ตู้ปันสุข "หยิบไปแต่พอดี ถ้าท่านมีให้ใส่ตู้แบ่งปัน"
เฟซบุ๊ก Supakit Bank Kulchartvijit ของ นายสุภกฤษ กุลชาติวิจิตร ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและเจ้าของเพจ รู้รอบตอบโจทย์ธุรกิจ ได้มีการเผยแพร่คลิปเรื่องราวของ “ตู้ปันสุข” ซึ่งเป็นตู้ที่นำไปตั้งในชุมชน ให้ชาวบ้านนำอาหารมาใส่ในตู้ แบ่งปันสำหรับผู้ขาดแคลนในช่วงโควิด-19 ระบาด
ผมและเพื่อนๆที่ปฎิบัติธรรมตั้งแต่สมัยมหาวิทยาลัยหลายท่าน (รวมตัวกันในนามกลุ่ม อิฐน้อย) ได้ร่วมกันทำโครงการ Pantry of Sharing โดยได้ไอเดียมาจาก โครงการ Free Pantry ของฝรั่ง เพื่อช่วยเหลือและแบ่งปันคนที่ประสบปัญหาจากโรคระบาดโควิด-19 ครับ ตอนนี้พวกเราทำกันได้ 5 ตู้แล้ว (กรุงเทพ 4 ตู้ ระยอง 1 ตู้)
ตอนแรกหลายคนก็บอกว่าหายหมดยกตู้แน่นอน คนต้องกวาดเกลี้ยงตู้ หรือจะโดนกวาดเอาไปขาย และนี่คือบทพิสูจน์ว่าคนไทยยังมีน้ำใจต่อกันครับ
คำสัมภาษณ์ของ สุภกฤษ กุลชาติวิจิตร หรือโค้ชแบงค์ เจ้าของเพจ รู้รอบตอบโจทย์ธุรกิจ ถึงไอเดียในการทำ “ตู้ปันสุข” ว่า ตู้นี้เป็นโมเดลที่เราได้รับแรงบันดาลใจมาจากการดูยูทูป รู้สึกว่าครั้งแรกจะทำที่สหรัฐอเมริกา และมีการทำกันเยอะมากๆ ในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
ผมและเพื่อนๆ ในกลุ่มอิฐน้อย ซึ่งเป็นกลุ่มเพื่อนปฏิบัติธรรมด้วยกันตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย อยากจะทำ เลยลองโพสต์คลิปวิดีโอของฝรั่งที่ไปนำมาจากยูทูปแชร์ลงไปในเพจ เพื่อถามความเห็นว่า คนจะคิดอย่างไรถ้าลองทำ มีคนคอนเมนต์เกือบ 200 คน โดย 150 คนบอกว่า หายแน่นอน บอกคนบอกว่า อย่าว่าแต่ของหายเลยตู้น่าจะหายด้วย แต่ผมบอกกับเพื่อนๆ ว่า เราน่าจะลองทำกันดู
คอนเซ็ปต์คือการลดความเหลื่อมล้ำของสังคม เพราะปกติแล้ว ถ้าบริจาค แบ่งปันทำในโมเดลโรงทาน คนที่จะไปบริจาคได้ คือต้องมีของอย่างน้อย 100 ชิ้น 200 ชิ้น แต่โมเดลนี้คือการแบ่งปัน เช่นถ้าไปเซเว่นคุณซื้อมาม่า มา 2 ถุง ถุงหนึ่งเก็บไว้กิน อีกถุงหนึ่งคุณก็เอามาใส่คุณทำได้ในทุกสเกล คนที่มีเยอะก็สามารถทำได้ คนที่มีน้อยก็สามารถทำได้
แล้วคนที่วันนี้ยังไม่มี คุณไปหยิบมา หยิบมาม่า หยิบนมเขามา วันหนึ่งที่เขากลับมาจ้างงานคุณเหมือนเดิม คุณมีค่าแรง คุณก็อาจจะกลับไปเป็นผู้ให้ หรือแทนที่คุณจะหยิบ 10 กล่อง คุณก็หยิบไปแค่ 2 กล่องก็ยังเหลือเผื่อแผ่คนอื่น คือทุกคนสามารถเป็นผู้ให้ได้ ถ้าเราสามารถปลูกฝังความเป็นผู้ให้ได้ เรื่องขโมยในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดีก็จะลดลง
