[SR] แชร์ประสบการณ์การนำเข้าสินค้าจากจีนแบบเหมาตู้

#นำเข้าสินค้าจากจีน
หลายคนที่นำเข้าสินค้าจากจีนอยู่

อาจจะมีคำถามว่า เราจะเพิ่มกำไรได้อย่างไรเพราะขายดีขึ้น?  อยากทำเป็นอาชีพหลัก?  
วันนี้ผมอยากมาแนะนำว่าขนส่งแบบไหน ช่วยเพิ่มกำไรให้เราได้ มาดูกันครับ


“การเลือกรูปแบบการขนส่งที่เหมาะสม…เป็นหัวใจสำคัญของการทำสินค้านำเข้า”
เมื่อคุณเริ่มเข้าสู่ธุรกิจนำเข้าคุณจะพบว่าต้นทุนหลักๆที่ต้องเจอคือ ค่าสินค้าและค่นขนส่ง


สำหรับรูปแบบการขนส่งเราแบ่งประเภทหลัก 2 อย่างด้วยกันคือ
1.การนำเข้าแบบเหมาทั้งตู้ (FCL)
คือ สินค้าทั้งตู้เป็นสินค้าของเราเพียงคนเดียว ไม่มีของคนอื่นรวมอยู่ เพราะเราเหมามาแล้วทั้งตู้
โดยตู้ container ก็จะมีหลายขนาด เช่น 20 ฟุต 40 ฟุต เป็นต้น
2.การนำเข้าแบบรวมตู้ (LCL)
คือ การซื้อพื้นที่ภายในตู้แค่บางส่วน เช่น 5 CBM 10 CBM เพื่อแชร์ค่าใช้จ่ายในการนำเข้าสินค้ากับหลายๆคนที่นำเข้าทีละไม่เยอะมาก

รูปแบบการขนส่งแบบไหนเหมาะกับสินค้าเรา ???
ไม่ว่าจะเป็นคนเริ่มต้นหรือว่าคนที่ทำมาซักพัก ก็ต้องตัดสินใจเรื่องนี้อยู่บ่อยๆ
ก่อนจะตอบคำถามว่าแบบไหนคุ้มกว่ากัน ก่อนอื่นลองไปทำความรู้จักกับการวิธีคิดขนาดสินค้า
เพื่อนำมาคำนวณราคาค่าขนส่งกันก่อนโดยการหาค่า CBM หรือที่เรามักเรียกว่า “คิว” เขาคิดกันอย่างไรไปดูพร้อมๆกันเลยครับ

รู้จักกับค่า “คิว” หรือ “CBM”
CBM หรือคิวบิกเมตร คือค่าปริมาตร ใช้สำหรับระบุ “ขนาดสินค้า”
โดยขนาดของสินค้านี่เองเป็นส่วนสำคัญที่ต้องนำไปคำนวณค่าขนส่งในการนำเข้าสินค้า

วิธีคิด CBM

1 CBM  คือค่าปริมาตรของสินค้า  โดยวัดจาก กว้าง x ยาว x สูง (หากคิดจากหน่วยเซนติเมตร ให้นำไปหาร 1,000,000 เสมอ)
สรุปสูตรง่ายๆคือ 1 CBM = (100x100x100cm) ÷ 1,000,000
ยกตัวอย่าง นำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าบรรจุใส่ลังไม้ขนาด 90x120x120 (หน่วยเป็น cm)
วิธีคิด CBM ง่ายๆคือ  >> (90x120x120cm) ÷ 1,000,000 = 1.296 CBM
ซึ่ง 1.296 CBM จะเป็นขนาดสินค้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าลังนี้


ทีนี้เมื่อเรารู้วิธีคำนวณ CBM แล้ว ดีอย่างไร
มาดูการนำ CBM ไปใช้วางแผนในการเลือกวิธีการนำเข้าทั้งสองรูปแบบ

   1. การเลือกใช้การนำเข้าแบบ FCL (Full Container Load)
ถ้ากรณีที่สินค้าเยอะมาก จะประหยัดค่าใช้จ่ายมาก โดย 1 ตู้สั้นขนาดเล็กสุดจะอยู่ที่ขนาด 20 ฟุต
สามารถจุได้ประมาณ 33 CBM 
ซึ่งส่วนตัวแนะนำว่าถ้าของเรามีมากกว่า 15 CBM การใช้วิธีการส่งแบบ FCL ก็ถือว่าคุ้มแล้วละครับแถมเร็วด้วยไม่ต้องรอรวมของกับคนอื่นๆ

    2. การเลือกใช้การนำเข้าแบบ LCL (Less Container Load)
บางคนอาจจะเพิ่งเริ่มต้นนำเข้า ยังมีสินค้าต่อรอบไม่เยอะมาก ก็ใช้เป็นการซื้อพื้นที่
โดยคิดจากพื้นที่ที่เราใช้จริง เช่น ถ้าหากสินค้านำเข้าของเรามีขนาดเพียง 1 CBM
จะมีการแบ่งขายพื้นที่ภายในตู้ให้ซึ่งก็จะเอาค่า CBM มาคุยกับเรทราคาค่าส่ง เช่น คิวละ 5000 บาท เป็นต้น

