ภาพจากภาพยนตร์ Bird Box ขอบคุณภาพจาก Netflix
“อย่ามอง ถ้ายังไม่อยากตาย!” คำโปรยโปรโมทภาพยนตร์ “Bird Box” ภาพยนตร์เรื่องใหม่ของ Netflix ที่ดึงดูดใจผู้พบเห็นมากทีเดียว ลองจินตนาการถึงโลกที่การมองเห็นต้องแลกด้วยชีวิต เมื่อบางสิ่งบางอย่างรุกรานเข้ายึดครองเมือง ใครที่จ้องมอง “พวกมัน” จะพากันคลุ้มคลั่ง และลงเอยด้วยการฆ่าตัวตาย สิ่งที่เกิดขึ้นสร้างความหวาดกลัวให้แก่ทุกคน พวกเขาป้องกันตัวด้วยการขังตนเองอยู่ในบ้าน และเลือกที่จะปิดตาเพื่อความปลอดภัย นี่คือเรื่องย่อของ Bird Box ที่จะสร้างความลุ้นระทึกในขณะเดียวกันก็สร้างความอึดอัดให้แก่ผู้ชม เมื่อประสาทสัมผัสสำคัญสำหรับการใช้ชีวิตกลายเป็นสิ่งต้องห้าม หากจะเอาชีวิตรอดนอกบ้านคุณต้องละทิ้งมัน และใช้ชีวิตเยี่ยง คนตาบอด
เงื่อนไขของสถานการณ์ทำให้เสียงกลายมาเป็นสิ่งสำคัญ จากตัวอย่างของภาพยนตร์ ตัวละครหลักต้องเดินทางข้ามป่าและแม่น้ำไปยังสถานที่ปลอดภัย โดยปิดตาไว้ตลอดเวลา และใช้ประสาทสัมผัสอื่นๆ ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด คุณผู้อ่านอาจจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “คนตาบอดหูดีกว่าคนทั่วไป” ธรรมชาติชดเชยสิ่งที่ขาดได้จริงหรือ? และความหมายของคำว่า “หูดี” คืออะไรกันแน่?
(ชมตัวอย่างภาพยนตร์ Bird Box ได้ที่นี่)
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า “สมอง”
เรารับรู้เสียงที่เกิดขึ้นผ่านการสั่นไหวของเยื่อแก้วหูที่ส่งต่อมายัง “เซลล์ขน” อวัยวะที่ทำหน้าที่รับการสั่นสะเทือนของเสียง เซลล์ขนอยู่ในอวัยวะคอร์ติ (Organ of Corti) อวัยวะรับรู้เสียงที่อยู่ภายในหูชั้นในของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม การทำงานของเซลล์ขนร่วมมือกับเยื่อบุเทคโทเรียล (tectorial membrane) ซึ่งจะขยับขึ้นลงในขณะที่มีเสียง และจะเป็นตัวกระตุ้นเซลล์ขนให้รับรู้ว่ามีเสียงเกิดขึ้น ตลอดจนทำงานร่วมกับกระแสประสาทรอบๆ เพื่อส่งข้อมูลคลื่นไฟฟ้าเข้าสู่สมอง และแปลงผลการสั่นสะเทือนนั้นๆ ออกมา ประสิทธิภาพในการฟังเสียงของคนๆ หนึ่งขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของเซลล์ขนเหล่านี้ หากได้รับความเสียหายเซลล์ขนจะไม่สามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้ ในผู้พิการทางสายตาเองหูของพวกเขาไม่ได้มีเซลล์ขนที่แตกต่างจากคนทั่วไป ดังนั้นแล้วหากพิจารณาจากสภาพร่างกาย คนตาบอดไม่ได้มีความสามารถในการได้ยินเสียงชัดกว่าคนตาปกติแต่อย่างใด
(กว่าเสียงจะเดินทางจากแหล่งกำเนิดมาถึงสมองต้องผ่านอะไรบ้าง?)

