🤗
สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาวพันทิปทั้งหลาย เชื่อว่า ช่วงนี้ไม่ว่าจะเปิดดูสื่อไหนๆ ทั้งทีวี หรือตามโซเชียลมีเดียต่างๆ ก็จะได้ยินแต่ข่าวเรื่องไวรัส “โควิด-19” ทั้งนั้น เรียกได้ว่า แทบจะป่วยเพราะเสพข่าวกันไปแล้ว 😂😂😂 แต่ก็ต้องทำใจร่มๆ กันสักหน่อย ไม่ว่าจะเสพข่าว ฟังข่าวอะไรเราก็ต้องแยกแยะกันอีกชั้นว่า ข่าวปลอม ไม่ปลอม มาจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือได้หรือเปล่า และที่สำคัญคือ เราจะได้ประโยชน์อะไรจากข่าวสารเหล่านั้นหรือเปล่า👏👏👏
🤗ในฐานะที่ตัวผมเองสนใจข่าวคราวในแวดวง “อุตสาหกรรม” อยู่แล้ว และได้เห็นมาตรการต่างๆ ในการรับมือเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 ของ “กระทรวงอุตสาหกรรม” อยู่หลากหลายมาตรการก็เลยรวบรวมข่าวสารการรับมือต่างๆ มาเล่าสู่กันฟังแบบย่อๆ เน้นๆ ให้เห็นภาพรวม โดยจะมีประเด็นเด่นๆ ดังนี้
🎯 มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาไวรัสโควิด-19 เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่งดการเดินทางไปยังประเทศที่มีความเสี่ยง (28 กุมภาพันธ์ 2563)
🎯 ออกข้อแนะนำ คุณลักษณะผ้าที่ใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัย เพื่อลดความเสี่ยงในการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิค – 19 (6 มีนาคม 2563)
🎯 ขอความร่วมมือ 8 หมื่น รง. ทั่วประเทศ ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิค - 19 (9 มีนาคม 2563)
🎯 ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการรายใหญ่สินค้าอุปโภค บริโภค พร้อมรับมือสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิค – 19 มั่นใจ “ประเทศไทยมีศักยภาพเพียงพอและเป็นแหล่งผลิตอาหารระดับโลก” (18 มีนาคม 2563)
🎯 ผลิต / แจก หน้ากากผ้าซักได้ 10 ล้านชิ้น เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิค – 19 (18 มีนาคม 2563)
🎯 กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดมาตรการปฏิบัติงานที่บ้าน- เหลื่อมเวลาป้องกันการแพร่ระบาดโควิด – 19 พร้อมสร้างความเชื่อมั่น ยังเต็มที่ในการปฏิบัติงานเพื่อประชาชน (เริ่มดำเนินมาตรการในวันจันทร์ที่ 23 มีนาคมนี้)
………………………😷😷😷😷😷😷………………………
🎯
มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาโควิด-19 กระทรวงอุตสาหกรรมเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่งดการเดินทางไปยังประเทศที่มีความเสี่ยง (28 กุมภาพันธ์ 2563)
จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมไม่ให้มีการระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคดังกล่าว กระทรวงอุตสาหกรรม จึงออกมาตรการป้องกันและการเฝ้าระวังสำหรับส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ดังนี้
1. ให้เจ้าหน้าที่ดูแลสุขภาพส่วนบุคคลด้วยการหมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ และควรสวมใส่หน้ากากอนามัย
2. เพิ่มการดูแลอนามัยด้านสถานที่ของหน่วยงาน
3. ให้เจ้าหน้าที่งดหรือหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังหรือแวะผ่าน (Transit) ประเทศที่มีความเสี่ยงของโควิด-19
4. เจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับอนุมัติหรืออนุญาตให้เดินทางไปยังประเทศหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโควิด-19 ขอให้เจ้าหน้าที่ดังกล่าวพิจารณาทบทวนความจำเป็นของการเดินทาง ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นอย่างยิ่ง และไม่สามารถงดหรือเลื่อนการเดินทาง เมื่อกลับมาในประเทศให้เฝ้าระวังต่อเนื่องจนครบ 14 วัน
