JJNY : "บิดาแห่งเหลื่อมล้ำ ผู้นำแห่งก่อหนี้"/พิธาซัดจัดงบเหมือนไร้วิกฤติ/GDPไตรมาส2แบงค์ชาติชี้ติดลบ/กกร.หั่นเป้าgdp-8%

“อนุดิษฐ์” ชำแหละ บิ๊กตู่ "บิดาแห่งความเหลื่อมล้ำ ผู้นำแห่งการก่อหนี้"
https://www.matichon.co.th/politics/news_2250146
 

 
“อนุดิษฐ์” ติง รบ.จัดงบฯลักษณะแบบ “ฮั้ว” เอื้อกลุ่มทุน-พวกพ้อง-จงใจไม่ปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการ์หลังโควิด ติ กำลังพล-นายพลเยอะ จนงบฯรายจ่ายประจำบวม
 
เมื่อเวลา 11.20 น. วันที่ 1 กรกฎคม ที่รัฐสภา น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เลขาธิการส.ส.กทม. พรรคพท. อภิปรายว่า ไม่มีการพิจารณา พ.ร.บ.งบประมาณครั้งไหนที่ตนห่วงใย และกังวลมากเท่าครั้งนี้ โดยข้อห่วงใยประการแรกคือ โครงสร้างของงบฯปี 64 ซึ่งรายจ่ายประจำ รวมรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้สูงมาก ใขณะที่รายได้ที่มาจาการจัดเก็บภาษีประมาณ 2.677 ล้านล้านบาท จะเห็นว่ารายจ่ายกับรายได้ใกล้เคียงกันมาก ซึ่งต้องจัดเก็บภาษีให้ได้เท่าที่ประมาณการ เพราะหากเก็บได้ต่ำกว่าที่ประมาณการจะไม่พอกับรายจ่ายประจำ และการชำระหนี้ โดยที่ผ่านมารายจ่ายประจำสูงขึ้นเรื่อยๆทุกปี ตั้งแต่ปี 2550-2564 สูงขึ้น 2.2 เท่า ขณะที่รายจ่ายลงทุนเพื่อพัฒนาประเทศลดลง หากท่านจัดงบประมาณแบบนี้แล้วปล่อยต่อไปจะทำให้ประเทศพังแน่นอน มีคนบอกไว้ว่าที่เป็นแบบนี้เพราะหลังจากที่ท่านยึดอำนาจมาโครงสร้างของการบริหารประเทศนั้นเพิ่มความเป็นรัฐราชการ รายจ่ายประจำจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น กำลังพลของกองทัพไทยที่มีทั้งสิ้นกว่า 3.6 แสนคน โดยมีนายทหารยศนายพลกว่า 1400 คนขณะที่สหรัฐอเมริกาที่มีกำลังรบทั้งในและนอกประเทศมีนายพลไม่เกิน 1000 คน ซึ่งตนอยากชี้ให้เห็นว่า จำนวนข้าราชการที่มากเกินกว่าความจำเป็นทำให้รายจ่ายเยอะมาก กระทรวง ทบวง กรม อื่นๆก็เช่นกัน โดยสิ่งนี้เป็นภาระกับงบประมาณของประเทศ ดังนั้น ภากิจแรกของนายกฯ คือ ท่านต้องลดจำนวนข้าราชการลงอย่างจริงจัง เพื่อลดรายจ่ายประจำที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ให้มากที่สุด แล้วเปลี่ยนเป็นยรัฐประชาชน เพราะรัฐราชการไม่สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศๆได้ แต่รัฐประชาชนสามารถผลิตภาษีให้ได้มากกว่าและจะทำให้รายจ่ายประจำลดลง ข้อห่วงใยประการต่อมา คือ รายได้ที่ประมาณการไว้ที่ 2,677,000 ล้านบาทนั้น ตนเชื่อว่า ไม่สามารถจัดเก็บได้ตามที่ประมาณการอย่างแน่นอน เพราะตั้งแต่การยึดอำนาจปี 57 เป็นต้นมา ประมาณการผิดมาโดยตลอด โดยจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการทุกปี ซึ่งการประมาณการรายได้ที่ผิดพลาดนี้ส่งผลต่อการจัดงบฯ
 
น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า การจัดงบประมาณรายจ่ายเพื่อการลงทุนปีนี้เพิ่มขึ้นมาจากปีที่แล้วจำนวนกว่าแสนล้านบาท โดยไปอยู่ที่

