ทะเลสาบโบราณ

Mega Chad Lake 
ทะเลสาบชาด (Lake Chad) ทะเลสาบขนาดใหญ่ที่สุดในโลก   ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อ 4 ประเทศในทวีปแอฟริกา ได้แก่ ชาด ไนเจอร์ ไนจีเรีย และแคเมอรูน เป็นทะเลสาบน้ำจืดตื้น ๆ และเป็นแหล่งที่อยู่ของนกอีกหลายชนิด ซึ่งในช่วงเวลาที่น้ำขึ้นสูงในฤดูฝน ทะเลสาบจะครอบคลุมพื้นที่กว่า 20,800 ตารางกิโลเมตร แต่บางช่วงเวลาขนาดพื้นที่น้ำอาจจะเหลือเพียง 10,000 ตารางกิโลเมตร ส่วนที่ลึกที่สุดของทะเลสาบมีความลึกเพียง 8 เมตร ซึ่งเมื่อ 13,000 ปีก่อน ทะเลสาบชาดเคยเป็นทะเลขนาด 400,000 ตารางกิโลเมตรมาก่อน

แม้ว่าข้อเท็จจริงที่ว่าทะเลสาบตั้งอยู่ในหนึ่งในสถานที่ที่แห้งแล้งที่สุดในโลก แต่เหตุผลหลักสำหรับการทำให้แห้งก็คือการเพิ่มปริมาณน้ำสำหรับความต้องการทางเศรษฐกิจของประชากรที่เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับการอุดตันของแม่น้ำที่ไหลและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เมื่อ 21 ก.พ.63 องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NASA) เผยแพร่ภาพของทะเลสาบ ‘Mega Chad’ หรือทะเลสาบชาด เมื่อ 7,000 ปีก่อน เคยเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ มีพื้นที่ถึง 150,000 ตารางไมล์ หรือราว 4 แสนตารางกิโลเมตร กินพื้นที่ทั่วทะเลทรายซาฮารา ทางตอนเหนือทวีปแอฟริกา ต่อมาทะเลสาบแห่งนี้กลับตื้นเขินมีตะกอนทับถม จนขนาดเล็กลงเรื่อยๆ 

ภาพถ่ายจากนาซา ได้เน้นให้เห็นถึงระดับความลึกของทะเลสาบด้วยสีที่เข้ม พร้อมด้วยแแนวสันดอนทราย และสันหาด ที่ก่อตัวขึ้นตามแนวริมทะเลสาบชาด บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศชาด ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญตั้งข้อสังเกตว่า ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้ใช้เวลาเพียงแค่ราว 200-300 ปี จนกลายเป็นทะเลสาบที่มีขนาดลดลงเหลือแค่เพียง 137 ตารางไมล์ (ราว 220 ตารางกิโลเมตร) 
 



ทีมนักวิทยาศาสตร์อังกฤษได้เขียนรายละเอียดเกี่ยวกับ ทะเลสาบชาดใช้เวลานานแค่ไหนที่มีขนาดหดหายลดลงจาก 1.5 แสนตารางไมล์ เหลือเพียง 137 ตารางไมล์นั้นตั้งแต่ในปี 2558 โดยระบุว่า ทะเลสาบชาดที่เคยใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อสมัยโบราณ ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของทะเลสาบ ก่อนจะยุติการเปลี่ยนแปลงเมื่อ 5,000 ปีก่อน และอ่าง Bodélé ในทะเลสาบ ซึ่งปัจจุบัน ได้กลายเป็นแหล่งของฝุ่นในบรรยากาศนั้น น้ำอาจยังไม่ได้เหือดแห้ง จนกระทั่งเมื่อประมาณ 1,000 ปีที่แล้ว

ทีมนักวิทยาศาสตร์อังกฤษยังพบว่า ฝุ่นจากอ่าง Bodélé ( ฝุ่นที่อุดมไปด้วยฟอสฟอรัส)  ซึ่งเป็นตะกอนที่ทับถมจนกลายเป็นปุ๋ยเมื่อ 1,000 ปีก่อน จากนั้นฝุ่นที่เป็นปุ๋ยจากอ่าง Bodélé ได้ถูกกระแสลมพัดปลิวไปทั่วมหาสมุทรแอตแลนติก และยังช่วยเป็นปุ๋ยให้แก่ป่าฝนแอมะซอนในอเมริกาใต้อีกด้วย
Cr.ภาพ  earthobservatory.nasa.gov / twitter.com
Cr.https://siam.wiki/content/ทะเลสาบชาด/หน้าแรก.html