ทว่าสิ่งที่พวกเขาทำได้ดีกว่าคือ การระบุแหล่งที่มาของเสียง และเบื้องหลังของความสามารถนี้คือ “สมอง” ภายในสมองของเรามีพื้นที่ที่ใช้สำหรับประมวลข้อมูลการรับรู้ต่างๆ โดยเฉพาะ เช่น เปลือกสมองส่วนการมองเห็น (Visual Cortex) ทำหน้าที่ประมวลข้อมูลจากสายตา หรือเปลือกสมองส่วนการได้ยิน (Auditory Cortex) ที่ทำหน้าที่ประมวลข้อมูลจากหู หากการรับรู้ส่วนใดบกพร่อง หรือขาดหาย นักวิทยาศาสตร์พบว่าสมองสามารถทำสิ่งที่น่าทึ่งได้ นั่นคือจัดระเบียบการทำงานเสียใหม่
ในผู้พิการทางสายตา เมื่อเปลือกสมองส่วนการมองเห็นไม่ได้รับข้อมูลเป็นเวลานาน สมองมีความยืดหยุ่นที่จะจัดระเบียบการทำงานส่วนนั้นใหม่ให้พื้นที่ดังกล่าวสามารถนำไปใช้รับประสาทสัมผัสอื่นๆ ได้ นั่นหมายความว่าแม้พวกเขาจะตาบอด แต่สิ่งที่ได้กลับมาคือพื้นที่ในสมองที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทางเสียง กลิ่น รส และการสัมผัส
ทั้งนี้ประสิทธิภาพของการจัดระเบียบใหม่นี้ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่บุคคลนั้นๆ สูญเสียประสาทสัมผัสการมองเห็น แน่นอนว่าสมองของเรามีความสามารถในการปรับตัวตลอดเวลา แต่หากบุคคลนั้นๆ ต้องเผชิญกับความพิการทางสายตาตั้งแต่เด็ก การจัดระเบียบการทำงานใหม่ของสมองจะมีประสิทธิภาพมากกว่าผู้ที่พิการทางสายตาในวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากในวัยเด็กเป็นช่วงวัยที่สมองกำลังพัฒนาอย่างเต็มที่ นี่คือเหตุผลว่าทำไมคนที่ตาบอดตั้งแต่อายุน้อยๆ จึงมีแนวโน้มที่จะมีความสามารถในการรับรู้ประสาทสัมผัสด้านอื่นๆ ดีกว่าคนที่ตาบอดเมื่ออายุมากแล้ว
แผนที่แสดงตำแหน่งของสมองที่ทำหน้าที่รับประสาทสัมผัส ตลอดจนทักษะอื่นๆ
ขอบคุณภาพจาก
http://www.basicknowledge101.com/subjects/brain.html
งานวิจัยโดยสถาบัน Schepens Eye Research ในรัฐแมสซาชูเซตส์ โดยดอกเตอร์ Lotfi Merabet ผู้อำนวยการด้านความยืดหยุ่นทางการมองเห็น (Visual Neuroplasticity) ชี้ว่าสมองของมนุษย์สามารถเชื่อมโครงข่ายประสาทใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา ในการศึกษาทีมวิจัยสแกนสมองของผู้ที่พิการทางสายตาแต่กำเนิด หรือพิการทางการมองเห็นตั้งแต่ก่อนอายุได้ 3 ขวบ เปรียบเทียบกับคนทั่วไป พวกเขาพบความเปลี่ยนแปลงในสมองของผู้พิการ ไม่เพียงแค่ส่วนเยื่อหุ้มสมองบริเวณท้ายทอยที่ทำหน้าที่รับรู้การมองเห็นเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงพื้นที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับความทรงจำ, การใช้ภาษา และประสาทสัมผัสอื่นๆ ด้วย ผลการศึกษานี้เผยแพร่ลงในวารสาร Plos One เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2017
“คุณขับรถไปที่ไหนสักแห่ง และพบว่าทางนั้นไม่สามารถผ่านไปได้ คุณตัดสินใจขับรถอ้อมแทนเพื่อไปให้ถึงยังจุดหมาย สิ่งนี้คล้ายคลึงกับสมองของมนุษย์ที่พัฒนาปรับตัว และสร้างโครงข่ายใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ส่วนที่ไม่ได้ใช้งานก็จะถูกลดบทบาทความสำคัญลง”
