ประวัติศาสตร์วงการฮอกกี้น้ำแข็งไทยต้องจารึก เมื่อทีมสาวไทยหาญกล้าเถลิงบัลลังก์แชมป์เอเชียสมัยแรกหลังอดทนรอคอยร่วม 7 ปี เดินหน้าสานฝันต่อขอลุ้นเป็นอีก 1 ทีมของเอเชียไปลุยศึกเวิลด์แชมเปี้ยนชิพ อย่าง ญี่ปุ่น, จีน, เกาหลี, ไต้หวัน, ฮ่องกง และ นิวซีแลนด์
โดยการแข่งขันฮอกกี้น้ำแข็งชิงชนะเลิศแห่งเอเชียประเภททีมหญิง รายการ "ไอไอเอชเอฟ ไอซ์ฮอกกี้วูเม่น ชาลเลนจ์ คัพ ออฟ เอเชีย 2019" (IIHF Ice Hockey Women's Challenge Cup Of Asia 2019) จัดโดยสหพันธ์ฮอกกี้น้ำแข็งนานาชาติ หรือจะเรียกสั้นๆว่า "ชิงแชมป์เอเชีย" โดยในปีนี้ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รับเป็นเจ้าภาพ ซึ่งมี 9 ชาติเอเชียเข้าร่วมการแข่งขัน แบ่งเป็น 2 ดิวิชั่น คือ ระดับท็อปดิวิชั่น ประกอบด้วย นิวซีแลนด์ยู-18, ไต้หวันยู-18, สิงคโปร์, มาเลเซีย และ ไทย ส่วนระดับดิวิชั่น 1 ประกอบด้วย ฟิลิปปินส์, อินเดีย, คูเวต และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งแต่ละดิวิชั่นจะแข่งในระบบพบกันหมด ทีมชนะในเวลาได้ 3 คะแนน, ทีมชนะช่วงต่อเวลาได้ 2 คะแนน, ทีมแพ้ช่วงต่อเวลาได้ 1 คะแนน และ ทีมแพ้ในเวลาไม่ได้คะแนน
ทั้งนี้หลายคนสงสัยว่าทำไมศึกชิงแชมป์เอเชียถึงไรชื่อของ ญี่ปุ่น, จีน, เกาหลี และ ฮ่องกง แล้วทำไม นิวซีแลนด์ยู-18 กับ ไต้หวันยู-18 ถึงเป็นรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี ทั้งที่เป็นรายการใหญ่ระดับทวีป ซึ่งคำตอบก็คือ ญี่ปุ่น, จีน, เกาหลี และ ฮ่องกง ทำอันดับตามเงื่อนไขของสหพันธ์ฮอกกี้น้ำแข็งนานาชาติจนได้เข้าสู่ระดับเวิลด์แชมเปี้ยนชิพ ซึ่ง นิวซีแลนด์ กับ ไต้หวัน ชุดใหญ่ก็เช่นกัน ฉะนั้นทำให้พวกเขาไม่จำเป็นต้องมาเล่นในระดับเอเชียอีกต่อไปและการแข่งขันระดับเวิลด์แชมเปี้ยนชิพจะทับซ้อนกับชิงแชมป์เอเชียคือจัดแข่งทุกปีเช่นกัน ส่วน นิวซีแลนด์ กับ ไต้หวัน จึงส่งชุดรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปีมาเล่นแทน