Willandra Lake

ทะเลสาบวิลแลนดรา (Willandra Lake) ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติมังโก้ (Mungo National Park) ตั้งอยู่ห่างไปทางตะวันตกของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย  เคยเป็นที่ของทะเลสาบที่อุดมสมบูรณ์เป็นที่ที่ชาวอะบอริจินอยู่อาศัยมาอย่างน้อย 50,000 ปี และดำรงชีวิตด้วยการหาปลา หอย นก และสัตว์อื่นมาเป็นอาหาร ซึ่งต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นผลให้ทะเลสาบอุทยานแห่งชาติมังโก้แห่งนี้เปลี่ยนสภาพเป็นทะเลทรายดังเช่นในปัจจุบัน 
 
ในปี 1968 จิม โบวเลอร์ นักธรณีวิทยาหนุ่มกำลังสำรวจชั้นหินและชั้นทรายของทะเลสาบขนาดมหึมาที่แห้งขอดไปแล้วนี้ เขาพบเถ้ากระดูกของมนุษย์เพศหญิงที่เคยอาศัยอยู่ยังภูมิภาคนี้ เมื่อราว 40,000 ปีก่อน ซึ่งเชื่อกันว่าน่าจะเป็นตัวอย่างของพิธีกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและอีก 6 ปีต่อมาในพื้นที่เดียวกัน โบวเลอร์ค้นพบฟอสซิลกระดูกที่เกือบจะสมบูรณ์ของมนุษย์เพศชาย ที่เคยอาศัยอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน

ทั้งคู่เป็นที่รู้จักในชื่อ สตรี Mungo และบรุษ Mungo เป็นหลักฐานใหม่ที่แสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานของชาวอะบอริจินที่อาศัยอยู่ในทวีปออสเตรเลีย รวมไปถึงยังช่วยขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนของชาวพื้นเมืองที่ประเด็นดังกล่าวกำลังเป็นที่พูดถึงอยู่ในขณะนั้น

ภูมิภาคทะเลสาบวิลันดราแห้งเหือดไปแล้วเมื่อ 18,500 ปีก่อน เมื่อปราศจากธารน้ำเดิมที่เคยหล่อเลี้ยงแต่ซากพืชซากสัตว์ที่หลงเหลือไว้ตามธรรมชาติเหล่านี้ เป็นหลักฐานชั้นดีจากยุคไพลสโตซีน ยุคสมัยที่มนุษย์กำลังอยู่ระหว่างการวิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ในปัจจุบัน นอกเหนือจากฟอสซิลกระดูกที่พบแล้ว นักโบราณคดียังพบเครื่องไม้เครื่องมือที่ถูกประดิษฐ์มาจากหิน, เตาไฟ และโม่บดหินที่เชื่อกันว่าใช้ในการบดเมล็ดหญ้าเพื่อให้ได้แป้งออกมาและฟอสซิลรอยเท้าของมนุษย์ทั้งชายหญิงและเด็กจำนวน 460 รอย ซึ่งฉายภาพพวกเขาเดินเตร็ดเตร่ยังบริเวณทะเลสาบแห่งนี้เมื่อในอดีต





 
นอกจากนั้นสถานที่แห่งนี้ยังเก็บหลักฐานที่มีค่าสำหรับบรรดาสัตว์และพืชโบราณไว้อีกด้วย เช่น ฟอสซิลของสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องขนาดใหญ่สายพันธุ์หนึ่งที่เคยมีถิ่นที่อยู่กระจายไปทั่วผืนทวีปนี้  อย่างไรก็ตามแม้ว่าน้ำจะแห้งเหือดไปแล้ว แต่ชีวิตยังคงดำเนินต่อไป ต้นยูคาลิปตัสต้นเล็กๆ เติบโตขึ้นจากเนินทรายเคียงด้วยพืชสมุนไพรอื่นๆ และกอหญ้า ที่นี่ยังเป็นบ้านของค้างคาว, สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก, สัตว์เลื้อยคลาน, นกแก้ว, นกคักคาทู และนกฟินช์