กระบวนการเปลี่ยนแปลงในสมองเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับรู้ประสาทสัมผัสอื่นๆ ทดแทนการมองเห็นของผู้พิการทางสายตายังรวมถึง “การกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อน” (Echolocation) เราสามารถเรียกความสามารถนี้ว่าเป็นคุณสมบัติ “หูดีแบบคนตาบอด” ได้ไม่ผิดนัก หากฝึกฝนสม่ำเสมอผู้พิการบางคนสามารถส่งเสียงเคาะไม้เท้า กระทืบเท้า หรือใช้ลิ้นดีดเพดานปาก เพื่อรอฟังเสียงสะท้อนกลับมาว่าวัตถุนั้นๆ อยู่ในตำแหน่งใด ตลอดจนมีขนาดประมาณเท่าไหร่ หลักการเดียวกันกับการใช้คลื่นเสียงโซนาร์ของวาฬและโลมาใต้น้ำ หรือการส่งเสียงสะท้อนของค้างคาวที่ต้องบินท่ามกลางความมืดมิด ซึ่งเทคนิคนี้คนธรรมดาที่มีดวงตาปกติดีก็สามารถฝึกฝนได้เช่นกัน
“ไม่ใช่แค่เสียงเท่านั้น ประสาทสัมผัสอื่นๆ ของผู้พิการทางสายตาล้วนไวกว่าคนทั่วไป เช่น กลิ่นที่โชยมาตามลมประกอบกับเสียงรอบตัวอาจช่วยให้พวกเขาสามารถวาดแผนที่ขึ้นในสมองได้ว่าบรรยากาศรอบตัวเป็นอย่างไร”
(Daniel Kish คือผู้พิการทางสายตาแต่กำเนิด ตัวเขาใช้เทคนิค Echolocation ในการดำรงชีวิต แม้แต่ปั่นจักรยานหรือปีนเขาก็สามารถทำได้)

ถ้าเช่นนั้นในฐานะคนตาดี เรามีอะไรที่เหนือกว่าคนตาบอดบ้างหากไม่นับรวมการมองเห็น? คำตอบคือโอกาสและการเข้าถึง ความพิการทางการมองเห็นส่งผลให้ความสนใจ และทักษะความสามารถของบุคคลนั้นๆ แคบลงไปมาก นั่นทำให้โอกาสต่างๆ ลดน้อยลงไปด้วย อัตราการว่างงานของผู้พิการทางสายตาสูงถึงร้อยละ 70 ต้องขอบคุณความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ช่วยอ่านข้อความให้ผู้พิการฟัง ตลอดจนความแม่นยำของแผนที่และจีพีเอสที่ช่วยให้พวกเขาสามารถเดินทางไปไหนมาไหนด้วยตนเองได้ และอื่นๆ อีกมากมาย ทว่าทุกวันนี้ยังมีผู้พิการทางสายตาจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา และตลาดแรงงาน ทั้งๆ ที่มีความรู้ และสามารถทำประโยชน์ต่อองค์กรได้
ด้านผู้พิการเอง ทัศนคติต่อชีวิต และการฝึกฝนความสามารถเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อสมองของมนุษย์มหัศจรรย์ในการปรับตัวเพื่ออยู่รอดเช่นนี้ หากไม่ได้แสดงศักยภาพของตนออกมาคงเป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะผู้พิการเองไม่ใช่ภาระของสังคม หากคือบุคคลหนึ่งที่มีคุณค่าไม่น้อยไปกว่าใคร
(เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Echolocation ได้ผ่านวิดีโอนี้)

แหล่งข้อมูล
Do blind people have better hearing?
Why Other Senses May Be Heightened in Blind People
Does Losing One Sense Improve the Others?
Supersensors: How the loss of one sense impacts the others
หู อวัยวะมหัศจรรย์
โลกของคนตาบอด
CBR Forum: ‘อาชีพ’ ทำให้คนพิการใช้ชีวิตอิสระได้อย่างไร
NGTHAI
21/1/2562
แรงบันดาลใจจาก “Bird Box” คนตาบอด ได้ยินเสียงชัดกว่าจริงหรือ?
เงื่อนไขของสถานการณ์ทำให้เสียงกลายมาเป็นสิ่งสำคัญ จากตัวอย่างของภาพยนตร์ ตัวละครหลักต้องเดินทางข้ามป่าและแม่น้ำไปยังสถานที่ปลอดภัย โดยปิดตาไว้ตลอดเวลา และใช้ประสาทสัมผัสอื่นๆ ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด คุณผู้อ่านอาจจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “คนตาบอดหูดีกว่าคนทั่วไป” ธรรมชาติชดเชยสิ่งที่ขาดได้จริงหรือ? และความหมายของคำว่า “หูดี” คืออะไรกันแน่?