“ตู้ปันสุข” ไม่หาย แถมของในตู้มีคนมาช่วยเติม
สุภกฤษ กุลชาติวิจิตร : หลายคนบอกว่าทำไม่ได้ แต่พวกเราทำขึ้นมาก็เหมือนทนายแก้ต่างให้คนไทยว่า คนไทยที่ยังมีน้ำใจมี ผมไปตั้ง อย่างจุดในย่านวิภาวดี วินมอเตอร์ไซต์วิ่งมาบอกเลยว่า จบโครงการแล้ว ผมขอตู้นะ สังเกตว่าเขาบอกว่าจบโครงการแล้ว แสดงว่าเขายังเห็นประโยชน์ของคนอื่นอีกที่จะได้ประโยชน์จากตู้ ก่อนเป็นกับตัวเขาเอง ดังนั้นเรื่องหาย ถามว่าผมกลัวไหม? ผมไม่กลัวนะ เพราะหลาย ๆ ตู้ ไม่มีกล้องวงจรปิด ไม่มีคนเฝ้า ภาพที่ถ่ายมาเพราะมีกล้องที่ไปติดวันแรกวันเดียวแล้วก็ถอดออก ทำมา 2 สัปดาห์แล้วของก็ยังเต็มตู้ครับ
“คนอื่นเอาของมาเติมในตู้ครับ ส่วนพวกเราถ้าใครอยู่ใกล้ก็แวะเอาของไปเติม หลายคนก่อนเคอร์ฟิวซื้อตุนไว้เยอะ ตอนนี้เลยทยอยเอามาบริจาคแล้วบางส่วน”

ตู้สอนการเป็น “ผู้ให้” และ “ไม่เห็นแก่ตัว”
เห็นว่ามีคนชอบไอเดียตู้ปันสุขอยากไปทำต่อ?
สุภกฤษ กุลชาติวิจิตร : ยินดีเลยไม่ใช่ลิขสิทธิ์ผม ที่ทำแรกๆ น่าจะเป็นพระพยอม แต่น่าจะหลายปีแล้ว และก็มีคนเข้ามาบอกว่าที่ลำปางก็เคยมี ตอนนี้มีหลายคนทำ สามารถเอาไปทำได้เลย แล้วก็ไม่ต้องเป็นตู้ก็ได้ เพราะสาเหตุที่พวกเราใช้ตู้กับข้าว หรือตู้ไม้ เพราะอยากให้เกิดการจ้างงานในชุมชนด้วย ผมเห็นมีเด็กคนหนึ่งเข้าคอมเมนต์ถ้าโตขึ้นแล้วจะทำ ผมอยากบอกว่าไม่ต้องรอโต มีเงินซื้อตู้แล้วค่อยทำหรอกครับ ทำได้เลย ใส่กล่องหรือลังก็ได้ที่ป้องกันแมลงสาบ หนู แล้วถ้าไปตั้งในสถานที่สาธารณะควรแจ้งเจ้าหน้าที่เทศกิจ หรือท้องถิ่นให้ทราบก่อน
“เหมือนนิทานเรื่องห่านกับไข่ทองคำ ถ้าฆ่าห่านก็จะไม่ได้ไข่อีกต่อไป ถ้ารักษาห่าน ห่านก็จะออกไข่ให้ทุกวัน คนในชุมชนจะร่วมกันดูแลรักษาตู้ อย่างจุดที่ตั้งตู้ในย่านเพชรเกษม มีเด็ก เอาถุงเป้ดำมาโกยของ ก็มีคนแถวนั้นไปสอนเด็กว่า ถ้าทำแบบนี้ต่อไปจะไม่มีของ เพราะการทำลายตู้ ทำลายความเชื่อใจ ของจะไม่มี หลังจากนั้นเด็กก็มาเอาแค่กล่อง 2 กล่อง นมที่เขาอยากกิน”
ความงดงามอีกจุดที่เป็นไฮไลต์ของ “ตู้ปันสุข” คือที่ตู้จะมีกระดาษให้เขียนขอบคุณผู้ให้ ผู้ที่เอาของมาใส่ในตู้เมื่อได้อ่านข้อความขอบคุณจะเกิดความรู้สึกดีๆ อยากจะเอาให้เพิ่มวงจรนี้ก็เลยอยู่ได้
กลุ่มอิฐน้อย ทำตู้ปันสุขทั้งหมด 5 ตู้ ที่สุขุมวิท 71, ตลาดบางคอแหลม, เพชรเกษม 54, วิภาวดี 60, บ้านแลง จ.ระยอง แต่ล่าสุดมีคนที่ได้แรงบันดาลใจนำไอเดียตู้ปันสุขไปทำต่อกันเรื่อยๆ
