สวัสดีครับเพื่อน ๆ ชาวพันทิป กระทู้นี้เป็นการรีวิวการท่องเที่ยวจังหวัดตราดที่พวกเรา 5 คนไปเที่ยวมาเป็นเวลา 4 วัน 3 คืน
ต้องบอกก่อนว่ากระทู้รีวิวการท่องเที่ยวนี้ถือเป็นกระทู้แรกของพวกเราเลย หากมีข้อผิดพลาดประการใดเกี่ยวกับข้อมูล พวกเราก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคร้าบบบบ
วันที่ 1
ในวันแรกเรา 5 คนนัดเจอกันที่ขนส่งหมอชิตเวลา 6.30 น. เพื่อรอขึ้นรถเวลา 7.30 น. และเดินทางถึงจังหวัดตราดตอนบ่าย 3 โมงกว่าเกือบ 4 โมง (OMG!!! นานมาก) ที่เราไปถึงกันเลท เนื่องจากช่วงที่เราไปตรงกับเทศกาลเชงเม้งพอดิบพอดี



ค่าใช้จ่าย : ค่ารถ บขส. สถานีขนส่งหมอชิต-สถานีขนส่งตราด 238 บาท ต่อคน โดยจองผ่านเวปไซต์
https://ticket.transport.co.th/ ได้เลย
เมื่อมาถึงเราก็ไม่รอช้ารีบตรงไปยังที่พักเพื่อเก็บของ โดยเราพักกันที่ “สุชานารี รีสอร์ท” ซึ่งที่พักสไตล์บ้านไม้ ท่ามกลางป่าชายเลน บรรยากาศชิล ๆ สบาย ๆ

CR.
https://www.agoda.com/th-th/suchanaree-laemngop/hotel/trat-th.html?checkin=2019-04-26&los=1&adults=1&rooms=1&cid=1410266&tag=d9b116b8-2d18-4911-d82b-3395f6884977&searchrequestid=a77e0b52-ee88-404a-b8ab-14d06362f104&travellerType=-1&tabbed=true
ค่าใช้จ่าย : ค่ารถรับส่งจากขนส่งตราดไปยังที่พักราคา 300 บาท โดยเป็นบริการจากทางที่พัก สุชานารี รีสอร์ท
ค่าที่พัก สุชานารี รีสอร์ท ห้องสำหรับ 4 คน 1550 บาท ต่อคืน (เสริม 150 บาทต่อคน)
เนื่องด้วยเวลาที่เหลือน้อยเต็มที พวกเราจึงไม่รอช้าตัดสินใจที่จะไปเที่ยวหาดทรายดำซึ่งเป็น 1 ในแลนด์มาร์คสำคัญของจังหวัดตราด และอยู่ใกล้ที่พัก แต่ก่อนไปก็ขอแวะเติมพลังก่อนกับเมนูก๋วยเตี๋ยวหมูเลียง โดยร้านตั้งอยู่บริเวณหน้าทางเข้าของหาดทรายดำ

โดยก๋วยเตี๋ยวหมูเลียงถือเป็นอาหารขึ้นชื่อของจังหวัดตราด โดยจะพิเศษกว่าก๋วยเตี๋ยวทั่วไปตรงที่จะมีการใส่สมุนไพรที่ชื่อว่า “เร่ว” ลงไปเป็นส่วนผสมในน้ำซุปก๋วยเตี๋ยว ซึ่งทำให้ก๋วยเตี๋ยวหมูเลียง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร
และแล้วก็มาถึงพระเอกของเรา “หาดทรายดำ”
หาดทรายดำเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีจุดเด่นตรงที่เม็ดทรายจะเป็นสีดำ (ก็ตามชื่ออะเนอะ) ดังนั้นเมื่อมาจังหวัดตราดทั้งทีก็เลยขอไปชมให้เห็นกับตาซะหน่อยว่ามันดำจริง ๆ รึเปล่า

ซึ่งพอได้มาเห็นจึงได้รู้เลยว่ามันไม่ใช่แค่สีออกคล้ำ ๆ แต่มันเป็นทรายที่มีสีดำสนิทจริง ๆ สวยแปลกตามากกกก

