[เอวานเกเลี่ยน]รวมความประทับใจความสัมพันธ์ของคาโอรุและชินจิ และกระบวนการให้คำปรึกษา

**เนื่องจากอฟช.ได้มีการกล่าวตั้งแต่ปี 1997 แล้วว่า ความรู้สึกของชินจิต่อคาโอรุนั้นเป็นไปทั้งเพื่อนและคนรัก**(ดูคห.ที่2ของเราอ้างอิง)
เราเลยอยากให้อ่านบทความนี้ไปในเชิง LGBTQ มากกว่าเป็นการจิ้นเฉยๆนะคะ เพราะตัวคุณฮิเดอากิเองก็หลงใหลได้ปลื้มคุณคุนิฮิโกะ(ผกก.เซเลอร์มูน ซึ่งเฟมินิสจ๋ามากๆ) เลยคิดว่าคงน่าเศร้าไม่น้อย ถ้าสารตรงจุดนี้สื่อไม่ถึงคนดู และถูกมองว่าเป็นการเซอวิสสาววายเฉยๆ  ^^;เราเองก็เป็นเลสเบี้ยนด้วย การที่อนิเมะให้ความสำคัญเรื่องเพศวิถีแบบนี้เลยมีความสำคัญกับเรามากเลยค่ะ)


ไม่นานมานี้เน็ตฟลิกได้เอาเอวาฉบับออริจินอลมาลง ทำให้เราได้มีโอกาสกลับไปดู(ภาคTV, EoEครั้งแรก และ3.33ซ้ำ) แล้วอดไฮป์ขึ้นมาไม่ได้ เลยตัดสินใจมาเขียนระบายความชอบของตัวเองในพันทิปค่ะ ในส่วนวิเคราะห์วิพากย์อาจจะมีข้อผิดพลาดหรือตกหล่นบ้าง สามารถแลกเปลี่ยนความเห็นกันได้นะคะ!

ความรู้สึกหลังดูภาค TV ออริจินอล 
ตลอดเนื้อเรื่องเราชอบตัวละครชินจิมากเพราะcomplex ด้านต่างๆ ตัวละครแต่ละตัวมีความซับซ้อนมาก และคิดว่าดูคนเดียวคงเก็บรายละเอียดไม่หมด ฮา ขอเขียนแค่บางส่วนที่ตัวเองพอจับได้ทันคร่าวๆแล้วรู้สึกว้าวละกันนะคะ (แน่นอนว่าเน้นชินจิและคาโอรุตามชื่อกระทู้)

-ชินจิเป็นตัวละครที่Effeminate(มีความเป็นหญิง) ในหลายๆจุด ทั้งเรื่องยอมคน ทำอาหาร งานบ้านเก่ง เซนสิทีฟ อ่อนไหวง่าย (ถือว่าเป็นลักษณะภรรยาในอุดมคติของคนญี่ปุ่นสมัยก่อนเลยนะเนี่ย) แต่ด้วยความที่ชินจิเป็นเพศชาย ลักษณะเหล่านี้ก็เลยถูกมองว่าอ่อนแอและข้อด้อย หลายๆครั้งเลยที่ชินจิโดนอาสึกะและมิซาโตะพูดใส่ว่า “ทำตัวให้สมกับเป็นลูกผู้ชายหน่อย!” เพียงแค่คุณลักษณะไม่ตรงตามค่านิยมทางเพศในสมัยนั้น เป็นเนื้อหาส่วนสะท้อนสังคมได้ดีมากเลยค่ะ<ชอบ

-ในตอนที่สู้กับLeliel ที่ก่อนหน้านี้ชินจิเริ่มมีความมั่นใจเพราะได้คะแนนซิงโครสูงที่สุดในกลุ่ม+คำยุยงของอาสึกะ ชินจิเลยพยายามทำตัวให้ 'สมกับเป็นผู้ชาย' ออกปากจะเป็นกองนำในภารกิจ "นี่น่ะมันเป็นหน้าที่ของลูกผู้ชาย!" ตัดสินใจโดยพละการและบ้าระห่ำให้สมกับนิยามความเป็น “ผู้ชาย” ของเขา(ยิงเทวทูตมั่วซั่ว) แล้วโดนดูดเข้าไปขังในอีกมิติ เป็นตอนที่สุดยอดในหลายๆความหมายเลยค่ะสำหรับเรา เพราะแค่ชินจิพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองครั้งแรก ก็โดนPunishment (ในเชิงจิตวิทยา Operant conditioning) ด้วยการ time-out ทันทีเลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ถ้ามองในเชิงจิตวิทยา อัตลักษณ์ความเป็นเพศชายของชินจิจะลดน้อยลงไปยิ่งกว่าตอนแรกอีกค่ะ เพราะ
พฤติกรรมบ้าบิ่น(Behavior)อันเกิดจากนิยามความเป็น "ลูกผู้ชาย" ของชินจิ >> โดนลงโทษทันที(Time-out)



