EP16 สามเยือนกระท่อมหญ้า (มุมมองที่ต่างจากวรรณกรรม)

EP16 สามเยือนกระท่อมหญ้า (มุมมองที่ต่างจากวรรณกรรม)
(เนื้อหายาวไป มีลิ้งคลิปเสียงด้านล่าง ฝากกดติดตามเป็นกำลังใจ ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะครับ) 
https://youtu.be/HJBZjQok-yI
ขอขอบพระคุณเนื้อหาที่ 
Cr : อี้จงเทียนพิเคราะห์สามก๊ก ซับไทย Ong China
สามเยือนกระท่อมหญ้า คือ เรื่องราวของเล่าปี่  ที่ต้องไปถึงสามครั้ง กว่าได้พบกับขงเบ้ง ซึ่งในวรรณกรรมนั้นเขียนไว้ได้ดีและน่าอ่านมาก โดยไปครั้งแรก ระหว่างทางเด็กเลี้ยงควาย และก็เจอชาวนา กำลังร้องเพลงอยู่ ร้องเพลงไปทำนาไป เล่าปี่ฟังแล้วจึงว่าเนื้อหาของเพลงนั้นดีมาก จึงเข้าไปถามชาวนา ว่าใครเป็นคนแต่งเพลงนี้ ชาวนาก็ตอบว่า อ.ฮกหลงเป็นคนแต่ง พอถึงบ้านขงเบ้ง พบเด็กในบ้าน บอกว่า ขงเบ้ง ไม่อยู่ ไม่รู้ไปไหน และก็ไม่รู้กลับเมื่อไหร่ด้วย พอจะกลับ ก็เจอกับซุยเป๋ง คุยกันอยู่พักนึก จากที่สนทนากัน เล่าปี่ก็รู้สึกถึงความมีปัญญาขอซุยเป๋ง จึงชักชวนซุยเป๋งให้ไปทำงานด้วย แต่ซุยเป๋งปฎิเสธ ไม่ไป

พอไปครั้งที่สอง ถึงโรงเหล้า เห็นโต๊ะข้างๆ นั่งดื่มสุรา ต่างก็ร้องร่ำทำเพลงกัน เนื้อหาในเพลงฟังดูลึกซึ้ง กินใจ เล่าปี่ก็เข้าไปคุย แต่ก็ไม่ใช้ขงเบ้ง แต่เป็นเหล่าบรรดาเพื่อนๆของขงเบ้ง  ก็เลยคิดจะชวนคนเหล่านั้นไปทำงานด้วยอีก แต่ก็ไม่มีใครไป พอถึงบ้านขงเบ้ง ก็ไม่พบขงเบ้งอีก เจอแต่น้องชาย พอจะกลับ เจอพ่อตาขงเบ้ง ร้องเพลงที่มีความหมายดีอีก คราวนี้เล่าปี่ก็ยิ่งอินเข้าไปใหญ่ ว่าใครๆ ก็ต่างร้องเพลงที่ อ.ฮกหลงแต่ง อะไรๆ ก็ อ.ฮกหลง ซึ่งใครๆ ในหมู่บ้านนี้ ช่างดูเป็นคนมีความรู้ไปหมด ตั้งแต่เด็กเลี้ยงควาย ชาวไร่ชาวนา ยัน นักปราชญ์ บัญฑิต ต่างดูทรงภูมิมีความรู้กันหมด แล้วถ้าอย่างนี้ อ.ฮกหลงจะเป็นอย่างไร จะสูงส่งมากแค่ไหน
พอไปครั้งที่สาม จึงได้พบกับขเบ้ง แต่ก็ไม่ง่ายขนาดนั้น ต้องรอขงเบ้งนอนกลางวัน จนเย็นกว่าจะตื่นขึ้นมาคุยกัน นี่คือ เรื่องในพงศวดาร ในวรรณกรรม

