ความเสื่อมศรัทธาและขาดการสนับสนุนจากลูกค้า, ร้านค้าปลีกและผู้พัฒนาเกม ทำให้ Saga Saturn ทั้งที่วางจำหน่ายล่วงหน้า ps เกือบ 4 เดือนแต่กลับทำยอดขายได้แค่ 8 หมื่นเครื่องเมื่อถึงวันที่ ps วางตลาดวันแรก ยิ่งเวลาผ่านไปยอดขายของ ps ก็ยิ่งทิ้งห่าง Saturn มากขึ้นเรื่อย ๆ
เมื่อสถานการณ์แย่ลง นากายาม่า CEO ของ SoJ ตัดสินใจเกหมดหน้าตักโดยสั่งให้ยุติการผลิตเครื่องเล่นเกมรุ่นอื่น ๆ ทั้งหมดเพื่อนำทรัพยากรมาทุ่มให้กับ Sage Saturn
เป็นอีกครั้งที่ ทอม CEO ของ SoA ขัดค้าน เพราะเห็นว่าความต้องการของเครื่องเกมรุ่นเก่า โดยเฉพาะ Sega Genesis ยังคงมีอยู่มาก เครื่องยังคงขายได้ การยุติการผลิตนั้นจะทำให้พลาดโอกาสการขายและการขยายตลาดผู้เล่นเครื่องเกมของ SEGA ให้มากยิ่งขึ้น และก็เป็นอีกครั้งที่นากายาม่าไม่ฟัง ผลทำให้ Sega Genesis เกิดขาดตลาด ทอมประเมินว่าปีนั้น(1995) Genesis ควรจะขายได้อีกอย่างน้อยประมาณ 3 แสนเครื่องถ้าไม่ถูกยุติการผลิตไปเสียก่อน
และเมื่อลูกค้าไปซื้อของแล้วของไม่มีขายก็เป็นเรื่องปกติที่ลูกค้าจะหันไปหาสินค้าประเภทเดียวกันมาทดแทน โดยในตอนนั้นถ้าไม่นับ Sega Genesis ก็จะมีเครื่องเกมคอนโซลในตลาด อยู่ 3 รุ่น Super Nintendo(SNES), Sega Saturn และ PlayStation(ps)
โดย SNES มีราคาขายใกล้เคียง Genesis มากที่สุดแต่ก็กำลังจะตกรุ่น ส่วน ps เป็นเครื่องรุ่นใหม่ที่ราคาถูกกว่า Sega Saturn ถึง 100 USD และมีเกมมากกว่า ผู้อ่านลองมองจากมุมลูกค้าดูว่าถ้าเป็นตัวเองละก็จะซื้อเครื่องไหน
ในที่สุดทอมก็หมดใจที่จะทำงานกับ SEGA โดยยื่นเรื่องขอลาออกในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 1996 ทาง SoJ จึงได้แต่งตั้ง Shoichiro Irimajiri อดีตประธานฮอนด้าสาขาอเมริกาที่มาร่วมงานกับ SEGA เมื่อปี 1993 ให้ดำรงตำแหน่ง CEO ของ SoA แทนในเดือนกรกฎาคมปี 1996 ส่วนทอมก็ออกจาก SEGA ไปในวันที่ 30 เดือนกันยายน ปีเดียวกัน
SoJ ประสบความสำเร็จในการดึง SoA กลับมาอยู่ในการควบคุมของตนเองได้ในที่สุด
แต่ขณะเดียวกันความผิดพลาดจากการบังคับใช้นโยบายของ SoJ และปัญหาของเครื่อง Saturn ก็เริ่มแสดงออกมาให้เห็นชัดขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเข้าสู่ช่วงกลางปี 1996 ที่ Nintendo เริ่มวางจำหน่ายเครื่องเกมรุ่นใหม่ของตนเองสถานะการณ์ก็ยิ่งเลวร้ายลงไปอีก
ดังนั้นนอกจากการดึงอำนาจการควบคุม SoA กลับมาแล้ว ขณะเดียวกัน SEGA ก็จำเป็นต้องหา ทอมคนใหม่ เพื่อมากู้วิกฤตด้วย และคน ๆ นั้นคือ Bernard "Bernie" Stolar (เบอร์นี่ สโตลาร์) อดีตผู้บริหาร SCEA
โดยส่วนหนึ่งของการให้สัมภาษณ์ของ เบอร์นี่ เรื่องเหตุผลที่ออกจาก Sony มาทำงานกับ SEGA นั้นน่าสนใจมาก
"We spoke about building a new hardware platform that I would be very, very involved with, shape the direction of this platform, and hire a new team of people and restructure Sega. That, to me, was a great opportunity."