ตู้ปันสุข "หยิบไปแต่พอดี ถ้าท่านมีให้ใส่ตู้แบ่งปัน"
เฟซบุ๊ก Supakit Bank Kulchartvijit ของ นายสุภกฤษ กุลชาติวิจิตร ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและเจ้าของเพจ รู้รอบตอบโจทย์ธุรกิจ ได้มีการเผยแพร่คลิปเรื่องราวของ “ตู้ปันสุข” ซึ่งเป็นตู้ที่นำไปตั้งในชุมชน ให้ชาวบ้านนำอาหารมาใส่ในตู้ แบ่งปันสำหรับผู้ขาดแคลนในช่วงโควิด-19 ระบาด
ผมและเพื่อนๆที่ปฎิบัติธรรมตั้งแต่สมัยมหาวิทยาลัยหลายท่าน (รวมตัวกันในนามกลุ่ม อิฐน้อย) ได้ร่วมกันทำโครงการ Pantry of Sharing โดยได้ไอเดียมาจาก โครงการ Free Pantry ของฝรั่ง เพื่อช่วยเหลือและแบ่งปันคนที่ประสบปัญหาจากโรคระบาดโควิด-19 ครับ ตอนนี้พวกเราทำกันได้ 5 ตู้แล้ว (กรุงเทพ 4 ตู้ ระยอง 1 ตู้)
ตอนแรกหลายคนก็บอกว่าหายหมดยกตู้แน่นอน คนต้องกวาดเกลี้ยงตู้ หรือจะโดนกวาดเอาไปขาย และนี่คือบทพิสูจน์ว่าคนไทยยังมีน้ำใจต่อกันครับ
คำสัมภาษณ์ของ สุภกฤษ กุลชาติวิจิตร หรือโค้ชแบงค์ เจ้าของเพจ รู้รอบตอบโจทย์ธุรกิจ ถึงไอเดียในการทำ “ตู้ปันสุข” ว่า ตู้นี้เป็นโมเดลที่เราได้รับแรงบันดาลใจมาจากการดูยูทูป รู้สึกว่าครั้งแรกจะทำที่สหรัฐอเมริกา และมีการทำกันเยอะมากๆ ในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
ผมและเพื่อนๆ ในกลุ่มอิฐน้อย ซึ่งเป็นกลุ่มเพื่อนปฏิบัติธรรมด้วยกันตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย อยากจะทำ เลยลองโพสต์คลิปวิดีโอของฝรั่งที่ไปนำมาจากยูทูปแชร์ลงไปในเพจ เพื่อถามความเห็นว่า คนจะคิดอย่างไรถ้าลองทำ มีคนคอนเมนต์เกือบ 200 คน โดย 150 คนบอกว่า หายแน่นอน บอกคนบอกว่า อย่าว่าแต่ของหายเลยตู้น่าจะหายด้วย แต่ผมบอกกับเพื่อนๆ ว่า เราน่าจะลองทำกันดู
คอนเซ็ปต์คือการลดความเหลื่อมล้ำของสังคม เพราะปกติแล้ว ถ้าบริจาค แบ่งปันทำในโมเดลโรงทาน คนที่จะไปบริจาคได้ คือต้องมีของอย่างน้อย 100 ชิ้น 200 ชิ้น แต่โมเดลนี้คือการแบ่งปัน เช่นถ้าไปเซเว่นคุณซื้อมาม่า มา 2 ถุง ถุงหนึ่งเก็บไว้กิน อีกถุงหนึ่งคุณก็เอามาใส่คุณทำได้ในทุกสเกล คนที่มีเยอะก็สามารถทำได้ คนที่มีน้อยก็สามารถทำได้
แล้วคนที่วันนี้ยังไม่มี คุณไปหยิบมา หยิบมาม่า หยิบนมเขามา วันหนึ่งที่เขากลับมาจ้างงานคุณเหมือนเดิม คุณมีค่าแรง คุณก็อาจจะกลับไปเป็นผู้ให้ หรือแทนที่คุณจะหยิบ 10 กล่อง คุณก็หยิบไปแค่ 2 กล่องก็ยังเหลือเผื่อแผ่คนอื่น คือทุกคนสามารถเป็นผู้ให้ได้ ถ้าเราสามารถปลูกฝังความเป็นผู้ให้ได้ เรื่องขโมยในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดีก็จะลดลง