แต่ในเรื่องสามเยือนกระท่อมหญ้านี้  ก็ยังมีมุมมองอื่น ที่ต่างออกไป ก็คือใน “บันทึกประวัติย่อแคว้นเว่ย” และ “ชุนชิวเก้าแคว้น” บอกว่า ที่จริงแล้วจูกัดเหลียงนั้น ไปหาเล่าปี่ก่อน เรื่องนี้เกิดขึ้นในปีเจี้ยนอันศกที่ 12 หรือ คศ 207 สถานะการณ์ในตอนนั้น โจโฉได้รวมดินแดนทางตอนเหนือไว้ได้หมดแล้ว และเป้าหมายต่อไป ก็คือ มุ่งทัพลงใต้ ปราบจิงโจว(เกงจิ๋ว)  ดังนั้น จิงโจว(เกงจิ๋ว) ในเวลานั้นจึงคับขันมาก จูกัดเหลียงจึงมุ่งหน้า ขึ้นเหนือออกจากหลงจง ไปพบกับเล่าปี่ ซึ่งตั้งทัพอยู่ที่เมืองฝาน  โดยในตอนนั้นก็ประมาณว่า เป็นการงานจัดเลี้ยง ให้กับเหล่าบัณฑิตหลายๆคน ทำให้ตัวจูกัดเหลียง ก็ไม่ได้เป็นที่น่าสนใจในสายตาของเล่าปี่สักเท่าไรนัก มองแค่เป็นเพียงบัณฑิตธรรมดา เหมือนผู้มีความรู้ทั่วๆ ไป จึงปฎิบัติเทียบเท่ากับคนอื่นๆ 
พองานเลี้ยงเสร็จทุกคนต่างก็แยกย้าย แต่ตัวจูกัดเหลียงนั้นไม่กลับ เข้าไปคุยกับเล่าปี่ก่อน โดยขณะนั้นเล่าปี่กำลังถักหมวก ถักเครื่องประดับอยู่ จูกัดเหลียงจึงเอ่ยถามว่า “เมื่อท่านแม่ทัพมีปณิธานอันยิ่งใหญ่ แล้วเหตุใดจึงมาถักของประดับทำเรื่องพวกนี้” เล่าปี่ได้ฟังถึงกับหยุด หันมามอง  จูกัดเหลียงจึงกล่าวต่อว่า “ขอถามท่านแม่ทัพ หลิวเจิ้นหนาน สู้โจโฉได้ไหม” (หลิวเจิ้นหนาน ก็คือ เล่าเปียว ซึ่งมีตำแห่งเป็น แม่ทัพเจิ้นหนาน) เล่าปี่ตอบ “สู้ไม่ได้” จูกัดเหลียงถามอีก “แล้วตัวท่านแม่ทัพเอง สู้โจโฉได้ไหม” เล่าปี่ตอบ “นั่นก็สู้ไม่ได้” จูกัดเหลียงจึงว่า “เมื่อหลิวเจิ้นหนานสู้ไม่ได้ ท่านแม่ทัพเองก็สู้ไม่ได้ แล้วจะอยู่จิงโจว(เกงจิ๋ว) เพื่อรอความตายงั้นหรือ” เล่าปี่จึงว่า “ก็นั่นล่ะ แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร” จูกัดเหลียงจึงเสนอความคิดและบอกถึงปัญหาของเกงจิ๋วว่าคืออะไร มีอะไรบ้าง ก็คือ “มีคนมากมายที่หนีภัยสงคราม จากทางเหนือ  และคนพวกนี้ ต่างก็ไม่ได้ลงหลักปักฐานและก็ไม่ได้กลายเป็นคนในเกงจิ๋ว ทางราชการก็เลยไม่ได้เอาคนเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ใดๆ  ดังนั้นจึงควรให้คนเหล่านี้ทั้งหมด มาลงทะเบียนไว้ หากคนใดควรเสียภาษี ก็ให้เสียภาษี คนใดใช้ทำงานได้ ก็ให้ทำงาน แล้วคนใดเกณฑ์เป็นทหารได้ ก็ให้มาเกณฑ์เป็นทหาร หากทำตามนี้เกงจิ๋วก็จะเข็มแข็ง สามารถต่อต้านโจโฉได้ นี่คือ เนื้อหาใน “บันทึกประวัติย่อแคว้นเว่ย” และ “ชุนชิวเก้าแคว้น” 
