บอร์ด กสทช.เตรียมอนุมัติ 5 โอเปอเรเตอร์ เคาะประมูล 5G “เอไอเอส-ทรู-ดีแทค-แคท-ทีโอที” ใจป้ำเตรียมเคาะชิงดำ 3 ย่านคลื่น ทั้ง 700 MHz-2600 MHz และ 26 GHz ส่วน “ดีแทค-ทีโอที” มักน้อย เสนอราคาชิงแค่ 26 GHz คลื่นเดียว
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า หลังจากทั้ง 5 โอเปอเรเตอร์ ได้แก่ เอไอเอส, ทรูมูฟ เอช, ดีแทค, บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม (แคท) ได้ยื่นแสดงความจำนงเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่สำหรับการให้บริการ 5G ในย่าน 700 MHz, 1800 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz เมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา ล่าสุดสำนักงาน กสทช.ได้ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เข้ายื่นประมูลทั้ง 5 รายแล้วว่ามีคุณสมบัติครบถ้วน และเตรียมเสนอให้ที่ประชุมบอร์ด กสทช. วันที่ 12 ก.พ.นี้ เห็นชอบการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมประมูล เพื่อจัดประมูลในวันที่ 16 ก.พ. 2563
โดยการประมูลในครั้งนี้ ทั้งเอไอเอส, ทรูมูฟ เอช และแคท จะยื่นประมูลในคลื่น 700 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz ส่วนดีแทค และทีโอที ยื่นประมูลคลื่น 26 GHz เพียงย่านเดียว ขณะที่ กสทช.ได้นำคลื่นออกมาประมูลทั้งหมด 4 ย่านคลื่น ได้แก่ 700 MHz, 1800 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz
สำหรับคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz จำนวนคลื่นความถี่ที่นำมาประมูล 15 MHz แบ่งออกเป็น 3 ชุดคลื่นความถี่ ผู้เข้าร่วมการประมูลสามารถประมูลได้สูงสุด 3 ชุด ราคาเริ่มต้น 8,792 ล้านบาทต่อชุด เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 440 ล้านบาท การชำระเงินค่าประมูลแบ่งเป็น 10 งวด งวดละ 10%
คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz จำนวนคลื่นความถี่ที่นำมาประมูล 35 MHz แบ่งออกเป็น 7 ชุดคลื่นความถี่ ผู้เข้าร่วมการประมูลสามารถประมูลได้สูงสุด 4 ชุด ราคาเริ่มต้น 12,486 ล้านบาทต่อชุด เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 25 ล้านบาท การชำระเงินค่าประมูลแบ่งเป็น 3 งวด งวดที่ 1 ชำระ 50% ของราคาที่ชนะการประมูล งวดที่ 2 ชำระ 25% ของราคาที่ชนะการประมูล งวดที่ 3 ชำระ 25% ของราคาที่ชนะการประมูล
ส่วนคลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz จำนวนคลื่นความถี่ที่นำมาประมูล 190 MHz แบ่งเป็น 19 ชุดคลื่น ผู้เข้าประมูลสามารถประมูลได้สูงสุด 10 ชุด ราคาเริ่มต้น 1,862 ล้านบาทต่อชุด เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 93 ล้านบาท การชำระเงินแบ่งเป็น 7 งวด โดยงวดที่ 1 ชำระ 10% ของราคาที่ชนะการประมูล งวดที่ 2-7 (ปีที่ 5-10) ชำระ 15% ของราคาที่ชนะการประมูล โดยผู้ชนะต้องขยายโครงข่ายให้ครอบคลุม 50% ของพื้นที่ EEC ภายใน 1 ปี และครอบคลุม 50% ของจำนวนประชากรของ smart city ภายใน 4 ปี
และคลื่นในความถี่ย่าน 26 GHz มีจำนวน 27 ชุดคลื่นความถี่ ผู้เข้าร่วมการประมูลสามารถประมูลได้สูงสุด 12 ชุด ราคาเริ่มต้น 423 ล้านบาทต่อชุด เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 22 ล้านบาท โดยกำหนดการชำระเงินค่าประมูลงวดเดียว
ที่มา
https://www.prachachat.net/ict/news-420294?fbclid=IwAR2m39gqGyCsTrS4J8O349AdzX541vmv6GKJwLUt_F8tlu0QnpolOhLDEno
