ความสวยงามในอวกาศ

กระทู้คำถาม
พายุรูป 6 เหลี่ยมที่ขั้วเหนือของดาวเสาร์ “เปลี่ยนสีได้”


ที่ขั้วเหนือดาวเสาร์ มีพายุปริศนาขนาดใหญ่โตมหึมา (ใหญ่กว่าโลกเรา) และที่แปลกจนนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายยังตีปริศนาไม่ออกคือ ทำไมมันมีรูปร่างเป็น 6 เหลื่ยม
ความแปลกของมันมีคำอธิบายออกมามากมาย แต่เท่านั้นยังแปลกไม่พอ ด้วยรูปถ่ายล่าสุด จากยานแคสสินี ที่ปฏิบัติการอยู่รอบดาวเสาร์ ที่ส่งมาให้ดูนั้น สีของพายุรูป 6 เหลี่ยมเปลี่ยนจากสีโทนฟ้า-น้ำเงิน ไปเป็นสีส้ม-ทอง โดยยังมีสีฟ้าอยู่ที่ศูนย์กลางพายุเป็นบริเวณเล็กๆ
จากการที่ดาวเสาร์มีแกนดาวเอียงเหมือนโลกของเรา คือเอียง 26.73° (โกลเราเอียง 23.5°) ทำให้ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีฤดูกาลเหมือนที่โลกเรามี นั่นคืออุณหภูมิของ 2 ขั้วดาวเหนือใต้จะสลับกันร้อนเย็นเมื่อโคจรไปรอบดวงอาทิตย์

สีที่เปลี่ยนไปนักดาราศาสตร์คาดว่ามาจากอนุภาคฝุ่นผงหรือแอโรซอลในบรรยากาศดาวเสาร์บริเวณที่เป็นพายุ ถูกแสงอาทิตย์ส่องเป็นระยะเวลานานในช่วงหน้าร้อนของซีกเหนือของดาว เป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาเคมีเปลี่ยนสีของอนุภาคขึ้นมา ส่วนสาเหตุรองๆลงไปเช่นการหมุนวนของกระแสอากาศก็ยังอยู่ในเหตุผลที่นักดาราศาสตร์นำมาร่วมวิเคราะห์ด้วย
ดาวเสาร์ ราชาแห่งวงแหวน และดวงจันทร์จำนว 62 ดวงของมัน มันยังคงมีปริศนาอีกมากมายรอการค้นพบ
ที่มา https://www.nasa.gov/image-feature/jpl/pia21049/changing-colors-in-saturns-north
เรียบเรียงโดย @MrVop
Cr.https://stem.in.th/พายุรูป-6-เหลี่ยมที่ขั้ว/



“แดนมหัศจรรย์ฤดูหนาว” บนดาวอังคาร


องค์การอวกาศยุโรป หรือ อีเอสเอ ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เผยแพร่ภาพถ่ายพื้นผิวดาวอังคาร จากการบันทึกของยานสำรวจ “มาร์ส เอ็กซ์เพรส” แสดงให้เห็นความสวยงามกึ่งน่าพิศวง ของหลุมขนาดยักษ์บริเวณใกล้ขั้วเหนือของดาวแดง ชื่อหลุม “โคโรเลฟ” ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากหลุม 82 กิโลเมตร และปากปล่องมีน้ำแข็งปกคลุมหนาประมาณ 1.8 กิโลเมตร

ชื่อของหลุมตั้งตามชื่อวิศวกรจรวด และนักออกแบบยานอวกาศ นายเซอร์เก โคโรเลฟ สถาปนิกผู้ออกแบบโครงการอวกาศของสหภาพโซเวียต โดยนายโคโรเลฟเป็นผู้อยู่เบื้องหลังโครงการส่งยานอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์ อาวอังคาร และดาวศุกร์ รวมทั้งโครงการสปุตนิค ที่ปล่อยดาวเทียมดวงแรกของโลกขึ้นสูวงโคจร
ชุดภาพถ่ายหลุมโคโรเลฟบนดาวอังคาร บันทึกด้วยกล้องสเตริโอความคมชัดสูง จากยานมาร์ส เอ็กซ์เพรส องค์การอวกาศยุโรปส่งยานมาร์ส เอ็กซ์เพรส ออกเดินทางจากโลกเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2546 และเข้าสู่วงโคจรของดาวอังคาร ในวันคริสต์มาสของปีเดียวกันนั้น
Cr.https://www.newtv.co.th/news/26365



ความงามของ “ดวงอาทิตย์” สุดคมชัดระดับ 4K 
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


ถ้าพูดถึง “ดวงอาทิตย์” แล้วหลายๆท่านคงจะนึกถึงคำนิยามออกมาหลายๆอย่างแต่คงจะมีน้อยคนมากที่จะคิดถึงเรื่องของ “ความสวยงาม”  อย่างไรก็ตามคลิปวิดีโอล่าสุดจากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติหรือ NASA นี้อาจจะทำให้ใครหลายคนเปลี่ยนใจ   หากได้สัมผัสกับความงามที่เราอาจไม่ค่อยได้เห็นกันบ่อยนักของดวงอาทิตย์อันสุดร้อนแรงดวงนี้

