ถ้าเราได้บริหารสมาคมกีฬาวอลเลย์บอล อย่างแรกที่เราจะทำคืออะไร ?
คำถามข้างต้นที่ตั้งไว้ ผมคิดว่าเราต่างก็มีคำตอบไปคนละแบบ เพราะว่าจุดที่ยืน ตำแหน่งที่มองเข้ามาอยู่คนละที่ หรือ อาจจะตอบแตกต่างกันไปตามช่วงเวลาที่อยู่ในสถานการณ์นั้นๆ
ถ้าถามตอนวงการวอลเลย์บอลเงียบเหงา ก็คงจะปรับปรุงเรื่องของการประชาสัมพันธ์
ถ้าคำถามนี้โผล่มาตอนที่กำลังขาดนักกีฬาที่จะก้าวขึ้นมาประดับทีมชาติ ก็คงจะเน้นไปเรื่องพัฒนา
ถ้าคำถามนี้เกิดขึ้น ณ ตอนที่กำลังจะลงแข่งขันเพื่อไปลุยโอลิมปิก ก็คงจะทุ่มเงินไปที่การซ้อมเก็บตัวให้ได้มากที่สุด
แต่...ถ้าถามตอนที่มีเงินในบัญชี 700-800 บาท เราจะตอบคำถามนี้กันอย่างไรบ้าง ???
สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลเคยมีเงินติดบัญชีอยู่ประมาณนี้จริงๆ แต่ก็ต้องย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งถ้ากำหนดเวลาก็น่าจะราวๆ พ.ศ.2528 โดยประมาณ
ยุคนั้นถือว่าวงการวอลเลย์บอลยังไม่กว้างขวาง เป็นกีฬาที่ส่งเข้าร่วมทำการแข่งขันในรายการระดับอาเซียนกับเอเชีย ซึ่งทีมวอลเลย์บอลชายก็เริ่มก้าวสู่แชมป์ซีเกมส์ในช่วงแรกๆ และ ยังเคยก้าวไปสู่การแข่งขันรายการชิงแชมป์โลกปี 1998 ที่ประเทศญี่ปุ่น ตามข้อมูล ณ ตอนนั้นก็ไปทั้งทีมชายและทีมหญิง
ในแง่ความสำเร็จ ถ้าเทียบจำนวนเงินที่มี กับผลงานที่เกิดขึ้น ถือว่าทีมวอลเลย์บอลไทยไปเกินเป้าหมายเป็นอย่างมาก
สิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นเรื่องดีของวงการ นั้นก็คือการมีกลุ่มคนที่อยากจะพัฒนาและส่งเสริมกีฬาวอลเลย์บอลให้เดินไปข้างหน้าต่อไปจากที่เป็นอยู่ แต่ถ้ามองอีกด้าน หากคนกลุ่มนี้ไม่สานต่อ กีฬาวอลเลย์บอลของไทยก็อาจจะเป็นแค่ 1 ชนิดกีฬาที่ถูกบรรจุในบทเรียนวิชาพลศึกษาเท่านั้น
เมื่อก้าวแล้ว...ก็ต้องไปต่อให้สุด แต่คำถามคือจะไปอย่างไรในเมื่อการสนับสนุนที่เข้าสู่สมาคมฯยังไม่มีเลย
โชคดีที่ยุคนั้นจะมีธรรมเนียมปฎิบัติอย่างหนึ่งคือ คนที่เข้ามาทำหน้าที่นายกสมาคมฯจะต้องดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งแต่ละคนที่เข้ามาก็ได้ช่วยเหลือกันอย่างสุดความสามารถ แม้ว่าจะไม่มีงบก้อนโต แต่การหยิบยื่นถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ทำให้คนทำทีมยังพอได้หายใจบ้าง
จนในที่สุด...ทีมวอลเลย์บอลไทยก็เริ่มก้าวขึ้นไปท้าทายกับทีมระดับโลก