กสทช.เตรียมอนุมัติ 5 โอเปอเรเตอร์ เคาะประมูล 5G |AIS TRUE CAT ยื่นประมูล 3 คลื่น |DTAC TOT ยื่นประมูลคลื่นเดียว
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า หลังจากทั้ง 5 โอเปอเรเตอร์ ได้แก่ เอไอเอส, ทรูมูฟ เอช, ดีแทค, บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม (แคท) ได้ยื่นแสดงความจำนงเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่สำหรับการให้บริการ 5G ในย่าน 700 MHz, 1800 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz เมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา ล่าสุดสำนักงาน กสทช.ได้ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เข้ายื่นประมูลทั้ง 5 รายแล้วว่ามีคุณสมบัติครบถ้วน และเตรียมเสนอให้ที่ประชุมบอร์ด กสทช. วันที่ 12 ก.พ.นี้ เห็นชอบการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมประมูล เพื่อจัดประมูลในวันที่ 16 ก.พ. 2563
โดยการประมูลในครั้งนี้ ทั้งเอไอเอส, ทรูมูฟ เอช และแคท จะยื่นประมูลในคลื่น 700 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz ส่วนดีแทค และทีโอที ยื่นประมูลคลื่น 26 GHz เพียงย่านเดียว ขณะที่ กสทช.ได้นำคลื่นออกมาประมูลทั้งหมด 4 ย่านคลื่น ได้แก่ 700 MHz, 1800 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz
สำหรับคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz จำนวนคลื่นความถี่ที่นำมาประมูล 15 MHz แบ่งออกเป็น 3 ชุดคลื่นความถี่ ผู้เข้าร่วมการประมูลสามารถประมูลได้สูงสุด 3 ชุด ราคาเริ่มต้น 8,792 ล้านบาทต่อชุด เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 440 ล้านบาท การชำระเงินค่าประมูลแบ่งเป็น 10 งวด งวดละ 10%
คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz จำนวนคลื่นความถี่ที่นำมาประมูล 35 MHz แบ่งออกเป็น 7 ชุดคลื่นความถี่ ผู้เข้าร่วมการประมูลสามารถประมูลได้สูงสุด 4 ชุด ราคาเริ่มต้น 12,486 ล้านบาทต่อชุด เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 25 ล้านบาท การชำระเงินค่าประมูลแบ่งเป็น 3 งวด งวดที่ 1 ชำระ 50% ของราคาที่ชนะการประมูล งวดที่ 2 ชำระ 25% ของราคาที่ชนะการประมูล งวดที่ 3 ชำระ 25% ของราคาที่ชนะการประมูล
ส่วนคลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz จำนวนคลื่นความถี่ที่นำมาประมูล 190 MHz แบ่งเป็น 19 ชุดคลื่น ผู้เข้าประมูลสามารถประมูลได้สูงสุด 10 ชุด ราคาเริ่มต้น 1,862 ล้านบาทต่อชุด เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 93 ล้านบาท การชำระเงินแบ่งเป็น 7 งวด โดยงวดที่ 1 ชำระ 10% ของราคาที่ชนะการประมูล งวดที่ 2-7 (ปีที่ 5-10) ชำระ 15% ของราคาที่ชนะการประมูล โดยผู้ชนะต้องขยายโครงข่ายให้ครอบคลุม 50% ของพื้นที่ EEC ภายใน 1 ปี และครอบคลุม 50% ของจำนวนประชากรของ smart city ภายใน 4 ปี
และคลื่นในความถี่ย่าน 26 GHz มีจำนวน 27 ชุดคลื่นความถี่ ผู้เข้าร่วมการประมูลสามารถประมูลได้สูงสุด 12 ชุด ราคาเริ่มต้น 423 ล้านบาทต่อชุด เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 22 ล้านบาท โดยกำหนดการชำระเงินค่าประมูลงวดเดียว
ที่มา https://www.prachachat.net/ict/news-420294?fbclid=IwAR2m39gqGyCsTrS4J8O349AdzX541vmv6GKJwLUt_F8tlu0QnpolOhLDEno