อ.รัฐศาสตร์ จุฬาฯ ชี้ ตอนนี้ไทยไม่ใช่ ‘ปชต.ครึ่งใบ’ แต่เป็น ‘ประชาธิปไตยสลึงเดียว’
https://www.matichon.co.th/politics/news_1536453
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผศ.ดร.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ รองคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความเห็นกับ
‘มติชนออนไลน์’ ต่อกรณีผู้ตั้งข้อสังเกตอย่างกว้างขวางว่าการเมืองไทยในขณะนี้ เข้าข่าย
‘ประชาธิปไตยครึ่งใบ’ เทียบเคียงยุคพลเอก
เปรม ติณสูลานนท์ ว่า ปัจจัยในช่วงเวลานี้กับเมื่อ 40 ปีก่อนนั้นแตกต่างกัน และตนมองว่า นี่ไม่ใข่ประชาธิปไตยแบบ 50/50 แต่เป็นประชาธิปไตยสลึงเดียว
“
ในสภาวะอย่างนั้น (40 ปีก่อน) เป็นการประนีประนอมระหว่างภาคราชการ กองทัพ กับฝ่ายการเมือง คือเลือกตั้งครึ่งหนึ่ง แต่งตั้งครึ่งหนึ่ง พบกันครึ่งทาง แต่ให้สิทธิของวุฒิสภาเหนือกว่าสภาผู้แทนราษฎร แต่ปีนี้ผมเรียกมาตลอดว่าเป็นประชาธิปไตยสลึงเดียว ไม่ใช่ 50/50 แต่เป็น 1 ใน 4 เสียงของประชาชน มิอาจเป็นเสียงแห่งความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาลได้ ในทางกลับกัน กลายเป็นพรรคเสียงข้างน้อยบวกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง สามารถจัดตั้งรัฐบาลโดยที่ไม่ผนวกรวมกับเสียงส่วนใหญ่ในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งโดยมารยาทควรเป็นพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลก็ไม่ได้เป็นแกนนำ นี่คือสภาวะที่ต่างไปจาก 2521 รวมทั้งจังหวะของการลงตัวซึ่งยุคนั้นมีปัจจัยจากสงครามเย็น จากการเติบโตของพลังราชการ และพลังนอกราชการที่ยังไม่โตมาก แต่ ณ ปีนี้มีเงื่อนไขต่างกัน อย่างยุค พล.อ.เปรม การที่ พล.อ.เปรมไปดูโผทหารทุกครั้งก็เป็นการประกันความมั่นคงของรัฐบาลเปรมที่ยืนยาวได้ถึง 8 ปี” ผศ.ดร.
บัณฑิตกล่าว
ส่วนประเด็นที่สังคมตั้งคำถามว่า แม้พลเอก
ประยุทธ์ และพลเอก
เปรม ต่างก็เป็นทหาร แต่ใช่ว่า
‘บารมี’ ทางการเมืองของทั้ง 2 จะเท่ากัน อันอาจส่งผลต่อการอยู่สั้นหรืออยู่ยาวบนเก้าอี้นายกฯ นักรัฐศาสตร์ท่านนี้กล่าวว่า
“ผมว่าต้องดูกันไป เพราะบารมีของ พล.อ.ประยุทธ์คงไม่เหมือน พล.อ.เปรม และไม่เท่า อาจไม่มีวันเท่าด้วย คำถามพื้นๆ คือ พล.อ.ประยุทธ์คุมโผทหารได้ไหม ถ้าคุมได้ก็โอเค เรียกโผทหารไปดูได้ไหม ไปขอคุยได้ไหม (หัวเราะ) ผมว่ามันจะไม่เหมาะเอา ยุคนี้คงไม่เหมือนในเงื่อนไขดังกล่าว”
ผศ.ดร.