5. เจ้าหน้าที่ที่เดินทางกลับจากประเทศหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโควิด-19 ให้รายงานตัวต่อหัวหน้าส่วนราชการระดับกองหรือเทียบเท่าและในขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้สวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันตลอดเวลา เฝ้าระวังตนเองเป็นพิเศษ
6. ให้เจ้าหน้าที่ติดตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการต่างประเทศหรือรัฐบาล
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ตรวจคัดกรองโควิด-19 ก่อนเข้าทำงาน
นอกจากมาตรการดังกล่าว สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ก็ได้จัดตั้งจุดคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิ ให้กับข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และประชาชนที่มาติดต่อราชการ พร้อมจัดเตรียมเจลอนามัยล้างมือ ณ บริเวณหน้าลิฟท์ทุกชั้น โดยปลัดกอบชัยฯ ก็ได้นำคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ตรวจคัดกรองโควิด-19 ก่อนเข้าทำงาน ณ หน้าลิฟท์ ชั้น 1 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
………………………😷😷😷😷😷😷………………………
🎯 ออกข้อแนะนำ คุณลักษณะผ้าที่ใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัย เพื่อลดความเสี่ยงในการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิค – 19 (6 มีนาคม 2563)
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
โดยคุณลักษณะของผ้าแนบท้ายประกาศได้ผ่านการจัดทำโดยสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดังนี้
1. ผ้าที่จะใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตหน้ากากอนามัยอย่างน้อยต้องมีคุณลักษณะตามรายละเอียดที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้
2. หากผู้ผลิตรายใดมีความประสงค์จะใช้คุณลักษณะของผ้าตามประกาศนี้ สามารถระบุในผลิตภัณฑ์ได้ว่า “ผลิตโดยใช้คุณลักษณะผ้าตามคำแนะนำของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม” และหากมีการระบุเช่นนั้นในผลิตภัณฑ์ ถือเป็นการยอมรับว่ากระทรวงอุตสาหกรรมสามารถส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้
3. ผู้ผลิตที่ประสงค์จะให้มีการตรวจสอบว่าผ้าที่เป็นวัตถุดิบว่ามีมาตรฐานตามประกาศฉบับนี้หรือไม่ สามารถส่งผ้าให้มีการตรวจสอบได้ที่ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยมีค่าใช้จ่ายตามที่สถาบันกำหนด
4. ประกาศนี้เป็นคำแนะนำการใช้วัตถุดิบในการผลิตเท่านั้น มิใช่การกำหนดมาตรฐาน เป็นการบังคับตามกฎหมายผู้ที่ประสงค์จะดำเนินการตามประกาศฉบับนี้ สามารถสอบถามและขอรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการลูกค้า ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2713-5492-9 ต่อ 512-513
ทั้งนี้ คุณลักษณะผ้าและหน้ากากอนามัยที่ทำจากผ้า ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องข้อแนะนำคุณลักษณะผ้าที่ใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัยสำหรับประชาชน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระบุดังนี้
คุณลักษณะผ้า
1.ขอบข่าย
กำหนดคุณภาพผ้าสำหรับหน้ากากผ้า ที่ตัดเย็บจากผ้าทอหรือผ้าถักซึ่งทำจากเส้นใยธรรมชาติ เส้นใยประดิษฐ์ หรือเส้นใยผสม และไม่ครอบคลุมผ้าที่ผลิตจากผ้าไม่ทอไม่ถัก (nonwoven)
2. วัสดุ
2.1 ผ้าทอหรือผ้าถักซึ่งทำจากเส้นใยธรรมชาติ เส้นใยประดิษฐ์ หรือเส้นใยผสม
2.2 ลักษณะทั่วไป ต้องสะอาด ไม่มีกลิ้นที่ไม่พึงประสงค์ และไม่มีลายพิมพ์ อ่อนนุ่มต่อผิวสัมผัสและไม่เกิดการระคายเคือง และเนื้อผ้าต้องปราศจากข้อบกพร่องที่มีผลต่อการใช้งาน เช่นผ้าแยก ผ้าขาด เป็นรู
