วันนี้ไปดูบอลที่สนามมา เป็นครั้งแรกที่ดูบอลไทยแล้วรู้สึกผิดหวังเมื่อออกจากสนาม
แต่ยังไงก็ต้องติดตามกันต่อไปครับ นักเตะก็อย่าเพิ่งท้อ หรือผิดหวัง เพราะมีให้แก้ตัวในรายการอื่นๆ อีกถัดไป
AFF ครั้งหน้าอีก 2 ปีค่อยแก้ตัวใหม่ครับ
เข้าเรื่องเลยดีกว่า ก่อนการแข่งขัน AFF จากการที่ติดตามข่าวสารมา ส่วนใหญ่จะสรุปที่ว่า จะใช้ชุดนี้ในการเล่นทดลองทีมเพื่อไปแข่ง Asian Cup 2019
ซึ่ง Tactic ในรายการนี้ผมไม่ชอบเลย คือรับลึกจนเกินไป คุมโซนอย่างเดียว รับลึกแบบนี้ควรมีเพลสในแดนล่างบ้าง
แต่นี่ให้ฝ่ายตรงข้ามเพลสไปมาได้สบาย รอให้เขายิงอย่างเดียว แบบวันนี้เล่นเกมรับ แต่ให้เสียให้เขาสองประตูง่ายๆ ไม่มีตัวประกบ
ถ้านี่คือการทดลองเกมรับ แค่ทีมระดับอาเซียนยังโดนเจาะแบบนี้ ใน Asian Cup 2019 จะเป็นไปในทิศทางใด
ถ้าได้ 4 ตัวหลักมาเราจะได้เปรียบมากแค่ไหน มุ้ยอาจจะเก็บบอลได้ดี แต่จะโดดเดี่ยวมั้ย? เจวิ่งเลี้ยงบอลคนเดียวแต่เพื่อนไม่วิ่งตามจะเหนื่อยฟรีหรือเปล่า?
อุ้มถ้าเล่นแบ็คจะได้เล่นเกินครึ่งสนามหรือเปล่า? กวินทร์จะหายเจ็บทันแข่ง? ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็ต้องรอเดือนหน้า ถ้าได้ 4 ตัวหลักมาและยังเล่นเหมือนเดิม
สมาคมก็ควรต้องพิจารณาอะไรสักอย่างได้แล้ว
ถ้านี่คือการทดลองทีมเพื่อไปแข่ง Asian cup 2019 ในภูมิภาคอื่นในเอเชียตอนที่มีแข่งชิงแชมป์ในภูมิภาค เขาทดลองทีม หรือจัดเต็มแบบภูมิภาคเราหรือเปล่า ผมเลยไปหาข้อมูลมาในแต่ละภิภาค ซึ่งจะมีแค่เอเชียกลางที่ยังไม่มีการจัดการแข่งขัน
https://en.wikipedia.org/wiki/EAFF_E-1_Football_Championship

EAFF หรือ สหพันธ์ฟุตบอลเอชียตะวันออก แชมป์ล่าสุดเป็นของเกาหลีใต้ โดยในปี 2017 จะมีการแข่ง 3 รอบ
รอบแรกจะเป็นทีมที่มี Ranking 4 อันดับสุดท้ายเจอกัน แล้วหาทีมอันดับ 1 ไปแข่งรอบ 2
รอบที่ 2 จะมี 3 ทีมที่เป็นทีมวาง และบวกอีก 1 ทีมที่ได้เข้ารอบมาจากรอบแรก แล้วก็แข่งโดยหาผู้ชนะทีมเดียวไปแข่งในรอบสุดท้าย
โดยรอบสุดท้ายจะมีทีมวางไว้คือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีน แข่งกันแบบเจอกันหมด ที่ 1 เป็นแชมป์
จากการที่ไปดูรายชื่อมาในปีล่าสุด ส่วนใหญ่จะเป็นผู้เล่นภายในลีคของประเทศตัวเอง
ซึ่งเกาหลีใต้ และเหนือ ส่วนใหญ่จะมีผู้เล่นที่เล่นทีมชาติมากกว่า 10 นัดติดมามากที่สุด
ต่างจากญี่ปุ่น และจีนที่ส่วนใหญ่ให้โอกาสผู้เล่นที่ไม่เคยติดทีมชาติมาทดลองทีม
ข้อมูลนักเตะที่แข่งเมื่อปี 2017 (ล่าสุด)
https://en.wikipedia.org/wiki/2017_EAFF_E-1_Football_Championship_Final_squads
ข้อมูลทั้งหมดใน Tournament ปี 2017
https://en.wikipedia.org/wiki/2017_EAFF_E-1_Football_Championship