กลับมาที่ทีมสาวไอซ์ฮอกกี้ไทยที่ถือว่าเป็นทีมเบอร์ 1 ย่านอาเซียน และโดดเด่นเมื่อยามเล่นในระดับเอเชีย โดยในครั้งนี้มีการเปลี่ยนถ่ายสายเลือดใหม่บ้างในบางตำแหน่งเป็นการผสมผสานระหว่างผู้เล่นเก่ากับผู้เล่นหน้าใหม่จำนวน 20 คน ประกอบด้วย นุชนาฎ พงศ์ฤกษ์ดี, ศิริกาญจน์? จิตตรีศิลป์, พรรณวิภา สุขศิริเวชรักษ์, ลิลรดา โภคา, วิลาสินี รัตนนัย, กุลวรรธน์ จรรยาจิรวงศ์, จารวี ศรีจำนงค์, นภัค เพชรนก, กานต์สิรี คูดำรงสวัสดิ์, กีรติกา ชั่งนะ, พิมพ์นภา พึ่งพาพงศ์, ขวัญชนก เฉยกลาง, พิจิตรา แซ่เจีย, นิอร พุฒสุข, ศิริลักษณ์ แก้วกิติณรงค์, วสุนันท์ อังกูลพัฒนาสุข, นิษฐานันต์ ลอยกุลนันท์, รัชนันท์ บุญยุบล, มินสชา ทีฆธนสกุล และ วิชยา แพงงา



ในเกมแรกทีมสาวไทยเจอศึกหนักเมื่อต้องพบกับ ไต้หวันยู-18 ซึ่งตั้งแต่ก่อตั้งทีมไอซ์ฮอกกี้หญิงทีมชาติไทยในปี 2013 ไม่เคยชนะทีมนี้ได้เลย แต่ทว่าเกมนี้สาวไทยเล่นด้วยความรัดกุมสามารถเบียดชนะไปแบบหวุดหวิด 3-2 ส่งผลให้เป็นครั้งแรกที่ ไทย เอาชนะ ไต้หวันยู-18 ได้เป็นครั้งแรก ขณะที่เกมต่อมาก็เจองานยากเช่นกันเมื่อต้องพบกับ นิวซีแลนด์ยู-18 จากโซนโอเชียเนียที่ได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันกับทีมโซนเอเชียเมื่อปี 2017 และก็เป็นอีก 1 ทีมที่สาวไทยยังไม่สามารถสะกดคำว่าชนะกับทีมนี้
เกมนี้ต่างฝ่ายต่างก็เล่นพยายามเปิดเกมบุกใส่กันแต่สาวน้อยกีวี่ที่นัดแรกพลาดท่าพ่ายให้กับ สิงคโปร์ ครองเกมรุกได้ดีกว่าไทยเล็กน้อย จนสุดท้ายครบ 3 พีเรียดต่างฝ่ายต่างเหนียวด้วยกันทั้งคู่เสมอกัน 0-0 ต้องมาดวลจุดโทษและก็เป็นทาง นิวซีแลนด์ยู-18 ที่คมกว่าเฉือนไป 1-0 ทำให้ผ่านไป 2 เกมทีมสาวไทยได้มาแล้ว 4 คะแนน จากผลชนะในเวลา 1 นัดและแพ้ช่วงต่อเวลาได้ 1 นัด


ส่วนเกมที่สามกับเกมสี่เป็นงานง่ายของทีมสาวไทยในการเจอกับ สิงคโปร์ และ มาเลเซีย ตามลำดับเนื่องจากทีมไทยไม่เคยปราชัยเลยสักครั้ง ถึงแม้ว่าผู้เล่นหลักในแนวรับอย่าง "โปเต้" จารวี ศรีจำนงค์ จะเจ็บหนักจนช่วยทีมไม่ได้แต่ก็ไม่เป็นผลกระทบอะไรมากนักและก็เป็นไปตามคาดโดยทีมสาวไทยไล่ถล่ม สิงคโปร์ 9-1 และ มาเลเซีย 9-2 ทำให้เก็บได้ 6 แต้มเต็ม เมื่อรวมกับของเดิมเป็น 10 คะแนน ขึ้นไปอยู่อันดับ 1 ของตารางและคว้าแชมป์แรกในประวัติศาสตร์ของทีมไอซ์ฮอกกี้หญิงทีมชาติไทย โดยที่ไม่ต้องสนใจเกมของชาติที่เหลือเนื่องจากทีมไทยไม่แพ้ใครในเวลา 3 พีเรียด