2.3 น้ำหนักต่อหน่วยพื้นที่ ต้องไม่ร้อยกว่า 80 กรัมต่อตารางเมตร และไม่เกิน 220 กรัมต่อตารางเมตร
3. คุณลักษณะด้านความปลอดภัย
3.1 สีเอโซ (azo dye) ที่ให้แอโรแมติกแอมีน (aromatic amine) *ต้องไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ยกเว้นผ้าขาว และผ้าไม่ย้อมสี) *หมายถึง แอโรแมติกแอมีน 24 ชนิด (ทดสอบตาม EN ISO 14362)
3.2 ปริมาณฟอร์แมลดีไฮด์ ต้องน้อยกว่า 75 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ทดสอบตาม มอก. 121 เล่ม 33)
4.ความคงทนของสี (ยกเว้นผ้าขาว และผ้าไม่ย้อมสี) ความคงทนของสีต่อการซัก (ทดสอบตาม มอก. 121 เล่ม 3 วิธี A(1)) (เกรย์สเกล ระดับ) การเปลี่ยนสี ไม่น้อยกว่า 3 การตกติดสี ไม่น้อยกว่า 3
………………………😷😷😷😷😷😷………………………
🎯
ขอความร่วมมือ 8 หมื่น โรงงาน 🏭ทั่วประเทศ ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิค - 19 (9 มีนาคม 2563)
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เซ็นคำสั่งขอความร่วมมือ 8 หมื่นโรงงานทั่วประเทศ ป้องกันเฝ้าระวังโควิด-19 โดยขอความร่วมมือผู้ประกอบการปฏิบัติ ซึ่งมาตรการก็จะคล้ายๆ กับเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม ดังนี้
1.จัดให้ผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงานและบุคคลภายนอกที่มาติดต่อในโรงงานดูแลสุขภาพส่วนบุคคล ทำความสะอาดมือด้วยการล้างด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์ เจลล้างมือ สวมหน้ากากอนามัยอยู่เสมอ กรณีผู้ที่มีอาการไอ จาม ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเฝ้าระวังและคัดกรองโดยการวัดอุณหภูมิร่างกายของผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงงานและบุคคลภายนอกที่มาติดต่อในโรงงาน
2.ให้ดูแลอนามัยในโรงงาน 🏭 อาทิ การเพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดพื้นทางเดินเข้า - ออกอาคาร ลิฟต์ ห้องน้ำ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ตรวจเช็ดทำความสะอาดจุดสัมผัสสาธารณะต่างๆ
3. ขอความร่วมมือให้ผู้ที่ปฏิบัติงานในโรงงานงดหรือหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังหรือแวะผ่านประเทศที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้เป็นท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 รวมทั้งประเทศที่อาจมีความเสี่ยงตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศหรือจะประกาศในอนาคต ตั้งแต่ปัจจุบันจนถึงเดือนเมษายน 2563 หรือจนกว่าจะมีประกาศของทางราชการเปลี่ยนแปลง
4. กรณีมีผู้ปฏิบัติงานต้องเดินทางไปยังประเทศหรือพื้นที่หรือผ่านประเทศเสี่ยงก่อนวันที่มีประกาศขอความร่วมมือนี้ ขอให้พิจารณาความจำเป็นของการเดินทาง หากจำเป็นให้ระมัดระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อเดินทางกลับมาถึงประเทศไทย ให้เฝ้าระวัง 14 วัน โดยให้หยุดงานเพื่อแยกตัวเองออกไป
5. กรณีที่จะมีผู้ปฏิบัติงานเดินทางกลับมาจากประเทศหรือพื้นที่ที่มีการระบาดให้บุคคลดังกล่าวแจ้งเจ้าของโรงาน และให้มีการเฝ้าระวัง 14 วัน โดยให้หยุดงานเพื่อแยกตัวเองออกไป เมื่อครบกำหนดหากไม่ติดเชื้อกลับมาปฏิบัติงานปกติจะต้องสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันตลอดเวลา
6.ให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานติดตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือติดการแถลงข่าวของรัฐบาลเพื่อปฏิบัติตามอย่างใกล้ชิด
………………………😷😷😷😷😷😷………………………
🤗 ใครที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้ก็ต้องขออภัยด้วยครับ เนื่องจากพื้นที่นำเสนอไม่พอ ยังมีอีกหลายมาตรการที่ยังไม่ได้ลงรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็น...
