สองมือขัดแย้ง (สองมือพันตู) ของ จิวแป๊ะทง จาก มังกรหยก เป็นอย่างไรครับ

ตามหัวข้อกระทู้เลยครับ แบบสงสัยว่า สองมือขัดแย้ง (สองมือพันตู) เป็นวิชาส่งเสริม(ถ้าจำไม่ผิด) สามารถใช้สองกระบวนท่าออกมาได้ในเวลาเดียวกัน หรืออะไรทำนองนี้ สามารถถึงแยกจิตได้ เสมือน 2 รุม 1 ทั้งๆ ที่มีแค่สองแขน คนเดียวอะไรทำนองนี้ แบบผ่านมานานมากแล้วจำไม่ค่อยจะได้น่ะครับ หากผิดประการใดขออภัยอย่างสูงครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
วิชาสองมือขัดแย้ง
บรรยายหลักการเบื้องต้นสั้นๆ ว่า  แต่ละมือ  ใช้ออกด้วยกระบวนท่าแตกต่างกัน  ในเวลาเดียวกัน  แล้วเอามาสู้กันเองระหว่างสองมือ  
จากนั้น  จิวแป๊ะท้ง  ก็นำเอาสกิลนี้มาใช้สู้คนอื่น  ความเว่อร์ของสกิลนี้  คือ  มักบรรยายว่าเก่งเป็นสองเท่า  หรือเหมือนมีสองคนสู้แทนที่จะเป็นคนเดียว  จิวแป๊ะท้ง  พอใช้แล้ว  จะเก่งขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง  จนเหนือกว่าหรือเอาชนะคนที่ตนเองเคยแพ้ได้

ถึงขนาดมีคนพูดในกระทู้อื่นทำนองว่า  ก๊วยเจ็งที่มีวิชานี้ ดังนั้น เหมือนมีก๊วยเจ็งสองคน ยังไงก็ชนะเอี้ยก้วยคนเดียว  ที่แขนมีข้างเดียว  (ทำนองก๊วยเจ็งกลายเป็นคนที่มีสองเศียรที่มีสี่กร)

เอาจริง  สกิลสองมือขัดแย้ง  เป็นเพียงสกิลการใช้มือเท่านั้น  มีผลด้านเสริมประสิทธิภาพด้านกระบวนท่า  สิ่งที่ได้ตามมา คือ  ความเร็วและการพลิกแพลงกระบวนท่า  จะทำได้ไหลลื่นกว่า  ส่วนพละกำลังหรือการใช้ปราณ  ไม่ได้มีส่วนจะเพิ่มหรือลดลง  แต่อย่างใด  เพียงแต่กระบวนท่ามีผลให้อานุภาพในกระบวนท่าบางกระบวนท่า  ในบางสถานการณ์ประสิทธิภาพในการใช้แรงหรือพลังจะลดลง  หากเทียบกับการใช้เพียงกระบวนท่าเดียวเพราะไปเน้นที่ความรวดเร็วแทน  แต่ไม่จำเป็นว่าต้องมีแรงลดลงเสมอไป เพราะถ้าใช้สองมือสองท่าต่อสู้กับคนเดียว  ยังไงแรง  ก็มุ่งไปที่ศัตรู  คนเดียวหรือในทิศทางเดียวกันๆ ได้  แต่ที่ได้มาเพิ่ม คือ กระบวนท่าจะพลิกแพลงได้ตลอดเวลาและรวดเร็ว

วิชาสองมือขัดแย้ง  เข้าใจง่ายๆ  ก็คือ  การเล่นเปียโน  ที่ต้องใช้สองมือพร้อมกัน  แต่ละมือกดคีย์คนละชุด  และที่ยากคือ  กดคีย์ตรงกันข้ามหรือสวนทิศทาง  หรือทวนทิศกันไปเลย  ถ้าเล่นได้ระดับนี้  ก็คือ  ความลื่นไหล นั้นเอง