“เราคุยกันเรื่องการสร้าง Hardware ตัวใหม่ที่ผมจะมีส่วนร่วมด้วยอย่างมากกกกก ทั้งการกำหนดทิศทางของ Hardware, การว่าจ้างทีมงานใหม่และปรับโครงสร้างของ SEGA. สำหรับผม มันเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่”
“เรา” ในที่นี้คือเบอร์นี่กับนากายาม่า CEO ของ SoJ
เป็นอีกครั้งที่นากายาม่าใช้วิธีเดียวกับที่เคยใช้เพื่อแก้ปัญหาการทำตลาดของ SEGA สมัย Sega Genesis และจากคำพูดนี้เองก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าทาง SoJ เองก็รับรู้และยอมรับในระดับบริหารแล้วว่า Sega Saturn มีปัญหาจริง
เบอร์นี่ได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธาน SoA ควบตำแหน่ง Chief operating officer หรือ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ(COO) โดยดูแลด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์(ทั้ง Hardware, Software)และดูแลความสัมพันธ์ระหว่าง SEGA กับบริษัทผู้ผลิตเกมรายอื่น ๆ เมื่อเดือนกรกฎาคมปี 1996 ปีเดียวกับที่ โชอิจิโร่ ได้เป็น CEO ของ SoA
โดยส่วนตัวแล้วเบอร์นี่ไม่ชอบเครื่อง Sega Saturn เลยจากปัญหา Hardware ของตัวเครื่องแต่การทำให้ Saturn ยังคงขายได้ต่อไปได้นั้นดันอยู่ในงานที่ต้องรับผิดชอบของเค้าด้วย
ส่วนนากายาม่าได้ลาออกจากตำแหน่งประธานร่วมของ SoJ ในปีเดียวกันแต่ยังคงทำงานอยู่กับ SEGA รวมถึงเป็นผู้ประสานงานกับเบอร์นี่อีกด้วย ผู้เขียนคาดว่านี่เป็นการรับผิดชอบต่อความล้มเหลวในการทำการตลาดของ Saturn รวมถึงคอยจับตาดูเบอร์นี่เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบสมัยที่ทอมบริหาร SoA ตามนโยบายของตนเองเกิดขึ้นอีก
เพื่อพลิกสถาณะการณ์ของ Saturn เบอร์นี่ ใช้กลยุทธ์ที่เรียบง่ายคือเน้นสร้างเกมคุณภาพและเน้นสร้างเกมประเภทตลาดนิยม
เหตุผลคือจำนวนเกมของ ps ทิ้งห่าง Saturn ไปไกลแล้ว การพัฒนาเกมบน Saturn ก็ยากอีก SEGA จึงต้องใช้วิธีเน้นคุณภาพของเกมแทนจำนวนเพื่อเรียกลูกค้ากลับมา ผลของกลยุทธ์นี้ทำให้เกมของ Sega Saturn ตั้งแต่ปี 1996 มีคุณภาพที่สูงขึ้น เกมดัง ๆ หลายเกมเกิดขึ้นได้จากนโยบายนี้
แต่กลยุทธ์นี้ก็ล้มเหลวด้วยสาเหตุ 2 ประการ
1. ฝั่ง SEGA คาดการณ์ความต้องการประเภทเกมของตลาดผิด ในตอนนั้นตลาดเริ่มอิ่มตัวกับเกมแนวอาเขตที่เล่นเพียงไม่กี่สิบนาทีก็จบและเริ่มหันไปหาเกมที่มีเนื้อหาที่เป็นเรื่องเป็นราวขึ้น จริงจังขึ้นและใช้เวลาเล่นนานขึ้น ขณะที่ SEGA ยังเน้นเกมแนวอาเขตอยู่ทำให้เมื่อเวลาผ่านไปลูกค้าก็เริ่มหันไปเล่นเกมบนเครื่องคู่แข่งแทน ซึ่งตรงนี้ตัวเบอร์นี่เองก็มีส่วนผิดด้วยเนื่องจากตอนนั้นเค้าเห็นว่าเกมญี่ปุ่นของ Saturn หลายเกมนั้นไม่เหมาะกับภาพลักษณ์ของเครื่องและประเภทความนิยมในตลาดอเมริกา ทำให้เกมแนวญี่ปุ่นจ๋าของ Saturn ที่ประสบความสำเร็จในประเทศแม่หลายเกมไม่มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษมาจำหน่ายในตลาดอเมริกาและตลาดที่ใช้ภาษาอังกฤษ
