”ข้าราชการดีจริงหรือที่ใครๆก็อยากเป็น???”

สวัสดีครับ วันนี้ตั้งใจจะมาเขียนกระทู้ๆนึง”ข้าราชการดีจริงหรือที่ใครๆก็อยากเป็น???”
     เส้นทางการเข้าสู้ “ข้าราชการ” ของใครหลายๆคน ความเป็นมาและเส้นทางการนำเข้ามาสู้คำว่า “ข้าราชการ” มีที่มาแตกต่างกันไปตามสายงาน ของใครของมัน บางคนสอบเข้า บางคนทำงานรอตำแหน่ง บางคนเรียนจบได้เป็นเลย ระยะเวลาสั้นยาวแล้วแต่สายงาน
     บางคนเห็นคุณค่าของการได้เป็นข้าราชการ บางคนเบื่อหน่ายอยากเปลี่ยนอาชีพสะเหลือเกิน
ผมจะมาเล่าให้ฟังนะครับ
     ขอเกิ้นก่อนนะครับนี้เป็นกระทู้แรกที่เขียนยาวๆ          สำหรับผมคือผมไม่เคยคิดว่าจะเข้ามาเป็นข้าราชการเลย ไม่เคยมีในความคิดแม้แต่น้อย ที่เข้ามาอยู่ในระบบตอนเเรกเลยคือหาประสบการณ์ แล้วค่อยออกไปอยู่นอกระบบ เพราะจะทำให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น
      เอาหละผมจะเริ่มต้นเล่าให้ฟังเป็น Part ไปนะครับ
Part I : ทุกคนที่เข้ามารับราชการคงนี้ไม่พ้นคำว่า พ่อแม่อยากให้เป็นข้าราชการ เพราะคนในครอบครัวก็เป็นข้าราชการ มีอาชีพ มีความมั่นคง มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ซึ่งมันก็จริงสำหรับคนที่ชอบอยู่ในกฎเกณฑ์ กฎระเบียบ ผมเรียนจบเมื่อหลายปีที่แล้ว (ไม่บอกหรอกเดี๋ยวรู้อายุ) 555 เริ่มทำงานวันแรก จำได้เลย คือ 3 ส.ค.58 ระหว่างทางก็มีการไปสอบแข่งขัน ไปติวสอบนักบิน ไปสมัครสอบทุนนักบิน หรือที่เรียกๆกันว่า Student pilot (SP) เดินทางไปเข้าค่ายนักบินที่ กทม หลายต่อหลายครั้ง เป็นเวลาหลายปีด้วยกันที่ทำแบบนี้มา ทำเพื่ออะไรหรอ งานก็มีทำ เงินเดือนก็มี ทำไมต้องออกไปหาอะไรอีก ทำไมไม่พอใจ  เมื่อวันหนึ่งเราเดินมาจุดจุดหนึ่งที่เราคิดว่าเราจะชอบมัน แต่มันไม่ใช่ตัวตนของเรา ผมเชื่อว่าทุกคนต้องอึดอัดใจ อยากจะหนีไปให้ไกลๆ เหมือนที่ผมเป็นในตอนนั้น เอาหละกลับมาเรื่องการสอบ SP ของผมต่อนะครับ  การที่เรากล้าที่ก้าวออกจาก Confort zone ที่ที่ทุกอย่างลงตัว เพื่อไปหาความฝันที่เคยฝันและมันหายไปตอนจบ.ม.6 มันเหมือนกับการเริ่มต้นนับ 1 ใหม่ทุกครั้ง แต่ผมก็ไม่เคยท้อ บินไปกลับ ภูเก็ต-กทม เดือนละหลายรอบ เพื่อทำตามความฝัน แต่การสอบ SP สอบข้อเขียนผ่านรอบแรก แต่สอบตกรอบสอง พอปีที่ 2 ก็ทำเหมือนเดิมไม่เคยหยุด ผมบินไปเข้า Class SP โดยเฉพาะที่ กทม มีพี่นักบินจากสายการบิน PG ติวให้ และซื้อคอร์สเรียนออนไลน์ จากพี่นักบิน TG กับ TAA เพื่อมาเตรียมตัวสอบ สุดท้ายก็ไม่ติดผมพยายามคิดและนึกถึงตลอดเวลาว่าเราก็ทำดีที่สุดละนะ กลับทบทวนตัวเองจนมาถึงจุดจุดหนึ่งบอกกับตัวเองว่าพอก่อนพักก่อนกลับมาตั้งใจทำงานที่เราเลือกเรียนมาจนจบก่อนมีแรงค่อยว่ากันใหม่
       