บัณฑิต กล่าวด้วยว่า สำหรับการที่ รัฐธรรมนูญ 2521 ถูกใช้ยาวนานกว่า 12 ปี และพลเอก
เปรมก็ ‘อยู่ยาว’ ถึง 8 ปี ทว่า รัฐธรรมนูญดังกล่าว มีการแก้ไขเรื่อยมา โดยเฉพาะก่อนเกิดรัฐประหารเมื่อ พ.ศ.2534 นอกจากนี้ ยังมีความเปลี่ยนแปลงบางอย่างทางความคิดเกิดขึ้นในช่วงปลายรัฐบาลพลเอก
เปรม ภายใต้พลังของ
‘ภาคเอกชน’ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับห้วงเวลานี้ มีสภาพการณ์ที่ต่างออกไป
“จริงๆ รัฐธรรมนูญฉบับนั้นมีการแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนการรัฐประหารปี 2534 มีการแก้ไขในส่วนที่ว่าด้วยประธานรัฐสภา หรือการยอมรับหลักการว่า ตัวแทนของประชาชนควรเหนือที่สุดในสถาบันทั้ง 3 คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ตุลาการ และบริหาร และมีช่วงหนึ่งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ฉลองว่าเรามีตัวแทนของ 3 สถาบัน ผมเองก็อยู่ในช่วงนั้น โตมา และเห็นความภาคภูมิใจของการที่สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งเชิดชูว่าเรามีตัวแทนของประมุขทั้ง 3 สถาบัน ทั้งนี้ เป็นการสะท้อนความศรัทธาที่มีต่อระบอบการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญ 2521 แต่เปลี่ยนในตอนท้าย คือไม่ได้อยู่นิ่งตายตัว อำนาจการต่อรองไม่ได้หยุดนิ่งตายตัว
ในช่วงปลายยุคเปรมเราจะเห็นการเติบโตในพลังของภาคเอกชนที่รู้สึกว่า การให้ทหารมานั่งกำกับนโยบาย เศรษฐกิจ การมือง ไม่ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลง แรงผลักดันที่ทำให้ พล.อ.ชาติชายได้เป็นนายกฯก็ออกมาอย่างชัดเจน ในลักษณะฎีกา 99 คนที่ทำให้ พล.อ.เปรม ประกาศว่าผมพอแล้ว ต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ
แต่ในปีนี้เราไม่ได้มีเงื่อนไขแบบนั้น มันต่างกัน เพราะถ้าเราลองนึกถึงการเมืองช่วงสิบปีที่ผ่านมา โจทย์ใหญ่ไม่ใช่สงคารมเย็นแล้ว แต่เป็นสงครามภายใน เป็นสงครามที่เราปะทะกันเอง แล้วกองทัพจับปืนเข้าจัดการความขัดแย้ง แล้วแทรกแซงทางการเมือง เราต้องเข้าใจโจทย์ตรงนี้ก่อน ดังนั้น รัฐธรรมนูญ 2560 จึงออกแบบมาเพื่อธำรงอำนาจบางอย่าง ถึงขั้นที่มีตำแหน่งถาวรของกองทัพในวุฒิสภา 6 ตำแหน่ง อย่างที่คนบอกว่าสรรหา 250 แต่ความจริงแล้วสรรหาเพียง 244 คน เพราะ 6 เก้าอี้นี้ลอยมา เป็นตำแหน่งที่รับเงินเดือน 2 ทาง เป็นตำแหน่งที่พิเศษที่สุด (หัวเราะ) ในโครสร้างแบบนี้ผมถึงเรียกว่า ประชาธิปไตยสลึงเดียว
ภายใต้เงื่อนไขแบบนี้จึงไม่ใช่สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในรัฐธรรมนูญ 2521 อีกทั้งยังเป็นความท้าทายที่คนในรัฐบาลเอง ซึ่งตอนนี้ยังไม่สามารถตั้งรัฐบาลได้เลย ด้วยเหตุที่เขาไม่มีกองทัพหนุนหลังขนาดนั้น และกองทัพเองก็ต้องลังเลใจเพราะเงื่อนไขต่างกัน” รองคณบดีรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว
JJNY : อ.รัฐศาสตร์จุฬาฯ ชี้ตอนนี้ไม่ใช่เป็น ‘ปชต.สลึงเดียว’ฯ/"สุริยะ"น้อยใจบินต่างประเทศ หลังเก้าอี้รมต.ไม่ลงตัว
https://www.matichon.co.th/politics/news_1536453
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ รองคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความเห็นกับ ‘มติชนออนไลน์’ ต่อกรณีผู้ตั้งข้อสังเกตอย่างกว้างขวางว่าการเมืองไทยในขณะนี้ เข้าข่าย ‘ประชาธิปไตยครึ่งใบ’ เทียบเคียงยุคพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ว่า ปัจจัยในช่วงเวลานี้กับเมื่อ 40 ปีก่อนนั้นแตกต่างกัน และตนมองว่า นี่ไม่ใข่ประชาธิปไตยแบบ 50/50 แต่เป็นประชาธิปไตยสลึงเดียว
“ในสภาวะอย่างนั้น (40 ปีก่อน) เป็นการประนีประนอมระหว่างภาคราชการ กองทัพ กับฝ่ายการเมือง คือเลือกตั้งครึ่งหนึ่ง แต่งตั้งครึ่งหนึ่ง พบกันครึ่งทาง แต่ให้สิทธิของวุฒิสภาเหนือกว่าสภาผู้แทนราษฎร แต่ปีนี้ผมเรียกมาตลอดว่าเป็นประชาธิปไตยสลึงเดียว ไม่ใช่ 50/50 แต่เป็น 1 ใน 4 เสียงของประชาชน มิอาจเป็นเสียงแห่งความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาลได้ ในทางกลับกัน กลายเป็นพรรคเสียงข้างน้อยบวกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง สามารถจัดตั้งรัฐบาลโดยที่ไม่ผนวกรวมกับเสียงส่วนใหญ่ในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งโดยมารยาทควรเป็นพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลก็ไม่ได้เป็นแกนนำ นี่คือสภาวะที่ต่างไปจาก 2521 รวมทั้งจังหวะของการลงตัวซึ่งยุคนั้นมีปัจจัยจากสงครามเย็น จากการเติบโตของพลังราชการ และพลังนอกราชการที่ยังไม่โตมาก แต่ ณ ปีนี้มีเงื่อนไขต่างกัน อย่างยุค พล.อ.เปรม การที่ พล.อ.เปรมไปดูโผทหารทุกครั้งก็เป็นการประกันความมั่นคงของรัฐบาลเปรมที่ยืนยาวได้ถึง 8 ปี” ผศ.ดร.บัณฑิตกล่าว
ส่วนประเด็นที่สังคมตั้งคำถามว่า แม้พลเอกประยุทธ์ และพลเอกเปรม ต่างก็เป็นทหาร แต่ใช่ว่า ‘บารมี’ ทางการเมืองของทั้ง 2 จะเท่ากัน อันอาจส่งผลต่อการอยู่สั้นหรืออยู่ยาวบนเก้าอี้นายกฯ นักรัฐศาสตร์ท่านนี้กล่าวว่า
“ผมว่าต้องดูกันไป เพราะบารมีของ พล.อ.ประยุทธ์คงไม่เหมือน พล.อ.เปรม และไม่เท่า อาจไม่มีวันเท่าด้วย คำถามพื้นๆ คือ พล.อ.ประยุทธ์คุมโผทหารได้ไหม ถ้าคุมได้ก็โอเค เรียกโผทหารไปดูได้ไหม ไปขอคุยได้ไหม (หัวเราะ) ผมว่ามันจะไม่เหมาะเอา ยุคนี้คงไม่เหมือนในเงื่อนไขดังกล่าว”