ในแง่ของผลงาน ทีมวอลเลย์บอลหญิงเริ่มเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เม็ดเงินที่เข้ามาสนับสนุนก็มีบ้าง แต่ไม่ถึงกับที่จะเอาไปพัฒนาส่วนอื่นได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ในที่นี้ผมกำลังหมายถึง ทีมชาติชุดใหญ่เริ่มเข้าที่เข้าทาง นักกีฬาเริ่มแกร่ง ทีมก้าวไปเล่นรายการระดับโลกต่อเนื่อง และแล้วรางวัลแห่งความทุ่มเทของทีมไทยก็เกิดขึ้น เมื่อทัพตบไทยทะยานไปทุบจีน มหาอำนาจของวงการวอลเลย์บอลที่เวียดนาม แล้วคว้าแชมป์เอเชียปี 2009 ได้อย่างยิ่งใหญ่ และ เป็นครั้งแรกของชาติไทยที่ได้รางวัลแชมป์เอเชีย
ถ้าวัดเรื่องชื่อเสียงที่ย้อนกลับมา ต้องยอมรับว่าแชมป์ครั้งนี้ยังไม่เปรี้ยงพอที่จะทำให้ผู้สนับสนุนหันมามองได้ เพราะสื่อสมัยนั้นยังไม่กว้างมาก จะมีก็เป็นกลุ่มๆที่ได้รับรู้ถึงผลงานที่ทีมวอลเลย์บอลไทยสร้างขึ้น แต่ถ้าในแง่ความสำเร็จแล้ว สมาคมฯเดินมาถูกทาง และ สมควรได้รับคำชื่นชมกับสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก
ถามว่ามีงบประมาณเพิ่มขึ้นไหม จากผลงานที่สร้างขึ้น ส่วนนี้ได้ข้อมูลมาว่า สมาคมฯเริ่มมีงบประมาณเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังเป็นท่อเลี้ยงหลักที่จะเอาไว้ใช้ส่งทีมชุดใหญ่ไปแข่งขันรายการต่างๆทั่วโลก
ขณะเดียวกัน หากมองย้อนกลับไปอีกครั้ง จะเห็นว่าระหว่างที่สมาคมฯกำลังได้พัฒนาทีมใหญ่ ก็ยังได้วางงบบางส่วนลงไปจัดการแข่งขันระดับยุวชน-เยาวนเอาไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น 14ปี,16ปี,18ปี และ การแข่งขันระดับประชาชนในถ้วยต่างๆ ถ้ามองดูจำนวนปีต่อท้ายการแข่งขันรายการต่างๆก็จะเห็นว่าจัดขึ้นเป็นปีที่ 15-20 กว่าๆทั้งนั้น
ถ้าแปลความหมายก็คือ สมาคมฯ ไม่ได้ทำเพียงแค่ทีมใหญ่ แต่เป็นการส่งเสริมวงการกีฬาวอลเลย์บอลให้แพร่หลาย และ ไม่ใช่แค่กีฬาที่เอาไว้ให้เล่นเฉพาะวิชาพละศึกษาเท่านั้น
แต่....ต้องยอมรับว่าการส่งเสริมตรงส่วนนี้ยังไม่เข้มข้นพอที่จะผลิตนักกีฬาที่มีองค์ประกอบเหมาะสมต่อการนำไปใช้งานในระดับทีมชาติ
จุดนี้เป็นเรื่องที่อธิบายยากพอสมควร เพราะหากพูดกัน ณ เวลานั้นๆ ถือว่าเป็นความสำเร็จที่ทำได้ครบทุกด้าน เมื่อเทียบกับงบที่มีเพียงไม่กี่ล้านบาท
ตัดภาพมาที่ตอนนี้ วงการวอลเลย์บอลอยู่ในยุคสมัยที่ครบ และ พร้อมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่เกิดขึ้นของทีมวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย การจัดการแข่งขันระดับโลก ความสามารถวอลเลย์บอลระดับยุวชน เยาวชนเริ่มเข้าที่เข้าทาง มีโครงการมากมายที่พัฒนานักกีฬาทั้งหญิง และ ชาย ไหนจะมีการแข่งขันที่มีคุณภาพขึ้นของนักกีฬาระดับยุวชนเยาวชนจากโรงเรียนต่างๆ ทัพชายหาดที่ยังเดินทางรอบโลก
ภายในองค์กรของสมาคมฯก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เริ่มถ่ายทอดสดการแข่งขันรายการที่จัดขึ้นให้คนได้ดูง่ายขึ้นผ่านทางแฟนเพจสมาคมฯ การออกไปให้ความรู้ของกลุ่มโค้ช และ เริ่มนำวอลเลย์บอลลีกอาชีพมาทำเอง