เอาจริงๆ  แล้ว  สองมือขัดแย้ง  ไม่ถึงขนาดกลายเป็นคนสองเศียรสี่กรไปได้

ข้อพิสูจน์ คือ  การใช้วิชานี้ของจิวแป๊ะท้ง ปะทะ เอี้ยก้วย  

เอี้ยก้วย  มีข้อเสียเปรียบทางกายภาพ คือ มีแขนเดียว  เวลาคนอ่านไม่ใส่ใจให้ดี  จะเข้าใจว่า เวลาเอี้ยก้วยสู้กับใครก็เสียเปรียบ  ซึ่งมันจะเป้นอย่างนั้นเสมอ เพราะเป็นข้อเสียเปรียบทางกายภาพ  แต่ข้อเสียเปรียบนี้  กิมย้ง  ชดเชยให้เอี้ยก้วย  สองประการ  หนึ่ง  พลังวัตรที่สูงสุดแทบจะสูงสุดในเรื่อง (พลังวัตร  มีผลลัพธ์ส่งให้คนมีพลังวัตรสูง  มีประสิทธิภาพทางกายภาพเพิ่มพูน  สายตา  หู  ปฏิกิริยาร่างกาย  ความเร็ว  ความแข็งแกร่ง) + สอง  ปัญญาด้านกระบวนท่า ของเอี้ยก้วย  ดันด้านวิชากระบี่หนัก จนสูงสุด  แล้วใส่การบรรยายว่า เมื่อบรรลุถึงจุดสูงสุดแล้ว  แทบมองสรรพวิชาอื่นด้อยลง  พูดง่าย  ด้านกระบวนท่าของเอี้ยก้วยนั้น  แม้ไม่ใช่วิชากระบี่หนัก  กระบวนท่าของเอี้ยก้วยก็บรรลุจิตสำนึกของกระบวนท่าไปด้วย  ดังนั้น  กิมย้ง  จึงบรรยายวิชาฝ่ามือกำสรดไว้  อย่างกระบวนท่าที่ใช้สู้กับสองมือขัดแย้ง  เป็นกระบวนท่าเดียวแต่มีเคล็ดพลิกแพลงติดตามมามากมายหลากหลาย  พูดง่ายๆ  เอี้ยก้วยใช้วิชากระบวนท่าที่ไหลลื่นพลิกแพลงและต่อเนื่อง รวดเร็ว  พิศดาร  จนเสมอกับจิวแป๊ะท้งได้
(ตามเนื้อเรื่องที่บรรยาย  ที่เป็นการประลองจริงจัง  แต่ไม่ถึงขั้นสู้เป็นสู้ตาย)

สรุปได้ว่า  สองมือขัดแย้ง ถ้าพิจารณาจากจิวแป๊ะท้ง กีวยเจ็ง  เป็นสกิลเสริมกระบวนท่าที่ทำให้กระบวนท่ามีความไหลลื่น  พลิกแพลง  พิศดาร  อย่างหนึ่ง  ซึ่งถ้าบุคคลที่ไม่มีสกิลสองมือขัดแย้ง  แต่หากบรรลุการใช้กระบวนท่าที่ไหลลื่น  พลิกแพลง  เปลี่ยนแปลงได้พิศดาร  

มันก็คือ  สุดยอดด้านกระบวนท่า  เช่นกัน

ดังนั้น  สกิลสองมือขัดแย้ง  คือ  สกิลเสริมกระบวนท่า  ที่ถ้าสำเร็จสองมือขัดแย้ง  สามารถผลักดันยกระดับเลเวลของกระบวนท่าได้
แต่ถ้าใคร ก็ตามสามารถใช้กระบวนท่า  ได้ไหลลื่น  พลิกแพลง  พิศดาร  มองทะลุข้อดีข้อด้อย  จุดเด่น  จุดตายของกระบวนท่าได้แล้ว  ก็ไม่จำเป็นต้องไปฝึกสองมือขัดแย้งแต่อย่างใดครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่