‘ภาคี ม.กรุงเทพฯ’ โต้ ‘เสรี’ ยันการเมืองเป็นเรื่องของทุกคน หวัง ส.ว.ทำหน้าที่เต็มภาคภูมิ
https://www.matichon.co.th/politics/news_2158388
‘ภาคี ม.กรุงเทพฯ’ โต้ ‘เสรี’ ยันการเมืองเป็นเรื่องของทุกคน หวัง ส.ว.ทำหน้าที่เต็มภาคภูมิ
สืบเนื่องกรณีนาย
เสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กล่าวถึงการเคลื่อนไหววิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ ส.ว. ว่า มีหน้าที่เรียนก็เรียนไป ขอให้รู้หน้าที่ตัวเองนั้น
อ่านเพิ่มเติม
“เสรี” สวน นักศึกษา มีหน้าที่เรียนก็เรียนไป ไม่ใช่มาเคลื่อนไหวไล่ส.ว.-ไล่รัฐบาล
เมื่อวันที่ 26 เมษายน ภาคีนักศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เผยแพร่ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า
คำพูดดังกล่าว เป็นชุดความคิดที่กดขี่และปิดกั้นเยาวชนไม่ให้มีส่วนร่วมในสังคมอย่างมาก ทั้งที่การเมืองและสังคมเป็นเรื่องของคนทุกคน
ความตอนหนึ่งว่า
‘ทางภาคีนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพคาดหวังว่า ท่าน ส.ว.ที่เคารพจะทำหน้าที่ได้อย่างเต็มภาคภูมิ จากการที่ท่านได้รับการแต่งตั้งมาด้วย พวกเรากำลังทำตามคำแนะนำของท่านด้วยการศึกษาว่า
ส.ว.มีทำไม และจำเป็นไหมที่ประเทศไทยต้องมี ส.ว.
เพราะการเมือง คือเรื่องของคนทุกคน’
https://www.facebook.com/104801407790708/photos/a.105935307677318/134346418169540/
"อนุสรณ์" ถามรัฐบาลสร้างขั้นตอนลงทะเบียนให้ยุ่งยากซับซ้อนเพราะเหตุใด
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2158060
เมื่อวันที่ 26 เมษายน นาย
อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงปัญหาการจ่ายเงินเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของรัฐบาล ว่า รัฐบาลพยายามออกแบบและสร้างเงื่อนไขการจ่ายเงินเยียวยาให้ยุ่งยากแบบรัฐราชการ คัดกรองแล้ว คัดกรองอีก ทำให้มีงานเพิ่มขึ้นมาโดยไม่จำเป็น ส่งผลต่อการจ่ายเงินเยียวยาล่าช้า ไม่ครอบคลุมทั่วถึง จนคนต้องฆ่าตัวตายเพราะถูกทิ้งจากโครงการ เราไม่ทิ้งกัน รัฐบาลต้องตั้งสมมติฐานก่อนว่า ทุกคนเดือดร้อน ไม่ใช่ทุกคนตั้งใจมาโกงเงินเยียวยาทั้งที่ไม่มีสิทธิ์ เงินที่นำมาจ่ายเยียวยาก็เป็นเงินของประชาชนทุกคน ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง ถ้ายังปล่อยให้เกิดกรณีแบบนี้บ่อยๆ จะสร้างปัญหาใหม่ไม่รู้จบ คนเดือดร้อนจะถูกผลักออกจากการเยียวยา ถ้าระบบฐานข้อมูลมีปัญหาและยังไม่มีการปรับปรุงแก้ไข การจ่ายเงินเยียวยาให้กับประชาชนกลุ่มต่างๆ รวมถึงเกษตรกรที่จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคมนี้ ก็จะเป็นปัญหาใหญ่ตามมาอีก
Social Safety Net หรือ ระบบรองรับประชาชนที่ตกจากตาข่ายความปลอดภัยทางสังคม ถ้าประชาชนเข้าไม่ถึงการเยียวยา ต้องปรับให้สามารถรองรับช่วยเหลือคนได้มากขึ้น นอกเหนือจากการให้ประชาชนอุทธรณ์ออนไลน์ เมื่อลงทะเบียนแล้วถูกปฏิเสธความช่วยเหลือไม่ได้รับเงินเยียวยาจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร มติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดให้ผู้เดือดร้อนลงทะเบียนรับเงินช่วยเหลือทาง www.เราจะไม่ทิ้งกัน.com เพียงช่องทางเดียวเท่านั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ รัฐบาลสร้างขั้นตอนลงทะเบียนให้ยุ่งยากซับซ้อนเพราะเหตุใด
“สมมติฐานความกลัวประชาชนจะโกงรัฐ ต้องถูกแก้ไข ถ้าการเยียวยาไม่ช่วยแก้ปัญหา คนเดือดร้อนเข้าไม่ถึง ที่สุดคนจะอดตาย มากกว่าติดเชื้อไวรัสโควิด-19” นาย