สำหรับทีมฮอกกี้น้ำแข็งทีมหญิงไทยเริ่มก่อตั้งในปี 2013 และเริ่มเข้าร่วมแข่งขันฮอกกี้น้ำแข็งชิงชนะเลิศแห่งเอเชียตั้งแต่ปี 2014 ซึ่งผลงานที่ผ่านมาในรายการนี้คว้ารองแชมป์ได้ทุกครั้ง ยกเว้นปี 2018 ที่ได้อันดับ 3 นอกจากนี้ทีมไอซ์ฮอกกี้สาวไทยยังได้เข้าร่วมการแข่งขันเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2017 ที่ซัปโปโร ประเทศญี่ปุ่น โดยได้อันดับที่ 5 ของการแข่งขันอีกด้วย

นอกจากนี้ทีมสาวไอซ์ฮอกกี้ไทยเริ่มที่จะมองเป้าหมายใหม่คือการก้าวไปสู่ระดับเวิลด์แชมเปี้ยนชิพเหมือนอย่างทีมชั้นนำของเอเชีย อย่างไรก็ตามต้องเร่งพัฒนาและเพิ่มจำนวนผู้เล่นหญิงในไทยให้มากกว่านี้เพื่อการตั้งเป็นไทยแลนด์ไอซ์ฮอกกี้ลีกประเภททีมหญิงตามกฎของสหพันธ์ฮอกกี้น้ำแข็งนานาชาติ
เชื่อว่าการได้แชมป์เอเชียในครั้งนี้จะเป็นโปรไฟล์สำคัญของการได้รับเลือกให้เข้าร่วมแข่งขันเอเชียนเกมส์ฤดูครั้งที่ 9 ปี 2021 และที่สำคัญยังเป็นการจุดประกายความฝันของบรรดาเยาวชนที่กำลังจะก้าวไปสู่ทีมชาติชุดใหญ่ในอนาคต
Cr.
https://www.siamsport.co.th/other/other/view/126749
ติดตามข่าวสารแห่งวงการ Ice Hockey เมืองไทยได้ที่เพจ Ice hockey family
https://www.facebook.com/icehockeyfamily/
ฮอกกี้น้ำแข็งสาวไทยสร้างประวัติศาตร์คว้าแชมป์เอเชียสมัยแรก
โดยการแข่งขันฮอกกี้น้ำแข็งชิงชนะเลิศแห่งเอเชียประเภททีมหญิง รายการ "ไอไอเอชเอฟ ไอซ์ฮอกกี้วูเม่น ชาลเลนจ์ คัพ ออฟ เอเชีย 2019" (IIHF Ice Hockey Women's Challenge Cup Of Asia 2019) จัดโดยสหพันธ์ฮอกกี้น้ำแข็งนานาชาติ หรือจะเรียกสั้นๆว่า "ชิงแชมป์เอเชีย" โดยในปีนี้ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รับเป็นเจ้าภาพ ซึ่งมี 9 ชาติเอเชียเข้าร่วมการแข่งขัน แบ่งเป็น 2 ดิวิชั่น คือ ระดับท็อปดิวิชั่น ประกอบด้วย นิวซีแลนด์ยู-18, ไต้หวันยู-18, สิงคโปร์, มาเลเซีย และ ไทย ส่วนระดับดิวิชั่น 1 ประกอบด้วย ฟิลิปปินส์, อินเดีย, คูเวต และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งแต่ละดิวิชั่นจะแข่งในระบบพบกันหมด ทีมชนะในเวลาได้ 3 คะแนน, ทีมชนะช่วงต่อเวลาได้ 2 คะแนน, ทีมแพ้ช่วงต่อเวลาได้ 1 คะแนน และ ทีมแพ้ในเวลาไม่ได้คะแนน
