ตั้งแต่ข่าว Huawei ถูกแบนโดยอเมริกาก็มีข่าวเกี่ยวกับการต่อสู้ในสงครามการค้าและสงครามเทคโนโลยีระหว่างจีนกับอเมริกา ข่าวหนึ่งที่เห็นแชร์กันในหลาย ๆ กลุ่มที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้คือเรื่อง IPv9
ตัวอย่างการแชร์ที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงเช่น
https://www.facebook.com/thiravat.h/posts/2301191573247717/
https://www.facebook.com/paothong.thongchua/posts/2448654358487663 อันนี้แชร์กันเป็นพันครั้ง
ในฐานะที่พอมีความรู้เรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์งู ๆ ปลา ๆ มาบ้างจะขอสรุปคร่าว ๆ ดังนี้
โลกอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน มีการใช้งานโปรโตคอล IPv4 หรือ IP เวอร์ชั่น 4 ควบคู่กับ IPv6 หรือ IP เวอร์ชั่น 6 ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหา IP address ไม่เพียงพอ มี address ให้ใช้ประมาณสี่พันกว่าล้าน address เท่านั้น เพราะคนออกแบบ IPv4 ก็ไม่คาดคิดว่าอินเทอร์เน็ตจะขยายตัวมากขนาดนี้ และแก้ข้อบกพร่องอื่น ๆ อีกหลายประการใน IPv4 ดังนั้น IP คือโปรโตคอล หรือข้อตกลงวิธีการส่งข้อมูล ไม่ใช่เครื่องเซิร์ฟเว่อร์ เพียงแต่เครื่องเซิร์ฟเว่อร์และเครื่องผู้ใช้ต่างๆ ทั่วโลกอ้างอิงถึงกันและส่งข้อมูลระหว่างกันด้วยโปรโตคอล IP
คำว่าโปรโตคอลจะครอบคลุมทั้งวิธีการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายโดยใช้ IP address และกลไกการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางด้วยโปรโตคอล IP ที่เปรียบเสมือนข้อกำหนดวิธีการจ่าหน้าซองจดหมาย และกลไกในการหาเส้นทางส่งจดหมาย
องค์กรที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ของอินเทอร์เน็ตคือ The Internet Engineering Task Force (IETF) เป็นองค์กรที่ประกอบด้วยอาสาสมัครจากทั่วโลก แม้จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐในสมัยเริ่มก่อตั้ง แต่ผู้สนับสนุนหลักคือ Internet Society ที่เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรและไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา

ส่วนการจัดสรรหมายเลข IP ในปัจจุบัน หน่วยงานที่กำกับดูแลคือ The Internet Corporation for Assigned Names and Numbers หรือ ICANN เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร และไม่ได้อยู่ภายใต้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเช่นกัน แล้วยังมีหน่วยงานย่อยภายใต้ ICANN ที่ทำการจัดสรรหมายเลข IP ให้แก่ผู้ให้บริการในภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งผู้ให้บริการ ISP ในประเทศต่าง ๆ สามารถติดต่อเพื่อขอหมายเลข IP ได้ (โดยมีค่าใช้จ่าย แต่ไม่ได้จ่ายให้รัฐบาลสหรัฐ และเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อใช้หมายเลข IP ไม่ใช่ค่าเช่าเซิร์ฟเว่อร์) แล้วยังมีองค์กรต่าง ๆ อีกมากมาย ที่ดูแลมาตรฐานอื่น ๆ ที่แตกต่างกันไปบนอินเทอร์เน็ต เช่น World Wide Web Consortium (W3C) ดูแลมาตรฐานเว็บ
IPv9 ในปัจจุบันยังเป็นเพียงเรื่องหลอกลวง ยังไม่มีข้อกำหนดหรือมาตรฐานใด ๆ ในเรื่องนี้ และการที่ประเทศใดประเทศหนึ่งเช่นจีน จะมาออกโปรโตคอลใหม่เองเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากที่จะได้รับการยอมรับ ด้วยขนาดของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ประกอบด้วยอุปกรณ์และซอฟต์แวร์มากมายมหาศาลในปัจจุบัน เพราะแม้แต่การเปลี่ยนผ่านจาก IPv4 มาเป็น IPv6 ผ่านมากว่า 20 ปีแล้วยังยกเลิก IPv4 ไม่ได้เลย ยังต้องใช้งานควบคู่กันไปในปัจจุบัน
เท่าที่ลอง google ดู ยังไม่เห็นข้อมูลวิชาการหรือที่เป็นทางการใด ๆ จากเว็บไซต์หรือหน่วยงานที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับ IPv9 เลย ข้อมูลหลาย ๆ อย่างเช่น “สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติให้ IPv9 เป็นเซิร์ฟเวอร์แม่ในการบริหารจัดการอินเทอร์เน็ตทั่วโลกเป็นเวลา 100 ปี ต่อจาก 2563” ไม่น่าเชื่อถือ ไม่มีแหล่งอ้างอิง เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ที่ไม่มีข้อมูลวิชาการหรือหลักฐานใด ๆ รองรับ
จริง ๆ แล้ว IETF มีเอกสารเกี่ยวกับ IPv9 ใน RFC 1606 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 1994 แต่เป็น April fool's day joke เท่านั้น
