมินความเสี่ยง โดยใช้ BKK COVID
นอกจากนี้ จากการสอบสวนผู้ป่วยรายนี้ พบประเด็นที่ควรระมัดระวัง ได้แก่
1. ไม่คัดกรองวัดอุณหภูมิ
2. ละเลยเรื่องการสวมหน้ากากอนามัยและการเว้นระยะห่าง
3. ให้บริการเมนู “แก้วร่วมสาบาน”
4. ดื่มแก้วเดียวกัน และทิปโดยการชงเครื่องดื่มให้พนักงานในร้านดื่ม
5. ละเลยการลงทะเบียนไทยชนะ (พบข้อมูลการลงทะเบียนครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2563)
https://mgronline.com/qol/detail/9630000091376
"เมียนมา"พบติดโควิดใหม่82ราย ยอดรวมพุ่งกว่า 1,200ราย
"เมียนมา"ยังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดเจออีก 82 ราย ทำยอดรวมเพิ่มเป็น 1,253 ราย ขณะที่หลายเมืองคุมเข้มห้ามประชาชนออกนอกบ้าน
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า กระทรวงสาธารณสุขและกีฬาของเมียนมา รายงานว่าพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 82 รายในวันที่ 5 ก.ย.63 ส่งผลให้ยอดรวมผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 1,253 ราย
ผู้ติดเชื้อรายใหม่ จำแนกได้ดังนี้ 65 รายในย่างกุ้ง 11 รายในรัฐยะไข่ 2 รายในรัฐฉาน และในพะโค มัณฑะเลย์ อิรวดี และเนปิดอว์ แห่งละ 1 ราย
https://www.posttoday.com/world/632353#cxrecs_s
ความจนจะบีบให้เพื่อนบ้านหนีเข้าไทยไม่หยุด
แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะมีอาการร่อแร่ในปีนี้แต่ก็ยังมีโอกาสให้กับงานบางกลุ่ม และแรงงานจากเพื่อนบ้านที่อพยพกลับบ้านไปในตอนนี้อาจกำลังถูกบีบจากความยากจนในบ้านตัวเองให้ต้องรีบกลับมาหางานทำในเมืองไทย หรือบางคนที่ยังไม่เคยมาทำงานในเมืองก็อาจต้องดิ้นรนเข้ามาในบ้านเรา
ตัวอย่างเช่น กัมพูชาที่มียอดผู้ติดเชื้อต่ำมากแต่ผลสะเทือนจากเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรงมากกว่า และสื่อต่างประเทศ เช่น Deutsche Welle ชี้ว่าอาจทำให้กัมพูชาต้องกลับไปจมปลักกับความยากจนอีก ในเวลานี้โรงงานหลายแห่งไล่คนงานออก ทำให้แรงงานไม่มีงานทำและยังติดหนี้
ความยากจนและไม่มีงานทำเริ่มบีบให้คนกัมพูชาหลบหนีเข้าไทยมากขึ้น เช่นเมื่อต้นเดือนสิงหาคมหน่วยทหารของกัมพูชาจับกุมชาวกัมพูชาที่พยายามหลบหนีเข้าไทยถึง 400 คนที่ จ. บอนเตีย เมียนเจย
แต่นี่ไม่ใช่แค่ปัญหาของไทยเท่านั้น เมื่อคนกัมพูชาที่พยายามหนีเข้าไทยถูกจับได้แล้วส่งตัวกลับมา ทางการกัมพูชาก็ต้องกักตัวเอาไว้ด้วยเพื่อรอดูอาการ เช่น เมื่อวันที่ 4 กันยายน Khmer Times รายงานว่า แรงงาน 28 คนที่ถูกส่งตัวกลับจากไทยฐานลักลอบเข้าเมืองต้องถูกกักตัวไว้ที่ จ. บอนเตีย เมียนเจย