ทั้งนี้หลายคนสงสัยว่าทำไมศึกชิงแชมป์เอเชียถึงไรชื่อของ ญี่ปุ่น, จีน, เกาหลี และ ฮ่องกง แล้วทำไม นิวซีแลนด์ยู-18 กับ ไต้หวันยู-18 ถึงเป็นรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี ทั้งที่เป็นรายการใหญ่ระดับทวีป ซึ่งคำตอบก็คือ ญี่ปุ่น, จีน, เกาหลี และ ฮ่องกง ทำอันดับตามเงื่อนไขของสหพันธ์ฮอกกี้น้ำแข็งนานาชาติจนได้เข้าสู่ระดับเวิลด์แชมเปี้ยนชิพ ซึ่ง นิวซีแลนด์ กับ ไต้หวัน ชุดใหญ่ก็เช่นกัน ฉะนั้นทำให้พวกเขาไม่จำเป็นต้องมาเล่นในระดับเอเชียอีกต่อไปและการแข่งขันระดับเวิลด์แชมเปี้ยนชิพจะทับซ้อนกับชิงแชมป์เอเชียคือจัดแข่งทุกปีเช่นกัน ส่วน นิวซีแลนด์ กับ ไต้หวัน จึงส่งชุดรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปีมาเล่นแทน
กลับมาที่ทีมสาวไอซ์ฮอกกี้ไทยที่ถือว่าเป็นทีมเบอร์ 1 ย่านอาเซียน และโดดเด่นเมื่อยามเล่นในระดับเอเชีย โดยในครั้งนี้มีการเปลี่ยนถ่ายสายเลือดใหม่บ้างในบางตำแหน่งเป็นการผสมผสานระหว่างผู้เล่นเก่ากับผู้เล่นหน้าใหม่จำนวน 20 คน ประกอบด้วย นุชนาฎ พงศ์ฤกษ์ดี, ศิริกาญจน์? จิตตรีศิลป์, พรรณวิภา สุขศิริเวชรักษ์, ลิลรดา โภคา, วิลาสินี รัตนนัย, กุลวรรธน์ จรรยาจิรวงศ์, จารวี ศรีจำนงค์, นภัค เพชรนก, กานต์สิรี คูดำรงสวัสดิ์, กีรติกา ชั่งนะ, พิมพ์นภา พึ่งพาพงศ์, ขวัญชนก เฉยกลาง, พิจิตรา แซ่เจีย, นิอร พุฒสุข, ศิริลักษณ์ แก้วกิติณรงค์, วสุนันท์ อังกูลพัฒนาสุข, นิษฐานันต์ ลอยกุลนันท์, รัชนันท์ บุญยุบล, มินสชา ทีฆธนสกุล และ วิชยา แพงงา



ในเกมแรกทีมสาวไทยเจอศึกหนักเมื่อต้องพบกับ ไต้หวันยู-18 ซึ่งตั้งแต่ก่อตั้งทีมไอซ์ฮอกกี้หญิงทีมชาติไทยในปี 2013 ไม่เคยชนะทีมนี้ได้เลย แต่ทว่าเกมนี้สาวไทยเล่นด้วยความรัดกุมสามารถเบียดชนะไปแบบหวุดหวิด 3-2 ส่งผลให้เป็นครั้งแรกที่ ไทย เอาชนะ ไต้หวันยู-18 ได้เป็นครั้งแรก ขณะที่เกมต่อมาก็เจองานยากเช่นกันเมื่อต้องพบกับ นิวซีแลนด์ยู-18 จากโซนโอเชียเนียที่ได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันกับทีมโซนเอเชียเมื่อปี 2017 และก็เป็นอีก 1 ทีมที่สาวไทยยังไม่สามารถสะกดคำว่าชนะกับทีมนี้