แชะภาพเป็นที่ระลึกซะหน่อยยย
พอตกดึกก็ขอจัดมื้อบุฟเฟ่ต์ซีฟู๊ดซะหน่อย ที่ร้าน “บุฟเฟ่ต์ทะเลตราด”

อาหารทะเลเน้น ๆ

เมนูปิ้งย่างก็มีพร้อม

ราคาถือว่าไม่แพงเลยถ้าเทียบกับคุณภาพ โดยไฮไลท์ของที่นี่คือ กั้ง กุ้งแม่น้ำ หอยเชลล์ และปู (กั้งมีเป็นบางช่วง หมดแล้วหมดเลย) และที่สำคัญคือพี่พนักงานบริการดีมากกกกกกก ช่วยย่าง ช่วยแกะเปลือกตลอด แถมขากลับยังไปส่งพวกเราถึงที่พักอีกด้วย พวกเราต้องขอขอบคุณพี่ ๆ จากร้าน “บุฟเฟ่ต์ทะเลตราด” มา ณ ที่นี้ด้วยนะคร้าบบบบ
วันที่ 2
วันนี้เราจะไปเที่ยวที่บ้านแหลมมะขามกันนนน ซึ่งสถานที่นี้เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวหลักของจังหวัดตราดเลยก็ว่าได้ เป็นที่ ๆ เราสามารถเข้าไปเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนแห่งนี้

โดยพวกเราตื่นมาเตรียมตัวรอพี่ ๆ ชาวบ้านแหลมมะขามให้มารับตั้งแต่เช้าตรู่ แต่ปรากฎว่าพี่เค้ามารอรับพวกเราอยู่ก่อนซะอีกครับ 5555

ระหว่างทางไปบ้านแหลมมะขาม พี่ที่มารับพวกเราแวะซื้อขนมครกให้กินรองท้องด้วย ใจดีจังงงง

มาถึงแล้ว เย่!!!
บ้านแหลมมะขามเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เราจะได้มาทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามวิถีชาวบ้านท้องถิ่น ซึ่งจะได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่น่าประทับใจมากมาย โดยหากจะมาทำกิจกรรมที่บ้านแหลมมะขามจะต้องทำการจองก่อนล่วงหน้าก่อน

การเดินทางไปทำกิจกรรม ณ จุดต่าง ๆ ของบ้านแหลมมะขามก็จะออกแนวซิ่ง ๆ หน่อย (เกาะไม่ดีมีเสียว)
กิจกรรมแรกที่พวกเราได้ทำ ณ บ้านแหลมมะขามก็คือการ “สานจักคลุ้ม” โดยการนำไม้คลุ้ม ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษคือ มีเปลือกเหนียวเหมือนไม้ไผ่ แต่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเชื้อรา มาสานเป็นรูปทรงต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น เป็นต่างหู ที่ใส่ขวดน้ำ ตะกร้า เป็นต้น

โดยโจทย์ที่พวกเราได้รับวันนี้คือ การสานจักคลุ้มเป็นรูป “ดาว” ซึ่งก่อนทำพวกเราคิดว่ามันคงจะยากมาก แต่พอได้ลงมือทำจริง ๆ แล้ว จึงได้รู้ว่ามันยากกว่าที่คิดไว้ซะอีก 5555 (ล้อเล่งงงง มันไม่ได้ยากขนาดน้านนน)

เมื่อสานเสร็จก็นำมาทากาวลาเท็กซ์ และตากแดดรอให้แห้ง ภูมิใจสุด ๆๆๆๆ

ถ่ายภาพกับคุณลุงผู้สอนเป็นที่ระลึกซะหน่อย
ต่อมาเป็นศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ช่างไม้ โดยคุณปู่สงกรานต์เจ้าของบ้าน เป็นผู้สร้างหุ่นไม้ทุกตัวขึ้นมาด้วยตัวเอง เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานของช่างไม้ในอดีตที่อุปกรณ์อาจจะยังไม่ได้ทันสมัยเท่าปัจจุบัน
กิจกรรมต่อมาก็คือสอนทำขนมสากกะเบือลุน ซึ่งเป็นขนมท้องถิ่นจังหวัดตราด

