เรื่องราวของแกแล็กซีสุดแปลก

เชื่อกันว่าในจักรวาลวันกว้างใหญ่นี้ มีกาแล็กซีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน ดังนั้น มันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลย ที่ในอาณาเขตอันไกลโพ้นจากทางเผือก เราจะสามารถพบกับกาแล็กซีแปลกๆ อยู่เต็มไปหมด 

กาแล็กซีรูปแมงกะพรุน


(ภาพฮับเบิลของดาราจักรกังหัน ESO 137-001)

เริ่มจากกาแล็กซีที่มีความแปลกในเรื่องของรูปร่าง กับกาแล็กซี ESO 137-001 โดยนี่เป็นกาแล็กซีที่ถูกระบุว่าเป็นกาแล็กซีทรงกังหัน แต่มันกลับมีริ้วของดวงดาว แผ่นออกมาจากด้านหนึ่งของกาแล็กซี ซึ่งทำให้กาแล็กซีทรงกังหันนี้ มีสภาพเหมือนแมงกะพรุนนั่นเอง

ภาพฮับเบิลใหม่นี้แสดงดาราจักรชนิดก้นหอย ESO 137-001 ล้อมรอบด้วยพื้นหลังที่สดใสขณะที่เคลื่อนผ่านใจกลางกาแลคซี Abell 3627
ภาพนี้ไม่เพียง แต่จับกาแลคซีและฉากหลังของมันในรายละเอียดที่น่าทึ่ง แต่ยังมีบางสิ่งที่น่าทึ่งยิ่งกว่า คือมีเส้นสีน้ำเงินเข้มพุ่งออกมาจากกาแลคซี

ในความเป็นจริงแล้วริ้วรอยเหล่านี้เป็นก๊าซที่ร้อนและลื่นไหลซึ่งถูกฉีกออกจากกาแลคซีโดยสภาพแวดล้อมขณะที่มันเคลื่อนที่ผ่านอวกาศ กาแลคซีที่มีความรุนแรงนี้เกิดจากกระบวนการที่เรียกว่าram pressure stripping  (แรงดึงที่วัตถุเคลื่อนที่ผ่านของเหลว) 
เครดิต:กิตติกรรมประกาศของNASA , ESA
: Ming Sun (UAH), และ Serge Meunier
Cr.https://www.spacetelescope.org/images/heic1404a/

กาแล็กซีซอมบี้


กาแล็กซีที่ชื่อว่า MACS 2129-1 กาแล็กซีรูปจานที่หมุนเร็วกว่าทางช้างเผือกถึงสองเท่า แต่กลับไม่มีการสร้างดวงดาวเลยมากว่า 10,000 ล้านปี และในกาแล็กซีเองก็แทบจะไม่เหลือดวงดาวแล้วด้วย
ลักษณะราวกับกาแล็กซีที่ “ตายไปแล้ว” แต่ยังมีชีวิตและสีที่ออกหม่นๆ ของมันนี้เอง ที่ทำให้ MACS 2129-1 ได้รับชื่อเล่นว่า กาแล็กซีซอมบี้

MACS 2129-1 ซึ่งเป็นกาแลคซีที่ถูกล้อมรอบด้วยกาแลคซีเบื้องหน้าขนาดมหึมา จากการใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลนักดาราศาสตร์ได้ค้นพบแกแลกซีแปลกประหลาดนี้ ซึ่งนอกจากจะเป็นกาแลคซีเก่าที่ตายแล้วซึ่งหยุดการสร้างดาวฤกษ์ใหม่เพียงไม่กี่พันล้านปีหลังจากบิกแบง กาแลคซีนี้ยังมีรูปร่างคล้ายแผ่นดิสก์ด้วย
Cr.https://cosmosmagazine.com/space/fast-spinning-dead-galaxy-changes-ideas-about-galactic-formation

กาแล็กซีกินกาแล็กซี


นี่คือเรื่องราวของกาแล็กซีแอนโดรเมดา อันเป็นกาแล็กซีเพื่อนบ้านของเรา โดยมันถูกเรียกด้วยชื่อเล่นว่ากาแล็กซีกินกาแล็กซี เนื่องจาก ตลอด 10,000 ล้านปี ที่ผ่านมา กาแล็กซีอันนี้ได้ไล่เขมือบกาแล็กซีเล็กๆ มาเป็นเวลายาวนาน  และในอีก 4,500 ล้านปีข้างหน้า กาแล็กซีอันนี้ก็ถูกคำนวณไว้ว่าจะชนเข้ากับกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราอีกด้วย 