1. งบกลางเพื่อแก้ปัญหาโควิด เพิ่มขึ้น 4 หมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ซ้ำซ้อนกับพ.ร.ก.เงินกู้ แต่อย่างไรก็ตามงบฯจำนวน 4 หมื่นกว่าล้านดังกล่าวไม่เพิ่มผลิตภาพวึ่งทำให้เก็บภาษีไม่ได้

2. สำนักบริหารหนี้สาธารณะกระทรวงการคลัง ที่เพิ่มขึ้น 2.1 หมื่นล้านเศษ ซึ่งใช้เพื่อการชัดระหนี้โดยเงินส่วนนี้ที่โป่งออกมาก็ไม่มีภาษี ไม่ก่อให้เกิดการผลิต

3. กระทรวงคมนาคมโดยกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท และกระทรวงมหาดไทยโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและกรมโยธาธิการและผังเมือง โดยงบฯที่เพิ่มขึ้นในส่วนของกระทรวงคมนาคม และกระทรวงมหาดไทยเป็นเรื่องของการสร้างโครงสร้างพื้นฐานแบบเก่าๆ ช่วยตอบนิดหนึ่งว่า ไปตอบโจทย์โลกหลังโควิดบ้างไหม แต่เรื่องของสุขภาพ และความสะอาดที่มีโอกาสสร้างเงิน สร้างงานในอนาตให้ประเทศหายไปไหน การจัดสรรงบฯปี 64 ของรัฐบาล ไม่ได้ตอบสนองเศรษฐกิจหลังโควิด นอกจากนี้ ห่วงใยสถานะการคลังของรัฐบาลที่มีความเปราะบาง และสุ่มเสี่ยงที่จะล้มละลาย โดยหนี้สาธารณะสูงถึง 6.98 ล้านล้านบาท ซึ่งหนี้ที่รัฐบาลกู้โดตรงสิ้งสุดวันที่ 31 มกราคม 63 จำนวน 5.68 ล้านบาท เป็นการก่อหนี้โดยรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณตั้งแต่ปี 58 รวม 6 ปี กู้เงินรวม 2.168 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13.5 ของ GDP เท่ากับว่า นายกฯ 28 คนก่อนกหน้านี้ สร้างหนี้เฉลี่ยคนละ 125,000 บาท ส่วนพล.อ.ประยุทธ์คนเดียวสร้างหนี้ไว้มากกว่าคนอื่น 18 เท่า ดังนั้น ฉายานักกู้แห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ได้มาเพราะโชคช่วย อย่างไรก็ตาม หากท่านต้องกู้เงินมาเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จะรวมประมาณ 2.791 ล้านล้านบาท ต้องใช้เวลาชำระคืน 64 ปี แต่ถ้าเอาเงินกู้จำนวน 1 ล้านล้านบาท เข้ามารวมด้วย และรวมหนี้ที่ต้องกู้ในงบฯ ปี 2565 จะต้องใช้เวลาชำระคืนทั้งสิ้นกว่า 100 ปี เหนื่อย ส่วนการขยายพ.ร.ก.เฉินออกไป นายกฯทราบหรือไม่ว่า กำลังสร้างอุปสรรคต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ นายกฯ เป็นผู้นำของประเทศไทยอย่างแท้จริง ท่านได้ทำให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศได้เห็น และได้รับฉายา บิดาแห่งความเหลื่อมล้ำ ผู้นำแห่งการก่อหนี้
 
น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวอีกว่า สำหรับสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศ ตามการคาดการของธนาคารแห่งประเทศไทยปี 64 รายได้จากการท่องเที่ยวของเราจะลดลงจำนวนมาก และการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการบริโภคภายในประเทศมีแนวโน้มที่จะลดลง เครื่องยนต์ของประเทศไทยทั้ง 4 เครื่องติดลบหมด แต่ส่วนที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น คือ การใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่งมาจากการกู้ยืมเงินทั้งสิ้น ถ้ากู้เงินเกินกรอบเพดาน คือ ร้อยละ 60 ของ GDP จะทำให้รัฐบาลกู้ยืมเงินเพื่อมาใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้อีกต่อไป สถานการณ์ทางเศรษฐกิจจึงมีความน่าเป็นห่วงในทุกมิติ สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดขณะนี้คือประชาชนขาดกำลังซื้อ ไม่มีรายได้ แต่มีหนี้สูง รัฐบาลจะสร้างกำลังซื้อให้กับประชาชนเพื่อสร้างการบริโภคภายในได้อย่างไร และการเยียวยาจะจบลงในเดือนมิถุนายนนี้แล้ว จะเป็นปัจจัยทำให้สถานการณณ์ของประเทศหนักขึ้นไปอีก คนตกงานจะเพิ่มขึ้นอีก 7-10 ล้านคน นายกฯได้เตรียมการอะไรไว้หรือไม่ การขยายพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่เกิดประโยชน์เลย 
 