วิธีทำขนมสากกะเบือลุนนั้นง่ายมาก ๆ เริ่มต้นโดยการนำแป้งข้าวเหนียวผสมน้ำแล้วนำไปนวด จากนั้นนำไปต้มให้พอสุก แล้วนำมาบดด้วยสากกะเบือ (จึงได้ชื่อว่า สากกะเบือลุน) แล้วนำมาปั้นเป็นก้อน นำไปคลุกกับน้ำตาล งาขาว และถั่วลิสงบดเป็นอันเสร็จ รสชาติจะออกหวานน้ำตาล หอมงากับ ถั่ว เหนียว และนุ่ม กินเพลินเลยยยย

หลังจากทำขนมเสร็จก็ปล่อยพักตามสบายประมาณชั่วโมงครึ่งเพื่อรอเวลาออกทะเลไปจับหอยปากเป็ด

ก่อนออกทะเลก็แวะเดินชมธรรมชาตินิดนึง ทางเดินเป็นไม้ไผ่ก็ว่าลำบากแล้ว ยังจะมีมดเป็นอุปสรรคตลอดการเดินอีก ทั้งคันทั้งเจ็บ แต่ก็สนุกดี

ทีนี้ก็มาถึงเวลาที่ต้องออกทะเลเพื่อไปจับหอยปากเป็ดมาทำเป็นอาหารเย็น ซึ่งแน่นอนว่านี่เป็นประสบการณ์การจับหอยครั้งแรกของพวกเรา 5 คน หมายถึงหอยปากเป็ดนะ อิอิ

วิวระหว่างนั่งเรือสวยมากกกกกก

ตอนที่ลงทะเลไปจับหอยปากเป็ดนั้น ช่วงแรกไม่สามารถจับกันได้เลย เพราะสัมผัสของสัตว์ทะเลแต่ละชนิดที่อยู่ใต้น้ำนั้นช่างน่ากลัวเหลือเกิน จับไปกลัวไป กว่าจะชินจนเริ่มจับได้ก็ใช้เวลาอยู่พอสมควรเลย 555 แต่ถึงจะน่ากลัวยังไงแต่ช่วงที่ออกทะเลไปจับหอยปากเป็ดก็เป็นช่วงที่พวกเราเห็นพ้องต้องกันว่าเป็นช่วงที่ประทับใจที่สุดของวันนี้เลย

ตกเย็นก็ได้กินอาหารจากหอยปากเป็ดที่ไปจับมา และเมนูอื่น ๆ ที่ชาวบ้านจัดมาให้

โดยเราไปนั่งกินอาหารกันที่สะพานบ้านหัวหิน ขอบอกเลยว่าบรรยากาศดีมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก

ขอบอกเลยว่าวิวตอนพระอาทิตย์ตกนั้นสวยมากกกกก ในรูปว่าสวยแล้ว แต่ของจริงนั้นสวยกว่ามาก อยากให้ทุกคนได้มาเห็นด้วยตาตัวเอง