ในมุมมองของผู้เขียน เบอร์นี่เองก็ไม่ได้คิดผิดไปเสียทั้งหมด เพียงแต่ตอนนั้นไม่มีใครคาดได้ว่ากำแพงที่ชื่อ “ประเภทความนิยม” นั้นจะถูกทำลายย่อยยับในอีก 1 ปีข้างหน้าและเปลี่ยนโฉมความต้องการของตลาดไปแบบพลิกฝ่ามือ
ในรูปคือเกม policenauts จากค่ายโคนามิ หนึ่งในเกม Adventure แบบญี่ปุ่นที่ไม่เข้ากับความนิยมของตลาดอเมริกา
ต่อมาแม้ตัวเกมจะได้รับความสนใจอย่างมากจากความสำเร็จของเกม Metal Gear Solid แต่ก็ไม่มีการแปลเกมมาจำหน่ายจนกระทั้งปี 2009 ที่แฟน ๆ ลงทุน Hack เกมแล้วแปลภาษากันเอง
2. เป็นสาเหตุที่มีน้ำหนักมากที่สุด นั้นคือการพัฒนาเกมบน Saturn นั้นยากมากเนื่องจากปัญหา Hardware ของเครื่องทำให้แม้แต่โปรแกรมเมอร์ของ SEGA เองยังต้องใช้เวลาและทรัพยากรในการสร้างสูงมากในการพัฒนาเกมที่มีคุณภาพออกมา ขณะที่เครื่องคู่แข่งอย่าง Sony สามารถสร้างเกมได้ง่ายกว่าจึงพลอยทำให้สร้างเกมคุณภาพได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าไปโดยปริยาย นี่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้บริษัทผู้ผลิตเกมหันไปสร้างเกมบน ps และเมื่อระยะเวลาผ่านไปเกมคุณภาพก็ออกมาป้อนให้เครื่องของ Sony มากขึ้นเรื่อย ๆ หลายเกมกลายเป็นต้นกำเนิดซีรีย์อมตะที่รู้จักกันดีถึงปัจจุบัน
ขณะที่ SEGA ต้องมาปวดหัวกับปัญหา Hardware ของเครื่องตนเองแถมยังต้องแบกตลาดเกมของ Saturn ด้วยตนเองเพราะไม่ค่อยมีบริษัทเกมมาสร้างเกมลงให้ ถึงมีส่วนใหญ่ก็เป็นเกมที่แปลงมาจากเกมบน ps ซึ่งก็ไม่สดใหม่อีกแล้ว
ความพยายามต่อมาที่จะกู้สถานการณ์ของ Saturn ที่อเมริกาคือการสร้างเกมซีรีย์แม่เหล็กที่มีพลังพอจะดึงดูดให้ผู้เล่นกลับมาซื้อเครื่อง Saturn อีกครั้ง เกมนั้นก็คือ Sonic ซีรีย์ ชื่อ Sonic X-treme พัฒนาโดย SIT หรือทีมพัฒนาเกมของ SoA
เบอร์นี่พยายามที่จะช่วยทีมพัฒนา Sonic X-treme อย่างมากชนิดยอมให้ให้ทีมเข้าถึงโค้ดโปรแกรมของ Night Engine ของทีม Sonic ทีมพัฒนาเกมฝั่งญี่ปุ่นที่ใช้พัฒนาเกมที่ชื่อ Night into Dream เลยทีเดียว
แต่เนื่องจากปัญหาในการพัฒนาและปัญหาภายในรวมถึงการถูกปฏิเสธจาก SoJ ไม่ให้ใช้ Night Engine ทำให้ Sonic X-treme ไม่สามารถเสร็จทันตามกำหนดการที่วางไว้จนในที่สุดเกมก็ถูกยกเลิกโครงการไป SoA ต้องไปเอา Sonic 3D Blast ภาคที่จะสร้างเป็น Sonic ภาคสุดท้ายบนเครื่อง Sega Genesis มาแปลงลงบน Sega Saturn แทน นี่ย่อมทำให้แฟน ๆ ของ Sonic และ SEGA ตัดใจไปซื้อเครื่องเกมจากค่ายอื่นได้ง่ายขึ้นไปอีก