(ชมตัวอย่างภาพยนตร์ Bird Box ได้ที่นี่)
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า “สมอง”
เรารับรู้เสียงที่เกิดขึ้นผ่านการสั่นไหวของเยื่อแก้วหูที่ส่งต่อมายัง “เซลล์ขน” อวัยวะที่ทำหน้าที่รับการสั่นสะเทือนของเสียง เซลล์ขนอยู่ในอวัยวะคอร์ติ (Organ of Corti) อวัยวะรับรู้เสียงที่อยู่ภายในหูชั้นในของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม การทำงานของเซลล์ขนร่วมมือกับเยื่อบุเทคโทเรียล (tectorial membrane) ซึ่งจะขยับขึ้นลงในขณะที่มีเสียง และจะเป็นตัวกระตุ้นเซลล์ขนให้รับรู้ว่ามีเสียงเกิดขึ้น ตลอดจนทำงานร่วมกับกระแสประสาทรอบๆ เพื่อส่งข้อมูลคลื่นไฟฟ้าเข้าสู่สมอง และแปลงผลการสั่นสะเทือนนั้นๆ ออกมา ประสิทธิภาพในการฟังเสียงของคนๆ หนึ่งขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของเซลล์ขนเหล่านี้ หากได้รับความเสียหายเซลล์ขนจะไม่สามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้ ในผู้พิการทางสายตาเองหูของพวกเขาไม่ได้มีเซลล์ขนที่แตกต่างจากคนทั่วไป ดังนั้นแล้วหากพิจารณาจากสภาพร่างกาย คนตาบอดไม่ได้มีความสามารถในการได้ยินเสียงชัดกว่าคนตาปกติแต่อย่างใด
(กว่าเสียงจะเดินทางจากแหล่งกำเนิดมาถึงสมองต้องผ่านอะไรบ้าง?)
ทว่าสิ่งที่พวกเขาทำได้ดีกว่าคือ การระบุแหล่งที่มาของเสียง และเบื้องหลังของความสามารถนี้คือ “สมอง” ภายในสมองของเรามีพื้นที่ที่ใช้สำหรับประมวลข้อมูลการรับรู้ต่างๆ โดยเฉพาะ เช่น เปลือกสมองส่วนการมองเห็น (Visual Cortex) ทำหน้าที่ประมวลข้อมูลจากสายตา หรือเปลือกสมองส่วนการได้ยิน (Auditory Cortex) ที่ทำหน้าที่ประมวลข้อมูลจากหู หากการรับรู้ส่วนใดบกพร่อง หรือขาดหาย นักวิทยาศาสตร์พบว่าสมองสามารถทำสิ่งที่น่าทึ่งได้ นั่นคือจัดระเบียบการทำงานเสียใหม่
ในผู้พิการทางสายตา เมื่อเปลือกสมองส่วนการมองเห็นไม่ได้รับข้อมูลเป็นเวลานาน สมองมีความยืดหยุ่นที่จะจัดระเบียบการทำงานส่วนนั้นใหม่ให้พื้นที่ดังกล่าวสามารถนำไปใช้รับประสาทสัมผัสอื่นๆ ได้ นั่นหมายความว่าแม้พวกเขาจะตาบอด แต่สิ่งที่ได้กลับมาคือพื้นที่ในสมองที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทางเสียง กลิ่น รส และการสัมผัส
ทั้งนี้ประสิทธิภาพของการจัดระเบียบใหม่นี้ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่บุคคลนั้นๆ สูญเสียประสาทสัมผัสการมองเห็น แน่นอนว่าสมองของเรามีความสามารถในการปรับตัวตลอดเวลา แต่หากบุคคลนั้นๆ ต้องเผชิญกับความพิการทางสายตาตั้งแต่เด็ก การจัดระเบียบการทำงานใหม่ของสมองจะมีประสิทธิภาพมากกว่าผู้ที่พิการทางสายตาในวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากในวัยเด็กเป็นช่วงวัยที่สมองกำลังพัฒนาอย่างเต็มที่ นี่คือเหตุผลว่าทำไมคนที่ตาบอดตั้งแต่อายุน้อยๆ จึงมีแนวโน้มที่จะมีความสามารถในการรับรู้ประสาทสัมผัสด้านอื่นๆ ดีกว่าคนที่ตาบอดเมื่ออายุมากแล้ว
ขอบคุณภาพจาก http://www.basicknowledge101.com/subjects/brain.html
งานวิจัยโดยสถาบัน Schepens Eye Research ในรัฐแมสซาชูเซตส์ โดยดอกเตอร์ Lotfi Merabet ผู้อำนวยการด้านความยืดหยุ่นทางการมองเห็น (Visual Neuroplasticity) ชี้ว่าสมองของมนุษย์สามารถเชื่อมโครงข่ายประสาทใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา ในการศึกษาทีมวิจัยสแกนสมองของผู้ที่พิการทางสายตาแต่กำเนิด หรือพิการทางการมองเห็นตั้งแต่ก่อนอายุได้ 3 ขวบ เปรียบเทียบกับคนทั่วไป พวกเขาพบความเปลี่ยนแปลงในสมองของผู้พิการ ไม่เพียงแค่ส่วนเยื่อหุ้มสมองบริเวณท้ายทอยที่ทำหน้าที่รับรู้การมองเห็นเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงพื้นที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับความทรงจำ, การใช้ภาษา และประสาทสัมผัสอื่นๆ ด้วย ผลการศึกษานี้เผยแพร่ลงในวารสาร Plos One เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2017