เรารู้สึกว่าความสัมพันธ์ของคาโอรุกับชินจิในตอนที่24 อิมแพคแรงมากทีเดียวค่ะ (ถึงเราจะชอบโมเม้นหนุงหนิงอี๋อ๋อกันหวานย้อยของ3.33 แต่ยอมรับเลยว่าภาคTVบทบาทของคาโอรุที่มีต่อชินจิเข้มข้นกว่าเยอะเลย ทั้งๆที่บทออกมาแค่ไม่ถึง10นาทีแท้ๆ... เครซี่มากเลยพ่อหนุ่ม)

EP 24

ชินจิที่ตอนนี้น่าจะกลายเป็น Woman phobia(กลัวเพศหญิง) ไปแล้ว เพราะต้องเจอเรื่องสะเทือนใจและช็อคหลายๆเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสตรีเพศตลอดทั้งซีรี่ย์ ทั้ง

1. เห็นเรย์ที่บาดเจ็บเต็มไปด้วยแผลต้นเรื่อง
2. การตายของเรย์
3. อาสึกะที่โคม่าจากการต่อสู้กับเทวทูต
4. รับรู้ว่าเรย์คือร่างโคลนของแม่ตัวเอง
5. เห็นร่างโคลนของเรย์ถูกย่อยจนแหลกสลายไป(ถ้าเราได้เห็นร่างของมนุษย์จริงๆถูกย่อย เนื้อเยื่อเปื่อยเป็นเศษๆไปกับตาคงเป็นภาพที่น่าสะอิดสะเอียนไม่น้อย..)
6. รู้เรื่องชู้สาวระหว่างริตสึโกะกับพ่อของตนเอง
7. มิซาโตะที่ร้องไห้คร่ำครวญกับการตายของคาจิ แล้วชินจิไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้เลย
8. ฯลฯ(ประเด็นสะเทือนขวัญเกือบทุกอย่างในเรื่องนี้มักจะโคจรอยู่รอบๆตัวละครเพศหญิง หรือไม่ก็เก็นโด)

ในตอนที่มิซาโตะพยายามจะมาปลอบ ชินจิก็เลยชักมือหนีโดยทันที

ดังนั้น คาโอรุที่ปรากฏตัวจึงเข้าหาชินจิได้อย่างง่ายดายที่สุดในขณะนั้น เพราะคาโอรุไม่ใช่ผู้หญิง แค่แลกเปลี่ยนบทสนทนาไม่กี่คำ จากที่อารมณ์ดำทะมึนอยู่ในตอนแรก ชินจิก็ยิ้มเก้อเขินได้

ตอนที่นั่งรอคาโอรุหน้าห้องเทส พอเห็นคาโอรุก็รีบเก็บหูฟังทันที(การใส่หูฟังของชินจิเป็นสัญญะของการปิดกั้นตัวเองออกจากโลกภายนอก ฉากนี้เลยสื่อชัดเจนเลยว่าชินจิยอมเปิดใจให้คาโอรุอย่างรวดเร็ว) 

ฉากโรงอาบน้ำ
ชินจิยอมให้คาโอรุสัมผัสมือของตัวเองโดยไม่ชักหนี(เทียบให้เห็นความต่างกับฉากของมิซาโตะ) คาโอรุเป็นคนแรกที่ใช้keyword ในการเรียกลักษณะของชินจิในเชิงบวก ตลอดทั้งเรื่อง คนรอบตัว perceive ลักษณะอ่อนไหวง่ายและยอมคนของชินจิในแง่ลบว่า “อ่อนแอ ไม่สมกับเป็นลูกผู้ชาย” แต่คาโอรุที่เป็นเทวทูต ไม่ได้ใช้บรรทัดฐานทางสังคมของมนุษย์ปกติในการตีค่าลักษณะนี้ของชินจิ เขาใช้คำว่า “เปราะบางเหมือนแก้ว น่าถนุถนอม” และยังเอ่ยว่าชอบชินจิที่เป็นแบบนั้นอีกด้วย จึงทำให้ชินจิรู้สึกได้รับการยอมรับเป็นครั้งแรกจริงๆ