ทุกสิ่งทุกอย่างมันเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
สำหรับข้อมูลที่ผมมีคือ สมาคมฯยึดหลัก “ช่วยเหลือ พัฒนา ส่งเสริม” ซึ่งถ้าพูดกันตามตรงคือในยุคสมัยต่างๆที่เกิดขึ้นของสมาคมฯไม่ได้นำธุรกิจเข้ามาเป็นตัวนำในการพัฒนา ใช้งบประมาณเท่าที่มี ส่งเสริมเท่าที่ทำได้ และที่สำคัญคือ”ทุกฝ่ายทุ่มเทไปพร้อมๆกัน”
ถามว่าตอนนี้เงินในบัญชีสมาคมมีเท่าไร ผมตอบได้เลยว่ามีหมุนเวียนเข้าๆออกๆก็น่าจะ 100ล้านกว่าๆแล้ว แต่มันไม่ใช่เงินที่เข้ามานอนค้าง มันคือเงินที่เข้ามาแล้วออกไปทันที
ผู้สนับสนุนมอบให้ ก็กลายเป็นงบประมาณเก็บตัวฝึกซ้อมของทีมวอลเลย์บอลทีมชาติชุด/U23/เยาวชน/ยุวชน ทั้งประเภทชายและหญิง รวมแล้ว 8 ทีม
ผู้สนับสนุนมอบให้ ก็กลายเป็นงบส่งให้กับทีมวอลเลย์บอลชายหาดชุดใหญ่,เยาวชน,ยุวชน ชายหญิง รวม 6 ทีม
ผู้สนับสนุนมอบให้ก็กลายเป็นงบที่ต้องใช้ส่งทีมชาติชุดต่างๆไปแข่งขันทั่วโลก ค่าเครื่องบิน ค่าที่พักอาหาร จำนวนกว่า 14 ทีม ซึ่งแต่ละทีมแข่งมากกว่า 1 รายการทั้งนั้น
ผู้สนับสนุนมอบให้ ก็กลายเป็นงบที่เอาไว้ทำโครงการเด็กยักษ์ โครงการสุดยอดเยาวชนไทย
ผู้สนับสนุนมอบให้ก็เอาไปจัดการแข่งขันวอลเลย์บอล 14 ปี 16 ปี 18 ปี และ ประชาชนทั่วไป ระดับภาค และ ระดับประเทศตลอดทั้งปี
ผู้สนับสนุนมอบให้ ก็กลายเป็นเงินที่เอาไว้จัดแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดทั่วไทยรุ่น 12,14,16,18 และ ประชาชนทั่วไป
ผู้สนับสนุนมอบให้ ก็กลายเป็นงบที่เอาไว้จัดแข่งขันรายการต่างๆที่ประเทศต้องได้เป็นเจ้าภาพ
ผู้สนับสนุนมอบให้ ก็กลายเป็นเงินอัดฉีดประจำปีสู่นักกีฬาโค้ช
จากตัวอย่างด้านบน เงินจึงเข้ามาและออกไปเป็นการพัฒนาส่งเสริมทันที
ถ้าไม่เห็นภาพ เราลองมองดูได้ว่าในแต่ละปี เราได้ชมวอลเลย์บอลกี่รายการ ได้เห็นการแข่งขันของโรงเรียนต่างๆเยอะแค่ไหน ทั้งหมดมันคือมูลค่าที่ได้รับจากการแปลงเงินเป็นงบประมาณทั้งสิ้น
มาถึงตรงนี้ผมไม่อาจจะสรุปได้เลยว่าช่วงไหนของวงการวอลเลย์บอลไทยดีที่สุด เพราะเท่าที่เห็น หรือ เข้าไปสัมผัสจะเห็นว่ากลุ่มคนพวกนี้เขาพยายามทำในสิ่งที่มีให้เกิดผลได้มากที่สุดก่อนเป็นอันดับแรก
ดังนั้นผมจึงขอเปลี่ยนจากการสรุปเรื่องราว เป็นชื่นชม และ ขออวยพรให้ปีที่ 60 ของสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทยประสบผลความสำเร็จให้มากยิ่งขึ้น จะดีมากๆเลยถ้าในปีหรือสองปีนี้ จากผลที่ทำมาตลอดชีวิตของพวกคุณสามารถส่งไทยให้เข้าไปอยู่ในการแข่งขันโอลิมปิกรอบสุดท้ายที่ญี่ปุ่นได้สำเร็จ
เอก ประวิตร
https://www.smmsport.com/reader/article/12242