ภูมิภาคอันแห้งแล้งยังให้ทัศนียภาพอันน่าทึ่ง จากสายลมและหยาดน้ำฝนที่กัดเซาะหินทรายในบริเวณนี้เกิดการก่อตัวทางธรณีวิทยาที่น่าประทับใจเช่นระบบเนินทรายที่ถูกกัดเซาะซึ่งเรียกว่า Walls of China ทำให้ดินแดนเหมือนบนผิวดวงจันทร์ สถานที่แห่งนี้ถูกแต่งตั้งให้เป็นมรดกโลก โดยองค์การยูเนสโกเมื่อปี 1981
Cr.https://travel.thaiza.com/amaze/185701/
Cr.https://ngthai.com/travel/5770/australias-ancient-lakes-reveal-early-human-history/ เรื่อง แอบบี้ เซเวล
Cr.ภาพ naturalworldheritagesites.org/sites/willandra-lakes-region/


Lake Manicouagan
(ภาพดาวเทียมแสดงสีของ Manicouagan Crater โดยยาน  Sentinel-1A  เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2558 สีฟ้าแสดงพื้นที่น้ำแข็งและน้ำ โทนสีเหลืองและสีส้มบ่งบอกถึงพืชพรรณที่มีอายุแตกต่างกันผสมกับหิมะและน้ำแข็ง) Cr.ภาพ Copernicus Sentinel (2015)

ทะเลสาบแมนนิกัวแกน (Lake Manicouagan) รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา เป็นทะเลสาบรูปวงแหวนโบราณที่เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อประมาณ 214 ล้านปีที่แล้ว (ยุคไทรแอสซิก)
สาเหตุที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะหลังจากโลกถูกดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 กิโลเมตรพุ่งเข้าชน (ใหญ่เป็นอันดับ 5 ในจำนวนดาวเคระห์น้อยทั้งหมดที่เคยพุ่งชนโลก) แม้จะไม่ใช่ร่องรอยความเสียหายที่มีขนาดใหญ่ที่สุด แต่ก็เป็นความเสียหายที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนที่สุด (สามารถเห็นได้จากอวกาศ) มีอีกชื่อหนึ่งว่า “อาย ออฟ ควิเบก (eye of Quebec)”

ผลกระทบที่เกิดกับ  Manicouagan คาดว่าจะเกิดขึ้นประมาณ 212 ล้านปีที่ผ่านมาในช่วงปลายยุค Triassic นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าผลกระทบนี้อาจรับผิดชอบต่อการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียประมาณ 60% ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด มันถูกระบุว่าผลกระทบถูกสร้างขึ้นโดยดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 กิโลเมตร ทะเลสาบล้อมรอบด้วยหินแปรและหินอัคนีที่ทนต่อการกัดเซาะและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงหินนั้นมีอยู่มากมายในพื้นที่ปล่องภูเขาไฟ 

(Cr.ภาพ reddit.com)


"แมนนิกัวแกน" เป็นทะเลสาบรูปวงแหวนที่มีเกาะขนาดใหญ่อยู่กลาง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 กิโลเมตร ปัจจุบันถูกใช้เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่สำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ โดยมีความจุน้ำมากถึง 139.8 ลูกบาศก์กิโลเมตร (เป็นอ่างเก็บน้ำที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกเมื่อพิจารณาจากความจุ) แต่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำได้เพียง 35.2 ลูกบาศก์กิโลเมตรเท่านั้น  และเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่สำคัญที่สุดของควิเบกสำหรับการตกปลาแซลมอนแอตแลนติก 
ข้อมูลจาก paow007.wordpress.com




songkhla Lake


ทะเลสาบสงขลา  เป็นทะเลสาบแห่งเดียวในประเทศไทยที่อยู่ติดกันถึง 2 จังหวัด มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,000 ตารางกิโลเมตร ได้แก่ จังหวัดพัทลุง ในเขต อ.พัทลุง อ.ปากพะยูน อ.บางแก้ว อ.เขาชัยสน และอ.ควนขนุน ส่วนจังหวัดสงขลา ในเขตอ.ระโนด อ.สทิงพระ อ.กระแสสินธุ์ อ.สิงหนคร อ.เมืองสงขลา อ.ควนเนียง