หลังกินข้าวเสร็จก็แยกย้ายพักผ่อนตามอัธยาศัย
สำหรับการทำกิจกรรมที่บ้านแหลมมะขามสิ่งที่ประทับใจคือการที่เราได้ไปสัมผัสกับวิถีชาวบ้านจริง ๆ ได้ลองทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ที่ดีและน่าประทับใจมาก รวมถึงชาวบ้านทุกคนในระแวกนั้นก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และก็ใจดีมาก ๆ ด้วย สำหรับใครที่จะมาทำกิจกรรมที่บ้านแหลมมะขาม เราแนะนำว่าให้มาทำกิจกรรมแบบรวมที่พักด้วยเลย เพราะเราจะได้พักตามบ้านในชุมชนระแวกนั้นเลย ซึ่งแน่นอนมันไม่ได้หรูเหมือนโรงแรม แต่มันก็ได้ฟีลแบบที่คุณไปพักโรงแรมที่ไหนก็ไม่ได้รับความรู้สึก และประสบการณ์แบบที่จะได้รับจากที่นี่แน่นอน
ค่าใช้จ่าย : ค่ากิจกรรมชุมชนแหลมมะขาม 1000 บาท โดยรวมที่พัก 1 คืน อาหาร 2 มื้อ
หากทำกิจกรรมอย่างเดียวไม่รวมที่พัก 600 บาท
วันที่ 3
เช้าวันที่ 3 เราออกเดินทางจากบ้านแหลมมะขามเวลา 6.30 น. เพื่อเดินทางไปยังท่าเรือเซ็นเตอร์พอยท์แล้วนั่งเรือเฟอร์รี่ต่อไปยังเกาะช้าง ซึ่งพี่จากบ้านแหลมมะขามก็เป็นคนขับรถไปส่งพวกเราทั้ง 5 คนที่ท่าเรือโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายด้วย ใจดีจังงงงง