ทั้งหมดนี้ทำให้ยอดขายของ Saturn ตกลงอย่างต่อเนื่องและเมื่อเครื่องเกมใหม่ของ Nintendo ออกวางจำหน่ายยอดขายก็ยิ่งน้อยลง
แม้จะพยายามใช้แผนการตลาดลดแลกแจกแถมเช่นในปลายปี 1996 ที่ SEGA ขาย Saturn ด้วยโปรซื้อเครื่องแถม 3 เกมดังอย่าง Daytona USA, Virtua Fighter 2 และ Virtua Cop ก็ช่วยกระตุ้นยอดขายได้เพียงชั่วคราว ยอดขายยังคงตกลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อเข้าปี 1997 SEGA ก็เริ่มเสียฐานลูกค้าในญี่ปุ่นประเทศแม่ไปจนทำให้สัดส่วนการตลาดในขณะนั้น Sony ครองถึง 47% Nintendo 40% ส่วน SEGA เหลือเพียง 12%
ถึงตรงนี้แผนลดราคาหรือเกมคุณภาพก็ช่วยอะไร SEGA ไม่ได้อีกแล้ว ความต้องการซื้อ Saturn ลดลงจนในเดือนมีนาคมถึงกันยายน 1997 ยอดส่งออกของ Saturn ทั่วโลกลดจากเมื่อก่อน 2.35 ล้านเครื่องเหลือเพียง 6 แสนเครื่อง โดยที่อเมริกาแห่งเดียวลดจาก 8 แสนเหลือเพียง 5 หมื่นเครื่อง
เมื่อปี 2015 web seganerds.com ได้ลงบทสัมภาษณ์ทอมเกี่ยวกับการวางจำหน่าย Sega Saturn อเมริกา ทอมได้ให้ความเห็นไว้ว่า
“had we waited until we had more and better games, launching with all retailers instead of with a few, with marketing that could reach every player, we would have been much more successful, even if that meant waiting for a late October or November launch”
“ถ้าเรารอจนมีจำนวนเกมที่มากขึ้นและคุณภาพที่ดีขึ้น วางจำหน่ายทุกร้านค้าปลีกแทนที่จะวางขายในไม่กี่ร้านพร้อมแผนการตลาดที่เข้าถึงลูกค้าทุกคน เราคงจะประสบความสำเร็จมากกว่านี้ แม้ว่าการเปิดตัวจะต้องรอจนถึงช่วงปลายเดือนตุลาหรือพฤศจิกายนก็ตาม”
ทั้งหมดนี้ทำให้มีการตัดสินใจล้างไพ่
ในงาน E3 เดือนมิถุนายนปี 1997 เบอร์นี่ได้พูดในงานว่า
“The Saturn is not our future.”
Saturn ไม่ใช่อนาคตของเรา
SEGA ตัดสินใจทิ้ง Saturn และตลาดเครื่องเกมคอนโซลในยุคนั้นให้เป็นศึกตัวต่อตัวระหว่าง Sony กับ Nintendo ไป
ผลจากความล้มเหลวของ Saturn ทำให้เมื่อปี 1998 บริษัท SEGA ประกาศงบการเงินเป็นขาดทุนครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1988 เป็นต้นมา โดยขาดทุนสุทธิเป็นเงินถึง 35.6 พันล้านเยน หรือ 269.8 ล้าน USD
ในปี 2009 เบอร์นี่ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ Saturn ไว้ว่า
"I thought the Saturn was a mistake as far as hardware was concerned. The games were obviously terrific, but the hardware just wasn't there."