และก็ไม่ต้องแปลกใจนะทำไมปี 2013 ออสเตรเลีย ถึงมีชื่อแข่งขันเพราะทาง EAFF เชิญมาแข่ง แล้วส่วนใหญ่ก็ส่งผู้เล่นหน้าใหม่ลงสนามเหมือนกัน
แล้วทำไม AFF ไม่เชิญออสเตรเลียแข่ง ทั้งที่อยู่ในภิภาค AFF หรือเขาไม่มา น่าคิดดี เหอะๆ
https://en.wikipedia.org/wiki/SAFF_Championship

SAFF หรือ สหพันธ์เอเชียใต้ ซึ่งทีมล่าสุดที่เป็นแชมป์ในปี 2018 คือมัลดีฟส์ ซึ่งชนะอินเดียทีมที่เราจะเจอใน Asian Cup 2019
มีสปอนเซอร์ Suzuki ในการจัดแข่งขันเหมือน AFF โดยการแข่งรอบแรกจะแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม เอาที่ 1 และ 2 เข้ารอบ Knockout
ซึ่งรอบ Knockout จะไม่มีเหย้าเยือนแบบ AFF แข่งนัดเดียวรู้ผลเลย
บางคนอาจจะตกใจว่าทำไมอินเดียถึงแพ้ให้ทีมแบบมัลดีฟส์ที่อันดับโลกอยู่อันดับ 152
คือชุดนักเตะอินเดียที่เอาไปแข่งคือชุด U-23 ครับ ซึ่งทุกคนในชุดนี้ติดทีมชุดใหญ่ไม่ถึง 10 นัดเลยด้วยซ้ำ
ส่วนทีมอื่นในภูมิภาคเอเชียใต้ ส่วนใหญ่จัดเต็ม จะมีภูฏานที่ส่งเด็กมาเยอะ อารมณ์แบบติมอร์ เลสเต
ข้อมูลนักเตะที่แข่งปี 2018
https://en.wikipedia.org/wiki/2018_SAFF_Championship_squads
ข้อมูลทั้งหมดใน Tournament ปี 2018
https://en.wikipedia.org/wiki/2018_SAFF_Championship
และก็ไม่ต้องแปลกใจนะครับว่าทำไมอินเดียพัฒนา
https://en.wikipedia.org/wiki/WAFF_Championship

WAFF หรือ สหพันธ์เอเชียตะวันตก แชมป์ล่าสุดเป็นของกาตาร์ ซึ่งเป็นแชมป์เมื่อปี 2014
ทิ้งช่วงมานานมาก โดยจะมีการแข่งนัดถัดไปคือปี 2019 โดยในบางปีจะมีทีมชาติอิหร่านที่อยู่ในเอเชียกลางเข้าร่วมการแข่งขันด้วย
โดยการแข่งขันล่าสุดจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยเอาอันดับ 1 เข้ารอบ และเอาอันดับ 2 ที่ดีที่สุดในกลุ่มเข้ารอบ เพื่อไปแข่งรอบ Knockout
ซึ่งไม่มีแข่งเหย้าเยือน นัดเดียวจบ
ซึ่งนักเตะส่วนใหญ่ที่ใช้แข่งขันในภูมิภาคนี้ในวิกิพีเดียไม่ได้ระบุไว้เลยไม่ทราบว่าส่วนใหญ่ใช้ชุดใหญ่ หรือชุดเล็ก หรือชุดเด็กกันแน่
แต่ดูตางรางแข่งขันปี 2014 อิรัก ซาอุ ทีมที่เป็นทีมท๊อปเอเชียดันตกรอบแบ่งกลุ่มไม่ชนะใครเลย คงจะส่งชุดเด็ก หรือชุดที่ทดลองทีมไป
ส่วนกาตาร์ได้แชมป์ เพราะเจ้าภาพด้วยแหละ
ข้อมูลทั้งหมดใน Tournament ปี 2014
https://en.wikipedia.org/wiki/2014_WAFF_Championship
พอย้อนกลับมาดูภูมิภาคเราจัดตัวเต็มสูบ ผู้เล่นชุดเด็กบางคนก็เล่นให้ชุดใหญ่เกิน 10 นัด
รอบ Knockout มีเหย้าเยือนจนถึงรอบชิง ซึ่งไม่แปลกใจว่าทำไมภูมิภาคเราเหมาะสำหรับเรียก "บอลโลกอาเซียน"
ปล. นอนไม่หลับ T-T
ภูมิภาคอื่นในเอเชีย เวลามีชิงแชมป์ฟุตบอลในภูมิภาคของเขา เขาจัดเต็มหรือทดลองทีม...
