ประสบการณ์ตรง บ้านโครงสร้างเหล็ก 3 ชั้น กับการแก้ปัญหาสั่นไหวของโครงสร้าง แก้ได้สำเร็จเด็ดขาด ด้วย Bracing

ประสบการณ์ตรง บ้านโครงสร้างเหล็ก 3 ชั้น กับการแก้ปัญหาสั่นไหวของโครงสร้าง แก้ได้สำเร็จเด็ดขาด ด้วย Bracing ข้อมูลนี้ Update 5 ต.ค.62 ใช้ความพยายามแก้ไขอยู่เดือนครึ่ง ตั้งแต่กลางเดือน ส.ค.62   หลัก ๆ คือ การใช้ Bracing  เดี๋ยวจะมาลงรายละเอียดเรื่อย ๆ ครับ 

*** ณ ตอนนี้ ค้นหาข้อมูล Bracing ใน Google ไปก่อนครับ  โดยใช้ Keyword ว่า 

"Bracing members have an important role for increasing stability and stiffness of structures. They help structures prevent lateral movement and generate ductility. "

ข้อมูลคัดลอกจาก  Web  https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1533482526667104&id=493943160621051
***ขอขอบคุณและให้เครดิต จาก Link Web ข้างต้น ด้วยครับ***

การออกแบบค้ำยันในโครงข้อแข็ง (braced frame)
  ค้ำยันคือชิ้นส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่เพิ่มเสถียรภาพของโครงสร้างเหล็ก โดยหน้าที่หลักของค้ำยันคือทำให้โครงสร้างมีความสามารถในการต้านทานแรงด้านข้างหรือการกระทำที่ทำให้เกิดการโยกตัวด้านข้าง หลักการออกแบบค้ำยันคล้ายกับการออกแบบโครงถัก (truss) คือทำให้รูปของโครงสร้างมีลักษณะเป็นช่องสามเหลี่ยม
          ลักษณะของการใส่ค้ำยันในโครงสร้าง หากตัดประเด็นทางสถาปัตยกรรมออกไป จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ว่าต้องการเพิ่มเสถียรภาพแบบใด และการออกแบบค้ำยันมักจะออกแบบให้เป็นชิ้นส่วนรับแรงตามแนวแกนเท่านั้น 
 รูปแบบของโครงสร้างค้ำยันมีทั้งการค้ำยันผ่านศูนย์ (concentrically braced frame) และไม่ผ่านศูนย์ (eccentrically braced frame) ในที่นี้กล่าวถึงค้ำยันแบบผ่านศูนย์

          รูป a เป็นแบบค้ำยันแบบ X หรือ Cross-bracing ซึ่งมีทั้งชิ้นส่วนที่รับทั้งแรงดึงและแรงอัด ชิ้นส่วนหนึ่งชิ้นอาจรับทั้งแรงดึงและแรงอัดขึ้นกับทิศทางของแรงภายนอก การออกแบบชิ้นส่วนเหล่านี้ควรออกแบบให้เกิดการครากก่อนเสาและคาน เพื่อให้โครงสร้างมีความยืดหยุ่น
..
รูป b และ c เป็นค้ำยันแบบเดี่ยว รูป b เป็นค้ำยันทางเดียว ในขณะที่รูป c เป็นค้ำยันสลับทาง โครงสร้างจะมีความอ่อนและความแข็งแรงน้อยกว่าในชั้นที่ค้ำยันรับแรงอัด (soft storey) อย่างไรก็ตาม หากโครงสร้างที่มีหลายช่วง อาจใช้ค้ำยันแบบเดี่ยวที่วางทิศตรงข้าม (รูป d) เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างแรงอัดและแรงดึงในแต่ละชั้น แต่หากมีข้อจำกัด ค้ำยันแบบ X อาจเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกว่า เนื่องจากใช้พื้นที่น้อยกว่า
..
รูป e เรียกว่า V-bracings มีทั้งแบบวีหงาย และวีคว่ำ (inverted V หรือ chevron V) ความต้านทานการโก่งตัวของค้ำยันรับแรงอัดมีความสำคัญน้อยกว่ากำลังดึงครากของชิ้นรับแรงดึง คือเมื่อชิ้นส่วนค้ำยันระบแรงถึงกำลังสูงสุดที่รับได้ คานจะทำหน้าที่ต้านทานแรงส่วนที่เหลือด้วยกำลังรับโมเมนต์ดัดต่อไป ลักษณะนี้ทำให้เพิ่มคุณลักษณะการรับแรงแบบวัฏจักร (hysteretic performance) ดีขึ้น จึงเหมาะสำหรับโครงสร้างที่ออกแบบเพื่อต้านทานแผ่นดินไหว 
 รูป f เรียกกว่า K-bracings ค้ำยันจะมาต่อยึดกันบริเวณกึ่งกลางความสูงของเสา (การค้ำแบบในรูปไม่ค่อยทำกัน หากทำมักจะเป็นการค้ำยันแบบไม่ผ่านศูนย์) อย่างไรก็ตาม รูปแบบนี้ไม่ควรใช้กับโครงสร้างในพื้นที่รับแรงแผ่นดินไหว ด้วยเหตุที่มีการถ่ายแรงกระทำด้านข้างกับเสา หรือค้ำยันเกิดการโก่งเนื่องจากแรงอัด

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่