“ตู้ปันสุข” ไม่หาย แถมของในตู้มีคนมาช่วยเติม
สุภกฤษ กุลชาติวิจิตร : หลายคนบอกว่าทำไม่ได้ แต่พวกเราทำขึ้นมาก็เหมือนทนายแก้ต่างให้คนไทยว่า คนไทยที่ยังมีน้ำใจมี ผมไปตั้ง อย่างจุดในย่านวิภาวดี วินมอเตอร์ไซต์วิ่งมาบอกเลยว่า จบโครงการแล้ว ผมขอตู้นะ สังเกตว่าเขาบอกว่าจบโครงการแล้ว แสดงว่าเขายังเห็นประโยชน์ของคนอื่นอีกที่จะได้ประโยชน์จากตู้ ก่อนเป็นกับตัวเขาเอง ดังนั้นเรื่องหาย ถามว่าผมกลัวไหม? ผมไม่กลัวนะ เพราะหลาย ๆ ตู้ ไม่มีกล้องวงจรปิด ไม่มีคนเฝ้า ภาพที่ถ่ายมาเพราะมีกล้องที่ไปติดวันแรกวันเดียวแล้วก็ถอดออก ทำมา 2 สัปดาห์แล้วของก็ยังเต็มตู้ครับ
“คนอื่นเอาของมาเติมในตู้ครับ ส่วนพวกเราถ้าใครอยู่ใกล้ก็แวะเอาของไปเติม หลายคนก่อนเคอร์ฟิวซื้อตุนไว้เยอะ ตอนนี้เลยทยอยเอามาบริจาคแล้วบางส่วน”
ตู้สอนการเป็น “ผู้ให้” และ “ไม่เห็นแก่ตัว”
เห็นว่ามีคนชอบไอเดียตู้ปันสุขอยากไปทำต่อ?
สุภกฤษ กุลชาติวิจิตร : ยินดีเลยไม่ใช่ลิขสิทธิ์ผม ที่ทำแรกๆ น่าจะเป็นพระพยอม แต่น่าจะหลายปีแล้ว และก็มีคนเข้ามาบอกว่าที่ลำปางก็เคยมี ตอนนี้มีหลายคนทำ สามารถเอาไปทำได้เลย แล้วก็ไม่ต้องเป็นตู้ก็ได้ เพราะสาเหตุที่พวกเราใช้ตู้กับข้าว หรือตู้ไม้ เพราะอยากให้เกิดการจ้างงานในชุมชนด้วย ผมเห็นมีเด็กคนหนึ่งเข้าคอมเมนต์ถ้าโตขึ้นแล้วจะทำ ผมอยากบอกว่าไม่ต้องรอโต มีเงินซื้อตู้แล้วค่อยทำหรอกครับ ทำได้เลย ใส่กล่องหรือลังก็ได้ที่ป้องกันแมลงสาบ หนู แล้วถ้าไปตั้งในสถานที่สาธารณะควรแจ้งเจ้าหน้าที่เทศกิจ หรือท้องถิ่นให้ทราบก่อน
“เหมือนนิทานเรื่องห่านกับไข่ทองคำ ถ้าฆ่าห่านก็จะไม่ได้ไข่อีกต่อไป ถ้ารักษาห่าน ห่านก็จะออกไข่ให้ทุกวัน คนในชุมชนจะร่วมกันดูแลรักษาตู้ อย่างจุดที่ตั้งตู้ในย่านเพชรเกษม มีเด็ก เอาถุงเป้ดำมาโกยของ ก็มีคนแถวนั้นไปสอนเด็กว่า ถ้าทำแบบนี้ต่อไปจะไม่มีของ เพราะการทำลายตู้ ทำลายความเชื่อใจ ของจะไม่มี หลังจากนั้นเด็กก็มาเอาแค่กล่อง 2 กล่อง นมที่เขาอยากกิน”
ความงดงามอีกจุดที่เป็นไฮไลต์ของ “ตู้ปันสุข” คือที่ตู้จะมีกระดาษให้เขียนขอบคุณผู้ให้ ผู้ที่เอาของมาใส่ในตู้เมื่อได้อ่านข้อความขอบคุณจะเกิดความรู้สึกดีๆ อยากจะเอาให้เพิ่มวงจรนี้ก็เลยอยู่ได้
กลุ่มอิฐน้อย ทำตู้ปันสุขทั้งหมด 5 ตู้ ที่สุขุมวิท 71, ตลาดบางคอแหลม, เพชรเกษม 54, วิภาวดี 60, บ้านแลง จ.ระยอง แต่ล่าสุดมีคนที่ได้แรงบันดาลใจนำไอเดียตู้ปันสุขไปทำต่อกันเรื่อยๆ