ฉากนอนคุยกันในห้อง
แม้ในฉากจะเป็นการคุยกับไม่กี่ประโยค และดูไม่ค่อยต่อเนื่องหรือเมคเซนส์เสียเท่าไหร่ แต่หากนึกย้อนกลับไปช่วงแรกๆของซีรี่ย์ที่ชินจิเอ่ยปากบอกเรย์(ตัวแทนของเพศหญิง)ฟังว่าชินจิเกลียดพ่อตัวเอง ก็โดนเรย์ตบหน้ากลับมาทันที(rejection/punishment) ในความคิดของชินจิจึงเกิดการเรียนรู้ว่า การเกลียดพ่อ = stigma และหากพูดจะกลายเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมไป(ได้รับpunishment)
แต่เมื่อชินจิได้พูดปมในใจนี้ให้คาโอรุ(เพศชาย)ฟังอีกครั้ง กลับได้รับรางวัล(Acceptance/Reward) กลับมาด้วยคำพูดดีๆ และการยอมรับ(ผมอาจจะเกิดมาเพื่อพบกับนายก็ได้)

การAnxious เรื่องพ่อของชินจิ ถือว่าเป็นcentral trait ของบุคลิกภาพโดยรวมของชินจิ เพราะนั่นเป็นเหตุผลหลักของพฤติกรรมเกือบทุกอย่างของชินจิตลอดทั้งเรื่อง (ไม่อยากโดนเกลียด กลัวการถูกทอดทิ้ง(ฝังใจจากพ่อ) >> จึงขับเอวา)

ดังนั้น คำพูดที่แสดงถึงการยอมรับปมนี้ของชินจิจากปากคาโอรุ = ยอมรับตัวตนโดยแท้ของชินจิ
จึงไม่แปลกที่คุณค่าของคาโอรุที่มีต่อชินจิจะเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณในเวลาอันสั้น)

ที่สำคัญ บทบาทของคาโอรุและชินจิในฉากนี้ที่แสดงถึงบทบาท counselor และ client ในกระบวนการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาชัดเจนมาก

คาโอรุ : นายอยากคุยเรื่องอะไรล่ะ
ชินจิ : เอ๊ะ
คาโอรุ : มีเรื่องที่อยากระบายอยู่ไม่ใช่หรือไง
ชินจิ : ...ตั้งแต่มาที่นี่ ก็มีอะไรเกิดขึ้นหลายอย่าง.. ก่อนหน้านี้ ผมอยู่กับครู ทุกวันเงียบสงบ ไร้ความวุ่นวาย ผมแค่อยู่ไปวันๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่ดี ผมก็ไม่ได้อยากทำอะไรอยู่แล้ว
คาโอรุ : นายเกลียดการอยู่กับคนอื่นเหรอ?
ชินจิ : ก็ไม่ขนาดนั้น ผมไม่สนใจเรื่องนั้นมากกว่า
ชินจิ :...แต่ผมเกลียดพ่อ
ชินจิ(คิด) : (ทำไมเราถึงบอกเรื่องนี้ให้คาโอรุคุงฟังนะ?)
คาโอรุ(ยิ้มให้) : บางทีผมอาจจะเกิดมาเพื่อพบกับนายก็ได้
-----------------

แม้ฟังดูแล้วจะเป็นบทสนทนาที่แปลกและกระโดดไปไวอย่างตามไม่ทัน ดูไม่เห็นมีอะไร(นอกจากคำพูดดูเกย์ๆของคาโอรุ--) แต่นี่เป็น Process ที่พบได้ปกติระหว่างการทำ counselling กับนักจิตวิทยาค่ะ

ย้อนดูอีกรอบ

คาโอรุ : นายอยากคุยเรื่องอะไรล่ะ
ชินจิ : เอ๊ะ
คาโอรุ : มีเรื่องที่อยากระบายอยู่ไม่ใช่หรือไง

>>>** client ส่วนมากจะเริ่มด้วยการมานั่งเงียบๆไม่รู้จะพูดอะไรในห้อง / counselor จะสนับสนุน(encourage)ให้ client เริ่มพูด **


ชินจิ : ตั้งแต่มาที่นี่ ก็มีอะไรเกิดขึ้นหลายอย่าง.. ก่อนหน้านี้ ผมอยู่กับครู ทุกวันเงียบสงบ ไร้ความวุ่นวาย ผมแค่อยู่ไปวันๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่ดี ผมก็ไม่ได้อยากทำอะไรอยู่แล้ว