แต่ยังไงก็ต้องติดตามกันต่อไปครับ นักเตะก็อย่าเพิ่งท้อ หรือผิดหวัง เพราะมีให้แก้ตัวในรายการอื่นๆ อีกถัดไป
AFF ครั้งหน้าอีก 2 ปีค่อยแก้ตัวใหม่ครับ
เข้าเรื่องเลยดีกว่า ก่อนการแข่งขัน AFF จากการที่ติดตามข่าวสารมา ส่วนใหญ่จะสรุปที่ว่า จะใช้ชุดนี้ในการเล่นทดลองทีมเพื่อไปแข่ง Asian Cup 2019
ซึ่ง Tactic ในรายการนี้ผมไม่ชอบเลย คือรับลึกจนเกินไป คุมโซนอย่างเดียว รับลึกแบบนี้ควรมีเพลสในแดนล่างบ้าง
แต่นี่ให้ฝ่ายตรงข้ามเพลสไปมาได้สบาย รอให้เขายิงอย่างเดียว แบบวันนี้เล่นเกมรับ แต่ให้เสียให้เขาสองประตูง่ายๆ ไม่มีตัวประกบ
ถ้านี่คือการทดลองเกมรับ แค่ทีมระดับอาเซียนยังโดนเจาะแบบนี้ ใน Asian Cup 2019 จะเป็นไปในทิศทางใด
ถ้าได้ 4 ตัวหลักมาเราจะได้เปรียบมากแค่ไหน มุ้ยอาจจะเก็บบอลได้ดี แต่จะโดดเดี่ยวมั้ย? เจวิ่งเลี้ยงบอลคนเดียวแต่เพื่อนไม่วิ่งตามจะเหนื่อยฟรีหรือเปล่า?
อุ้มถ้าเล่นแบ็คจะได้เล่นเกินครึ่งสนามหรือเปล่า? กวินทร์จะหายเจ็บทันแข่ง? ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็ต้องรอเดือนหน้า ถ้าได้ 4 ตัวหลักมาและยังเล่นเหมือนเดิม
สมาคมก็ควรต้องพิจารณาอะไรสักอย่างได้แล้ว
ถ้านี่คือการทดลองทีมเพื่อไปแข่ง Asian cup 2019 ในภูมิภาคอื่นในเอเชียตอนที่มีแข่งชิงแชมป์ในภูมิภาค เขาทดลองทีม หรือจัดเต็มแบบภูมิภาคเราหรือเปล่า ผมเลยไปหาข้อมูลมาในแต่ละภิภาค ซึ่งจะมีแค่เอเชียกลางที่ยังไม่มีการจัดการแข่งขัน
https://en.wikipedia.org/wiki/EAFF_E-1_Football_Championship
EAFF หรือ สหพันธ์ฟุตบอลเอชียตะวันออก แชมป์ล่าสุดเป็นของเกาหลีใต้ โดยในปี 2017 จะมีการแข่ง 3 รอบ
รอบแรกจะเป็นทีมที่มี Ranking 4 อันดับสุดท้ายเจอกัน แล้วหาทีมอันดับ 1 ไปแข่งรอบ 2
รอบที่ 2 จะมี 3 ทีมที่เป็นทีมวาง และบวกอีก 1 ทีมที่ได้เข้ารอบมาจากรอบแรก แล้วก็แข่งโดยหาผู้ชนะทีมเดียวไปแข่งในรอบสุดท้าย
โดยรอบสุดท้ายจะมีทีมวางไว้คือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีน แข่งกันแบบเจอกันหมด ที่ 1 เป็นแชมป์
จากการที่ไปดูรายชื่อมาในปีล่าสุด ส่วนใหญ่จะเป็นผู้เล่นภายในลีคของประเทศตัวเอง
ซึ่งเกาหลีใต้ และเหนือ ส่วนใหญ่จะมีผู้เล่นที่เล่นทีมชาติมากกว่า 10 นัดติดมามากที่สุด
ต่างจากญี่ปุ่น และจีนที่ส่วนใหญ่ให้โอกาสผู้เล่นที่ไม่เคยติดทีมชาติมาทดลองทีม
ข้อมูลนักเตะที่แข่งเมื่อปี 2017 (ล่าสุด)
https://en.wikipedia.org/wiki/2017_EAFF_E-1_Football_Championship_Final_squads
ข้อมูลทั้งหมดใน Tournament ปี 2017
https://en.wikipedia.org/wiki/2017_EAFF_E-1_Football_Championship