Part II  พอทำงานไปได้ประมาณ 3 ปี ก็มีตำแหน่งบรรจุมา รอบแรก 43 ตำแหน่ง ในใจตอนแรกก็ไม่ได้คิดว่าจะได้ สอบสัมภาษณ์ผ่านไป พอประกาศไม่มีชื่อ ผมก็เฉยๆ จนมีพี่ที่ทำงานมาพูดทุกวันว่า”น่าจะได้นะทำไมไม่ได้” ผมก็เริ่มเกิดความคิดว่า “อ้าวพี่พูดมาทำไมเนี่ยอุสาไม่คิด” ตั้งแต่วันนั้นมาก็รู้สึกไม่ดี หมายถึงรู้สึกแย่นิดๆ ผ่านมาอีกประมาณ 6 เดือนก็มีตำแหน่งมาอีก 40 ตำแหน่ง ก็สอบสัมภาษณ์ แบบเดิม ปรากฎว่าได้บรรจุเป็นข้าราชการ ตอนเเรกดีใจนะโทรไปบอกแม่ ว่าได้บรรจุแล้ว แม่กับพ่อก็ดีใจมาก ที่ได้บรรจุและได้สิทธิ์ของข้าราชการที่ได้ทั้ง ค่ารักษาพยาบาล สิทธิพิเศษอื่นๆมากมาย
เช่น 1. วันลาพักร้อน 10 วัน (โหเยอะมากๆ 5555)
       2.ลากิจ
       3.ลาป่วย
       4.ลาศึกษาต่อ
            เหล่านั้น
แต่ๆ.... ข้าราชการใหม่ 6 เดือนเเรกลาไม่ได้นะจ๊ะ ยกเว้นลาป่วย จ้า
     ข้อดีคือ 1. ลาป่วย ลากิจ ลาพักร้อน ลาได้ตามโคต้าห้ามลาเกิน หรือ ลาได้ตามความจำเป็น ได้เงินเดือนปกติ  
     ข้อเสียคือ 2. การลากิจ ลาป่วย มีผลต่อคะแนนประเมินขั้นเงินเดือน (พีคไปอีกคือ ลาป่วยบ่อย ลากิจบ่อยมีผลต่อคะแนนประเมินนะจ๊ะ แล้วจะมีให้ลาทำไมไม่เข้าใจ)
           จากวันแรกที่ได้บรรจุ จนอายุข้าราชการได้ 1 ปีเต็มความคิดเริ่มเปลี่ยนอยากออกไปทำอย่างอื่นที่มีความสุขและก็สบายใจกว่านี้ คือผมยอมรับนะครับว่าผมเป็นคนที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูงมากกก บอกเลยว่านี้คือข้อเสียมากๆในการทำงานร่วมกับคนอื่นๆ แต่ผมพยายามไม่แสดงออก แต่มันอาจจะมีหลุดออกมาบ้าง คือผมเป็นคนเอาแต่ใจ
       มาพูดถึงเรื่องงานที่ทำมันค่อนข้างจะเป็นอิสระในการคิดแต่อยู่ภายใต้องค์ความรู้  คือประมาณว่าจะทำอะไรก็ทำ แต่ต้องมีเหตุผลและองค์ความรู้คอยสนับสนุน จะขาดไม่ได้ ภาระงานก็คือว่าค่อนข้างเหนื่อยและเครียด เพราะงานหนักมาก  เรื่องงานไม่ใช่ประเด็นปัญหาที่อยากให้ลาออก ผมเชื่อหลายๆคนที่อยากลาออก 90% ไม่ใช่เพราะงาน แต่เป็นเพื่อนร่วมงาน+ ระบบข้าราชการที่เก่ามากกว่า???
       