เกมนี้ต่างฝ่ายต่างก็เล่นพยายามเปิดเกมบุกใส่กันแต่สาวน้อยกีวี่ที่นัดแรกพลาดท่าพ่ายให้กับ สิงคโปร์ ครองเกมรุกได้ดีกว่าไทยเล็กน้อย จนสุดท้ายครบ 3 พีเรียดต่างฝ่ายต่างเหนียวด้วยกันทั้งคู่เสมอกัน 0-0 ต้องมาดวลจุดโทษและก็เป็นทาง นิวซีแลนด์ยู-18 ที่คมกว่าเฉือนไป 1-0 ทำให้ผ่านไป 2 เกมทีมสาวไทยได้มาแล้ว 4 คะแนน จากผลชนะในเวลา 1 นัดและแพ้ช่วงต่อเวลาได้ 1 นัด


ส่วนเกมที่สามกับเกมสี่เป็นงานง่ายของทีมสาวไทยในการเจอกับ สิงคโปร์ และ มาเลเซีย ตามลำดับเนื่องจากทีมไทยไม่เคยปราชัยเลยสักครั้ง ถึงแม้ว่าผู้เล่นหลักในแนวรับอย่าง "โปเต้" จารวี ศรีจำนงค์ จะเจ็บหนักจนช่วยทีมไม่ได้แต่ก็ไม่เป็นผลกระทบอะไรมากนักและก็เป็นไปตามคาดโดยทีมสาวไทยไล่ถล่ม สิงคโปร์ 9-1 และ มาเลเซีย 9-2 ทำให้เก็บได้ 6 แต้มเต็ม เมื่อรวมกับของเดิมเป็น 10 คะแนน ขึ้นไปอยู่อันดับ 1 ของตารางและคว้าแชมป์แรกในประวัติศาสตร์ของทีมไอซ์ฮอกกี้หญิงทีมชาติไทย โดยที่ไม่ต้องสนใจเกมของชาติที่เหลือเนื่องจากทีมไทยไม่แพ้ใครในเวลา 3 พีเรียด
สำหรับทีมฮอกกี้น้ำแข็งทีมหญิงไทยเริ่มก่อตั้งในปี 2013 และเริ่มเข้าร่วมแข่งขันฮอกกี้น้ำแข็งชิงชนะเลิศแห่งเอเชียตั้งแต่ปี 2014 ซึ่งผลงานที่ผ่านมาในรายการนี้คว้ารองแชมป์ได้ทุกครั้ง ยกเว้นปี 2018 ที่ได้อันดับ 3 นอกจากนี้ทีมไอซ์ฮอกกี้สาวไทยยังได้เข้าร่วมการแข่งขันเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2017 ที่ซัปโปโร ประเทศญี่ปุ่น โดยได้อันดับที่ 5 ของการแข่งขันอีกด้วย

นอกจากนี้ทีมสาวไอซ์ฮอกกี้ไทยเริ่มที่จะมองเป้าหมายใหม่คือการก้าวไปสู่ระดับเวิลด์แชมเปี้ยนชิพเหมือนอย่างทีมชั้นนำของเอเชีย อย่างไรก็ตามต้องเร่งพัฒนาและเพิ่มจำนวนผู้เล่นหญิงในไทยให้มากกว่านี้เพื่อการตั้งเป็นไทยแลนด์ไอซ์ฮอกกี้ลีกประเภททีมหญิงตามกฎของสหพันธ์ฮอกกี้น้ำแข็งนานาชาติ
เชื่อว่าการได้แชมป์เอเชียในครั้งนี้จะเป็นโปรไฟล์สำคัญของการได้รับเลือกให้เข้าร่วมแข่งขันเอเชียนเกมส์ฤดูครั้งที่ 9 ปี 2021 และที่สำคัญยังเป็นการจุดประกายความฝันของบรรดาเยาวชนที่กำลังจะก้าวไปสู่ทีมชาติชุดใหญ่ในอนาคต
Cr.https://www.siamsport.co.th/other/other/view/126749
ติดตามข่าวสารแห่งวงการ Ice Hockey เมืองไทยได้ที่เพจ Ice hockey family
https://www.facebook.com/icehockeyfamily/