คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
หนังสือกฎหมายที่น่าอ่านปูพื้นฐานความรู้ในเบื้องต้น ส่วนตัวขอแนะนำ
1. หลักกฎหมายมหาชน และ หลักกฎหมายเอกชน
- เพราะเป็นความรู้เกี่ยวกับกฎหมายคร่าว ๆ กว้าง ๆ
เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับหลักการทั่วไปทางกฎหมาย ไม่เน้นตัวบทกฎหมาย
2. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
- เนื้อหาจะเริ่มกล่าวถึงหลักกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับตัวบทบัญญัติเป็นเบื้องต้น
แต่ไม่ลงลึกถึงคำอธิบายตัวบท และคำพิพากษาศาลฎีกาครับ
3. คำแนะนำนักศึกษากฎหมาย (โดย ศ.ดร. ธานินทร์ กรัยวิเชียร, อภิชน จันทรเสน)
- เนื้อหาจะเป็นการแนะนำ การวางแผนการศึกษาวิชากฎหมาย วิธีการศึกษาวิชากฎหมาย
วิธีการวินิจฉัยปัญหาทางกฎหมาย การสอบไล่วิชากฎหมาย ฯลฯ
ถือเป็นคู่มือนักศึกษากฎหมายที่ดีเยี่ยม
ถ้าเป็นหนังสืออ่านเพื่อเตรียมสอบตรงเข้าคณะนิติศาสตร์ เห็นมีอยู่ดี ๆ หลายเจ้า เช่น
- คู่มือเตรียมสอบ คณะนิติศาสตร์ มั่นใจเต็ม 100
- ตะลุยโจทย์ สอบตรง นิติศาสตร์ ฉบับ Update
- คู่มือสอบตรง นิติศาสตร์ Themizlaw ฉบับสมบูรณ์
- แบบฝึกหัดเตรียมสอบเข้านิติศาสตร์ ฉบับปรับปรุงใหม่
ส่วนหนังสือที่จำเป็นในการเรียนกฎหมายหลัก ๆ มี 3 ประเภท คือ
1. ตัวบทกฎหมาย หรือ ประมวลกฎหมายต่าง ๆ เช่น อาญา, แพ่งและพาณิชย์, ที่ดิน, รัษฎากร, พ.ร.บ. ต่างๆ จะมีแต่ตัวบทกฎหมายล้วน ๆ ไม่มีคำอธิบาย เอาไว้สำหรับอ่านท่องจำตัวบท
2. คำอธิบายตัวบทกฎหมาย, เนื้อหาคำบรรยายวิชาการ, รวมไปถึงชีทสรุปต่าง ๆ และคำพิพากษาศาลฎีกาแบบย่อด้วย จะเป็นการอธิบายขยายความตัวบทกฎหมาย พร้อมคำอธิบายเชิงวิชาการ เหตุ-ผล และยกตัวอย่างเหตุการณ์หรือคำพิพากษาศาลฎีกาประกอบ เอาไว้ทำความเข้าใจตัวบทกฎหมาย และการปรับใช้กับข้อเท็จจริง
3. ตัวอย่างข้อสอบ ตัวอย่างคำถาม-ตอบ และ ข้อสอบเก่า เอาไว้ใช้สำหรับดูเป็นแนวทางการเขียนตอบวิชากฎหมาย และ ขอบเขตเบื้องต้นที่มักออกสอบ
ถ้าจะอ่านเพื่อสอบในรายวิชาระดับ ป.ตรี ก็ให้ไปดูก่อนว่าลงวิชาอะไรบ้าง แล้วค่อยไปซื้อหนังสือที่ตรงตามหัวข้อวิชานั้น ๆ มาอ่านครับ
ซึ่งก็จะมีหลายสำนักพิมพ์ หลายอาจารย์ผู้เขียน ต้องลองไปเลือกดูครับ ว่าถูกจริตกับการเรียบเรียงของอาจารย์ท่านใด
ซึ่งแต่ละวิชา ก็จะมีอาจารย์ผู้แต่ง ดัง ๆ อยู่หลายท่าน
-------------------
แนะนำให้ตั้งใจเรียนในโรงเรียนให้ดีก่อนครับ
หนังสือกฎหมายเฉพาะทาง ยังไม่จำเป็นมากในตอนนี้
ตั้งใจเรียน ม.ปลาย ให้ดี แล้วสอบเข้า ม. ที่ดังด้านนี้ให้ได้ เช่น จุฬา ธรรมศาสตร์ จะได้เปรียบครับ
ปล. ถ้าขยัน ลงเรียน Pre-degree ม.รามคำแหง คณะนิติศาสตร์ ควบ ม.ปลาย ไปด้วยก็ได้ครับ
ถ้าเอาจริง ตอนจบ ม.6 ก็เรียนต่ออีกอย่างน้อย 1 เทอม สามารถจบ ป.ตรี นิติศาสตร์ ได้เลย ทุ่นเวลาไปได้เยอะ
หนังสือแนะนำ

1. หลักกฎหมายมหาชน และ หลักกฎหมายเอกชน
- เพราะเป็นความรู้เกี่ยวกับกฎหมายคร่าว ๆ กว้าง ๆ
เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับหลักการทั่วไปทางกฎหมาย ไม่เน้นตัวบทกฎหมาย
2. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
- เนื้อหาจะเริ่มกล่าวถึงหลักกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับตัวบทบัญญัติเป็นเบื้องต้น
แต่ไม่ลงลึกถึงคำอธิบายตัวบท และคำพิพากษาศาลฎีกาครับ
3. คำแนะนำนักศึกษากฎหมาย (โดย ศ.ดร. ธานินทร์ กรัยวิเชียร, อภิชน จันทรเสน)
- เนื้อหาจะเป็นการแนะนำ การวางแผนการศึกษาวิชากฎหมาย วิธีการศึกษาวิชากฎหมาย
วิธีการวินิจฉัยปัญหาทางกฎหมาย การสอบไล่วิชากฎหมาย ฯลฯ
ถือเป็นคู่มือนักศึกษากฎหมายที่ดีเยี่ยม
ถ้าเป็นหนังสืออ่านเพื่อเตรียมสอบตรงเข้าคณะนิติศาสตร์ เห็นมีอยู่ดี ๆ หลายเจ้า เช่น
- คู่มือเตรียมสอบ คณะนิติศาสตร์ มั่นใจเต็ม 100
- ตะลุยโจทย์ สอบตรง นิติศาสตร์ ฉบับ Update
- คู่มือสอบตรง นิติศาสตร์ Themizlaw ฉบับสมบูรณ์
- แบบฝึกหัดเตรียมสอบเข้านิติศาสตร์ ฉบับปรับปรุงใหม่
ส่วนหนังสือที่จำเป็นในการเรียนกฎหมายหลัก ๆ มี 3 ประเภท คือ
1. ตัวบทกฎหมาย หรือ ประมวลกฎหมายต่าง ๆ เช่น อาญา, แพ่งและพาณิชย์, ที่ดิน, รัษฎากร, พ.ร.บ. ต่างๆ จะมีแต่ตัวบทกฎหมายล้วน ๆ ไม่มีคำอธิบาย เอาไว้สำหรับอ่านท่องจำตัวบท
2. คำอธิบายตัวบทกฎหมาย, เนื้อหาคำบรรยายวิชาการ, รวมไปถึงชีทสรุปต่าง ๆ และคำพิพากษาศาลฎีกาแบบย่อด้วย จะเป็นการอธิบายขยายความตัวบทกฎหมาย พร้อมคำอธิบายเชิงวิชาการ เหตุ-ผล และยกตัวอย่างเหตุการณ์หรือคำพิพากษาศาลฎีกาประกอบ เอาไว้ทำความเข้าใจตัวบทกฎหมาย และการปรับใช้กับข้อเท็จจริง
3. ตัวอย่างข้อสอบ ตัวอย่างคำถาม-ตอบ และ ข้อสอบเก่า เอาไว้ใช้สำหรับดูเป็นแนวทางการเขียนตอบวิชากฎหมาย และ ขอบเขตเบื้องต้นที่มักออกสอบ
ถ้าจะอ่านเพื่อสอบในรายวิชาระดับ ป.ตรี ก็ให้ไปดูก่อนว่าลงวิชาอะไรบ้าง แล้วค่อยไปซื้อหนังสือที่ตรงตามหัวข้อวิชานั้น ๆ มาอ่านครับ
ซึ่งก็จะมีหลายสำนักพิมพ์ หลายอาจารย์ผู้เขียน ต้องลองไปเลือกดูครับ ว่าถูกจริตกับการเรียบเรียงของอาจารย์ท่านใด
ซึ่งแต่ละวิชา ก็จะมีอาจารย์ผู้แต่ง ดัง ๆ อยู่หลายท่าน
-------------------
แนะนำให้ตั้งใจเรียนในโรงเรียนให้ดีก่อนครับ
หนังสือกฎหมายเฉพาะทาง ยังไม่จำเป็นมากในตอนนี้
ตั้งใจเรียน ม.ปลาย ให้ดี แล้วสอบเข้า ม. ที่ดังด้านนี้ให้ได้ เช่น จุฬา ธรรมศาสตร์ จะได้เปรียบครับ
ปล. ถ้าขยัน ลงเรียน Pre-degree ม.รามคำแหง คณะนิติศาสตร์ ควบ ม.ปลาย ไปด้วยก็ได้ครับ
ถ้าเอาจริง ตอนจบ ม.6 ก็เรียนต่ออีกอย่างน้อย 1 เทอม สามารถจบ ป.ตรี นิติศาสตร์ ได้เลย ทุ่นเวลาไปได้เยอะ
หนังสือแนะนำ







แสดงความคิดเห็น
พรีนิติรามคำแหง 62
แต่ไม่มีความรู้พื้นฐานเรื่องกฏหมายอะไรเลย เพราะก่อนหน้าไม่ได้คิดว่าตัวเองจะได้เลือกทางนี้ด้วยซ้ำ ตอนนี้กลัวว่าสมัครเรียนไปแล้วจะเรียนไม่รอดค่ะ
พี่ๆพอจะมีหนังสือเกี่ยวกับกฏหมายแนะนำมั้ยคะ หรือมีการเรียนการสอนออนไลน์มาแนะนำน้องมั้ย แงง