ทั้งนี้ พรรคพท. ได้ตรวจสอบเชิงลึกลงไปในกฎหมายงบประมาณฉบับนี้แล้วพบว่า ในเนื้อหาตนฟันธงได้เลยว่า ท่านจัดทำงบฯไว้ก่อนวิกฤติโควิด และมีความจงใจที่จะไม่ปรับปรุงให้สอดคล้องกับการใช้จ่ายงบฯหลังโควิด การจัดทำงบฯแบบนี้มีลักษณะเหมือนการฮั้วประมูล เพราะทำกันมาตั้งแต่ชั้นร่างงบประมาณ ซึ่งในรายละเอียด พบว่าส่อไปในทางทุจริต มีการล็อคสเปกเอื้อประโยชน์พวกพ้อง และกลุ่มทุน เหมือนกับรัฐบาลกลายเป็น พ่อค้าหาบเร่ เร่ขายงบประมาณให้กับกลุ่มทุน ตนเห็นว่าไม่มีความเหมาะสม เพราะสัดส่วนของงบประมาณและจัดสรรงบประมาณไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของประเทศ สิ่งที่รัฐบาลได้ดำเนินการล้วนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศอันจะทำให้การใช้เงินสูญเปล่าเป็นภาระแก่งบประมาณ ซึ่งส.ส.ของพรรคพท.จะแสดงข้อมูลและหลักฐานให้เห็นเพื่อยืนยันถึงข้อกังวลดังกล่าว ส่วนตัวตนจึงไม่เห็นด้วยกับหลักการของร่างพ.ร.บ.งบฯ ดังกล่าว
 

 
"พิธา" ซัด รัฐบาล ไร้วิสัยทัศน์ จัดงบฯ ปี 64 เหมือนไทยไร้วิกฤติ
https://www.thairath.co.th/news/politic/1880216
  
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ นำทีมพรรคก้าวไกล ซัด รัฐบาลไร้วิสัยทัศน์ “จัดงบเหมือนประเทศไทยไม่มีวิกฤติ” แทบไม่ต่างจากปีที่แล้ว ซัด ปี 64 เป็น ปีที่ "บิ๊กตู่" ใช้งบฯ ครบ 20 ล้านล้าน
  
วันที่ 1 ก.ค. ที่รัฐสภา แยกเกียกกาย นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล นำทีม ส.ส.พรรคก้าวไกล ร่วมอภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปี งบประมาณ 2564 ที่เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรใน วาระที่ 1 ว่า วันนี้เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่ง ที่สภาผู้แทนราษฎร จะกำหนดอนาคตของพี่น้องชาวไทย ด้วยงบประมาณปี 2564 มูลค่า 3.3 ล้านล้านบาท ปี 2564 นอกจากจะเป็นปีที่ประชาชนทุกข์แสนสาหัสแล้ว ยังต้องถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ด้วยว่า เป็นปีที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ใช้งบประมาณแผ่นดิน ครบ “20 ล้านล้านบาท” ตั้งแต่บริหารประเทศมาจากปี 2557 จนถึงปัจจุบัน แต่น่าแปลกใจที่เงินมหาศาลนั้น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้น้อยมากเพียง 3 ล้านล้านบาท เท่านั้น
  
“อย่างที่ผมเคยกล่าวไปว่า การแก้ไขปัญหาประเทศต่อจากนี้ ถ้าเราจะบริหารงบประมาณแบบเดิม แล้วคาดหวังว่า จะได้รับผลลัพธ์ใหม่ ก็คงจะเป็นไปไม่ได้ ไม่ว่าเราจะใส่เม็ดเงินลงไปมากเท่าใดก็ตาม น่าเสียดายที่งบประมาณปี 64 เป็นการ” “จัดงบประมาณเหมือนประเทศไทยไม่มีวิกฤติ” ไม่ได้ต่างอะไรกับงบปี 63 มากหนัก สถานการณ์ประเทศ ณ ขณะนี้ เดือนมิถุนายน เป็นเดือนสุดท้าย ที่ผู้ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท โดยที่รัฐบาลยังไม่ได้ประกาศมาตรการรองรับใดๆ เดือนกรกฎาคม ก็จะเป็นเดือนสุดท้ายที่พี่น้องเกษตรกรกว่า 7 ล้านครัวเรือน รับเงิน 5,000 บาท ส่วนกลุ่มคนเปราะบาง ไม่ว่า จะเป็น เด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ กว่า 6.7 ล้านคน จะได้รับเงินเยียวยา 1,000 บาทเป็นเดือนสุดท้าย เช่นเดียวกัน
นายพิธา กล่าว
   
