จริง ๆ แล้วเยอรมันกับรัสเซีย อันไหนยากกว่ากันครับ

ผมอยากรู้อยู่หลายเรื่องpinkroseyellowrose。。

======
1) ไวยากรณ์ | ถ้าเป็นคนไทย ที่ไม่มีพื้นฐานภาษาตระกูลสลาฟ เหมือนคนสโลวัค หรือ โครเอเชีย และ ไม่รู้ภาษาตระกูล germanic มาก่อน ภาษาไหนยากกว่ากันครับ

2) เรื่องงาน | เรียนภาษาไหนมีโอกาสหางานได้ง่ายกว่ากัน

3) ชีวิตความเป็นอยู่ | ระหว่าง 2 ภาษานี้ เรียนภาษาไหนแล้วจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
=====

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ขอตอบในฐานะของคนที่เรียนสองภาษานี้ในระดับสูงๆนะครับ
ภาษารัสเซียเริ่มแรกจะยาก ต้องจำต่างๆมากมาย กฎมีเยอะพอสมควร แต่ถ้าเราผันคล่องแล้วมันจะง่ายตรงที่การพูดค่อนข้างมีอิสระในการวางประโยคขอแค่ผันให้ถูก
ภาษาเยอรมันเริ่มแรกจะง่าย แต่จะยากขึ้นเมื่อเรียนไต่ระดับสูงๆไป การพูดภาษาเยอรมันที่โครงสร้างประโยคที่ซับซ้อนจะยากตรงที่ลำดับตำแหน่งคำ รูปแบบประโยคมันกำหนดค่อนข้างตายตัว ถ้าไม่แม่นพูดไปพังทั้งประโยค

ถึงกระนั้นภาษารัสเซียและเยอรมันเรียนร่วมกันได้  แต่ไม่ควรเริ่มพร้อมกัน จากประสบการณ์ ผมเรียนภาษารัสเซ๊ยในหลักสูตร ป ตรี ที่ไทย จนถึงปี สาม แล้วเริ่มเรียนภาษาเยอรมัน อัดเรียนถึงระดับ A2 ที่เกอเธ่ แล้วพอจบ ป ตรี ผมมาต่อ ป โท ที่รัสเซีย เป็นหลักสูตรพหุภาษาและการแปล (แปลภาษาเยอรมัน+รัสเซีย) ซึ่งมีโอกาสได้เรียนภาษาระดับสูงๆขึ้นไปอีกทั้งสองภาษา ซึ่งในระดับกลางๆ สองภาษานี้ส่งเสริมกันมาก แต่ภาษาเยอรมันที่เรียนที่รัสเซียสอนค่อนข้างโหดพอสมควรต้องอ่านวรรคดีอาทิตย์ละห้าสิบหน้า แต่หลังจบหลักสูตรป โทนี้ ความรู้ภาษาเยอรมันอยู่ประมาณระดับกลางๆค่อนไปทางสูง (สื่อสารคล่อง เข้าใจภาษาพูด85% แต่ภาษาเฉพาะทางจะยังด้อยอยู่) แต่ความรู้ภาษารัสเซียจะสูงกว่าตามสภาพแวดล้อมที่มาอาศัยในประเทศรัสเซีย ตอนนี้ผมทำวิจัยตามหลักสูตร ป เอก ที่ประเทศรัสเซีย (จริงๆจะไปเยอรมันทุกอย่างผ่านหมดแล้ว สอบความรุ้ภาษาผ่านแล้ว แต่ติดตรงวุติปโท จากรัสเซียมันมีปัญหานิดหน่อย) ซึ่งงานวิจัยเป็นการเปรียบเทียบเชิงภาษาศาสตร์สามภาษา (รัสเซีย เยอรมัน และไทย) และพวกบทความวิจัย บทความวิชาการต่างๆผมก็เขียนเป็นภาษารัสเซียและเยอรมันหลายชิ้น ภาษาเขียนสองภาษานี้ (ถ้าระดับสูง) ยากและมึนพอๆกัน แต่มุมมองผมในฐานะที่เรียนสองภาษานี้ไต่มาระดับสูงๆ ขอให้ความเห็นว่า ภาษาเยอรมัน ในระดับสูงจะยากกว่ารัสเซียครับ โดยเฉพาะภาษาพูดเชิงวิชาการ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่