ถ้าเราจะกล่าวถึงพิธีกรวัยเก๋าที่ยืนหยัดกับรูปแบบรายการตามถนัดมาอย่างยาวนาน คงจะต้องนึกถึงบุคคลสองท่านนี้
คนแรกคือ "วิทวัส สุนทรวิเนตร์" อีกคนคือ "ไตรภพ ลิมปพัทธ์" พิธีกรลูกหม้อช่อง 3 แห่งยุคนี้นั่นเอง
ปัจจุบันแต่ละท่านยังคงมีรายการของตัวเองออกอากาศในภาคกลางวัน ทางช่องเดียวกัน
วิทวัสมากับรายการ "ตีสิบ" หรือ "ตีสิบเดย์" ขณะที่ไตรภพมากับรายการ "ทูเดย์โชว์"
แม้จะเป็นรายการที่ใช้ชื่อมาได้ไม่นานนัก แต่ในสายตาของผู้ที่เติบโตกับทีวีมานานกว่า 30 ปี คงจดจำได้กับรายการแนวเดียวกันในชื่อที่คุ้นตาเมื่อครั้งอดีต
เดิมที วิทวัสก่อร่างสร้างตัวมาจากรายการ "คืนนี้ที่ช่อง 9" เมื่อปี 2531 ซึ่งผลิตโดย บริษัท แปซิฟิคฯ พอรายการย้ายช่องก็ต้องเปลี่ยนชื่อรายการให้แลดูเหมาะสมเป็น "ที่นี่กรุงเทพฯ" แต่ออกอากาศได้ไม่นานก็เกิดการความขัดแย้งครั้งใหญ่ วิทวัสจึงตัดสินใจมาทำรายการที่ผลิตโดยบริษัทของพ่อตา
และนั่นคือที่มาของรายการวาไรตี้สดใหม่สไตล์
"สี่ทุ่มสแควร์" เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2532 ทุกคืนวันพฤหัสบดี ทางช่อง 7 สี ทีวีเพื่อคุณ
ส่วนไตรภพซึ่งทำรายการ ฝันที่เป็นจริง จนประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ก็ได้เวลาเปิดมิติใหม่ด้วยรายการวาไรตี้โชว์แบบสบาย ๆ ตอนเย็น ๆ วันอาทิตย์ ทางช่อง 3 ให้ชื่อว่า
"ทไวไลท์ โชว์" โดยได้ฤกษ์วันที่ 14 ตุลาคม 2533 เป็นวันออกอากาศครั้งแรกของรายการ*
จากแรกเริ่มที่ไม่เป็นที่รู้จักกันดีนัก พอค่อย ๆ ออกอากาศไปได้หลายครั้ง รายการทั้งสองก็กลายเป็นขวัญใจของมหาชนไปแล้ว
ด้วยการคิดรูปแบบการนำเสนอที่ไม่ซ้ำใคร ไม่ทำให้ผู้ชมเคร่งเครียด จึงทำให้มีแขกรับเชิญมาร่วมรายการไว้มากมายหลายระดับ
แม้กระทั่งศิลปินหลายค่ายต่างหมายปองรายการเหล่านี้เพื่อเป็นช่องทางในการแนะนำผลงานของตน หรือจะเป็นคนที่ห่างหายจากวงการก็ยังมาเปิดใจและร่วมแสดงผ่านรายการไปด้วย
นั่นคือสูตรสำเร็จของสองรายการวาไรตี้ระดับตำนาน นับเป็นปรากฏการณ์ที่เริ่มต้นขึ้นท่ามกลางการขยายตัวของธุรกิจสื่อโทรทัศน์
แม้ว่ารายการจะเหลือเพียงชื่อไว้ประทับในอ้อมใจ แต่ผู้ยิ่งใหญ่ยังไม่ตีจากไปไหน ตราบที่ยังมีผู้คนมาช่วยเสริมให้รายการในชื่อใหม่คงความขลังไปก็ตาม
แล้วคุณรู้ว่าฉากแรกของ "สี่ทุ่มสแควร์" กับ "ทไวไลท์ โชว์" ออกมาเป็นอย่างไร เราขอพื้นที่ต่อไปนี้ให้คุณได้พอซึมซาบ แล้วมาร่วมคิดถึงกัน สวัสดี.