แต่เมื่อนำบันทึกนี้ มาเทียบกับ “จดหมายเหตุสามก๊ก” มีความขัดแย้งกันอยู่ โดยเรื่องราวของ “สามเยือนกระท่อมหญ้า” ในจดหมายเหตุ ฯ นี้ มีที่มาจาก “ฎีกาออกศึกครั้งที่หนึ่ง” ของจูกัดเหลียงในฎีกาออกศึกครั้งแรก พูดไว้อย่างชัดเจนว่า “เดิมข้าคือสามัญชน เอาใจใส่ไร่นา ที่หนานหยาง ซุ่มซ่อนรักษาชีวิตในกลียุค ไม่คิดถามหายศศักดิ์ องค์เล่าปี่ ไม่ถือข้าต้อยต่ำ ลดศักดิ์ลดเกียรติ มาเยือนกระหม่อมสามครั้ง ณ กระท่อมหญ้า ปรึกษากระหม่อมเรื่องบ้านเมือง เพราะว่าซาบซึ้ง แล้วจึงให้องค์เล่าปี่ ได้ช่วงใช้” 
“ฎีกาออกศึก” ระบุชัดเจนว่าเล่าปี่นั้น ไปหาขงเบ้งถึงสามครั้ง โดยนักประวัติศาสตร์ทั้งหลาย ต่างก็ลงความเห็นว่า “ฎีกาออกศึกครั้งที่หนึ่ง” เป็นเรื่องจริงและเป็นเรื่องที่น่าเชื่อถือได้ ดังนั้นเราสามารถปฎิเสธ จดหมายเหตุสามก๊กได้ แต่ฎีกาออกศึกนั้น ปฎิเสธไม่ได้ ว่าจะไม่ใช้เรื่องจริง แต่ก็ด้วยมีความขัดแย้งในเนื้อหาอยู่
อ.อี้จงเทียน แสดงความคิดเห็นในตอนนี้ว่า เราอาจจะไม่จำเป็นต้อง ปฎิเสธทั้ง "บันทึกประวัติย่อแคว้นเว่ย และจดหมายเหตุสามก๊ก คือกล่าวได้ว่า จูกัดเหลียงนั้นไปหาเล่าปี่ก่อน แล้วได้สนทนากัน แต่เล่าปี่ก็ยังไม่ได้มองว่า จูกัดเหลียงเป็นอัจฉริยะบุรุษ ดังนั้นจูกัดเหลีงจึงกลับบ้านไป พอกลับไปถึงบ้านแล้ว เล่าปี่ก็นึกได้ว่า คนๆนี้แหละ จะเป็นคนที่ช่วยให้สำเร็จการใหญ่ จึงจำเป็นต้องไปเชิญจูกัดเหลียงกลับมา แล้วก็ไปหาถึงสามครั้ง ดังนั้นจูกัดเหลียงจึงอาจเป็นคนที่เสนอตัวก่อน หลังจากนั้นเล่าปี่จึงไปเยือนกระท่อมสามครั้ง (นี่เป็นความคิดเห็นของ อ.อี้จงเทียนเท่านั้นนะครับ ไม่มีหลักอะไรมารับรอง)

หากเป็นแบบนี้ แล้วเหตุใดเล่าปี่นั้นอยู่เกงจิ๋วถึงหกปี จึงได้พบกับจูกัดเหลียง ทั้งๆที่ จูกัดเหลียงนั้น  ก็เป็นญาติของเล่าเปียว  และยังมีกลุ่มขุนนางต่างๆ จนถึงเหล่าบัญฑิต นักปราชญ์ในเกงจิ๋ว ต่างก็คบหาสมาคมกับจูกัดเหลียงอยู่ หากเล่าปี่นั้น จะไม่เคยเจอจูกัดเหลียงเลย หรือไม่เคยได้ยินชื่อจูกัดเหลียงเลย อันนี้ก็ฟังดูแล้ว ก็เข้าใจยากอยู่นเหมือนกัน
แต่จากปัญหานี้อาจอธิบายได้เป็น สามเหตุผล ว่า
หนึ่ง จูกัดเหลียงในตอนนั้น ชื่อเสียงยังไม่ดังพอ “จดหมายเหตุสามก๊ก” อธิบายไว้ว่า “จูกัดเหลียงนั้น เปรียบตนดุจ ขวัญต๋ง และงักเย แต่บางคนก็ไม่เห็นคล้อยตาม” คือ จูกัดเหลียงมั่นใจในตัวเองมาก เปรียบความสามารถของตัวเองเทียบเท่าคนโบราณ แต่กลุ่มนักปราชญ์ในเกงจิ๋ว ก็ใช่ว่าจะคิดว่า จูกัดเหลียง นั้น เป็นอัจฉริยะ กันทั้งหมด ดังนั้นเมื่อมีคนแนะนำจูกัดเหลียงให้เกับล่าปี่ เล่าปี่จึงต้องชั่งใจก่อนว่า จูกัดเหลียงนั้นเป็นอัจฉริยะบุรุษจริงๆหรือเปล่า จึงไม่ยอมไปหาจูกัดเหลียงสักที