“ผมคิดว่า Saturn คือความผิดพลาดในทุกส่วนของ Hardware ที่เกี่ยวข้อง เกมนั้นสุดยอดแต่ Hardware มันไม่ได้”
SEGA ตัดสินใจไปสู้ในศึกหน้าด้วยเครื่องรุ่นใหม่ที่จะสร้างออกมาในอนาคตแทน
เครื่องที่คาดหวังว่ามันจะช่วยให้ SEGA ไขว่คว้าความฝันของการกลับมายิ่งใหญ่ในวงการเกมคอนโซลได้อีกครั้ง
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
บทความตามใจฉัน “Sega Saturn: Too Hungry Too Much Too Rush” Part 4
เมื่อสถานการณ์แย่ลง นากายาม่า CEO ของ SoJ ตัดสินใจเกหมดหน้าตักโดยสั่งให้ยุติการผลิตเครื่องเล่นเกมรุ่นอื่น ๆ ทั้งหมดเพื่อนำทรัพยากรมาทุ่มให้กับ Sage Saturn
เป็นอีกครั้งที่ ทอม CEO ของ SoA ขัดค้าน เพราะเห็นว่าความต้องการของเครื่องเกมรุ่นเก่า โดยเฉพาะ Sega Genesis ยังคงมีอยู่มาก เครื่องยังคงขายได้ การยุติการผลิตนั้นจะทำให้พลาดโอกาสการขายและการขยายตลาดผู้เล่นเครื่องเกมของ SEGA ให้มากยิ่งขึ้น และก็เป็นอีกครั้งที่นากายาม่าไม่ฟัง ผลทำให้ Sega Genesis เกิดขาดตลาด ทอมประเมินว่าปีนั้น(1995) Genesis ควรจะขายได้อีกอย่างน้อยประมาณ 3 แสนเครื่องถ้าไม่ถูกยุติการผลิตไปเสียก่อน
และเมื่อลูกค้าไปซื้อของแล้วของไม่มีขายก็เป็นเรื่องปกติที่ลูกค้าจะหันไปหาสินค้าประเภทเดียวกันมาทดแทน โดยในตอนนั้นถ้าไม่นับ Sega Genesis ก็จะมีเครื่องเกมคอนโซลในตลาด อยู่ 3 รุ่น Super Nintendo(SNES), Sega Saturn และ PlayStation(ps)
โดย SNES มีราคาขายใกล้เคียง Genesis มากที่สุดแต่ก็กำลังจะตกรุ่น ส่วน ps เป็นเครื่องรุ่นใหม่ที่ราคาถูกกว่า Sega Saturn ถึง 100 USD และมีเกมมากกว่า ผู้อ่านลองมองจากมุมลูกค้าดูว่าถ้าเป็นตัวเองละก็จะซื้อเครื่องไหน
ในที่สุดทอมก็หมดใจที่จะทำงานกับ SEGA โดยยื่นเรื่องขอลาออกในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 1996 ทาง SoJ จึงได้แต่งตั้ง Shoichiro Irimajiri อดีตประธานฮอนด้าสาขาอเมริกาที่มาร่วมงานกับ SEGA เมื่อปี 1993 ให้ดำรงตำแหน่ง CEO ของ SoA แทนในเดือนกรกฎาคมปี 1996 ส่วนทอมก็ออกจาก SEGA ไปในวันที่ 30 เดือนกันยายน ปีเดียวกัน
SoJ ประสบความสำเร็จในการดึง SoA กลับมาอยู่ในการควบคุมของตนเองได้ในที่สุด
แต่ขณะเดียวกันความผิดพลาดจากการบังคับใช้นโยบายของ SoJ และปัญหาของเครื่อง Saturn ก็เริ่มแสดงออกมาให้เห็นชัดขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเข้าสู่ช่วงกลางปี 1996 ที่ Nintendo เริ่มวางจำหน่ายเครื่องเกมรุ่นใหม่ของตนเองสถานะการณ์ก็ยิ่งเลวร้ายลงไปอีก
ดังนั้นนอกจากการดึงอำนาจการควบคุม SoA กลับมาแล้ว ขณะเดียวกัน SEGA ก็จำเป็นต้องหา ทอมคนใหม่ เพื่อมากู้วิกฤตด้วย และคน ๆ นั้นคือ Bernard "Bernie" Stolar (เบอร์นี่ สโตลาร์) อดีตผู้บริหาร SCEA
โดยส่วนหนึ่งของการให้สัมภาษณ์ของ เบอร์นี่ เรื่องเหตุผลที่ออกจาก Sony มาทำงานกับ SEGA นั้นน่าสนใจมาก
"We spoke about building a new hardware platform that I would be very, very involved with, shape the direction of this platform, and hire a new team of people and restructure Sega. That, to me, was a great opportunity."