การนำเข้าแบบเหมาทั้งตู้ (FCL) เหมาะกับใครบ้าง
- ผู้ที่ต้องการนำเข้าสินค้าปริมาณมากๆ เพื่อให้ได้ต้นทุนสินค้าที่ถูกลง เพิ่มกำไรต่อหน่วย
- ผู้ที่ไม่ต้องการแชร์พื้นที่กับใคร อาจจะเพราะว่าสินค้ามีมูลค่าสูง บางคนนำเข้าไม่กี่คิวแต่เลือกใช้แบบ FCL เพราะกลัวสินค้าเสียหาย
- ผู้ที่ต้องความเร็วในการนำเข้าไม่ต้องการรอให้รวมของจนเต็มตู้ถึงส่งออก อาจจะเสียเวลานานเป็นอาทิตย์กว่าจะได้นำเข้ามา
- ผู้ที่ต้องการเลือกตู้สำหรับการขนส่งแบบเฉพาะ เช่น

ตู้แบบเปิดหลังคา (open top) เพื่อใส่ของใหญ่ๆที่ตู้ธรรมดาใส่ไม่ได้


ตู้แบบรักษาอุณหภูมิ  เป็นต้น


การนำเข้าแบบรวมตู้ (LCL) เหมาะกับใครบ้าง
- ผู้ค้าที่เพิ่งเริ่มต้นสั่งปริมาณไม่มาก อาจอยู่ในขั้นของการทดลองตลาด
- สินค้ามีมูลค่าไม่สูงมาก สามารถใช้ตู้ร่วมกับคนอื่นได้
- ผู้ที่ความเร็วไม่ใช่ปัญหา บางคนไม่รีบมากก็ใช้วิธีรอรวมตู้กับคนอื่นเข้ามา
- ผู้ที่ต้องการใช้ตู้แบบมาตฐานในการขนส่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตู้ธรรมดาขนาด 40 ฟุต

เพิ่มเติมครับ
ไม่ว่าจะเป็นการเหมาตู้หรือรวมตู้ นอกจากค่าขนส่งที่ต้องวางแผนดีๆแล้ว

จะมีค่าดำเนินการอื่นๆอีก ที่คนนำเข้าสินค้าต้องคิดเผื่อด้วย
เช่น ค่าธรรมเนียมต่างๆ ค่าเดินเอกสาร ค่าเช่าโกดังพักสินค้า ค่าชิปปิ้ง ค่าประกันต่างๆ
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นแบบ LCL หรือ FCL ก็มีค่าดำเนินดังกล่าวไม่ต่างกันมากครับ


สรุปกันสั้นๆอีกทีครับ
- ต้นทุนค่าขนส่งเป็นสิ่งสำคัญพอๆกับต้นทุนค่าสินค้า การเลือกรูปแบบการขนส่ง ( FCL vs LCL) ถึงต้องเลือกอย่างเหมาะสม
- การคำนวนหา CBM ก่อนจะช่วยให้เราประเมิณทางเลือกในการใช้รูปแบบขนส่งได้มีอย่างประสิทธิ์ภาพ
- การเลือกรูปแบบการขนส่งนอกจากเรื่อง ราคา แล้วเราควรคำถึงความเร็วและความปลอดภัยของสินค้า การขนส่งแบบเต็มตู้(FCL)
  นั้นมีทางเลือกที่มากกว่าไม่ว่าจะเป็นความเร็ว ไปจนทิ้งประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ที่เหมาะสมกับสินค้าของเรา
- สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มทดลองตลาด มีการนำเข้าสินค้าไม่มาก การส่งแบบรวมตู้หรือ LCL เป็นทางเลือกที่ลงตัวสำหรับการนำเข้าของคุณ


หากสนใจรายละเอียดเเพิ่มเติมเกี่ยวกับกับนำเข้าแบบ FCL LCL  
อยากลดต้นทุนการนำเข้า ทักมาพูดคุยกันได้ครับ ยินดีให้คำปรึกษา LINE:@fasttrade
หรือลองเข้าไปดูเกี่ยวกับบริการของเราที่ http://fasttrade.in.th  
ยินดีให้คำปรึกษาตลอดครับ ^__^


ชื่อสินค้า:   นำเข้าสินค้าจากจีน
คะแนน:     

SR - Sponsored Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ SR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - ได้รับสินค้ามาใช้รีวิวฟรี โดยต้องคืนสินค้าให้เจ้าของสินค้า
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างแต่ได้รับผลประโยชน์อย่างอื่น เช่น บัตรกำนัล ค่าเดินทางตามจริง

    ข้อมูลเพิ่มเติม

  • ได้รับส่วนลดค่าขนส่ง
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่