และก็ไม่ต้องแปลกใจนะทำไมปี 2013 ออสเตรเลีย ถึงมีชื่อแข่งขันเพราะทาง EAFF เชิญมาแข่ง แล้วส่วนใหญ่ก็ส่งผู้เล่นหน้าใหม่ลงสนามเหมือนกัน
แล้วทำไม AFF ไม่เชิญออสเตรเลียแข่ง ทั้งที่อยู่ในภิภาค AFF หรือเขาไม่มา น่าคิดดี เหอะๆ
https://en.wikipedia.org/wiki/SAFF_Championship
SAFF หรือ สหพันธ์เอเชียใต้ ซึ่งทีมล่าสุดที่เป็นแชมป์ในปี 2018 คือมัลดีฟส์ ซึ่งชนะอินเดียทีมที่เราจะเจอใน Asian Cup 2019
มีสปอนเซอร์ Suzuki ในการจัดแข่งขันเหมือน AFF โดยการแข่งรอบแรกจะแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม เอาที่ 1 และ 2 เข้ารอบ Knockout
ซึ่งรอบ Knockout จะไม่มีเหย้าเยือนแบบ AFF แข่งนัดเดียวรู้ผลเลย
บางคนอาจจะตกใจว่าทำไมอินเดียถึงแพ้ให้ทีมแบบมัลดีฟส์ที่อันดับโลกอยู่อันดับ 152
คือชุดนักเตะอินเดียที่เอาไปแข่งคือชุด U-23 ครับ ซึ่งทุกคนในชุดนี้ติดทีมชุดใหญ่ไม่ถึง 10 นัดเลยด้วยซ้ำ
ส่วนทีมอื่นในภูมิภาคเอเชียใต้ ส่วนใหญ่จัดเต็ม จะมีภูฏานที่ส่งเด็กมาเยอะ อารมณ์แบบติมอร์ เลสเต
ข้อมูลนักเตะที่แข่งปี 2018
https://en.wikipedia.org/wiki/2018_SAFF_Championship_squads
ข้อมูลทั้งหมดใน Tournament ปี 2018
https://en.wikipedia.org/wiki/2018_SAFF_Championship
และก็ไม่ต้องแปลกใจนะครับว่าทำไมอินเดียพัฒนา
https://en.wikipedia.org/wiki/WAFF_Championship
WAFF หรือ สหพันธ์เอเชียตะวันตก แชมป์ล่าสุดเป็นของกาตาร์ ซึ่งเป็นแชมป์เมื่อปี 2014
ทิ้งช่วงมานานมาก โดยจะมีการแข่งนัดถัดไปคือปี 2019 โดยในบางปีจะมีทีมชาติอิหร่านที่อยู่ในเอเชียกลางเข้าร่วมการแข่งขันด้วย
โดยการแข่งขันล่าสุดจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยเอาอันดับ 1 เข้ารอบ และเอาอันดับ 2 ที่ดีที่สุดในกลุ่มเข้ารอบ เพื่อไปแข่งรอบ Knockout
ซึ่งไม่มีแข่งเหย้าเยือน นัดเดียวจบ
ซึ่งนักเตะส่วนใหญ่ที่ใช้แข่งขันในภูมิภาคนี้ในวิกิพีเดียไม่ได้ระบุไว้เลยไม่ทราบว่าส่วนใหญ่ใช้ชุดใหญ่ หรือชุดเล็ก หรือชุดเด็กกันแน่
แต่ดูตางรางแข่งขันปี 2014 อิรัก ซาอุ ทีมที่เป็นทีมท๊อปเอเชียดันตกรอบแบ่งกลุ่มไม่ชนะใครเลย คงจะส่งชุดเด็ก หรือชุดที่ทดลองทีมไป
ส่วนกาตาร์ได้แชมป์ เพราะเจ้าภาพด้วยแหละ
ข้อมูลทั้งหมดใน Tournament ปี 2014
https://en.wikipedia.org/wiki/2014_WAFF_Championship
พอย้อนกลับมาดูภูมิภาคเราจัดตัวเต็มสูบ ผู้เล่นชุดเด็กบางคนก็เล่นให้ชุดใหญ่เกิน 10 นัด
รอบ Knockout มีเหย้าเยือนจนถึงรอบชิง ซึ่งไม่แปลกใจว่าทำไมภูมิภาคเราเหมาะสำหรับเรียก "บอลโลกอาเซียน"
ปล. นอนไม่หลับ T-T