กาแล็กซีแอนโดรเมดา (Andromeda Galaxy, M31, NGC224)  เป็นกาแล็กซีเพื่อนบ้านรูปก้นหอยคล้ายกับกาแล็กซีทางช้างเผือก แต่มีขนาดใหญ่กว่า อยู่ห่างออกไปราว 2.2 ล้านปีแสง ซึ่งมีกาแล็กซี M32 และ M110 (NGC 205) เป็นบริวาร ในทิศทางของกลุ่มดาวแอนโดรเมดาถือเป็นดาราจักรแบบกังหันที่อยู่ใกล้กับดาราจักรทางช้างเผือกของเรามากที่สุด
จากการสังเกตการณ์โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์พบว่า กาแล็กซีแอนโดรเมดามีดาวฤกษ์อยู่ราว 1 ล้านล้านดวง ซึ่งมีจำนวนมากกว่าดาวฤกษ์ในกาแล็กซีของเรา โดยมีระดับความสว่างที่ 4.4 ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัตถุเมสสิเยร์ที่สว่างที่สุดชิ้นหนึ่ง และสามารถมองเห็นได้โดยง่ายด้วยตาเปล่า
Cr.http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-picture/view-image/a5711313cec2e313573dabcf88e558b7/jpg

กาแล็กซีโจรผู้สว่างจ้า


มันเป็นเรื่องธรรมดาของกาแล็กซี ที่จะมีปฏิสัมพันธ์ด้วยกันเอง และกินหรือขโมยดวงดาวจากกาแล็กซีอื่นๆ อย่างไรก็ตามในบรรดากาแล็กซีที่มนุษย์รู้จัก  ที่ขึ้นชื่อเรื่องการขโมยดาวเท่ากับ กาแล็กซี W2246-0526 เจ้าของตำแหน่งกาแล็กซีที่สว่างที่สุดที่เราเคยพบ  กาแล็กซีนี้ ในปัจจุบันเราจะสามารถเห็นมันกำลังดูดกาแล็กซีอื่นๆ พร้อมๆ กันถึง 3 แกแลกซี  แม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 12,000 ล้านปีก่อน และสิ่งที่เราเห็นก็เป็นเพียงแสงที่เพิ่งเดินทางมาถึงโลกก็ตาม

การศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และร่วมกับนักวิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการ Jet Propulsion ของ NASA ใน Pasadena แคลิฟอร์เนียพบว่า การขโมยแกแลกซีจากเพื่อนบ้านน่าจะมีส่วนทำให้ความสว่างของแสงสูงขึ้น
Cr.https://tha.29moons.com/most-luminous-galaxy-is-eating-its-neighbors-761586

“คอสมิก เยติ” (Cosmic Yeti)


ก่อนหน้านี้นักดาราศาสตร์ไม่มีหลักฐานการก่อตัวของดาราจักรหรือกาแล็กซีขนาดใหญ่ในช่วงยุคแรกของจักรวาลหรือเอกภพ แต่แล้วนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอริโซนาในสหรัฐอเมริกา รายงานการค้นพบร่องรอยแสงจางๆ ในอวกาศซึ่งเป็นข้อมูลใหม่ได้มาจากกล้องโทรทรรศน์วิทยุอั]มา (Atacama Large Millimeter/ submillimeter Array-ALMA) ในชิลี

นักดาราศาสตร์เผยว่า สิ่งนี้ดูลึกลับมากเพราะแสงจางดูเหมือนจะไม่เชื่อมโยงกับกาแล็กซีใดๆ ที่รู้จักกันเลย หมายความว่านี่อาจเป็นการค้นพบกาแล็กซีที่มองไม่เห็นในช่วงความยาวคลื่นอื่นๆ และตั้งอยู่ห่างไกลโดยซ่อนตัวหลังเมฆฝุ่น อย่างไร ก็ตาม นักดาราศาสตร์เชื่อว่าการค้นพบนี้จะช่วยแกะรอยไปพบกาแล็กซีขนาดใหญ่ที่ก่อตัวช่วงต้นของเอกภพเมื่อ 12,500 ล้านปีก่อน เพราะแสงจางๆนั้นใช้เวลานานมากในการเดินทางมาถึงโลก นักดาราศาสตร์เรียกกาแล็กซีปริศนานี้ว่า “คอสมิก เยติ” (Cosmic Yeti) ทั้งยังชี้ให้เห็นว่ากาแล็กซีโบราณแห่งนี้กำลังสร้างดาวฤกษ์ในอัตราที่เร็วกว่าของทางช้างเผือกของเราถึง 100 เท่า
การค้นพบ “คอสมิก เยติ” จะเป็นการเปิดประตูให้นักวิทยาศาสตร์ได้เห็นมุมมองของเอกภพในวัยเยาว์ และอาจไขกุญแจความลับที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของดาราศาสตร์ได้ว่ากาแล็กซีที่ใหญ่ที่สุดพัฒนาขึ้นอย่างไรในช่วงเวลาที่ผ่านมาของเอกภพ.
Cr.https://www.thairath.co.th/news/society/1696036

