ปลาพญานาค - ไม่ทราบว่าเป็นปลาตระกูลเดียวกันกับที่คนไทยเห็นรูปตามข่าวกันหรือเปล่าเรื่องพญานาค?

... " ปลาพญานาค” ติดอวนที่ญี่ปุ่น ลือหวั่นเกิดสึนามิ (ชมคลิป) "...

       - ไม่ทราบว่าเป็นปลาตระกูลเดียวกันกับที่คนไทยเห็นรูปตามข่าวกันหรือเปล่าเรื่องพญานาค?

     ที่มา   :    https://mgronline.com/japan/detail/9620000011933
                     ( เผยแพร่: 4 ก.พ. 2562 07:40   โดย: ผู้จัดการออนไลน์ )
          _______________________________________________________________________________________________________

               ปลาพญานาคอาศัยอยู่ในทะเลลึกระดับ 200 ถึง 1,000เมตร มีเกล็ดสีเงิน ครีบสีแดง ลำตัวยาว จนเป็นที่มาของชื่อ
               ปลาพญานาค การที่ปลาน้ำลึกเช่นนี้เกยตื้นหรือติดอวนจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก จนมีเสียงร่ำลือว่าอาจเกิด
               ความเปลี่ยนแปลงใต้ทะเลลึกซึ่งอาจเป็นสัญญาณของภัยพิบัติ

               ตำนานของญี่ปุ่นที่เชื่อว่าปลาชนิดนี้คือ “ผู้ส่งสาส์นจากวังแห่งเทพใต้สมุทร” โดยจะมาเกยตื้นก่อนหน้าที่จะเกิด
               สึนามิใหญ่ หากแต่นักวิทยาศาสตร์ปฏิเสธความเชื่อนี้ 

               คาซูสะ ไซบะ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำอุโอซุ ระบุว่า “ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์ถึงความเชื่อว่า
               ปลาพญานาคจะปรากฏก่อนแผ่นดินไหวใหญ่ แต่ก็ไม่อาจจะปฏิเสธความเป็นไปได้ 100% เช่นกัน”

               ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า อาจเป็นเพราะภาวะโลกร้อน ทำให้เราพบเห็นปลาพญานาคหรือเพราะเหตุผลอื่นที่ยังไม่ทราบแน่ชัด

               ในปี 2011 ซึ่งเกิดแผ่นดินไหวใหญ่และคลื่นสึนามิถล่มพื้นที่ฟูกูชิมะ คร่าชีวิตผู้คนมากกว่า 20,000 คน ปลาพญานาค
               หลายสิบตัวได้ถูกซัดมาเกยตื้นในปีก่อนหน้า เหมือนจะเป็นสัญญาณบอกเหตุล่วงหน้า

               ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า การมีความเปลี่ยนแปลงที่ใต้ท้องทะเลก่อนหน้าการเกิดแผ่นดินไหว ทำให้กระแสน้ำปั่นป่วน
               และสัตว์ใต้ทะเลลึกต้องขึ้นสู่ผิวน้ำ

               โอซามุ อินามูระ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำอุโอซุ อ้างถึงทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ว่า ปลาพญานาคติดตามแหล่งอาหาร
               คือ พวกกุ้งฝอย โดยเมื่อกุ้งฝอยลอยขึ้นสู่ผิวน้ำตามแพลงตอน ก็อาจทำให้ปลาพญานาคที่ติดตามแหล่งอาหารมาขึ้นสู่
               ผิวน้ำตามมาและติดอวนของชาวประมง.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่