สอง ด้วยเป้าหมายของจูกัดเหลียงนั้น ตั้งไว้สูง คือ ต้องเป็นที่ปรึกษาเบอร์หนึ่ง ไม่เป็นรองใครในก๊ก แต่ด้วยความสัมพันธ์ของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย สนิทกันยิ่งกว่าญาติ ว่าได้ว่า กินข้าวจานเดียวกัน นอนเตียงเดียวกัน เข็มแทรกไม่เข้า น้ำเทไม่ซึม จะเบียดเข้าไปก็ลำบาก จูกัดเหลียงจึงจำเป็นต้องมีความลังเลอยู่ในใจเป็นแน่ จึงยังไม่คิดออกมาหาเล่าปี่
สาม อาจเป็นด้วยเรื่องของอายุ ก็คือตอนที่จูกัดเหลียงออกมานั้น อายุได้ 26 ปี และเล่าปี่ตอนนั้นอายุ 46 ปี ต่างกันอยู่ 20 ปี หากมองในแง่มุมของเล่าปี่แล้ว เล่าปี่นั้นเป็นผู้ที่ผ่านศึกมานับร้อย แล้วจะให้เชิญคนๆนึง ที่อายุเพียง 26 ปี ที่ไม่เคยมีผลงานอะไรมาก่อนเลย ให้มาเป็นที่ปรึกษาหลักให้กับตนเอง ซึ่งเรื่องแบบนี้ ในความเป็นจริงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย 
ดังนั้นอาจจะสรุปได้สรุปได้ว่า เรื่อง “สามเยือนกระท่อมหญ้า” น่าเชื่อถือได้และน่าจะเป็นเรื่องจริง แต่ เรื่องการเสนอตัวนั้น ยังเป็นที่น่าสงสัยอยู่ 

ส่วนเรื่องการเยือนสามกระท่อมหญ้า ไปสามครั้งจึงได้พบนี้ อาจจะไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้ อ.อี้จงเทียน อธิบายเพิ่มเติมในตอนนี้ว่า หากดูจาก “ฎีกาออกศึก” และ “จดหมายเหตุฯ” นั้น ระบุไว้ว่า “เยือนกระหม่อมสามครั้ง ณ กระท่อมหญ้า ปรึกษากระหม่อมเรื่องบ้านเมือง เพราะว่าซาบซึ้ง แล้วจึงให้องค์เล่าปี่ได้ช่วงใช้” ไม่ได้บอกว่า ไปสามครั้งเจอแค่ครั้งเดียว 
ดังนั้นเป็นไปได้ว่า ไปสามครั้ง ก็อาจจะเจอทั้งสามครั้ง ซึ่งตาม คิดได้ว่า ลักษณะการพูดคุยในตอนนั้น น่าจะเป็นลักษณะที่ “ยิ่งคุยก็ยิ่งเข้มข้น ยิ่งคุยยิ่งถูกคอ ยิ่งคุยยิ่งเห็นสอดคล้องกัน ยิ่งคุยยิ่งรู้สึกดี ยิ่งเข้าใจลึกซึ้ง เล่าปี่และจูกัดเหลียง จึงเห็นพ้องต้องกันว่า ทั้งสองคน คือคนที่ ต่างคนต่างตามหากันและกันมานาน”  และถ้าหากยึดถือข้อสรุปตามนี้แล้ว “สามเยือนกระท่อมหญ้า” ในพงศวดาร ที่เล่าปี่ไปถึงสามครั้งแล้วได้เจอแค่ครั้งเดียวนั้น  จึงเรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมา แต่แม้จะเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมาก็ตาม แต่ก็แต่งได้อย่างงดงามมาก เรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่งดงามเป็นที่สุด เรื่องนึงในสามก๊ก