ได้รับการบันทึกไว้ว่า "ทะเลสาบสงขลา" เป็นทะเลแบบ "ลากูน" หนึ่งเดียวของประเทศไทย หนึ่งเดียวใน 117 แห่งทั่วโลก ลากูน Lagoon คือ แหล่งน้ำตื้น พบในบริเวณชายฝั่งทะเลที่แยกจากทะเลโดยการกั้นของเนินทรายซึ่งอาจจะเปิดออกสู่ทะเลเป็นระยะๆ ลากูนสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อแม่น้ำไหลลงสู่ทะเลโดยที่บางส่วนเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ (Estuary lagoon) หรือไม่มีผลจากแม่น้ำก็ได้ 

"ทะเลสาบสงขลา" เป็นทะเลสาบธรรมชาติแห่งเดียวในประเทศไทย มีความยาวจากปากน้ำไปทางทิศเหนือประมาณ 80 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ 20-25 กิโลเมตร ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบน้ำจืด แต่จะกร่อยในช่วงที่ติดกับทะเลอ่าวไทย ในเขต อ.เมืองสงขลา และทะเลสาบสงขลา จึงเป็นห้วงน้ำที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยกุ้งปลานานาชะนิด ทำการประมงกันอยู่ทั่ว ๆ ไป เช่น การดักโพงพาง ยอ

บึงทะเลสาบมีธรรมชาติสวยสดงดงาม มีภูเขาใหญ่น้อยสลับซับซ้อน บ้างมีพรรณไม้เขียวขจี มีต้นมะพร้างขึ้นชุกชุมในทะเลสาบเกาะใหญ่ ๆ มีที่เที่ยวได้สนุก ทะเลสาบสงขลามีการกล่าวถึงมาตั้งแต่สมัยหลายร้อยปีมาแล้วตามบันทึก

ดินแดนแถบทะเลสาบสงขลาในอดีตมีความเจริญทางการค้าและวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก อันเนื่องจากเป็นท่าเรือ เปิดรับชนชาติต่าง ๆ ทั้ง จีน, อินเดีย และอาหรับ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12-18 ก่อเกิดเป็นชุมชนต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนารายรอบ น้ำในทะเลสาบสงขลาได้รับน้ำจากทิวเขาบรรทัดและทิวเขาสันกาลาคีรีจากอำเภอสะเดา ทั้งหมดไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา 


(ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา )


ลุ่มน้ำในแถบนี้เรียกว่า "ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา" ทำให้ดินตะหอนที่พัดพามาทับถม ทำให้ดินและน้ำในเลสาบมีคุณภาพ เป็นทะเลสาบที่มีลักษณะของน้ำในทะเลสาบถึง 3 น้ำ คือ น้ำจืด , น้ำกร่อย และน้ำเค็ม มีแม่น้ำและคลองหลายสายที่ไหลเข้าสู่ทะเลสาบแห่งนี้ ทำให้น้ำมีการเปลี่ยนแปลงเสมอตามฤดูกาล โดยขึ้นอยู่กับกระแสน้ำในแม่น้ำสายต่าง ๆ ที่ไหลเข้าสู่ทะเลสาบ และกระแสน้ำทะเลหนุน จึงทำให้มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำอยู่ตลอดเวลา
ขอบคุณภาพข้อมูล
พินิจนคร: ทะเลสาบสงขลา ๑ มรดกแห่งหัตถศิลป์บนด้ามขวาน อดีตเก่ากาลเล่าขานตำนานโนรา  คุณ Aey Sungsuwan
Cr.ภาพ km.dmcr.go.th
Cr. https://www.hatyaifocus.com/บทความ/1772-เรื่องราวหาดใหญ่-ทะเลสาบสงขลา%2Bกับความเป็นมาในอดีต/

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่