Volley Talk: จากเงิน 800 ก้าวสู่ 100 ล้านของวอลเลย์บอลไทย
คำถามข้างต้นที่ตั้งไว้ ผมคิดว่าเราต่างก็มีคำตอบไปคนละแบบ เพราะว่าจุดที่ยืน ตำแหน่งที่มองเข้ามาอยู่คนละที่ หรือ อาจจะตอบแตกต่างกันไปตามช่วงเวลาที่อยู่ในสถานการณ์นั้นๆ
ถ้าถามตอนวงการวอลเลย์บอลเงียบเหงา ก็คงจะปรับปรุงเรื่องของการประชาสัมพันธ์
ถ้าคำถามนี้โผล่มาตอนที่กำลังขาดนักกีฬาที่จะก้าวขึ้นมาประดับทีมชาติ ก็คงจะเน้นไปเรื่องพัฒนา
ถ้าคำถามนี้เกิดขึ้น ณ ตอนที่กำลังจะลงแข่งขันเพื่อไปลุยโอลิมปิก ก็คงจะทุ่มเงินไปที่การซ้อมเก็บตัวให้ได้มากที่สุด
แต่...ถ้าถามตอนที่มีเงินในบัญชี 700-800 บาท เราจะตอบคำถามนี้กันอย่างไรบ้าง ???
สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลเคยมีเงินติดบัญชีอยู่ประมาณนี้จริงๆ แต่ก็ต้องย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งถ้ากำหนดเวลาก็น่าจะราวๆ พ.ศ.2528 โดยประมาณ
ยุคนั้นถือว่าวงการวอลเลย์บอลยังไม่กว้างขวาง เป็นกีฬาที่ส่งเข้าร่วมทำการแข่งขันในรายการระดับอาเซียนกับเอเชีย ซึ่งทีมวอลเลย์บอลชายก็เริ่มก้าวสู่แชมป์ซีเกมส์ในช่วงแรกๆ และ ยังเคยก้าวไปสู่การแข่งขันรายการชิงแชมป์โลกปี 1998 ที่ประเทศญี่ปุ่น ตามข้อมูล ณ ตอนนั้นก็ไปทั้งทีมชายและทีมหญิง
ในแง่ความสำเร็จ ถ้าเทียบจำนวนเงินที่มี กับผลงานที่เกิดขึ้น ถือว่าทีมวอลเลย์บอลไทยไปเกินเป้าหมายเป็นอย่างมาก
สิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นเรื่องดีของวงการ นั้นก็คือการมีกลุ่มคนที่อยากจะพัฒนาและส่งเสริมกีฬาวอลเลย์บอลให้เดินไปข้างหน้าต่อไปจากที่เป็นอยู่ แต่ถ้ามองอีกด้าน หากคนกลุ่มนี้ไม่สานต่อ กีฬาวอลเลย์บอลของไทยก็อาจจะเป็นแค่ 1 ชนิดกีฬาที่ถูกบรรจุในบทเรียนวิชาพลศึกษาเท่านั้น
เมื่อก้าวแล้ว...ก็ต้องไปต่อให้สุด แต่คำถามคือจะไปอย่างไรในเมื่อการสนับสนุนที่เข้าสู่สมาคมฯยังไม่มีเลย
โชคดีที่ยุคนั้นจะมีธรรมเนียมปฎิบัติอย่างหนึ่งคือ คนที่เข้ามาทำหน้าที่นายกสมาคมฯจะต้องดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งแต่ละคนที่เข้ามาก็ได้ช่วยเหลือกันอย่างสุดความสามารถ แม้ว่าจะไม่มีงบก้อนโต แต่การหยิบยื่นถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ทำให้คนทำทีมยังพอได้หายใจบ้าง
จนในที่สุด...ทีมวอลเลย์บอลไทยก็เริ่มก้าวขึ้นไปท้าทายกับทีมระดับโลก
ในแง่ของผลงาน ทีมวอลเลย์บอลหญิงเริ่มเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เม็ดเงินที่เข้ามาสนับสนุนก็มีบ้าง แต่ไม่ถึงกับที่จะเอาไปพัฒนาส่วนอื่นได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ในที่นี้ผมกำลังหมายถึง ทีมชาติชุดใหญ่เริ่มเข้าที่เข้าทาง นักกีฬาเริ่มแกร่ง ทีมก้าวไปเล่นรายการระดับโลกต่อเนื่อง และแล้วรางวัลแห่งความทุ่มเทของทีมไทยก็เกิดขึ้น เมื่อทัพตบไทยทะยานไปทุบจีน มหาอำนาจของวงการวอลเลย์บอลที่เวียดนาม แล้วคว้าแชมป์เอเชียปี 2009 ได้อย่างยิ่งใหญ่ และ เป็นครั้งแรกของชาติไทยที่ได้รางวัลแชมป์เอเชีย
ถ้าวัดเรื่องชื่อเสียงที่ย้อนกลับมา ต้องยอมรับว่าแชมป์ครั้งนี้ยังไม่เปรี้ยงพอที่จะทำให้ผู้สนับสนุนหันมามองได้ เพราะสื่อสมัยนั้นยังไม่กว้างมาก จะมีก็เป็นกลุ่มๆที่ได้รับรู้ถึงผลงานที่ทีมวอลเลย์บอลไทยสร้างขึ้น แต่ถ้าในแง่ความสำเร็จแล้ว สมาคมฯเดินมาถูกทาง และ สมควรได้รับคำชื่นชมกับสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก
ถามว่ามีงบประมาณเพิ่มขึ้นไหม จากผลงานที่สร้างขึ้น ส่วนนี้ได้ข้อมูลมาว่า สมาคมฯเริ่มมีงบประมาณเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังเป็นท่อเลี้ยงหลักที่จะเอาไว้ใช้ส่งทีมชุดใหญ่ไปแข่งขันรายการต่างๆทั่วโลก
ขณะเดียวกัน หากมองย้อนกลับไปอีกครั้ง จะเห็นว่าระหว่างที่สมาคมฯกำลังได้พัฒนาทีมใหญ่ ก็ยังได้วางงบบางส่วนลงไปจัดการแข่งขันระดับยุวชน-เยาวนเอาไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น 14ปี,16ปี,18ปี และ การแข่งขันระดับประชาชนในถ้วยต่างๆ ถ้ามองดูจำนวนปีต่อท้ายการแข่งขันรายการต่างๆก็จะเห็นว่าจัดขึ้นเป็นปีที่ 15-20 กว่าๆทั้งนั้น
ถ้าแปลความหมายก็คือ สมาคมฯ ไม่ได้ทำเพียงแค่ทีมใหญ่ แต่เป็นการส่งเสริมวงการกีฬาวอลเลย์บอลให้แพร่หลาย และ ไม่ใช่แค่กีฬาที่เอาไว้ให้เล่นเฉพาะวิชาพละศึกษาเท่านั้น
แต่....ต้องยอมรับว่าการส่งเสริมตรงส่วนนี้ยังไม่เข้มข้นพอที่จะผลิตนักกีฬาที่มีองค์ประกอบเหมาะสมต่อการนำไปใช้งานในระดับทีมชาติ
จุดนี้เป็นเรื่องที่อธิบายยากพอสมควร เพราะหากพูดกัน ณ เวลานั้นๆ ถือว่าเป็นความสำเร็จที่ทำได้ครบทุกด้าน เมื่อเทียบกับงบที่มีเพียงไม่กี่ล้านบาท
ตัดภาพมาที่ตอนนี้ วงการวอลเลย์บอลอยู่ในยุคสมัยที่ครบ และ พร้อมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่เกิดขึ้นของทีมวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย การจัดการแข่งขันระดับโลก ความสามารถวอลเลย์บอลระดับยุวชน เยาวชนเริ่มเข้าที่เข้าทาง มีโครงการมากมายที่พัฒนานักกีฬาทั้งหญิง และ ชาย ไหนจะมีการแข่งขันที่มีคุณภาพขึ้นของนักกีฬาระดับยุวชนเยาวชนจากโรงเรียนต่างๆ ทัพชายหาดที่ยังเดินทางรอบโลก
ภายในองค์กรของสมาคมฯก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เริ่มถ่ายทอดสดการแข่งขันรายการที่จัดขึ้นให้คนได้ดูง่ายขึ้นผ่านทางแฟนเพจสมาคมฯ การออกไปให้ความรู้ของกลุ่มโค้ช และ เริ่มนำวอลเลย์บอลลีกอาชีพมาทำเอง