นายพิธา ยังได้กล่าวถึงปัญหาของกลุ่มแรงงานนอกระบบ ที่ใช้ชีวิตกันอย่างไม่มีหลักประกันและได้รับผลกระทบจากการปิดเมืองในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งชัดเจนว่า กระทรวงแรงงานนั้นน่าจะต้องเพิ่มขึ้นและมีโครงการที่จะช่วยเหลือให้พี่น้องนอกระบบให้เข้าสู่ระบบ มีหลักประกันในชีวิต มีโครงข่ายทางสังคมรองรับ แต่ผมต้องขอแสดงความเสียใจกับพี่น้องด้วยครับ งบประมาณของกระทรวงแรงงาน ถูกลดลง 3 พันล้านบาท และไม่มีแผนโครงการที่จะช่วยนำพี่น้องเข้าสู่ระบบ สำหรับพี่น้องที่กำลังจะตกงานและต้องหางานใหม่กว่า 8 ล้านคน ทั่วประเทศ
 
หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวอีกว่า ในส่วนพี่น้องชาวภาคเหนือที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาไฟป่า ปัญหา PM 2.5 พร้อมกับปัญหาโควิดในช่วงที่ผ่านมา ผมต้องขอแสดงความเสียใจด้วยครับ ปีนี้งบประมาณแผนยุทธศาสตร์จัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อมแทบจะไม่เพิ่มขึ้นเลย ส่วนงบของการแก้ไขปัญหาไฟป่านั้นเพิ่มขึ้น 260 ล้านบาท แต่ตัวชี้วัดไม่ได้เพิ่มขึ้นตามงบประมาณด้วย นั้นก็หมายความว่า มีโอกาสที่พี่น้องชาวภาคเหนือจะต้องทุกข์ทรมานกับปัญหาเดิมๆ หรืออาจแย่กว่าเดิม
 
ด้านพี่น้องชาวอีสานที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งพร้อมกับปัญหาโควิด ถึงแม้งบประมาณปีนี้ กรมชลประทานจะได้งบประมาณมากขึ้นถึง 8,000 ล้าน แต่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่า งบประมาณนั้นจะสะท้อนความรุนแรงของปัญหาน้ำในประเทศ การรวมศูนย์ของงบประมาณและการเน้นการเยียวยามากกว่าป้องกันปัญหา ไม่ต่างอะไรกับที่ผมได้อภิปรายไปเมื่อปีที่แล้ว
 
ทั้งนี้ พี่น้องภาคใต้ที่รายได้จากการท่องเที่ยวหายไปเกือบทั้งหมด ประสบปัญหาราคายางตกต่ำเพราะส่งออกไม่ได้ พร้อมกับปัญหาโควิด โดยสามัญสำนึกผมคิดว่ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ควรจะมีแผนการการประมาณการที่สะท้อนสถานการณ์จริง แต่กลับเป็นเช่นนั้นไม่ นี่เป็นตัวอย่างตัวอย่างแสดงให้เห็นว่างบประมาณปีนี้สร้างความหวังหรือทำให้คนสิ้นหวัง ประชาชนก็คงจะเป็นคนที่ตอบคำถามนี้ได้เป็นอย่างดี
“พี่น้องประชาชนที่เคยหวังพึ่งระบบ AI ของรัฐบาล และทุลักทุเลกับการขอเงินเยียวยา 5 พันบาท สามัญสำนึกก็บอกผมว่าน่าจะมีงบประมาณอะไรสักอย่างที่จะมาต่อยอดจาก “เราไม่ทิ้งกัน” ทำ Digital Wallet หรือ Smart ID Card ที่ทำให้รัฐบาลสามารถแก้ปัญหานี้ได้ดีกว่าเดิม ทั่วถึงกว่าเดิม รวดเร็วกว่าเดิม ถ้าเกิดเหตุที่ทำให้รัฐต้องปิดเมืองอีกครั้งหนึ่ง แต่ผมต้องขอแสดงความเสียใจด้วยครับ ไม่มีงบประมาณ โครงการเหล่านี้อยู่ในงบปี 64 หรือถ้ามีก็ไม่รู้ว่าตัวชี้วัดคืออะไร” นายพิธา กล่าว....
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่