🎯 ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการรายใหญ่สินค้าอุปโภค บริโภค พร้อมรับมือสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิค – 19 มั่นใจ “ประเทศไทยมีศักยภาพเพียงพอและเป็นแหล่งผลิตอาหารระดับโลก” (18 มีนาคม 2563)
🎯 ผลิต / แจก หน้ากากผ้าซักได้ 10 ล้านชิ้น เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิค – 19 (18 มีนาคม 2563)
🎯 กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดมาตรการปฏิบัติงานที่บ้าน- เหลื่อมเวลาป้องกันการแพร่ระบาดโควิด – 19 พร้อมสร้างความเชื่อมั่น ยังเต็มที่ในการปฏิบัติงานเพื่อประชาชน (เริ่มดำเนินมาตรการในวันจันทร์ที่ 23 มีนาคมนี้)
………………………😷😷😷😷😷😷………………………
มาส่อง “มาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ของกระทรวงอุตสาหกรรม” กันสักหน่อย [1/2]
🤗ในฐานะที่ตัวผมเองสนใจข่าวคราวในแวดวง “อุตสาหกรรม” อยู่แล้ว และได้เห็นมาตรการต่างๆ ในการรับมือเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 ของ “กระทรวงอุตสาหกรรม” อยู่หลากหลายมาตรการก็เลยรวบรวมข่าวสารการรับมือต่างๆ มาเล่าสู่กันฟังแบบย่อๆ เน้นๆ ให้เห็นภาพรวม โดยจะมีประเด็นเด่นๆ ดังนี้
🎯 มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาไวรัสโควิด-19 เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่งดการเดินทางไปยังประเทศที่มีความเสี่ยง (28 กุมภาพันธ์ 2563)
🎯 ออกข้อแนะนำ คุณลักษณะผ้าที่ใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัย เพื่อลดความเสี่ยงในการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิค – 19 (6 มีนาคม 2563)
🎯 ขอความร่วมมือ 8 หมื่น รง. ทั่วประเทศ ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิค - 19 (9 มีนาคม 2563)
🎯 ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการรายใหญ่สินค้าอุปโภค บริโภค พร้อมรับมือสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิค – 19 มั่นใจ “ประเทศไทยมีศักยภาพเพียงพอและเป็นแหล่งผลิตอาหารระดับโลก” (18 มีนาคม 2563)
🎯 ผลิต / แจก หน้ากากผ้าซักได้ 10 ล้านชิ้น เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิค – 19 (18 มีนาคม 2563)
🎯 กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดมาตรการปฏิบัติงานที่บ้าน- เหลื่อมเวลาป้องกันการแพร่ระบาดโควิด – 19 พร้อมสร้างความเชื่อมั่น ยังเต็มที่ในการปฏิบัติงานเพื่อประชาชน (เริ่มดำเนินมาตรการในวันจันทร์ที่ 23 มีนาคมนี้)
จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมไม่ให้มีการระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคดังกล่าว กระทรวงอุตสาหกรรม จึงออกมาตรการป้องกันและการเฝ้าระวังสำหรับส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ดังนี้
1. ให้เจ้าหน้าที่ดูแลสุขภาพส่วนบุคคลด้วยการหมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ และควรสวมใส่หน้ากากอนามัย
2. เพิ่มการดูแลอนามัยด้านสถานที่ของหน่วยงาน
3. ให้เจ้าหน้าที่งดหรือหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังหรือแวะผ่าน (Transit) ประเทศที่มีความเสี่ยงของโควิด-19
4. เจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับอนุมัติหรืออนุญาตให้เดินทางไปยังประเทศหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโควิด-19 ขอให้เจ้าหน้าที่ดังกล่าวพิจารณาทบทวนความจำเป็นของการเดินทาง ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นอย่างยิ่ง และไม่สามารถงดหรือเลื่อนการเดินทาง เมื่อกลับมาในประเทศให้เฝ้าระวังต่อเนื่องจนครบ 14 วัน
5. เจ้าหน้าที่ที่เดินทางกลับจากประเทศหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโควิด-19 ให้รายงานตัวต่อหัวหน้าส่วนราชการระดับกองหรือเทียบเท่าและในขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้สวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันตลอดเวลา เฝ้าระวังตนเองเป็นพิเศษ
6. ให้เจ้าหน้าที่ติดตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการต่างประเทศหรือรัฐบาล
1. ผ้าที่จะใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตหน้ากากอนามัยอย่างน้อยต้องมีคุณลักษณะตามรายละเอียดที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้
2. หากผู้ผลิตรายใดมีความประสงค์จะใช้คุณลักษณะของผ้าตามประกาศนี้ สามารถระบุในผลิตภัณฑ์ได้ว่า “ผลิตโดยใช้คุณลักษณะผ้าตามคำแนะนำของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม” และหากมีการระบุเช่นนั้นในผลิตภัณฑ์ ถือเป็นการยอมรับว่ากระทรวงอุตสาหกรรมสามารถส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้