บรรยากาศที่ท่าเรือเซ็นเตอร์พอยท์

บรรยากาศระหว่างนั่งเรือ

สีครามของน้ำทะเลทำให้เราลืมเรื่องวุ่นวายในชีวิตไปได้ซักพัก
ค่าใช้จ่าย : ค่าเรือเฟอร์รี่จากท่าเรือเซ็นเตอร์พอยท์ ไป-กลับ เกาะช้าง 160 บาท ต่อคน
[CR] "First time in TRAT" รีวิวทริปเที่ยว "ตราด - เกาะช้าง" 4 วัน 3 คืน
ต้องบอกก่อนว่ากระทู้รีวิวการท่องเที่ยวนี้ถือเป็นกระทู้แรกของพวกเราเลย หากมีข้อผิดพลาดประการใดเกี่ยวกับข้อมูล พวกเราก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคร้าบบบบ
วันที่ 1
ในวันแรกเรา 5 คนนัดเจอกันที่ขนส่งหมอชิตเวลา 6.30 น. เพื่อรอขึ้นรถเวลา 7.30 น. และเดินทางถึงจังหวัดตราดตอนบ่าย 3 โมงกว่าเกือบ 4 โมง (OMG!!! นานมาก) ที่เราไปถึงกันเลท เนื่องจากช่วงที่เราไปตรงกับเทศกาลเชงเม้งพอดิบพอดี
ค่าใช้จ่าย : ค่ารถ บขส. สถานีขนส่งหมอชิต-สถานีขนส่งตราด 238 บาท ต่อคน โดยจองผ่านเวปไซต์ https://ticket.transport.co.th/ ได้เลย
เมื่อมาถึงเราก็ไม่รอช้ารีบตรงไปยังที่พักเพื่อเก็บของ โดยเราพักกันที่ “สุชานารี รีสอร์ท” ซึ่งที่พักสไตล์บ้านไม้ ท่ามกลางป่าชายเลน บรรยากาศชิล ๆ สบาย ๆ
ค่าใช้จ่าย : ค่ารถรับส่งจากขนส่งตราดไปยังที่พักราคา 300 บาท โดยเป็นบริการจากทางที่พัก สุชานารี รีสอร์ท
ค่าที่พัก สุชานารี รีสอร์ท ห้องสำหรับ 4 คน 1550 บาท ต่อคืน (เสริม 150 บาทต่อคน)
เนื่องด้วยเวลาที่เหลือน้อยเต็มที พวกเราจึงไม่รอช้าตัดสินใจที่จะไปเที่ยวหาดทรายดำซึ่งเป็น 1 ในแลนด์มาร์คสำคัญของจังหวัดตราด และอยู่ใกล้ที่พัก แต่ก่อนไปก็ขอแวะเติมพลังก่อนกับเมนูก๋วยเตี๋ยวหมูเลียง โดยร้านตั้งอยู่บริเวณหน้าทางเข้าของหาดทรายดำ
และแล้วก็มาถึงพระเอกของเรา “หาดทรายดำ”
หาดทรายดำเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีจุดเด่นตรงที่เม็ดทรายจะเป็นสีดำ (ก็ตามชื่ออะเนอะ) ดังนั้นเมื่อมาจังหวัดตราดทั้งทีก็เลยขอไปชมให้เห็นกับตาซะหน่อยว่ามันดำจริง ๆ รึเปล่า
พอตกดึกก็ขอจัดมื้อบุฟเฟ่ต์ซีฟู๊ดซะหน่อย ที่ร้าน “บุฟเฟ่ต์ทะเลตราด”
วันที่ 2
วันนี้เราจะไปเที่ยวที่บ้านแหลมมะขามกันนนน ซึ่งสถานที่นี้เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวหลักของจังหวัดตราดเลยก็ว่าได้ เป็นที่ ๆ เราสามารถเข้าไปเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนแห่งนี้
บ้านแหลมมะขามเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เราจะได้มาทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามวิถีชาวบ้านท้องถิ่น ซึ่งจะได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่น่าประทับใจมากมาย โดยหากจะมาทำกิจกรรมที่บ้านแหลมมะขามจะต้องทำการจองก่อนล่วงหน้าก่อน
กิจกรรมแรกที่พวกเราได้ทำ ณ บ้านแหลมมะขามก็คือการ “สานจักคลุ้ม” โดยการนำไม้คลุ้ม ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษคือ มีเปลือกเหนียวเหมือนไม้ไผ่ แต่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเชื้อรา มาสานเป็นรูปทรงต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น เป็นต่างหู ที่ใส่ขวดน้ำ ตะกร้า เป็นต้น
ต่อมาเป็นศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ช่างไม้ โดยคุณปู่สงกรานต์เจ้าของบ้าน เป็นผู้สร้างหุ่นไม้ทุกตัวขึ้นมาด้วยตัวเอง เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานของช่างไม้ในอดีตที่อุปกรณ์อาจจะยังไม่ได้ทันสมัยเท่าปัจจุบัน
กิจกรรมต่อมาก็คือสอนทำขนมสากกะเบือลุน ซึ่งเป็นขนมท้องถิ่นจังหวัดตราด
สำหรับการทำกิจกรรมที่บ้านแหลมมะขามสิ่งที่ประทับใจคือการที่เราได้ไปสัมผัสกับวิถีชาวบ้านจริง ๆ ได้ลองทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ที่ดีและน่าประทับใจมาก รวมถึงชาวบ้านทุกคนในระแวกนั้นก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และก็ใจดีมาก ๆ ด้วย สำหรับใครที่จะมาทำกิจกรรมที่บ้านแหลมมะขาม เราแนะนำว่าให้มาทำกิจกรรมแบบรวมที่พักด้วยเลย เพราะเราจะได้พักตามบ้านในชุมชนระแวกนั้นเลย ซึ่งแน่นอนมันไม่ได้หรูเหมือนโรงแรม แต่มันก็ได้ฟีลแบบที่คุณไปพักโรงแรมที่ไหนก็ไม่ได้รับความรู้สึก และประสบการณ์แบบที่จะได้รับจากที่นี่แน่นอน
ค่าใช้จ่าย : ค่ากิจกรรมชุมชนแหลมมะขาม 1000 บาท โดยรวมที่พัก 1 คืน อาหาร 2 มื้อ
หากทำกิจกรรมอย่างเดียวไม่รวมที่พัก 600 บาท
วันที่ 3
เช้าวันที่ 3 เราออกเดินทางจากบ้านแหลมมะขามเวลา 6.30 น. เพื่อเดินทางไปยังท่าเรือเซ็นเตอร์พอยท์แล้วนั่งเรือเฟอร์รี่ต่อไปยังเกาะช้าง ซึ่งพี่จากบ้านแหลมมะขามก็เป็นคนขับรถไปส่งพวกเราทั้ง 5 คนที่ท่าเรือโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายด้วย ใจดีจังงงงง
ค่าใช้จ่าย : ค่าเรือเฟอร์รี่จากท่าเรือเซ็นเตอร์พอยท์ ไป-กลับ เกาะช้าง 160 บาท ต่อคน
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้