“คุณขับรถไปที่ไหนสักแห่ง และพบว่าทางนั้นไม่สามารถผ่านไปได้ คุณตัดสินใจขับรถอ้อมแทนเพื่อไปให้ถึงยังจุดหมาย สิ่งนี้คล้ายคลึงกับสมองของมนุษย์ที่พัฒนาปรับตัว และสร้างโครงข่ายใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ส่วนที่ไม่ได้ใช้งานก็จะถูกลดบทบาทความสำคัญลง”
กระบวนการเปลี่ยนแปลงในสมองเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับรู้ประสาทสัมผัสอื่นๆ ทดแทนการมองเห็นของผู้พิการทางสายตายังรวมถึง “การกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อน” (Echolocation) เราสามารถเรียกความสามารถนี้ว่าเป็นคุณสมบัติ “หูดีแบบคนตาบอด” ได้ไม่ผิดนัก หากฝึกฝนสม่ำเสมอผู้พิการบางคนสามารถส่งเสียงเคาะไม้เท้า กระทืบเท้า หรือใช้ลิ้นดีดเพดานปาก เพื่อรอฟังเสียงสะท้อนกลับมาว่าวัตถุนั้นๆ อยู่ในตำแหน่งใด ตลอดจนมีขนาดประมาณเท่าไหร่ หลักการเดียวกันกับการใช้คลื่นเสียงโซนาร์ของวาฬและโลมาใต้น้ำ หรือการส่งเสียงสะท้อนของค้างคาวที่ต้องบินท่ามกลางความมืดมิด ซึ่งเทคนิคนี้คนธรรมดาที่มีดวงตาปกติดีก็สามารถฝึกฝนได้เช่นกัน
“ไม่ใช่แค่เสียงเท่านั้น ประสาทสัมผัสอื่นๆ ของผู้พิการทางสายตาล้วนไวกว่าคนทั่วไป เช่น กลิ่นที่โชยมาตามลมประกอบกับเสียงรอบตัวอาจช่วยให้พวกเขาสามารถวาดแผนที่ขึ้นในสมองได้ว่าบรรยากาศรอบตัวเป็นอย่างไร”
(Daniel Kish คือผู้พิการทางสายตาแต่กำเนิด ตัวเขาใช้เทคนิค Echolocation ในการดำรงชีวิต แม้แต่ปั่นจักรยานหรือปีนเขาก็สามารถทำได้)
ถ้าเช่นนั้นในฐานะคนตาดี เรามีอะไรที่เหนือกว่าคนตาบอดบ้างหากไม่นับรวมการมองเห็น? คำตอบคือโอกาสและการเข้าถึง ความพิการทางการมองเห็นส่งผลให้ความสนใจ และทักษะความสามารถของบุคคลนั้นๆ แคบลงไปมาก นั่นทำให้โอกาสต่างๆ ลดน้อยลงไปด้วย อัตราการว่างงานของผู้พิการทางสายตาสูงถึงร้อยละ 70 ต้องขอบคุณความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ช่วยอ่านข้อความให้ผู้พิการฟัง ตลอดจนความแม่นยำของแผนที่และจีพีเอสที่ช่วยให้พวกเขาสามารถเดินทางไปไหนมาไหนด้วยตนเองได้ และอื่นๆ อีกมากมาย ทว่าทุกวันนี้ยังมีผู้พิการทางสายตาจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา และตลาดแรงงาน ทั้งๆ ที่มีความรู้ และสามารถทำประโยชน์ต่อองค์กรได้
ด้านผู้พิการเอง ทัศนคติต่อชีวิต และการฝึกฝนความสามารถเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อสมองของมนุษย์มหัศจรรย์ในการปรับตัวเพื่ออยู่รอดเช่นนี้ หากไม่ได้แสดงศักยภาพของตนออกมาคงเป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะผู้พิการเองไม่ใช่ภาระของสังคม หากคือบุคคลหนึ่งที่มีคุณค่าไม่น้อยไปกว่าใคร
(เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Echolocation ได้ผ่านวิดีโอนี้)
แหล่งข้อมูล
Do blind people have better hearing?
Why Other Senses May Be Heightened in Blind People
Does Losing One Sense Improve the Others?
Supersensors: How the loss of one sense impacts the others
หู อวัยวะมหัศจรรย์
โลกของคนตาบอด
CBR Forum: ‘อาชีพ’ ทำให้คนพิการใช้ชีวิตอิสระได้อย่างไร
NGTHAI
21/1/2562