อนุสรณ์ กล่าว
JJNY : 4in1 ภาคี ม.กรุงเทพฯ โต้เสรี/อนุสรณ์ถามลงทะเบียนยุ่งยากเพราะเหตุใด/วันนอร์วอนชงเปิดประชุมสภา/ข้อเสนอคลายล็อกดาวน์
https://www.matichon.co.th/politics/news_2158388
สืบเนื่องกรณีนายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กล่าวถึงการเคลื่อนไหววิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ ส.ว. ว่า มีหน้าที่เรียนก็เรียนไป ขอให้รู้หน้าที่ตัวเองนั้น
อ่านเพิ่มเติม “เสรี” สวน นักศึกษา มีหน้าที่เรียนก็เรียนไป ไม่ใช่มาเคลื่อนไหวไล่ส.ว.-ไล่รัฐบาล
เมื่อวันที่ 26 เมษายน ภาคีนักศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เผยแพร่ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า
คำพูดดังกล่าว เป็นชุดความคิดที่กดขี่และปิดกั้นเยาวชนไม่ให้มีส่วนร่วมในสังคมอย่างมาก ทั้งที่การเมืองและสังคมเป็นเรื่องของคนทุกคน
ความตอนหนึ่งว่า
‘ทางภาคีนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพคาดหวังว่า ท่าน ส.ว.ที่เคารพจะทำหน้าที่ได้อย่างเต็มภาคภูมิ จากการที่ท่านได้รับการแต่งตั้งมาด้วย พวกเรากำลังทำตามคำแนะนำของท่านด้วยการศึกษาว่า
ส.ว.มีทำไม และจำเป็นไหมที่ประเทศไทยต้องมี ส.ว.
เพราะการเมือง คือเรื่องของคนทุกคน’
https://www.facebook.com/104801407790708/photos/a.105935307677318/134346418169540/
"อนุสรณ์" ถามรัฐบาลสร้างขั้นตอนลงทะเบียนให้ยุ่งยากซับซ้อนเพราะเหตุใด
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2158060
เมื่อวันที่ 26 เมษายน นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงปัญหาการจ่ายเงินเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของรัฐบาล ว่า รัฐบาลพยายามออกแบบและสร้างเงื่อนไขการจ่ายเงินเยียวยาให้ยุ่งยากแบบรัฐราชการ คัดกรองแล้ว คัดกรองอีก ทำให้มีงานเพิ่มขึ้นมาโดยไม่จำเป็น ส่งผลต่อการจ่ายเงินเยียวยาล่าช้า ไม่ครอบคลุมทั่วถึง จนคนต้องฆ่าตัวตายเพราะถูกทิ้งจากโครงการ เราไม่ทิ้งกัน รัฐบาลต้องตั้งสมมติฐานก่อนว่า ทุกคนเดือดร้อน ไม่ใช่ทุกคนตั้งใจมาโกงเงินเยียวยาทั้งที่ไม่มีสิทธิ์ เงินที่นำมาจ่ายเยียวยาก็เป็นเงินของประชาชนทุกคน ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง ถ้ายังปล่อยให้เกิดกรณีแบบนี้บ่อยๆ จะสร้างปัญหาใหม่ไม่รู้จบ คนเดือดร้อนจะถูกผลักออกจากการเยียวยา ถ้าระบบฐานข้อมูลมีปัญหาและยังไม่มีการปรับปรุงแก้ไข การจ่ายเงินเยียวยาให้กับประชาชนกลุ่มต่างๆ รวมถึงเกษตรกรที่จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคมนี้ ก็จะเป็นปัญหาใหญ่ตามมาอีก
Social Safety Net หรือ ระบบรองรับประชาชนที่ตกจากตาข่ายความปลอดภัยทางสังคม ถ้าประชาชนเข้าไม่ถึงการเยียวยา ต้องปรับให้สามารถรองรับช่วยเหลือคนได้มากขึ้น นอกเหนือจากการให้ประชาชนอุทธรณ์ออนไลน์ เมื่อลงทะเบียนแล้วถูกปฏิเสธความช่วยเหลือไม่ได้รับเงินเยียวยาจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร มติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดให้ผู้เดือดร้อนลงทะเบียนรับเงินช่วยเหลือทาง www.เราจะไม่ทิ้งกัน.com เพียงช่องทางเดียวเท่านั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ รัฐบาลสร้างขั้นตอนลงทะเบียนให้ยุ่งยากซับซ้อนเพราะเหตุใด
“สมมติฐานความกลัวประชาชนจะโกงรัฐ ต้องถูกแก้ไข ถ้าการเยียวยาไม่ช่วยแก้ปัญหา คนเดือดร้อนเข้าไม่ถึง ที่สุดคนจะอดตาย มากกว่าติดเชื้อไวรัสโควิด-19” นายอนุสรณ์ กล่าว