“เราคุยกันเรื่องการสร้าง Hardware ตัวใหม่ที่ผมจะมีส่วนร่วมด้วยอย่างมากกกกก ทั้งการกำหนดทิศทางของ Hardware, การว่าจ้างทีมงานใหม่และปรับโครงสร้างของ SEGA. สำหรับผม มันเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่”
“เรา” ในที่นี้คือเบอร์นี่กับนากายาม่า CEO ของ SoJ
เป็นอีกครั้งที่นากายาม่าใช้วิธีเดียวกับที่เคยใช้เพื่อแก้ปัญหาการทำตลาดของ SEGA สมัย Sega Genesis และจากคำพูดนี้เองก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าทาง SoJ เองก็รับรู้และยอมรับในระดับบริหารแล้วว่า Sega Saturn มีปัญหาจริง
เบอร์นี่ได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธาน SoA ควบตำแหน่ง Chief operating officer หรือ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ(COO) โดยดูแลด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์(ทั้ง Hardware, Software)และดูแลความสัมพันธ์ระหว่าง SEGA กับบริษัทผู้ผลิตเกมรายอื่น ๆ เมื่อเดือนกรกฎาคมปี 1996 ปีเดียวกับที่ โชอิจิโร่ ได้เป็น CEO ของ SoA
โดยส่วนตัวแล้วเบอร์นี่ไม่ชอบเครื่อง Sega Saturn เลยจากปัญหา Hardware ของตัวเครื่องแต่การทำให้ Saturn ยังคงขายได้ต่อไปได้นั้นดันอยู่ในงานที่ต้องรับผิดชอบของเค้าด้วย
ส่วนนากายาม่าได้ลาออกจากตำแหน่งประธานร่วมของ SoJ ในปีเดียวกันแต่ยังคงทำงานอยู่กับ SEGA รวมถึงเป็นผู้ประสานงานกับเบอร์นี่อีกด้วย ผู้เขียนคาดว่านี่เป็นการรับผิดชอบต่อความล้มเหลวในการทำการตลาดของ Saturn รวมถึงคอยจับตาดูเบอร์นี่เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบสมัยที่ทอมบริหาร SoA ตามนโยบายของตนเองเกิดขึ้นอีก
เพื่อพลิกสถาณะการณ์ของ Saturn เบอร์นี่ ใช้กลยุทธ์ที่เรียบง่ายคือเน้นสร้างเกมคุณภาพและเน้นสร้างเกมประเภทตลาดนิยม
เหตุผลคือจำนวนเกมของ ps ทิ้งห่าง Saturn ไปไกลแล้ว การพัฒนาเกมบน Saturn ก็ยากอีก SEGA จึงต้องใช้วิธีเน้นคุณภาพของเกมแทนจำนวนเพื่อเรียกลูกค้ากลับมา ผลของกลยุทธ์นี้ทำให้เกมของ Sega Saturn ตั้งแต่ปี 1996 มีคุณภาพที่สูงขึ้น เกมดัง ๆ หลายเกมเกิดขึ้นได้จากนโยบายนี้
แต่กลยุทธ์นี้ก็ล้มเหลวด้วยสาเหตุ 2 ประการ
1. ฝั่ง SEGA คาดการณ์ความต้องการประเภทเกมของตลาดผิด ในตอนนั้นตลาดเริ่มอิ่มตัวกับเกมแนวอาเขตที่เล่นเพียงไม่กี่สิบนาทีก็จบและเริ่มหันไปหาเกมที่มีเนื้อหาที่เป็นเรื่องเป็นราวขึ้น จริงจังขึ้นและใช้เวลาเล่นนานขึ้น ขณะที่ SEGA ยังเน้นเกมแนวอาเขตอยู่ทำให้เมื่อเวลาผ่านไปลูกค้าก็เริ่มหันไปเล่นเกมบนเครื่องคู่แข่งแทน ซึ่งตรงนี้ตัวเบอร์นี่เองก็มีส่วนผิดด้วยเนื่องจากตอนนั้นเค้าเห็นว่าเกมญี่ปุ่นของ Saturn หลายเกมนั้นไม่เหมาะกับภาพลักษณ์ของเครื่องและประเภทความนิยมในตลาดอเมริกา ทำให้เกมแนวญี่ปุ่นจ๋าของ Saturn ที่ประสบความสำเร็จในประเทศแม่หลายเกมไม่มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษมาจำหน่ายในตลาดอเมริกาและตลาดที่ใช้ภาษาอังกฤษ