ทั้งนี้สำหรับคลิปดังกล่าวที่มีชื่อว่า Thermonuclear Art (ศิลปะแห่งเทอร์โมนิวเคลียร์) เป็นผลงานจากยานสังเกตการณ์สุริยพลวัต Solar Dynamics Observatory (SDO) ซึ่งเป็นยานสำรวจดวงอาทิตย์ของ NASA โดยตรงที่ปล่อยออกสู่อวกาศมาตั้งแต่ปี 2010

โดยทางด้านของ NASA ยืนยันว่าทีมนักวิทยาศาสตร์ของพวกเขาต้องใช้เวลาถึง 10 ชั่วโมงในการที่จะนำคลิปวิดีโอที่บันทึกมาได้ในระดับ 4K เหล่านี้มาตัดต่อรวมเข้าด้วยกันให้ออกมาเป็นผลงานที่สวยงามเพียงแค่ 1 นาที ซึ่งคลิปวิดีโอนี้ยาวถึง 30 นาทีเพราะฉะนั้นก็ใช้เวลาทั้งหมดในการรวบรวมและตัดต่อไปถึง 300 กว่าชั่วโมงเลยทีเดียว
บทความโดย: ป๋าเอก TechXcite
ที่มา: bgr
Cr.https://www.techxcite.com/topic/24035.html

ไอซี418  " อัญมณีในอวกาศ "


(ภาพ-NASA and The Hubble Heritage Team)

ภาพสีสันสวยงามดุจอัญมณีในห้วงอวกาศนี้ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลถ่ายเอาไว้และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) ของสหรัฐอเมริกา นำมาเผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ เป็นภาพของ ไอซี 418 ดาวฤกษ์ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนพัฒนาการขั้นตอนสุดท้าย กลายเป็น “เนบิวลาดาวเคราะห์” ที่เป็นขั้นตอนให้เกิดสีสดสวยดังในภาพ ก่อนที่จะลงเอยในบั้นปลายเป็นดาวแคระขาวในอีกหลายพันล้านปีข้างหน้า
 
“ไอซี 418” เคยเป็นดาวยักษ์แดง ดาวฤกษ์ซึ่งคล้ายกับดวงอาทิตย์ของระบบสุริยะ ก่อนที่เชื้อเพลิงไฮโดรเจนบนดาวหมดลง แกนกลางของดาวจะยุบตัว มวลของดาวในส่วนที่เป็นก๊าซและฝุ่นผงชั้นนอกจะถูกดีดออกกระจายไปในอวกาศ เมื่อหลายพันปีก่อนและต่อไปก็จะกลายเป็นวัตถุดิบสำหรับการก่อตัวของดาวเคราะห์และระบบดาวอื่นๆ ในอนาคต
“ไอซี 418” อยู่ห่างจากโลกไปราว 2,000 ปีแสง บนเส้นทางระหว่างโลกกับกลุ่มดาว เลปัส นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่า นับตั้งแต่เกิดการยุบตัวแล้วระเบิดนั้น เนบิวลานี้ขยายตัวออกมามีความกว้างมากถึง 0.1 ปีแสง บริเวณแกนกลางที่ยุบตัวลงและมีความร้อนสูงสุดคือจุดสีขาวตรงกลาง การแผ่รังสีอัลตราไวโอเลต ทำให้เกิดประกายสีม่วงกระจายออกมาเป็นวง ส่วนวงกว้างสีน้ำเงินแกมม่วงนั้นคือส่วนที่ออกซิเจนซึ่งถูกทำให้อยู่ในสภาพของไอออนกำลังกระจายตัวออกมา ต่อด้วยสีเหลืองแกมเขียวที่เป็นสีของก๊าซไฮโดรเจน  ส่วนชั้นนอกสุดที่เป็นสีแดง คือก๊าซไนโตรเจนซึ่งมีอุณหภูมิต่ำที่สุดในบรรดาก๊าซเหล่านี้นั่นเอง
ที่มา นาซา
Cr. https://www.matichon.co.th/lifestyle/tech/news_591165 / มติชนออนไลน์
 
 
 

ดาวหาง ปรากฏการณ์หาดูยากและงดงาม บนท้องฟ้า

 

 
ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ความน่าสนใจของมันเป็นเรื่องของความยากในการได้ชม ได้เห็น บางปรากฏการณ์เราอาจจะได้เห็นเพียงแค่ครั้งเดียว หรือไม่ได้เห็นอีกเลยด้วยตาตัวเองตลอดชีวิตของเรา อย่างเช่นสุริยุปราคาเต็มดวงที่มองเห็นได้ในบ้านเราครั้งที่ 4 ปี 2498 และครั้งที่ 5 2538 ห่างกันเกือบ 40 ปีเป็นต้น อีกหนึ่งปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่หาดูได้ยาก แต่รับรองว่าสวยถูกใจไม่แพ้กันเป็นปรากฏการณ์ดาวหาง 
 