เทปแรกของรายการ "สี่ทุ่มสแควร์" (ข่าวจาก มติชน, 3 ส.ค. 2532)
ฉากแรกของวาไรตี้ยามเย็น "ทไวไลท์ โชว์" (ข่าวจาก ข่าวสด, 2 ต.ค. 2533)
*เดิมรายการ ทไวไลท์ โชว์ จะเริ่มออกอากาศในวันที่ 7 ต.ค. แต่มีการถ่ายทอดสดพิธีปิดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ จึงเลื่อนกำหนดออกอากาศเป็นอาทิตย์ถัดมา
เผยภาพแรกของ "สี่ทุ่มสแควร์-ทไวไลท์โชว์" วาไรตี้แห่งตำนาน...30 ปีแล้วจ้า
คนแรกคือ "วิทวัส สุนทรวิเนตร์" อีกคนคือ "ไตรภพ ลิมปพัทธ์" พิธีกรลูกหม้อช่อง 3 แห่งยุคนี้นั่นเอง
ปัจจุบันแต่ละท่านยังคงมีรายการของตัวเองออกอากาศในภาคกลางวัน ทางช่องเดียวกัน
วิทวัสมากับรายการ "ตีสิบ" หรือ "ตีสิบเดย์" ขณะที่ไตรภพมากับรายการ "ทูเดย์โชว์"
แม้จะเป็นรายการที่ใช้ชื่อมาได้ไม่นานนัก แต่ในสายตาของผู้ที่เติบโตกับทีวีมานานกว่า 30 ปี คงจดจำได้กับรายการแนวเดียวกันในชื่อที่คุ้นตาเมื่อครั้งอดีต
เดิมที วิทวัสก่อร่างสร้างตัวมาจากรายการ "คืนนี้ที่ช่อง 9" เมื่อปี 2531 ซึ่งผลิตโดย บริษัท แปซิฟิคฯ พอรายการย้ายช่องก็ต้องเปลี่ยนชื่อรายการให้แลดูเหมาะสมเป็น "ที่นี่กรุงเทพฯ" แต่ออกอากาศได้ไม่นานก็เกิดการความขัดแย้งครั้งใหญ่ วิทวัสจึงตัดสินใจมาทำรายการที่ผลิตโดยบริษัทของพ่อตา
และนั่นคือที่มาของรายการวาไรตี้สดใหม่สไตล์ "สี่ทุ่มสแควร์" เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2532 ทุกคืนวันพฤหัสบดี ทางช่อง 7 สี ทีวีเพื่อคุณ
ส่วนไตรภพซึ่งทำรายการ ฝันที่เป็นจริง จนประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ก็ได้เวลาเปิดมิติใหม่ด้วยรายการวาไรตี้โชว์แบบสบาย ๆ ตอนเย็น ๆ วันอาทิตย์ ทางช่อง 3 ให้ชื่อว่า "ทไวไลท์ โชว์" โดยได้ฤกษ์วันที่ 14 ตุลาคม 2533 เป็นวันออกอากาศครั้งแรกของรายการ*
จากแรกเริ่มที่ไม่เป็นที่รู้จักกันดีนัก พอค่อย ๆ ออกอากาศไปได้หลายครั้ง รายการทั้งสองก็กลายเป็นขวัญใจของมหาชนไปแล้ว
ด้วยการคิดรูปแบบการนำเสนอที่ไม่ซ้ำใคร ไม่ทำให้ผู้ชมเคร่งเครียด จึงทำให้มีแขกรับเชิญมาร่วมรายการไว้มากมายหลายระดับ
แม้กระทั่งศิลปินหลายค่ายต่างหมายปองรายการเหล่านี้เพื่อเป็นช่องทางในการแนะนำผลงานของตน หรือจะเป็นคนที่ห่างหายจากวงการก็ยังมาเปิดใจและร่วมแสดงผ่านรายการไปด้วย
นั่นคือสูตรสำเร็จของสองรายการวาไรตี้ระดับตำนาน นับเป็นปรากฏการณ์ที่เริ่มต้นขึ้นท่ามกลางการขยายตัวของธุรกิจสื่อโทรทัศน์
แม้ว่ารายการจะเหลือเพียงชื่อไว้ประทับในอ้อมใจ แต่ผู้ยิ่งใหญ่ยังไม่ตีจากไปไหน ตราบที่ยังมีผู้คนมาช่วยเสริมให้รายการในชื่อใหม่คงความขลังไปก็ตาม
แล้วคุณรู้ว่าฉากแรกของ "สี่ทุ่มสแควร์" กับ "ทไวไลท์ โชว์" ออกมาเป็นอย่างไร เราขอพื้นที่ต่อไปนี้ให้คุณได้พอซึมซาบ แล้วมาร่วมคิดถึงกัน สวัสดี.