เจ้าหน้าที่สั่งสอนแรงงานเหล่านี้ก่อนจะส่งไปกักตัวว่าอย่าไว้ใจตัวแทนจัดหางานและยังให้พวกเขาทำสัญญาว่าจะหยุดหางานทำในประเทศไทยเพราะถูกโกงได้ง่าย
แต่สำหรับบางคนแล้วความจนน่ากลัวกว่าการถูกโกงค่านายหน้า ดังนั้นเราจึงเห็นแรงงานข้ามชาติพยายามข้ามมายังที่ไทยตลอดเวลา
เช่น กรณีของคนลาวที่หลบหนีเข้าไทยโดยข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาเมื่อวันที่ 5 กันยายน รายงานของสยามรัฐระบุว่า ชาวลาวที่หนีข้ามมาอยู่ที่ลาวก็ไม่มีรายได้ ไม่มีงานทำ จึงหนีความอดอยากเข้ามาไทย โดยถึงกับต้องขายวัว ขายควาย ขายหมูเป็นค่ารถค่าเดินทางมีนายหน้าทั้งชาวไทยและลาวเรียกเก็บค่าหัวไปแล้วรายละ 5,000 บาท เพื่อเข้าไปทำงานที่กรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล แต่มาถูกจับกุมตัวเสียก่อน
สยามรัฐรายงานเพิ่มเติมว่า กลุ่มขบวนการลักลอบขนแรงงานต่างชาติ จะโฆษณาชวนเชื่อว่าเมืองไทยเปิดรับแรงงานต่างชาติ ทั้งลาว เขมร และพม่า เข้ามาทำงานได้แล้วทำให้แรงงานต่างชาติหลายคนหลงเชื่อ ตกเป็นเหยื่อมาแล้วหลายราย คิดเป็นมูลค่าความเสียหายหลายแสนบาท
จะเห็นได้ว่าไม่ใช่แค่ความจนเท่านั้นที่บีบให้แรงงานจากเพื่อนบ้านหนีเข้าไทย แต่เป็นเพราะคนบางกลุ่มหากินกับความยากลำบากของเพื่อนบ้านและบนความเสี่ยงของประเทศชาติ
ดังนั้นนอกจากความยากจนของเพื่อนบ้านแล้ว ความต้องการแรงงานจากเพื่อนบ้านยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ขบวนการลักลอบเขาเมืองกำลังเปิดเกมส์รุกหนักมากในเวลานี้
หากมีแรงานต่างด้าวหลุดเข้ามาพร้อมโรคระบาดจนเกิดการระบาดในวงกว้างขึ้นมาอีก หากถึงขั้นล็อคดาวน์ธุรกิจที่ลักลอบแรงงานเข้ามาอาจะถึงขั้นพังพินาศจนไม่มีโอกาสทำแบบนั้นเป็นครั้งสองอีก
ดังนั้นใครที่คิดจะจ้างแรงงานที่มีความเสี่ยงสูงเข้ามาสร้างความพินาศให้เศรษฐกิจต้องคิดให้ดีๆ
ไม่ต้องคิดไกลถึงสถานการณ์สมมติ แค่ตอนนี้คนไทยก็เริ่มผวากับการปรากฎตัวของแรงงานต่างด้าวโดยไม่ต้องถามกันเลยว่าแรงงานเหล่านั้นอยู่ในไทยมานานแล้วหรือหลบหนีเข้ามา แต่คนไทยกลัวเอาไว้ก่อนเพราะข่าวการระบาดของโควิด-19 ที่เมียนมาทำให้เราตื่นตัวจนกลายเป็นความตื่นกลัว
สิ่งที่เกิดขึ้นกับแรงงานต่าวด้าวในไทยนับว่าเลวร้ายมากในแง่สิทธิมนุษยชน แต่ยังน้อยเมื่อเทียบกับมาเลเซีย เมื่อเดือนมิถุนายนมีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายชาวเมียนมาถึง 8 คนที่ฆ่าตัวตายในมาเลเซียเพราะแบกรับแรงกดดันไม่ไหวจากปัญหาโรคระบาด
https://www.posttoday.com/world/632347