>>>**client เริ่มพูด เป็นปกติที่client เริ่มด้วยการพูดวกวนเรื่องทั่วไปที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นจริงๆ counselor จะมีหน้าที่คอยรับฟังและปะติปะติต่อเนื้อหาอันกระจัดกระจายของ client** (client บางคนอาจพูดวนไปมาได้เป็นครึ่งชั่วโมงโดยไม่เข้าประเด็นเสียทีอย่างไม่รู้ตัว เพราะคนส่วนมากคนมักจะเข้ารับการcounseling ด้วยความอัดอั้นตันใจ แต่ไม่รู้ว่าเรื่องอะไรกันแน่)

คาโอรุ : นายเกลียดการอยู่กับคนอื่นเหรอ?

>>>**counselor ใช้เทคนิค closed question ถามclient ถามเพื่อยืนยันว่าสิ่งที่ตัวเองปะติปะต่อมาถูกต้องและเข้าใจตรงกับclient หรือไม่**

ชินจิ : ก็ไม่ขนาดนั้น ผมไม่สนใจเรื่องนั้นมากกว่า
ชินจิ :...แต่ผมเกลียดพ่อ

>>>**client ได้เทคนิคคำถามของ counselor ช่วยสะท้อนและ clarify ความคิดของตัวเอง ตัดทอนสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเอง (เกลียดการอยู่กับคนอื่น)ออก และเลือกสิ่งที่ตรงกับตัวเอง(เกลียดพ่อ)ขึ้นมาพูด *

ชินจิ(คิด) : (ทำไมเราถึงบอกเรื่องนี้ให้คาโอรุคุงฟังนะ?)

>>>**client บางคนอาจจะรู้สึกงงหน่อยๆเวลา counselor ใช้เทคนิคการถามกระตุ้นให้ตัวเองพูดถึงสิ่งที่ปกติตัวเองไม่ได้คิดอยู่ในAttention**

นี่คือสิ่งที่ชินจิอยากพูดมากที่สุด เขาอยากระบายความเกลียดชังที่มีต่อพ่อให้ใครซักคนฟัง เป็นสาเหตุที่เขามาขอค้างห้องคาโอรุ เพียงแต่ความคิดนี้โดนกดไว้จนเขาไม่รู้ตัว

ชินจิหันไปเช็คปฏิกริยาของคาโอรุต่อสิ่งที่ตัวเองพลั้งปาก
จากด้านบนที่เราอธิบายฉากตบหน้าจากเรย์ ชินจิมองการบอกว่าเกลียดพ่อว่าเป็น stigma ไปแล้ว และระแวงการโดนปฏิเสธ (fear of rejection)
แต่ชินจิเห็นคาโอรุยิ้มให้กลับมา

คาโอรุ : บางทีผมอาจจะเกิดมาเพื่อพบนายก็ได้ (aka ตัวตนของคุณมีความหมายต่อฉันนะ)

>>>**Counselor’s acceptance/ Unconditional positive regard / Positive affirmation**

Mindfulness และการวางตัวของcounselor ระหว่างการทำcounseling มีความสำคัญมากแม้แต่อิริยาบถที่น้อยที่สุด ยิ่งถ้าอยู่ในโมเม้นที่client เพิ่งพูดสิ่งสำคัญไป clientจะเซนสิทีฟกับอิริยาบทของcounselor เป็นพิเศษ และอาจจะทำให้เกิดการตีความผิดๆได้ (อาจารย์จขกท.เล่าว่าเคยมีทำเคสที่ติดเชื้อ HIV แล้วอาจารย์เอนหลัง2เซนเพราะเมื่อยในจังหวะที่อีกฝ่ายยอมพูด อีกฝ่ายก็ตีความอิริยานั้นว่าอาจารย์รังเกียจโดยทันที)

ความเห็นของเรา การตอบสนองของคาโอรุในฉากนี้ ประสบความสำเร็จในฐานะcounselor เพราะทำให้client รู้สึกว่าได้รับการยอมรับค่ะ

The end of Evangelion - "คนที่อยากเป็นหนึ่งเดียวกันทั้งร่างกายและจิตใจ".jpg

เดี๋ยวจะมาต่อด้านล่างในประเด็น ความสมบูรณ์ของคาโอรุ และความล้มเหลวของมิซาโตะในกระบวนการให้คำปรึกษาต่อชินจิ นะคะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่