ต่อ Work Permit ต่อวีซ่าให้คนต่างด้าว กรณีกรรมการบริษัทไม่มี Work Permit ในไทย (ชาวญี่ปุ่น)

อยากจะมาแชร์เรื่องเราให้เพื่อนๆที่เป็น Admin หรือ HR ทราบในกรณีต่อ Work Permit และวีซ่าให้คนต่างด้าว กรณีที่กรรมการไม่มี WP ในไทยค่ะ

ก่อนหน้านี้กรรมการที่บริษัทเคยมี WP ตามปกติค่ะ แต่มีการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายกรรมการ จึงทำให้กรรมการที่มีทั้งหมดไม่มี WP ในไทยเลยสักคน
ดังนั้นพอถึงคราวที่มีผู้จัดการชาวญี่ปุ่นท่านใหม่เพิ่งเข้ามาทำงาน จึงค่อนข้างเกิดความยุ่งยากในการเตรียมเอกสารของกรรมการ

กรณียื่น WP ให้ชาวต่างชาติเข้าใหม่ โดยปกติจะใช้เอกสารตาม ตท.1 
แต่ที่มีความพิเศษคือ กรณีกรรมการไม่มี WP ต้องให้กรรมการท่านใดท่านหนึ่งทำ Notary Public 
นัยยะของ NotaryPublic คือเอกสารมอบอำนาจจากกรรมการท่านนั้นถึงผู้รับมอบอำนาจที่อยู่ในไทยโดยมีหน่วยงานNotaryท้องถิ่นเป็นผู้ลงนามเป็นพยานอีกทีว่าบุคคลคนนี้มอบอำนาจจริง

1. ตัวอย่างเนื้อหาเอกสารใน Notary Public 

POWER OF ATTORNEY
By This letter we, ชื่อบริษัท  (the “Company”),
a company with its registered office address ที่อยู่บริษัท

Thailand by ชื่อกรรมการท่านใดท่านหนึ่งที่มีอำนาจลงนาม , the authorized directors.
Hereby authorizes and appoint ผู้รับมอบอำนาจ  , a Thai national holding  ID Card No.หมายเลขปรำจำตัวปชช ผู้รับมอบอำนาจ to be lawful and legal attorney for the purpose concerning with work permit ( for applying a work permit on behalf of alien) , sign any documents on behalf of  myself including to amend or changing words on the related document. What has been done by ผู้รับมอบอำนาจ will remain in full force and effect as if has been done by myself.

In Witness Whereof, wยิ้มby sign this power of attorney in present of the Notary Public.
ชื่อบริษัท
Signed……กรรมการลงนาม….Grantor
(ชื่อกรรมการ)
 I ………หน่วยงาน Notary ลงนาม……the Notary Public, hereby certify that
I have verified the personal identify of ชื่อกรรมการ the person appearing before me to execute this power of attorney.
I havยิ้มunto set their hand, official signature and affixed my notary public seal this day and year as appears below.
The Notary Public

Signed………หน่วยงาน Notary ลงนาม…
(…………………………………………..)           
Date
………………………………………

2.  หน่วยงานโนตารีนี้เป็นคล้ายๆหน่วยงานทางกฏหมายในประเทศนั้นๆ คือถ้ากรรมการเป็นคนญี่ปุ่น ก็ต้องให้โนตารีที่ญี่ปุ่นเป็นผู้รับรอง ค่าบริการจะอยู่ที่ 4,000 - 6,000 บาท ในกรณีนี้ที่ออฟฟิศใช้บริการจะเป็น Kyoto District Legal Affairs Bureau ค่ะ
3. หลังจาก หน่วยงาน Notary รับรองแล้ว ต้องให้สถานฑูตไทย ประจำประเทศญี่ปุ่นรับรองเอกสารอีกที
ในกรณีของเรา ไม่มีเวลาค่ะ ไม่สะดวกที่จะให้สถานฑูตไทยในญี่ปุ่นรับรอง ทางลัดของเราคือให้สถานทูตญี่ปุ่นในไทยรับรองให้ เพราะเงื่อนไขของกรมแรงงานจะต้องมีสถานทูตรับรอง  
แต่ความยุ่งยากก็คือ สถานทูตญี่ปุ่นในไทย จะต้องให้หน่วยงานยุติธรรมในญี่ปุ่นรับรองอีกที พูดง่ายๆก็คือ
ทำ POWER OF ATTORNEY/ให้หน่วยงานโนตารีรับรอง/ให้หน่าวยงานยุติธรรมรับรอง/ส่งให้สถานฑูต

4. แปลเอกสารทั้งหมดของ Notary เป็นภาษาไทย ค่าแปลประมาณ 1,300 - 2,000 บาท
5. เสร็จแล้วสามารถยื่นเอกสาร ตท.1+เอกสารทั้งหมดของ Notary โดยเอกสารเซ็นโดยผู้รับมอบอำนาจ
6. ในการยื่นตท.1 นั้น ครั้งแรกชาวต่างชาติอาจจะยังไม่ได้ WP 1 ปี กระทรางแรงงานจะให้ระยะเวลา WP เท่ากับระยะเวลาของวีซ่าเท่านั้นค่ะ ค่าธรรมเนียมจะอยู่ประมาณ 750 บาท
7. โดยหากยื่นของ WP คั้งต่อไปเราจะใช้แบบฟอร์ม ตท.5 ค่ะ

กรณียื่นขอวีซ่านั้น หากกรรมการไม่มี WP ในไทยจะต้องทำเอกสาร Notary Public เช่นกันโดยต้องให้ทางกรมสุลเป็นผู้รับรองด้วย
คือที่โดนมาคือ กรรมการไม่มีอำนาจเซ็นต์เอกสารต่อวีซ่า ให้คนต่างด้าวได้เลยหากไม่มี WP
ในการยื่นต่อวีซ่า ให้ใช้เอกสาร ตม.7 โดย พนักงานสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองอาจจะขอเอกสารเพิ่มเติมนอกเหนือจากใน List เอกสาร
เช่า สัญญาเช่าของบริษัท หรือ เอกสาร Passport ของกรรมการทั้งหมดทุกคน

เราเจอ Case แบบนี้มาเลยมาแชร์ข้อมูลเผื่อเป็นประโยชน์นะคะ เพราะตอนที่ทำ Notary เพื่อมาใช้ยื่นนั้น หาข้อมูลจากในเนตไมี่ค่อยมีกรณีนี้
หากบกพร่องยังไงขอโทษไว้ ณ ที่นี้นะคะ 
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่