ดาวหาง ไม่ใช่ดาว แต่เราเรียกคำขึ้นต้นว่า ดาวเฉยๆ (คาดว่าเพราะมันอยู่บนฟ้า) จะว่าไปแล้วสิ่งนี้คือวัตถุชนิดหนึ่งที่เป็นก้อนน้ำแข็งซะมากกว่า ส่วนประกอบของมันเกิดจาก น้ำแข็ง, คาร์บอนไดออกไซด์, มีเทน, แอมโมเนีย บวกกับ หินแข็งๆ และฝุ่นนิดหน่อย ขนาดไม่ค่อยใหญ่เท่าไร ดาวหางนั้นเดิมทีจะโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นหลัก นั่นทำให้ความร้อนจากดวงอาทิตย์เผาไหมและทำให้ระเหิดกลายเป็นแก๊สออกมาเป็นหาง นั่นเอง
 
ดาวหางจริงๆ แล้วมีหลายดวงมากที่เข้ามาเยี่ยมเยียนเราทั้งแบบมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือจะเป็นแบบต้องใช้เครื่องช่วยดู แม้ว่าจะมีดาวหางหลายดวงที่อาจจะมองเห็นได้บ้าง ไม่ได้บ้างก็ตามที แต่ดาวหางดวงหนึ่งที่มีชื่อเสียงที่สุดและมองเห็นได้เพียงแค่ 1 ครั้งเท่านั้นตลอดช่วงชีวิตของคนคนหนึ่ง(อายุเฉลี่ย 80 ปี) ก็คือ ดาวหางแฮลลีย์ หรือ ดาวหางฮัลเลย์ ดาวหางนี้เป็นดางหางประเภทคาบสั้น(หางสั้น) จุดเด่นของเค้าคงอยู่ที่ความสว่างไสวที่ทำให้เราสามารถมองเห็นดาวหางดวงนี้ได้ด้วยตาเปล่า ดาวหางดวงนี้จะโคจรมาเยี่ยมพวกเราทุก 75-76 ปีต่อครั้ง ล่าสุดที่มาเยี่ยมพวกเค้าคือปี ค.ศ. 1986 ส่วนคต่อไปนักวิทยาศาสตร์คำนวณไว้ว่าจะน่าจะเป็นปี ค.ศ. 2061 (อีกประมาณ 41 ปี เท่านั้นเอง)
Cr. http://www.orbital2008.org/ดาวหาง-ปรากฏการณ์หาดูยา/ BY ADMIN ·
 
 

ความงามของระบบสุริยะ

 

ภาพโปสเตอร์ วัตถุต่างๆ ในระบบสุริยจักรวาลจาก NASA
NASA ได้เปิดให้ดาวน์โหลด โปสเตอร์วัตถุต่างๆ ในระบบสุริยจักรวาลกว่า 21 วัตถุ สร้างขึ้นจากภาพถ่ายดาวเทียมจริงๆ ให้ได้เซฟรูปเก็บไปชื่นชมกัน
โดยชุดโปสเตอร์ดังกล่าวนั้นทาง NASA อยากที่จะนำเสนอความงามของระบบสุริยะของเรา ซึ่งภาพทั้งหมดนั้นถูกสร้างขึ้นจากการเก็บภาพของภาพถ่ายดาวเทียม จากการที่สำรวจดวงดาวเพื่อนบ้านในกาแล็คซี่ทางช้างเผือกของเรานั่นเอง
ขอขอบคุณ ข้อมูล :NASA
Cr.https://www.sanook.com/campus/1397881/ By Natchaphon B.


“ภาพดาราศาสตร์แห่งปี 2019” ที่อลังการและหาดูยาก


Stars And Nebulae: ‘The Running Man Nebula’ โดย Steven Mohr
The Sir Patrick Moore Prize For Best Newcomer Joint: ‘The Perseid Fireball 2018’ โดย Zhengye Tang

Our Moon: ‘Mineral Moon – Aristarchus Quadrangle’ โดย Alain Paillou

Skyscapes: ‘Deadvlei’ โดย Stefan Liebermann
ภาพเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในถ่ายภาพดวงดาวและวัตถุในอวกาศ (Astrophotography) ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในรูปแบบการถ่ายภาพที่ยากที่สุดและต้องมีความเชี่ยวชาญ 
หอดูดาวกรีนิชได้มีการประกวดช่างภาพดาราศาสตร์ประจำปี 2019  โดยมีผู้เข้าร่วมประกวดกว่า 4,602 คนจาก 90 ประเทศทั่วโลกที่นำเสนอจักรวาลในรูปแบบใหม่และชิงรางวัลภาพที่ดีที่สุด

ขอบคุณข้อมูล  boredpanda  เรียบเรียงโดย BTW
Cr.https://www.btwinmylife.com/2019/09/28/astronomy-photographer2/


(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่