https://tools.ietf.org/html/rfc1606?fbclid=IwAR1XJRFLoPEciTheBelCmldiS47iZSClSMDksnCq6_BuCZ7MuWmCUcQv0kU
IPv9 ยังไม่มีจริงนะจ๊ะ อย่าแชร์กันมั่วหละ
ตัวอย่างการแชร์ที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงเช่น
https://www.facebook.com/thiravat.h/posts/2301191573247717/
https://www.facebook.com/paothong.thongchua/posts/2448654358487663 อันนี้แชร์กันเป็นพันครั้ง
ในฐานะที่พอมีความรู้เรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์งู ๆ ปลา ๆ มาบ้างจะขอสรุปคร่าว ๆ ดังนี้
โลกอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน มีการใช้งานโปรโตคอล IPv4 หรือ IP เวอร์ชั่น 4 ควบคู่กับ IPv6 หรือ IP เวอร์ชั่น 6 ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหา IP address ไม่เพียงพอ มี address ให้ใช้ประมาณสี่พันกว่าล้าน address เท่านั้น เพราะคนออกแบบ IPv4 ก็ไม่คาดคิดว่าอินเทอร์เน็ตจะขยายตัวมากขนาดนี้ และแก้ข้อบกพร่องอื่น ๆ อีกหลายประการใน IPv4 ดังนั้น IP คือโปรโตคอล หรือข้อตกลงวิธีการส่งข้อมูล ไม่ใช่เครื่องเซิร์ฟเว่อร์ เพียงแต่เครื่องเซิร์ฟเว่อร์และเครื่องผู้ใช้ต่างๆ ทั่วโลกอ้างอิงถึงกันและส่งข้อมูลระหว่างกันด้วยโปรโตคอล IP
คำว่าโปรโตคอลจะครอบคลุมทั้งวิธีการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายโดยใช้ IP address และกลไกการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางด้วยโปรโตคอล IP ที่เปรียบเสมือนข้อกำหนดวิธีการจ่าหน้าซองจดหมาย และกลไกในการหาเส้นทางส่งจดหมาย
องค์กรที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ของอินเทอร์เน็ตคือ The Internet Engineering Task Force (IETF) เป็นองค์กรที่ประกอบด้วยอาสาสมัครจากทั่วโลก แม้จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐในสมัยเริ่มก่อตั้ง แต่ผู้สนับสนุนหลักคือ Internet Society ที่เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรและไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
ส่วนการจัดสรรหมายเลข IP ในปัจจุบัน หน่วยงานที่กำกับดูแลคือ The Internet Corporation for Assigned Names and Numbers หรือ ICANN เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร และไม่ได้อยู่ภายใต้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเช่นกัน แล้วยังมีหน่วยงานย่อยภายใต้ ICANN ที่ทำการจัดสรรหมายเลข IP ให้แก่ผู้ให้บริการในภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งผู้ให้บริการ ISP ในประเทศต่าง ๆ สามารถติดต่อเพื่อขอหมายเลข IP ได้ (โดยมีค่าใช้จ่าย แต่ไม่ได้จ่ายให้รัฐบาลสหรัฐ และเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อใช้หมายเลข IP ไม่ใช่ค่าเช่าเซิร์ฟเว่อร์) แล้วยังมีองค์กรต่าง ๆ อีกมากมาย ที่ดูแลมาตรฐานอื่น ๆ ที่แตกต่างกันไปบนอินเทอร์เน็ต เช่น World Wide Web Consortium (W3C) ดูแลมาตรฐานเว็บ
IPv9 ในปัจจุบันยังเป็นเพียงเรื่องหลอกลวง ยังไม่มีข้อกำหนดหรือมาตรฐานใด ๆ ในเรื่องนี้ และการที่ประเทศใดประเทศหนึ่งเช่นจีน จะมาออกโปรโตคอลใหม่เองเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากที่จะได้รับการยอมรับ ด้วยขนาดของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ประกอบด้วยอุปกรณ์และซอฟต์แวร์มากมายมหาศาลในปัจจุบัน เพราะแม้แต่การเปลี่ยนผ่านจาก IPv4 มาเป็น IPv6 ผ่านมากว่า 20 ปีแล้วยังยกเลิก IPv4 ไม่ได้เลย ยังต้องใช้งานควบคู่กันไปในปัจจุบัน
เท่าที่ลอง google ดู ยังไม่เห็นข้อมูลวิชาการหรือที่เป็นทางการใด ๆ จากเว็บไซต์หรือหน่วยงานที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับ IPv9 เลย ข้อมูลหลาย ๆ อย่างเช่น “สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติให้ IPv9 เป็นเซิร์ฟเวอร์แม่ในการบริหารจัดการอินเทอร์เน็ตทั่วโลกเป็นเวลา 100 ปี ต่อจาก 2563” ไม่น่าเชื่อถือ ไม่มีแหล่งอ้างอิง เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ที่ไม่มีข้อมูลวิชาการหรือหลักฐานใด ๆ รองรับ
จริง ๆ แล้ว IETF มีเอกสารเกี่ยวกับ IPv9 ใน RFC 1606 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 1994 แต่เป็น April fool's day joke เท่านั้น
https://tools.ietf.org/html/rfc1606?fbclid=IwAR1XJRFLoPEciTheBelCmldiS47iZSClSMDksnCq6_BuCZ7MuWmCUcQv0kU