3. ผู้ผลิตที่ประสงค์จะให้มีการตรวจสอบว่าผ้าที่เป็นวัตถุดิบว่ามีมาตรฐานตามประกาศฉบับนี้หรือไม่ สามารถส่งผ้าให้มีการตรวจสอบได้ที่ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยมีค่าใช้จ่ายตามที่สถาบันกำหนด
4. ประกาศนี้เป็นคำแนะนำการใช้วัตถุดิบในการผลิตเท่านั้น มิใช่การกำหนดมาตรฐาน เป็นการบังคับตามกฎหมายผู้ที่ประสงค์จะดำเนินการตามประกาศฉบับนี้ สามารถสอบถามและขอรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการลูกค้า ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2713-5492-9 ต่อ 512-513
ทั้งนี้ คุณลักษณะผ้าและหน้ากากอนามัยที่ทำจากผ้า ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องข้อแนะนำคุณลักษณะผ้าที่ใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัยสำหรับประชาชน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระบุดังนี้
คุณลักษณะผ้า
1.ขอบข่าย
กำหนดคุณภาพผ้าสำหรับหน้ากากผ้า ที่ตัดเย็บจากผ้าทอหรือผ้าถักซึ่งทำจากเส้นใยธรรมชาติ เส้นใยประดิษฐ์ หรือเส้นใยผสม และไม่ครอบคลุมผ้าที่ผลิตจากผ้าไม่ทอไม่ถัก (nonwoven)
2. วัสดุ
2.1 ผ้าทอหรือผ้าถักซึ่งทำจากเส้นใยธรรมชาติ เส้นใยประดิษฐ์ หรือเส้นใยผสม
2.2 ลักษณะทั่วไป ต้องสะอาด ไม่มีกลิ้นที่ไม่พึงประสงค์ และไม่มีลายพิมพ์ อ่อนนุ่มต่อผิวสัมผัสและไม่เกิดการระคายเคือง และเนื้อผ้าต้องปราศจากข้อบกพร่องที่มีผลต่อการใช้งาน เช่นผ้าแยก ผ้าขาด เป็นรู
2.3 น้ำหนักต่อหน่วยพื้นที่ ต้องไม่ร้อยกว่า 80 กรัมต่อตารางเมตร และไม่เกิน 220 กรัมต่อตารางเมตร
3. คุณลักษณะด้านความปลอดภัย
3.1 สีเอโซ (azo dye) ที่ให้แอโรแมติกแอมีน (aromatic amine) *ต้องไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ยกเว้นผ้าขาว และผ้าไม่ย้อมสี) *หมายถึง แอโรแมติกแอมีน 24 ชนิด (ทดสอบตาม EN ISO 14362)
3.2 ปริมาณฟอร์แมลดีไฮด์ ต้องน้อยกว่า 75 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ทดสอบตาม มอก. 121 เล่ม 33)
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เซ็นคำสั่งขอความร่วมมือ 8 หมื่นโรงงานทั่วประเทศ ป้องกันเฝ้าระวังโควิด-19 โดยขอความร่วมมือผู้ประกอบการปฏิบัติ ซึ่งมาตรการก็จะคล้ายๆ กับเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม ดังนี้
1.จัดให้ผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงานและบุคคลภายนอกที่มาติดต่อในโรงงานดูแลสุขภาพส่วนบุคคล ทำความสะอาดมือด้วยการล้างด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์ เจลล้างมือ สวมหน้ากากอนามัยอยู่เสมอ กรณีผู้ที่มีอาการไอ จาม ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเฝ้าระวังและคัดกรองโดยการวัดอุณหภูมิร่างกายของผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงงานและบุคคลภายนอกที่มาติดต่อในโรงงาน
2.ให้ดูแลอนามัยในโรงงาน 🏭 อาทิ การเพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดพื้นทางเดินเข้า - ออกอาคาร ลิฟต์ ห้องน้ำ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ตรวจเช็ดทำความสะอาดจุดสัมผัสสาธารณะต่างๆ
3. ขอความร่วมมือให้ผู้ที่ปฏิบัติงานในโรงงานงดหรือหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังหรือแวะผ่านประเทศที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้เป็นท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 รวมทั้งประเทศที่อาจมีความเสี่ยงตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศหรือจะประกาศในอนาคต ตั้งแต่ปัจจุบันจนถึงเดือนเมษายน 2563 หรือจนกว่าจะมีประกาศของทางราชการเปลี่ยนแปลง
4. กรณีมีผู้ปฏิบัติงานต้องเดินทางไปยังประเทศหรือพื้นที่หรือผ่านประเทศเสี่ยงก่อนวันที่มีประกาศขอความร่วมมือนี้ ขอให้พิจารณาความจำเป็นของการเดินทาง หากจำเป็นให้ระมัดระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อเดินทางกลับมาถึงประเทศไทย ให้เฝ้าระวัง 14 วัน โดยให้หยุดงานเพื่อแยกตัวเองออกไป
5. กรณีที่จะมีผู้ปฏิบัติงานเดินทางกลับมาจากประเทศหรือพื้นที่ที่มีการระบาดให้บุคคลดังกล่าวแจ้งเจ้าของโรงาน และให้มีการเฝ้าระวัง 14 วัน โดยให้หยุดงานเพื่อแยกตัวเองออกไป เมื่อครบกำหนดหากไม่ติดเชื้อกลับมาปฏิบัติงานปกติจะต้องสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันตลอดเวลา
6.ให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานติดตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือติดการแถลงข่าวของรัฐบาลเพื่อปฏิบัติตามอย่างใกล้ชิด