ในมุมมองของผู้เขียน เบอร์นี่เองก็ไม่ได้คิดผิดไปเสียทั้งหมด เพียงแต่ตอนนั้นไม่มีใครคาดได้ว่ากำแพงที่ชื่อ “ประเภทความนิยม” นั้นจะถูกทำลายย่อยยับในอีก 1 ปีข้างหน้าและเปลี่ยนโฉมความต้องการของตลาดไปแบบพลิกฝ่ามือ
ในรูปคือเกม policenauts จากค่ายโคนามิ หนึ่งในเกม Adventure แบบญี่ปุ่นที่ไม่เข้ากับความนิยมของตลาดอเมริกา
ต่อมาแม้ตัวเกมจะได้รับความสนใจอย่างมากจากความสำเร็จของเกม Metal Gear Solid แต่ก็ไม่มีการแปลเกมมาจำหน่ายจนกระทั้งปี 2009 ที่แฟน ๆ ลงทุน Hack เกมแล้วแปลภาษากันเอง
2. เป็นสาเหตุที่มีน้ำหนักมากที่สุด นั้นคือการพัฒนาเกมบน Saturn นั้นยากมากเนื่องจากปัญหา Hardware ของเครื่องทำให้แม้แต่โปรแกรมเมอร์ของ SEGA เองยังต้องใช้เวลาและทรัพยากรในการสร้างสูงมากในการพัฒนาเกมที่มีคุณภาพออกมา ขณะที่เครื่องคู่แข่งอย่าง Sony สามารถสร้างเกมได้ง่ายกว่าจึงพลอยทำให้สร้างเกมคุณภาพได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าไปโดยปริยาย นี่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้บริษัทผู้ผลิตเกมหันไปสร้างเกมบน ps และเมื่อระยะเวลาผ่านไปเกมคุณภาพก็ออกมาป้อนให้เครื่องของ Sony มากขึ้นเรื่อย ๆ หลายเกมกลายเป็นต้นกำเนิดซีรีย์อมตะที่รู้จักกันดีถึงปัจจุบัน
ขณะที่ SEGA ต้องมาปวดหัวกับปัญหา Hardware ของเครื่องตนเองแถมยังต้องแบกตลาดเกมของ Saturn ด้วยตนเองเพราะไม่ค่อยมีบริษัทเกมมาสร้างเกมลงให้ ถึงมีส่วนใหญ่ก็เป็นเกมที่แปลงมาจากเกมบน ps ซึ่งก็ไม่สดใหม่อีกแล้ว
ความพยายามต่อมาที่จะกู้สถานการณ์ของ Saturn ที่อเมริกาคือการสร้างเกมซีรีย์แม่เหล็กที่มีพลังพอจะดึงดูดให้ผู้เล่นกลับมาซื้อเครื่อง Saturn อีกครั้ง เกมนั้นก็คือ Sonic ซีรีย์ ชื่อ Sonic X-treme พัฒนาโดย SIT หรือทีมพัฒนาเกมของ SoA
เบอร์นี่พยายามที่จะช่วยทีมพัฒนา Sonic X-treme อย่างมากชนิดยอมให้ให้ทีมเข้าถึงโค้ดโปรแกรมของ Night Engine ของทีม Sonic ทีมพัฒนาเกมฝั่งญี่ปุ่นที่ใช้พัฒนาเกมที่ชื่อ Night into Dream เลยทีเดียว
แต่เนื่องจากปัญหาในการพัฒนาและปัญหาภายในรวมถึงการถูกปฏิเสธจาก SoJ ไม่ให้ใช้ Night Engine ทำให้ Sonic X-treme ไม่สามารถเสร็จทันตามกำหนดการที่วางไว้จนในที่สุดเกมก็ถูกยกเลิกโครงการไป SoA ต้องไปเอา Sonic 3D Blast ภาคที่จะสร้างเป็น Sonic ภาคสุดท้ายบนเครื่อง Sega Genesis มาแปลงลงบน Sega Saturn แทน นี่ย่อมทำให้แฟน ๆ ของ Sonic และ SEGA ตัดใจไปซื้อเครื่องเกมจากค่ายอื่นได้ง่ายขึ้นไปอีก
ทั้งหมดนี้ทำให้ยอดขายของ Saturn ตกลงอย่างต่อเนื่องและเมื่อเครื่องเกมใหม่ของ Nintendo ออกวางจำหน่ายยอดขายก็ยิ่งน้อยลง