Part IV อะไรคือสาเหตุที่แท้จริง เพื่อนร่วมงาน เคยมีไหมใครเคยเจอแบบว่า เราดีกับทุกคนแต่ใช่ว่าทุกคนจะดีกับเรา นินทาลับหลัง ใส่ร้ายบ้าง  แต่.....สำหรับผม ผมไม่เคยโกรธคนกลุ่มนั้นเลย เพราะอะไรรู้ไหมครับ เพราะผมรู้ว่าพื้นฐานครอบครัวของแต่ละคนถูกเลี้ยงดูมาไม่เหมือนกัน  เราจะต้องเข้าใจบริบทของคน  ความเฉพาะของแต่ละบุคคลให้ได้ และให้เอาคำติฉินนินทานั้นมาเป็นแรงผลักดันให้เราไปถึงจุดที่เราสามารถยืนด้วยตัวเองได้  ระบบข้าราชการดีอย่างหนึ่งคือเราสามารถยืนได้ด้วยลำแข้งตัวเองได้
             ระบบข้าราชการที่เก่า ระบบดึกดำบรรพ์ถ้าทำอะไรแหวกแนว แตกแถวคุณคือคนผิด คุณคือตัวอันตรายของหน่วยงาน  ห้ามพูดความจริง ห้ามหาข้อเสีย เพราะอะไรนั้นหรอ เพราะว่าผู้ใหญ่ไม่ปลื้ม รับไม่ได้กับสิ่งที่จะได้ยิน (โลกสวยไปไหน คุณก็ทำให้มันดีสิ) สำหรับผมผมมองว่าการพูดความจริงตรงๆ ปัญหานั้นจะได้รับการแก้ไขที่ถูกต้องเร่งด่วนรวดเร็ว กว่าการปกปิดและบอกว่าจะแก้ไขที่หลัง แบบนี้ผมเห็นมา4-5 ปียังเหมือนเดิม  นี้เป็นสาเหตุนึ่งที่ทำให้เด็กสมัยใหม่ทนอยู่ในระบบข้าราชการไม่ได้ เนื่องจาก เด็กสมัยนี้คิดเร็วทำเร็ว พูดตรง ความอดทนน้อย เลยทำให้ผู้ใหญ่หลายมองว่าทำงานไม่ได้เรื่อง ไม่รักองค์ จริงๆแล้วนั้น ทุกคนรักองค์กรครับ เพียงแต่การแสดงออกของเด็กรุ่นใหม่มันตรงเกินไป ไม่เหมือนผู้ใหญ่ที่อาวุโสกว่า เจอปัญหาแล้วเงียบ กลัวเสียคะแนนเวลาประเมิน อีกปัญหาคือ เวลาขอเรียนต่อยากมากๆ ไม่รู้เป็นเพราะอะไร เหตุผลแต่ละอย่างผมฟังแล้วผมคิดว่าไม่น่าจะออกมาจากปากผู้บริหารระดับนั้น เช่น 1. ขาดคนทำงาน (ห๊า...อะไรนะขาดคนทำงาน..OMG มาก ) คุณฟังไม่ผิดหรอก เฟ้ยไปเรียนต่อกลับมาพัฒนาองค์นะเว้ย...  2. สาขาที่เรียนไม่มีในแผนปีนี้...WTF..คืออะไร คือต้องเรียนตามที่คุณเส้นไว้ให้เดินงี้หรอ...มันควรปรับเปลี่ยนได้ตามบริบทก็ได้มั้ง

สรุปคือ เป็นข้าราชการดีครับ ขอแค่คนในระบบที่อาวุโสก็ช่วยลดฐิถิลงบ้าง ลองมองลงมาดูน้องๆบ้าง  ทุกอย่างดีหมดยกเว้นคนเดินระบบแค่นั้นเอง (5555 สงสัยคนเดินระบบต้องอัด IOS ให้ทันน้องๆได้แล้ว)
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
... ข้อเสียคือ 2. การลากิจ ลาป่วย มีผลต่อคะแนนประเมินขั้นเงินเดือน (พีคไปอีกคือ ลาป่วยบ่อย ลากิจบ่อยมีผลต่อคะแนนประเมินนะจ๊ะ แล้วจะมีให้ลาทำไมไม่เข้าใจ)...

- ให้ดูรายละเอียดในระเบียบการลา ว่าลาอะไรกี่วันไม่มีผล ลาอะไรกี่วันจึงจะมีผลต่อคะแนนประเมิน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่