แล้วทำไมถึงเป็นแบบนี้ ทำไม หลอกว้านจง ถึงเขียนออกมาแบบนี้ อ.อี้จงเทียน แสดงความคิดเห็นในตอนท้ายนี้ว่า
อย่างแรก ก็คือ นิยานหรือวรรณกรรมนั้น เขียนแล้วต้องอ่านสนุก ด้วยเรื่องที่ หลอกว้านจง เขียนสามก๊กในพงศวดารขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือแต่งก็ตาม สำคัญต้องสนุกไว้ก่อน เพราะสิ่งสำคัญของนิยายหรือวรรณกรรมที่ต้องมีนั้น ก็คือ ความสนุกและก็น่าชวนติดตาม
อย่างที่สอง หลอกว้านจง เอาความรู้สึกของตัวเองเข้าไปบรรยายเป็นจูกัดเหลียง ก็คือ หลอกว้านจงนั้น เป็นคนในยุคปลายราชวงค์หยวน ต้นราชวงค์หมิง เคยเป็น เสนาธิการให้กับ จางซื่อเฉิง มาก่อน ซึ่งเป็นกบฎชาวนา ในประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า หลอกว้านจง นั้น มีปณิธานช่วยสร้างชาติ คือ ตัวเขาเอง อยากที่จะเป็นคนที่ช่วยใครสักคนให้เป็นฮ่องเต้ให้ได้ แต่พอหลังจาก   สงครามจบลง กลายเป็นจูหยวนจาง ที่เป็นผู้ชนะ  หลอกว้านจงก็เลยไม่สามารถ ทำฝันให้เป็นจริงได้  ซึ่งก็เหมือนกับจูกัดเหลียง ที่ออกรบแต่ก็พ่ายแพ้ 
ดังนั้น หลอกว้านจง จึงปั้นแต่งจูกัดเหลียงขึ้นมา โดยใส่ความรู้สึกที่เป็นของตัวเองเข้าไปด้วย เอาตัวเองไปเปรียบเทียบเป็นจูกัดเหลียง และด้วยตัวของ หลอกว้านจง นั้น ในฐานะที่เป็นบัณฑิต เป็นคนที่มีการศึกษา จึงเอาเรื่องการเยือนกระท่อมหญ้านี้ มาเขียนให้ดูอลังการมากยิ่งขึ้น 

แต่ว่าอย่างไรก็ตาม เรื่อง สามเยือนกระท่อมหญ้านี้ ไม่จะเป็นเล่าปี่ไปหาก่อน จูกัดเหลียงมาหาก่อน จะไปสามครั้งถึงเจอ หรือเจอทั้งสามครั้งก็ตาม นั้นไม่สำคัญเลย ที่สำคัญที่สุดก็คือ เมื่อเจอกันแล้วคุยเรื่องอะไรกันต่างหาก โดยเราสามารถเรียกบทสนทนาในตอนนั้นสรุปได้ว่า เป็น “ยุทธศาสตร์หลงจง” และ “ยุทธศาสตร์หลงจง”นี้ กลายเป็นยุทธศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงมากของจีนโบราณ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า เมื่อเจ็ดปีก่อน คือ ปีเจี้ยนอันศกที่ 5 มีคนๆนึง ให้คำแนะนำกับซุนกวน ด้วยเนื้อหาอย่างเดียวกันนี้ คือ เสนอว่าให้แยกเป็นสามก่อน แล้วค่อยรวมเป็นหนึ่ง คนๆ นั้นเป็นใครกัน พบกันตอนหน้า กับ EP17 “ยุทธศาสตร์หลงจง”
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่