แม้จะพยายามใช้แผนการตลาดลดแลกแจกแถมเช่นในปลายปี 1996 ที่ SEGA ขาย Saturn ด้วยโปรซื้อเครื่องแถม 3 เกมดังอย่าง Daytona USA, Virtua Fighter 2 และ Virtua Cop ก็ช่วยกระตุ้นยอดขายได้เพียงชั่วคราว ยอดขายยังคงตกลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อเข้าปี 1997 SEGA ก็เริ่มเสียฐานลูกค้าในญี่ปุ่นประเทศแม่ไปจนทำให้สัดส่วนการตลาดในขณะนั้น Sony ครองถึง 47% Nintendo 40% ส่วน SEGA เหลือเพียง 12%
ถึงตรงนี้แผนลดราคาหรือเกมคุณภาพก็ช่วยอะไร SEGA ไม่ได้อีกแล้ว ความต้องการซื้อ Saturn ลดลงจนในเดือนมีนาคมถึงกันยายน 1997 ยอดส่งออกของ Saturn ทั่วโลกลดจากเมื่อก่อน 2.35 ล้านเครื่องเหลือเพียง 6 แสนเครื่อง โดยที่อเมริกาแห่งเดียวลดจาก 8 แสนเหลือเพียง 5 หมื่นเครื่อง
เมื่อปี 2015 web seganerds.com ได้ลงบทสัมภาษณ์ทอมเกี่ยวกับการวางจำหน่าย Sega Saturn อเมริกา ทอมได้ให้ความเห็นไว้ว่า
“had we waited until we had more and better games, launching with all retailers instead of with a few, with marketing that could reach every player, we would have been much more successful, even if that meant waiting for a late October or November launch”
“ถ้าเรารอจนมีจำนวนเกมที่มากขึ้นและคุณภาพที่ดีขึ้น วางจำหน่ายทุกร้านค้าปลีกแทนที่จะวางขายในไม่กี่ร้านพร้อมแผนการตลาดที่เข้าถึงลูกค้าทุกคน เราคงจะประสบความสำเร็จมากกว่านี้ แม้ว่าการเปิดตัวจะต้องรอจนถึงช่วงปลายเดือนตุลาหรือพฤศจิกายนก็ตาม”
ทั้งหมดนี้ทำให้มีการตัดสินใจล้างไพ่
ในงาน E3 เดือนมิถุนายนปี 1997 เบอร์นี่ได้พูดในงานว่า
“The Saturn is not our future.”
Saturn ไม่ใช่อนาคตของเรา
SEGA ตัดสินใจทิ้ง Saturn และตลาดเครื่องเกมคอนโซลในยุคนั้นให้เป็นศึกตัวต่อตัวระหว่าง Sony กับ Nintendo ไป
ผลจากความล้มเหลวของ Saturn ทำให้เมื่อปี 1998 บริษัท SEGA ประกาศงบการเงินเป็นขาดทุนครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1988 เป็นต้นมา โดยขาดทุนสุทธิเป็นเงินถึง 35.6 พันล้านเยน หรือ 269.8 ล้าน USD
ในปี 2009 เบอร์นี่ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ Saturn ไว้ว่า
"I thought the Saturn was a mistake as far as hardware was concerned. The games were obviously terrific, but the hardware just wasn't there."
“ผมคิดว่า Saturn คือความผิดพลาดในทุกส่วนของ Hardware ที่เกี่ยวข้อง เกมนั้นสุดยอดแต่ Hardware มันไม่ได้”
SEGA ตัดสินใจไปสู้ในศึกหน้าด้วยเครื่องรุ่นใหม่ที่จะสร้างออกมาในอนาคตแทน
เครื่องที่คาดหวังว่ามันจะช่วยให้ SEGA ไขว่คว้าความฝันของการกลับมายิ่งใหญ่ในวงการเกมคอนโซลได้อีกครั้ง
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/