กาแล็กซีไร้รูปร่าง


กาแล็กซีไร้รูปร่าง (Irregular galaxy) เป็นกาแล็กซีที่ไม่มีรูปร่างชัดเจน (อย่างกาแล็กซีทรงกังหัน หรือกาแล็กซีทรงรี) หรือจะกล่าวได้ว่า กาแล็กซีไร้รูปร่างไม่อยู่ในกาแล็กซีประเภทใดๆในส้อมเสียงของฮับเบิล
 
กาแล็กซีไร้รูปร่างมักจะมีลักษณะปรากฏที่ไม่เป็นระเบียบ ไม่แสดงโครงสร้างอย่างแขนกาแล็กซีทรงกังหัน หรือส่วนป่องตรงกลางกาแล็กซี ซึ่งความไร้ระเบียบของรูปร่างกาแล็กซีประเภทนี้มักมาจากการรวมตัวกันของกาแล็กซีที่เพิ่งเกิดขึ้น หรืออันตรกิริยากับกาแล็กซีที่อยู่ใกล้เคียง
 
กาแล็กซีประเภทนี้ยังมีอีกชื่อว่า “กาแล็กซีประหลาด” (Peculiar galaxy) ซึ่งกาแล็กซีแปลกๆเหล่านี้มีมากถึงประมาณ 1/4 ของกาแล็กซีที่เรารู้จัก กาแล็กซีไร้รูปร่างโดยทั่วไปแล้วจะมีฝุ่นแก๊สอยู่มาก จึงมีการก่อตัวของดาวฤกษ์จำนวนมากตามไปด้วย
 
กาแล็กซีที่อยู่ใกล้กาแล็กซีทางช้างเผือกมากที่สุดคือ “กาแล็กซีแคระหมาใหญ่” (Canis Major Dwarf) ซึ่งเป็นกาแล็กซีไร้รูปร่างขนาดเล็กที่มีดาวฤกษ์ราว 1 พันล้านดวง กาแล็กซีแห่งนี้กำลังอยู่ในกระบวนการที่ถูกกาแล็กซีทางช้างเผือกกลืน
Cr.http://nso.narit.or.th/index.php/2017-11-25-10-50-19/2017-12-07-04-56-44/2017-12-10-09-07-42/2017-12-10-17-19-54/2017-12-20-07-09-19

กาแล็กซีในกาแล็กซี


นี่คือกาแล็กซีรูปวงแหวนที่เรารู้จักกันในนาม “วัตถุของโฮแอก” ''Hoag's Object'  โดยมันเป็นกาแล็กซี ที่เต็มไปด้วยปริศนาในกลุ่มดาวงู ซึ่งมีลักษณะเด่นเป็นวงแหวนสีน้ำเงินที่ดูเหมือนจะซ้อนกันอยู่
การกำเนิดของวัตถุของโฮแอกถือว่าเป็นหนึ่งในปริศนาของจักรวาล ที่นักดาราศาสตร์ยังไม่อาจไขได้ อย่างไรก็ตาม พวกเขาสันนิษฐานกันว่ามันอาจจะเกิดจากการที่มีดาราจักรขนาดเล็กซ้อนอยู่ในดาราจักรขนาดใหญ่กว่าก็เป็นได้
ขอบคุณที่มา livescience
Cr.https://www.catdumb.tv/weird-galaxies-378/

กาแล็กซีที่มีหัวใจสองดวง


(มุมมองกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลของกาแลคซีกังหัน NGC 7674 (อันยิ่งใหญ่ที่พบเห็นบนใบหน้า) ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 400 ล้านปีแสง นักดาราศาสตร์พบร่องรอยของหลุมดำมวลมหาศาลสองดวงที่ใจกลางของ NGC 7674)
(ภาพ: © NASA, ESA, ทีม Hubble Heritage (STScI / AURA) -ESA / Hubble Collaboration และ A. Evans (มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย, Charlottesville / NRAO / Stony Brook University))