ผศ.ดร. บัณฑิต กล่าวด้วยว่า สำหรับการที่ รัฐธรรมนูญ 2521 ถูกใช้ยาวนานกว่า 12 ปี และพลเอกเปรมก็ ‘อยู่ยาว’ ถึง 8 ปี ทว่า รัฐธรรมนูญดังกล่าว มีการแก้ไขเรื่อยมา โดยเฉพาะก่อนเกิดรัฐประหารเมื่อ พ.ศ.2534 นอกจากนี้ ยังมีความเปลี่ยนแปลงบางอย่างทางความคิดเกิดขึ้นในช่วงปลายรัฐบาลพลเอกเปรม ภายใต้พลังของ ‘ภาคเอกชน’ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับห้วงเวลานี้ มีสภาพการณ์ที่ต่างออกไป
“จริงๆ รัฐธรรมนูญฉบับนั้นมีการแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนการรัฐประหารปี 2534 มีการแก้ไขในส่วนที่ว่าด้วยประธานรัฐสภา หรือการยอมรับหลักการว่า ตัวแทนของประชาชนควรเหนือที่สุดในสถาบันทั้ง 3 คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ตุลาการ และบริหาร และมีช่วงหนึ่งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ฉลองว่าเรามีตัวแทนของ 3 สถาบัน ผมเองก็อยู่ในช่วงนั้น โตมา และเห็นความภาคภูมิใจของการที่สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งเชิดชูว่าเรามีตัวแทนของประมุขทั้ง 3 สถาบัน ทั้งนี้ เป็นการสะท้อนความศรัทธาที่มีต่อระบอบการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญ 2521 แต่เปลี่ยนในตอนท้าย คือไม่ได้อยู่นิ่งตายตัว อำนาจการต่อรองไม่ได้หยุดนิ่งตายตัว
ในช่วงปลายยุคเปรมเราจะเห็นการเติบโตในพลังของภาคเอกชนที่รู้สึกว่า การให้ทหารมานั่งกำกับนโยบาย เศรษฐกิจ การมือง ไม่ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลง แรงผลักดันที่ทำให้ พล.อ.ชาติชายได้เป็นนายกฯก็ออกมาอย่างชัดเจน ในลักษณะฎีกา 99 คนที่ทำให้ พล.อ.เปรม ประกาศว่าผมพอแล้ว ต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ
แต่ในปีนี้เราไม่ได้มีเงื่อนไขแบบนั้น มันต่างกัน เพราะถ้าเราลองนึกถึงการเมืองช่วงสิบปีที่ผ่านมา โจทย์ใหญ่ไม่ใช่สงคารมเย็นแล้ว แต่เป็นสงครามภายใน เป็นสงครามที่เราปะทะกันเอง แล้วกองทัพจับปืนเข้าจัดการความขัดแย้ง แล้วแทรกแซงทางการเมือง เราต้องเข้าใจโจทย์ตรงนี้ก่อน ดังนั้น รัฐธรรมนูญ 2560 จึงออกแบบมาเพื่อธำรงอำนาจบางอย่าง ถึงขั้นที่มีตำแหน่งถาวรของกองทัพในวุฒิสภา 6 ตำแหน่ง อย่างที่คนบอกว่าสรรหา 250 แต่ความจริงแล้วสรรหาเพียง 244 คน เพราะ 6 เก้าอี้นี้ลอยมา เป็นตำแหน่งที่รับเงินเดือน 2 ทาง เป็นตำแหน่งที่พิเศษที่สุด (หัวเราะ) ในโครสร้างแบบนี้ผมถึงเรียกว่า ประชาธิปไตยสลึงเดียว
ภายใต้เงื่อนไขแบบนี้จึงไม่ใช่สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในรัฐธรรมนูญ 2521 อีกทั้งยังเป็นความท้าทายที่คนในรัฐบาลเอง ซึ่งตอนนี้ยังไม่สามารถตั้งรัฐบาลได้เลย ด้วยเหตุที่เขาไม่มีกองทัพหนุนหลังขนาดนั้น และกองทัพเองก็ต้องลังเลใจเพราะเงื่อนไขต่างกัน” รองคณบดีรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว