"รสนา"จวก รัฐไม่จริงจังวิกฤตฝุ่น เย้ย อยากทันสมัย แต่ไม่พัฒนา ห่างไกลไทยแลนด์4.0
https://www.matichon.co.th/politics/news_1334893
น.ส.
รสนา โตสิตระกูล อดีตส.ว.กรุงเทพฯ และอดีตสมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) โพสต์ข้อความทางเฟสบุ๊ก แสดงความเห็นเกี่ยวกับปัญหาวิกฤตฝุ่น ระบุว่า
“ประเทศไทยทันสมัยแต่ไม่พัฒนา พาคุณภาพชีวิตตกต่ำท่ามกลางหมอกฝุ่นจิ๋วอย่างที่เห็นและเป็นอยู่”
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ป.อ ปยุตโต) เคยกล่าวว่ามีฝรั่งวิจารณ์ประเทศไทยว่า “ทันสมัย แต่ไม่พัฒนา” ซึ่งน่าจะเป็นเช่นนั้นจริง เมื่อดูมาตรฐานการบริโภคของไทย เราได้ใช้ข้าวของเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยเหมือนกับฝรั่งตะวันตก แต่เราเป็นผู้เสพมากกว่าผู้สร้าง ไม่ค่อยพึ่งตัวเอง ผลิตอะไรเองไม่เป็น สินค้าเกษตรก็ไม่ได้พัฒนาต่อยอดให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เช่นยางพาราก็ทำแค่เป็นแผ่นยางดิบส่งขายเป็นวัตถุดิบ ยางรถยนต์ก็ไม่เคยคิดผลิตขึ้นมาใช้เอง อย่าคิดไกลไปถึงรถยนต์ เป็นต้น
การไม่พึ่งตัวเอง ทำให้ไทยหวังแต่เงินลงทุนจากภายนอก และมักผ่อนปรนให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมที่สร้างมลพิษ จนละเลยมาตรฐานคุณภาพชีวิตของประชาชน เห็นได้จาก ความไม่ใส่ใจในคุณภาพของอาหาร น้ำ ที่ภาครัฐปล่อยให้สารเคมีจากยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้าปนเปื้อนในพืชผัก และอาหาร รวมทั้งปนเปื้อนในน้ำ เพราะรัฐให้ความสำคัญกับธุรกิจสารเคมีของเอกชนมากกว่าความปลอดภัยในชีวิตของประชาชน จนท้ายสุดมาถึงเรื่องอากาศที่เป็นเรื่องใหญ่ เพราะทุกคนต้องหายใจจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้แม้อากาศเป็นพิษ
เมื่อฝุ่นPM 2.5 เกิดวิกฤติขึ้นมา รัฐบาลก็ไม่มีมาตรการอะไรมารองรับในการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิผล นอกจากการฉีดน้ำ และการทำฝนเทียม ยิ่งกว่านั้น ก็ยังไม่มีมาตรการแก้ปัญหาระยะสั้น ระยะยาวอะไรที่เห็นมรรคเห็นผล
ในต่างประเทศ มีการประกาศหยุดโรงเรียน ลดราคารถขนส่งสาธารณะเพื่อจูงใจให้คนใช้รถสาธารณะแทนรถส่วนตัว ห้ามรถเข้าในเขตชั้นในของเมือง การควบคุมการปล่อยมลพิษของโรงงานอุตสาหกรรม การส่งเสริมรถไฟฟ้า โดยใช้มาตรการทางภาษี เป็นต้น
แต่ประเทศไทย ไม่ได้ประกาศมาตรการเร่งด่วนในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า อย่างการไม่ประกาศให้โรงเรียนในเขตอากาศวิกฤติหยุดเรียน แต่ปล่อยแต่ละโรงเรียนตัดสินใจกันเอาเอง ปล่อยให้ประชาชนวิ่งหาซื้อหน้ากากกันฝุ่นที่ขาดตลาดและราคาแพงโดยไม่มีมาตราการใดๆมาช่วยเหลือ ยิ่งกว่านั้นก็ไม่มีมาตราการใดที่รัฐบาลประกาศออกมาเพื่อลดปริมาณฝุ่นจากรถยนต์ในช่วงวิกฤตินี้
ในการแก้ปัญหาคุณภาพอากาศ เป็นภารกิจที่ต่อเนื่อง ประเทศเพื่อนบ้านตื่นตัวเรื่องแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ มีการกำหนดเป้าหมายด้วยมาตราการต่างๆ เช่นการควบคุมมาตรฐานของโรงงานอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง ส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า ยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพอากาศเป็นต้น แต่ประเทศไทยไม่ขยับมาตรฐานปรับเพดานการวัดมลพิษเลย ตามที่กล่าวในบทความว่า 9ปีที่ผ่านมา ไทยไม่ได้ขยับเพดานในการวัดฝุ่นจิ๋ว 2.5 ไมโครกรัมให้น้อยลงให้ใกล้เคียงกับมาตราฐานขององค์การอนามัยโลกโดยที่ข้ออ้างของฝ่ายบริหารมักมองว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นอุปสรรคของการพัฒนา
นโยบายไทยแลนด์ 4.0 เรื่องคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งเรื่องอาหาร น้ำ อากาศ บริสุทธิ์ต้องเป็นเป้าหมายแรกๆในการบรรลุถึง ไม่ใช่คิดแต่เรื่องเศรษฐกิจการก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลางเท่านั้น หากไม่มีการกำหนดเป้าหมายคุณภาพชีวิตอย่างจริงจัง ก็คงยากที่ประเทศไทย จะเป็นได้ทั้งประเทศทันสมัยและพัฒนา
อาจารย์ฝรั่งในมหาวิทยาลัยท่านหนึ่งที่มีลูกเล็ก ปรารภกับลูกชายดิฉันว่า “คงต้องกลับอเมริกาสักพัก จนกว่าเรื่องฝุ่นจะคลายวิกฤติ รัฐบาลไทยสนใจแต่เรื่องเศรษฐกิจ แต่ไม่สนใจเรื่องคุณภาพชีวิต”
น่าจะเป็นบทสะท้อนความจริงที่ว่าหากผู้บริหารไทยสนใจแต่ความทันสมัย แต่ไม่พัฒนา คงยากจะไปถึงเป้าหมายไทยแลนด์ 4.0
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2066836466726239&id=236945323048705&__xts__%5B0%5D=68.ARB8hNjDw4OP56N-iJ0XGOwBBjlM-UePR72chbJUPTr4G1a5lnvkXsE9lRnN1qdORUgZaXm1LVD_b_2zKbyrVbHUrO8aYO03En83yCGz0Ozq-f1WTm-DXM6Zrr_uBnfYaFtlz6iuCl8i89a2Umfi41MLav_oJwH79JI9zyNr10JpnKM4WvPZsMXktqNLgybNFds5WOQpUDObF-KaS0sk7s1OozbHEHW93VUS69b-UvfStOEpyrPCNtaIN1nZ_oSsZT85GjnpEqdHi0GhPyBOp8aifqifdv0HCf1AWQP-EQYxd4HM1jjmio6nvPfHvqix-fOEPexbTXwCrnAstox8Mi9_gw&__tn__=-R
JJNY : รสนาจวก รัฐไม่จริงจังวิกฤตฝุ่น เย้ยอยากทันสมัย แต่ไม่พัฒนาฯ/ วันนี้ฝุ่น 2.5 พุ่งปริ๊ด เกิน 24 สถานีฯ
https://www.matichon.co.th/politics/news_1334893
น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตส.ว.กรุงเทพฯ และอดีตสมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) โพสต์ข้อความทางเฟสบุ๊ก แสดงความเห็นเกี่ยวกับปัญหาวิกฤตฝุ่น ระบุว่า
“ประเทศไทยทันสมัยแต่ไม่พัฒนา พาคุณภาพชีวิตตกต่ำท่ามกลางหมอกฝุ่นจิ๋วอย่างที่เห็นและเป็นอยู่”
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ป.อ ปยุตโต) เคยกล่าวว่ามีฝรั่งวิจารณ์ประเทศไทยว่า “ทันสมัย แต่ไม่พัฒนา” ซึ่งน่าจะเป็นเช่นนั้นจริง เมื่อดูมาตรฐานการบริโภคของไทย เราได้ใช้ข้าวของเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยเหมือนกับฝรั่งตะวันตก แต่เราเป็นผู้เสพมากกว่าผู้สร้าง ไม่ค่อยพึ่งตัวเอง ผลิตอะไรเองไม่เป็น สินค้าเกษตรก็ไม่ได้พัฒนาต่อยอดให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เช่นยางพาราก็ทำแค่เป็นแผ่นยางดิบส่งขายเป็นวัตถุดิบ ยางรถยนต์ก็ไม่เคยคิดผลิตขึ้นมาใช้เอง อย่าคิดไกลไปถึงรถยนต์ เป็นต้น
การไม่พึ่งตัวเอง ทำให้ไทยหวังแต่เงินลงทุนจากภายนอก และมักผ่อนปรนให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมที่สร้างมลพิษ จนละเลยมาตรฐานคุณภาพชีวิตของประชาชน เห็นได้จาก ความไม่ใส่ใจในคุณภาพของอาหาร น้ำ ที่ภาครัฐปล่อยให้สารเคมีจากยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้าปนเปื้อนในพืชผัก และอาหาร รวมทั้งปนเปื้อนในน้ำ เพราะรัฐให้ความสำคัญกับธุรกิจสารเคมีของเอกชนมากกว่าความปลอดภัยในชีวิตของประชาชน จนท้ายสุดมาถึงเรื่องอากาศที่เป็นเรื่องใหญ่ เพราะทุกคนต้องหายใจจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้แม้อากาศเป็นพิษ
เมื่อฝุ่นPM 2.5 เกิดวิกฤติขึ้นมา รัฐบาลก็ไม่มีมาตรการอะไรมารองรับในการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิผล นอกจากการฉีดน้ำ และการทำฝนเทียม ยิ่งกว่านั้น ก็ยังไม่มีมาตรการแก้ปัญหาระยะสั้น ระยะยาวอะไรที่เห็นมรรคเห็นผล
ในต่างประเทศ มีการประกาศหยุดโรงเรียน ลดราคารถขนส่งสาธารณะเพื่อจูงใจให้คนใช้รถสาธารณะแทนรถส่วนตัว ห้ามรถเข้าในเขตชั้นในของเมือง การควบคุมการปล่อยมลพิษของโรงงานอุตสาหกรรม การส่งเสริมรถไฟฟ้า โดยใช้มาตรการทางภาษี เป็นต้น
แต่ประเทศไทย ไม่ได้ประกาศมาตรการเร่งด่วนในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า อย่างการไม่ประกาศให้โรงเรียนในเขตอากาศวิกฤติหยุดเรียน แต่ปล่อยแต่ละโรงเรียนตัดสินใจกันเอาเอง ปล่อยให้ประชาชนวิ่งหาซื้อหน้ากากกันฝุ่นที่ขาดตลาดและราคาแพงโดยไม่มีมาตราการใดๆมาช่วยเหลือ ยิ่งกว่านั้นก็ไม่มีมาตราการใดที่รัฐบาลประกาศออกมาเพื่อลดปริมาณฝุ่นจากรถยนต์ในช่วงวิกฤตินี้
ในการแก้ปัญหาคุณภาพอากาศ เป็นภารกิจที่ต่อเนื่อง ประเทศเพื่อนบ้านตื่นตัวเรื่องแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ มีการกำหนดเป้าหมายด้วยมาตราการต่างๆ เช่นการควบคุมมาตรฐานของโรงงานอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง ส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า ยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพอากาศเป็นต้น แต่ประเทศไทยไม่ขยับมาตรฐานปรับเพดานการวัดมลพิษเลย ตามที่กล่าวในบทความว่า 9ปีที่ผ่านมา ไทยไม่ได้ขยับเพดานในการวัดฝุ่นจิ๋ว 2.5 ไมโครกรัมให้น้อยลงให้ใกล้เคียงกับมาตราฐานขององค์การอนามัยโลกโดยที่ข้ออ้างของฝ่ายบริหารมักมองว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นอุปสรรคของการพัฒนา
นโยบายไทยแลนด์ 4.0 เรื่องคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งเรื่องอาหาร น้ำ อากาศ บริสุทธิ์ต้องเป็นเป้าหมายแรกๆในการบรรลุถึง ไม่ใช่คิดแต่เรื่องเศรษฐกิจการก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลางเท่านั้น หากไม่มีการกำหนดเป้าหมายคุณภาพชีวิตอย่างจริงจัง ก็คงยากที่ประเทศไทย จะเป็นได้ทั้งประเทศทันสมัยและพัฒนา
อาจารย์ฝรั่งในมหาวิทยาลัยท่านหนึ่งที่มีลูกเล็ก ปรารภกับลูกชายดิฉันว่า “คงต้องกลับอเมริกาสักพัก จนกว่าเรื่องฝุ่นจะคลายวิกฤติ รัฐบาลไทยสนใจแต่เรื่องเศรษฐกิจ แต่ไม่สนใจเรื่องคุณภาพชีวิต”
น่าจะเป็นบทสะท้อนความจริงที่ว่าหากผู้บริหารไทยสนใจแต่ความทันสมัย แต่ไม่พัฒนา คงยากจะไปถึงเป้าหมายไทยแลนด์ 4.0
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้