
ถือว่าเป็นหนังปิดท้ายปีของค่าย GDH ที่ปล่อยออกมาทิ้งทวนก่อนหมดปี 2019 ซึ่งได้ “เต๋อ นวพล” มาเขียนบท และกำกับเอง พร้อมกับ “ออกแบบ ชุติมณฑน์” และ “ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์” มาแสดงนำ ซึ่งต้องบอกว่าแค่ชื่อผู้กำกับกับชื่อนักแสดงก็น่าดูแล้ว ซึ่งหลายๆ คนเห็นชื่อผู้กำกับแล้วอาจจะกลัวว่าหนังจะดูยาก แต่บอกตรงๆ หนังไม่ได้ดูยากอย่างที่คิด และออกจะมีพลังในการบีบอารมณ์คนดูได้มากอีกด้วยนะ

เรื่องราวของ จีน (ออกแบบ ชุติมณฑน์) ที่ต้องการจะเคลียร์บ้านเพื่อรีโนเวทเป็นออฟฟิศ มหกรรมการโละของออกจากบ้านจึงเกิดขึ้น อะไรที่ไม่ใช้แล้ว อะไรที่ทิ้งไว้ก็รก เธอตัดสินใจจะทิ้งให้หมดเลย แต่เมื่อเธอได้เจอกับของบางอย่างที่เป็นของเอ็ม แฟนเก่าของเธอ (ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์) จีนเริ่มพบว่าการทิ้งครั้งนี้ไม่ง่าย เพราะของบางอย่างแม้จะไม่มีประโยชน์แล้ว แต่มันยังมีเรื่องราวให้นึกถึง มีอดีตที่ยังค้างคา มีความรู้สึกบางอย่างที่ไม่สามารถแค่ทิ้งลงถุงดำแล้วหายไป จีนจึงต้องตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับสิ่งของของเอ็ม เธอจะทิ้งไป เก็บไว้ หรือเดินไปคืน ถึงจะเป็นการทิ้งที่สมบูรณ์ที่สุด

หนังพยายามใช้ความ “มินิมอล” มาบอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดในตัวหนัง ตั้งแต่เปิดเรื่อง เราจะได้ยินคำว่า “มินิมอล” “มินิมอล” “มินิมอล” นับครั้งไม่ถ้วน ไม่ใช่เฉพาะไดอะล็อกคำพูด แม้แต่ภาพและฉากแต่ละฉากในหนัง หนังยังใช้ความน้อยขององค์ประกอบ มาทำให้หนังมันดูมีอะไรได้อย่างสวยงาม การคุมโทนสี การคุมโทนของหนังให้อยู่ในโทนอึมครึม หม่นหมอง มันทำให้ความน้อยเหล่านี้ต้องถูกขับออกมาด้วยพลังของนักแสดงและอารมณ์บีบคั้นที่หนังใส่มาตลอดเรื่องที่ถึงแม่จะเดินเรื่องแบบเรื่อยๆ ตามสไตล์ แต่พอถึงจุดๆ นึงมันเหมือนไอ้ความเรื่อยๆ นั่นแหละที่เป็นตัวจุดระเบิดอารมณ์ของหนังออกมาอย่างพรั่งพรู

ตัวนักแสดงเอง เรื่องนี้ต้องบอกว่า บทส่งให้ “ออกแบบ ชุติมณฑน์” แทบจะเป็นนางเอกฉายเดี่ยวที่แบกหนังไว้ทั้งเรื่องเลยก็ว่าได้ เพราะหนังโฟกัสไปที่ความเป็นตัวตนที่มากเกินไปของ “จีน” ที่ไม่เคยคิดถึงคนอื่น จนมาคิดได้ทีหลังว่าสิ่งที่เป็นมันคือสิ่งที่ทำร้ายคนรอบข้าง แต่เมื่อต้องการจะแก้ไข มันก็สายเกินไปสำหรับทุกอย่าง หนังพยายามจะขยี้ให้เห็นถึงความสำคัญของฝ่าย “ทิ้ง” และฝ่าย “ถูกทิ้ง” ซึ่งบางประเด็นก็ไม่ได้เคลียร์จนถึงจบเรื่องก็ยังไม่เคลียร์ แต่มันเหมือนสิ่งต่างๆ เหล่านี้ถูกทิ้งไว้ให้คนดูคิดต่อเอาเอง