ทุกสิ่งทุกอย่างมันเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
สำหรับข้อมูลที่ผมมีคือ สมาคมฯยึดหลัก “ช่วยเหลือ พัฒนา ส่งเสริม” ซึ่งถ้าพูดกันตามตรงคือในยุคสมัยต่างๆที่เกิดขึ้นของสมาคมฯไม่ได้นำธุรกิจเข้ามาเป็นตัวนำในการพัฒนา ใช้งบประมาณเท่าที่มี ส่งเสริมเท่าที่ทำได้ และที่สำคัญคือ”ทุกฝ่ายทุ่มเทไปพร้อมๆกัน”
ถามว่าตอนนี้เงินในบัญชีสมาคมมีเท่าไร ผมตอบได้เลยว่ามีหมุนเวียนเข้าๆออกๆก็น่าจะ 100ล้านกว่าๆแล้ว แต่มันไม่ใช่เงินที่เข้ามานอนค้าง มันคือเงินที่เข้ามาแล้วออกไปทันที
ผู้สนับสนุนมอบให้ ก็กลายเป็นงบประมาณเก็บตัวฝึกซ้อมของทีมวอลเลย์บอลทีมชาติชุด/U23/เยาวชน/ยุวชน ทั้งประเภทชายและหญิง รวมแล้ว 8 ทีม
ผู้สนับสนุนมอบให้ ก็กลายเป็นงบส่งให้กับทีมวอลเลย์บอลชายหาดชุดใหญ่,เยาวชน,ยุวชน ชายหญิง รวม 6 ทีม
ผู้สนับสนุนมอบให้ก็กลายเป็นงบที่ต้องใช้ส่งทีมชาติชุดต่างๆไปแข่งขันทั่วโลก ค่าเครื่องบิน ค่าที่พักอาหาร จำนวนกว่า 14 ทีม ซึ่งแต่ละทีมแข่งมากกว่า 1 รายการทั้งนั้น
ผู้สนับสนุนมอบให้ ก็กลายเป็นงบที่เอาไว้ทำโครงการเด็กยักษ์ โครงการสุดยอดเยาวชนไทย
ผู้สนับสนุนมอบให้ก็เอาไปจัดการแข่งขันวอลเลย์บอล 14 ปี 16 ปี 18 ปี และ ประชาชนทั่วไป ระดับภาค และ ระดับประเทศตลอดทั้งปี
ผู้สนับสนุนมอบให้ ก็กลายเป็นเงินที่เอาไว้จัดแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดทั่วไทยรุ่น 12,14,16,18 และ ประชาชนทั่วไป
ผู้สนับสนุนมอบให้ ก็กลายเป็นงบที่เอาไว้จัดแข่งขันรายการต่างๆที่ประเทศต้องได้เป็นเจ้าภาพ
ผู้สนับสนุนมอบให้ ก็กลายเป็นเงินอัดฉีดประจำปีสู่นักกีฬาโค้ช
จากตัวอย่างด้านบน เงินจึงเข้ามาและออกไปเป็นการพัฒนาส่งเสริมทันที
ถ้าไม่เห็นภาพ เราลองมองดูได้ว่าในแต่ละปี เราได้ชมวอลเลย์บอลกี่รายการ ได้เห็นการแข่งขันของโรงเรียนต่างๆเยอะแค่ไหน ทั้งหมดมันคือมูลค่าที่ได้รับจากการแปลงเงินเป็นงบประมาณทั้งสิ้น
มาถึงตรงนี้ผมไม่อาจจะสรุปได้เลยว่าช่วงไหนของวงการวอลเลย์บอลไทยดีที่สุด เพราะเท่าที่เห็น หรือ เข้าไปสัมผัสจะเห็นว่ากลุ่มคนพวกนี้เขาพยายามทำในสิ่งที่มีให้เกิดผลได้มากที่สุดก่อนเป็นอันดับแรก
ดังนั้นผมจึงขอเปลี่ยนจากการสรุปเรื่องราว เป็นชื่นชม และ ขออวยพรให้ปีที่ 60 ของสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทยประสบผลความสำเร็จให้มากยิ่งขึ้น จะดีมากๆเลยถ้าในปีหรือสองปีนี้ จากผลที่ทำมาตลอดชีวิตของพวกคุณสามารถส่งไทยให้เข้าไปอยู่ในการแข่งขันโอลิมปิกรอบสุดท้ายที่ญี่ปุ่นได้สำเร็จ
เอก ประวิตร
https://www.smmsport.com/reader/article/12242