[CR] ซ้อมใหญ่ครั้งที่1 ‘พยุหยาตราทางชลมารค’ 2562


ซ้อมใหญ่ครั้งแรกขบวน พยุหยาตราทางชลมารค งดงามตระการตาขบวนเรือพระราชพิธี
17 ตุลาคม พ.ศ.2562
              สำหรับการซ้อมใหญ่ครั้งที่1
การซ้อมย่อยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ครั้งที่ 9 และ 10 ในวันที่ 7 และ 10 ตุลาคม 2562
- ครั้งนี้กำลังฝีพาย 2,200 เข้าร่วมฝึกซ้อม ในเครื่องแต่งกายฝีพายเรือพระราชพิธีโบราณประดับเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพุทธศักราช 2562 เข็มที่ระลึกในโอกาสต่างๆ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งและป้ายชื่อเหมือนวันจริงเป็นครั้งแรก 
รวมถึงฝึกซ้อมบนเรือพระราชพิธี 52 ลำ ลำที่ประดับตกแต่งเหมือนวันจริง โดยเฉพาะเรือพระที่นั่ง 4 ลำที่เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังได้ติดตั้งเครื่องสูงประกอบด้วยฉัตร พระวิสูตร เหมือนวันจริง 
นอกจากนี้ การฝึกซ้อมใหญ่ครั้งที่1 ได้นำผลจากการฝึกซ้อมย่อย10 ครั้ง
การฝึกซ้อมครั้งที่ 1 ยังได้ปรับแก้การอัญเชิญบุษบกแทนบัลลังก์กัญญา บนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวทางในการจัดขบวนเรือพระราชพิธี โดยรื้อฝื้นโบราณราชประเพณีและมีการชำระประวัติศาสตร์ โดย กองทัพเรือรับสนองพระบรมราชโองการดำเนินการร่วมกับกรมศิลปากรและกองงานในพระที่นั่งรับรองพระองค์ โดยยึดถือปฏิบัติตามโบราณราชประเพณี และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์เดิมเป็นเรือพระที่นั่งรับรองพระราชวงค์ ครั้งนี้เป็นเรือพลับพลาเปลื้องเครื่อง เพื่อให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปลี่ยนฉลองพระองค์

วิธีพายเรือให้สัมพันธ์กับการเห่เรือ
การพายเรือในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค    ซึ่งเป็นพระราชพิธีแบบโบราณนั้น   มีระเบียบการพายอยู่ 4 วิธี  คือ
1. พายนกบิน   เป็นท่าพายที่ยกพายขึ้น  พ้นน้ำเป็นมุม   45   องศา ประดุจนกบิน ท่าพายนี้จะใช้กับเรือพระที่นั่งเท่านั้นคือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์  เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช    เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ และเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ  รัชกาลที่ 9
2. พายพลราบ     เป็นท่าการพายโดยไม่ให้พายพ้นกราบเรือ   ท่าพายนี้จะใช้กับเรือ   ร่วมในกระบวนทั้งหมด โดยแบ่งการพายเป็น  4  จังหวะ
3. พายผสม เป็นท่าการพายที่ผสมกัน ระหว่างท่าพายพลราบกับท่าพายนกบิน  มักใช้ตอนเสด็จพระราชดำเนินกลับ ซึ่งเป็นการพายเรือทวนน้ำ    โดยมีวิธีการพาย   คือ    พายพลราบ  2 พาย  ต่อด้วยพายนกบินอีก 1 พาย  จึงมักเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  พาย 3 พาย
4. พายธรรมดา    เป็นท่าการพายในท่า ธรรมดาของการพายเรือโดยทั่วๆไป    มีข้อสังเกตว่าการพายเรือพระราชพิธีในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคเฉพาะเรือพระที่นั่งจะพายท่านกบินเป็นหลัก หากจะเปลี่ยนท่าพายเรือ  ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินใดๆ ก็ตามต้องขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อนเสมอ


 
 

ทั้งนี้ประชาชนสามารถรับชมการ ซ้อมขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค
การซ้อมครั้งที่ 2 ในวันที่  21 ตุลาคม 2562
      ตามจุดคัดกรอง และจุดเสริมพื้นที่แก้มลิง โดยมีอัฒจันทร์ และสร้างพื้นยกระดับรองรับ 6 สถานที่
และพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจากสะพานกรุงธนบุรีจนถึงวัดระฆังโฆสิตตาราม
ตั้งอต่เวลา 15.00 น. จนถึงประมาณ 19.00 น.

จุดคัดกรองซ้อมขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค
อัฒจันทร์ 3 ชั้น
1. ลานใต้สะพานพระราม ๘ ฝั่งธนบุรี รองรับได้ 4,000 คน
2. บริเวณสวนสันติชัยปราการ 1,500 คน
3. ลาน 60 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1,800 คน
4. สวนนาคราภิรมย์ 2,300 คน

พื้นยกระดับ
1.สวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา 1,000 คน
2.โรงพยาบาลศิริราช 100 คน

เครดิตภาพสวยๆจาก : MickeyMoMo
        
ชื่อสินค้า:   พยุหยาตราทางชลมารค
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่