หนังตีความความรู้สึกหลายๆ อย่างได้หลายแง่มุมมากๆ ทั้งเรื่องของการทิ้งเพื่อให้ลืม หรือทิ้งโดยไม่คิด, การ Move on เพื่อให้หลุดพ้นจากความทรงจำที่เจ็บปวด หรือแม้แต่เรื่องของการพูดคำว่า “ขอโทษ” ซึ่งหนังตีความตรงนี้ได้คมคายมากๆ คนบางคนใช้คำว่าขอโทษเพื่อให้ตัวเองไม่รู้สึกผิดจากสิ่งมที่ทำไว้อีกต่อไป แต่ไม่ได้คิดสำนึกผิดจริงๆ ซึ่งถึงแม้ว่าตัวนางเอกจะสำนึกหรือไม่ก็ตาม แต่หนังก็ทำให้เห็นว่า มันก็มีคนบางคน หรือสถานการณ์บางสถานการณ์ที่ทำให้คำขอโทษกลายเป็นสิ่งที่ทำเพื่อให้ฝ่ายกระทำรู้สึกโล่งใจมากกว่าการใช้เพื่อขอโทษและสำนึกผิดต่อฝ่ายที่ถูกกระทำจริงๆ

ถึงแม้ว่าหนังมันจะออกโทนอึมครึม เดินเรื่องเนิบๆ ภาพคุมโทนด้วยความ “มินิมอล” ในแบบที่หนังอยากให้เป็น แต่ในความน้อยของหนังนี่แหละ มันกลายเป็นความ น้อยแต่มาก ในอารมณ์ และทรงพลังมากๆ ในการทำให้มันปะทุออกมาอีกด้วย ถือว่าเป็นหนังที่มีพลังการทำลายล้างทางอารมณ์คนดูได้อย่างยอดเยี่ยม
ฝากเพจหนังเล็กๆ ด้วยนะครับ >>>
https://www.facebook.com/DooNangGunMai/
[CR] [#Review] ฮาวทูทิ้ง ทิ้งอย่างไร ไม่ให้เหลือเธอ - น้อยแต่มาก ย่อยไม่ยาก แต่ทรงพลัง
ถือว่าเป็นหนังปิดท้ายปีของค่าย GDH ที่ปล่อยออกมาทิ้งทวนก่อนหมดปี 2019 ซึ่งได้ “เต๋อ นวพล” มาเขียนบท และกำกับเอง พร้อมกับ “ออกแบบ ชุติมณฑน์” และ “ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์” มาแสดงนำ ซึ่งต้องบอกว่าแค่ชื่อผู้กำกับกับชื่อนักแสดงก็น่าดูแล้ว ซึ่งหลายๆ คนเห็นชื่อผู้กำกับแล้วอาจจะกลัวว่าหนังจะดูยาก แต่บอกตรงๆ หนังไม่ได้ดูยากอย่างที่คิด และออกจะมีพลังในการบีบอารมณ์คนดูได้มากอีกด้วยนะ
เรื่องราวของ จีน (ออกแบบ ชุติมณฑน์) ที่ต้องการจะเคลียร์บ้านเพื่อรีโนเวทเป็นออฟฟิศ มหกรรมการโละของออกจากบ้านจึงเกิดขึ้น อะไรที่ไม่ใช้แล้ว อะไรที่ทิ้งไว้ก็รก เธอตัดสินใจจะทิ้งให้หมดเลย แต่เมื่อเธอได้เจอกับของบางอย่างที่เป็นของเอ็ม แฟนเก่าของเธอ (ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์) จีนเริ่มพบว่าการทิ้งครั้งนี้ไม่ง่าย เพราะของบางอย่างแม้จะไม่มีประโยชน์แล้ว แต่มันยังมีเรื่องราวให้นึกถึง มีอดีตที่ยังค้างคา มีความรู้สึกบางอย่างที่ไม่สามารถแค่ทิ้งลงถุงดำแล้วหายไป จีนจึงต้องตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับสิ่งของของเอ็ม เธอจะทิ้งไป เก็บไว้ หรือเดินไปคืน ถึงจะเป็นการทิ้งที่สมบูรณ์ที่สุด