ตามปกติกาแล็กซีในจักรวาล จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยมีหลุมดำมวลยิ่งยวดเป็นศูนย์กลาง  อย่างไรก็ตามสำหรับหลุมดำบางส่วน อย่าง NGC 7674 หัวใจของมัน จะไม่ได้มีเพียงดวงเดียว แต่เป็นหลุมดำมวลยิ่งยวดถึงสองหลุมแทน
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า NGC 7674 ได้หัวใจดวงที่สองของมันมาจากการที่มันไปชนและรวมตัวกับกาแล็กซีอีกแห่งในอดีต อย่างไรก็ตามนี่น่าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อนานมากแล้ว ดังนั้น หลักฐานที่จะใช้ยืนยันแนวคิดนี้จึงมีอยู่ไม่มากเท่าไหร่นัก

ไม่ใช่แค่หลุมดำขนาดมหึมาสองแห่งเท่านั้นที่แฝงตัวอยู่ในใจกลางกาแลคซีกังหัน NGC 7674 ที่อยู่ห่างไกล  หลุมดำมวลมหาศาลสองดวงนี้ถูกแยกออกจากกันโดยใช้เวลาน้อยกว่า 1 ปีแสงและรวมตัวกันอยู่ที่ประมาณ 40 ล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์
ขอบคุณที่มา livescience
Cr.https://www.space.com/38215-binary-supermassive-black-holes-spiral-galaxy.html

กาแล็กซี “ดวงตา”


นี่คือกาแล็กซีสองแห่ง ที่วางตัวกันอยู่ในตำแหน่งที่คล้ายดวงตาขนาดยักษ์ในอวกาศอย่างไม่น่าเชื่อ โดยมันประกอบไปด้วย กาแล็กซี IC 2163 (ขวา) และกาแล็กซี NGC 2207 (ซ้าย) และเชื่อกันว่าจะอยู่ในรูปร่างแบบนี้ไปอีกราวๆ 10 ล้านปีเท่านั้น (น้อยมากสำหรับเวลาของกาแล็กซี)
 
นั่นเพราะในความเป็นจริงแล้ว กาแล็กซีทั้งสองที่เราเห็นกำลังอยู่ในสภาพที่กำลังปะทะกันเองอยู่ และในอนาคตอันใกล้  จะต้องมีกาแล็กซีอันใดอันหนึ่งถูกดูดกลืนเข้าไป  กาแลคซีทั้งสองแห่งนี้มีฝุ่นและก๊าซจำนวนมากและเริ่มที่จะแสดงอัตราการก่อตัวของดาวฤกษ์ การปะทะกันเป็นที่น่าสนใจเพราะมันสะท้อนให้เห็นถึงชะตากรรมของการดูดกลืนหรือรวมตัว
ขอบคุณที่มา livescience
Cr.https://www.catdumb.tv/weird-galaxies-378/

แกแลกซี "หยดน้ำ" 


NGC 772 เป็นหนึ่งในกาแล็กซีที่อยู่ค่อนข้างไกล โดยอยู่ไกลออกไปมากถึง 130 ล้านปีแสง ที่ระยะห่างขนาดนี้มันยังมีขนาดใหญ่พอสมควร เพราะนักดาราศาสตร์ประมาณว่ามันมีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างราว 200,000 ปีแสง หรือราวสองเท่าของกาแล็กซีทางช้างเผือก รอบๆ กาแล็กซีนี้ มีกาแล็กซีขนาดเล็กเป็นบริวารหลายแห่ง มองเห็นได้ในภาพ ที่เด่นที่สุดอยู่ด้านขวามือ (ทิศใต้) ของ NGC 772 เป็นกาแล็กซีรูปรีชื่อ NGC 770

กาแล็กซีนี้มีขนาดไม่ใหญ่ แค่ประมาณ 7.2 × 4.3 ลิปดา ความสว่างปรากฏที่ระบุไว้ก็อยู่ในระดับแค่ 11.1 แมกนิจูดซึ่งจางมาก แต่เมื่อได้ลองถ่ายภาพปรากฏว่ามันสว่างกว่าที่คาดโดยเฉพาะส่วนกลาง มีรูปทรงแปลกตาโดยเฉพาะส่วนสว่างที่มีรูปร่างคล้ายหยดน้ำ แขนกาแล็กซีที่เด่นมีอยู่เพียงแขนเดียว รอบๆ กาแล็กซีส่วนสว่างก็มีแขนกาแล็กซีจางๆ ห้อมล้อมอีกชั้นหนึ่ง 
Cr.https://hi-in.facebook.com/ThaiStargazers/photos/กาแล็กซี-ngc-772-arp-78-ในกลุ่มดาวแกะ-aries-right-ascension-ra-01h-59m-196sdecli/334432817113172/
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่