หนังพยายามใช้ความ “มินิมอล” มาบอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดในตัวหนัง ตั้งแต่เปิดเรื่อง เราจะได้ยินคำว่า “มินิมอล” “มินิมอล” “มินิมอล” นับครั้งไม่ถ้วน ไม่ใช่เฉพาะไดอะล็อกคำพูด แม้แต่ภาพและฉากแต่ละฉากในหนัง หนังยังใช้ความน้อยขององค์ประกอบ มาทำให้หนังมันดูมีอะไรได้อย่างสวยงาม การคุมโทนสี การคุมโทนของหนังให้อยู่ในโทนอึมครึม หม่นหมอง มันทำให้ความน้อยเหล่านี้ต้องถูกขับออกมาด้วยพลังของนักแสดงและอารมณ์บีบคั้นที่หนังใส่มาตลอดเรื่องที่ถึงแม่จะเดินเรื่องแบบเรื่อยๆ ตามสไตล์ แต่พอถึงจุดๆ นึงมันเหมือนไอ้ความเรื่อยๆ นั่นแหละที่เป็นตัวจุดระเบิดอารมณ์ของหนังออกมาอย่างพรั่งพรู
ตัวนักแสดงเอง เรื่องนี้ต้องบอกว่า บทส่งให้ “ออกแบบ ชุติมณฑน์” แทบจะเป็นนางเอกฉายเดี่ยวที่แบกหนังไว้ทั้งเรื่องเลยก็ว่าได้ เพราะหนังโฟกัสไปที่ความเป็นตัวตนที่มากเกินไปของ “จีน” ที่ไม่เคยคิดถึงคนอื่น จนมาคิดได้ทีหลังว่าสิ่งที่เป็นมันคือสิ่งที่ทำร้ายคนรอบข้าง แต่เมื่อต้องการจะแก้ไข มันก็สายเกินไปสำหรับทุกอย่าง หนังพยายามจะขยี้ให้เห็นถึงความสำคัญของฝ่าย “ทิ้ง” และฝ่าย “ถูกทิ้ง” ซึ่งบางประเด็นก็ไม่ได้เคลียร์จนถึงจบเรื่องก็ยังไม่เคลียร์ แต่มันเหมือนสิ่งต่างๆ เหล่านี้ถูกทิ้งไว้ให้คนดูคิดต่อเอาเอง
หนังตีความความรู้สึกหลายๆ อย่างได้หลายแง่มุมมากๆ ทั้งเรื่องของการทิ้งเพื่อให้ลืม หรือทิ้งโดยไม่คิด, การ Move on เพื่อให้หลุดพ้นจากความทรงจำที่เจ็บปวด หรือแม้แต่เรื่องของการพูดคำว่า “ขอโทษ” ซึ่งหนังตีความตรงนี้ได้คมคายมากๆ คนบางคนใช้คำว่าขอโทษเพื่อให้ตัวเองไม่รู้สึกผิดจากสิ่งมที่ทำไว้อีกต่อไป แต่ไม่ได้คิดสำนึกผิดจริงๆ ซึ่งถึงแม้ว่าตัวนางเอกจะสำนึกหรือไม่ก็ตาม แต่หนังก็ทำให้เห็นว่า มันก็มีคนบางคน หรือสถานการณ์บางสถานการณ์ที่ทำให้คำขอโทษกลายเป็นสิ่งที่ทำเพื่อให้ฝ่ายกระทำรู้สึกโล่งใจมากกว่าการใช้เพื่อขอโทษและสำนึกผิดต่อฝ่ายที่ถูกกระทำจริงๆ
ถึงแม้ว่าหนังมันจะออกโทนอึมครึม เดินเรื่องเนิบๆ ภาพคุมโทนด้วยความ “มินิมอล” ในแบบที่หนังอยากให้เป็น แต่ในความน้อยของหนังนี่แหละ มันกลายเป็นความ น้อยแต่มาก ในอารมณ์ และทรงพลังมากๆ ในการทำให้มันปะทุออกมาอีกด้วย ถือว่าเป็นหนังที่มีพลังการทำลายล้างทางอารมณ์คนดูได้อย่างยอดเยี่ยม
ฝากเพจหนังเล็กๆ ด้วยนะครับ >>> https://www.facebook.com/DooNangGunMai/
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้