เมื่อวันก่อนเป็นครั้งแรกที่ผมได้แสดงความคิดเห็น ว่าอยากเห็นการเปลี่ยนระบบการรับราชการทหารจากระบบเกณฑ์ในปัจจุบัน มาเป็นระบบสมัครใจ (ยกเว้นในช่วงภัยสงคราม)
ผมไม่น่าจะเป็นคนเดียวหรือคนแรกที่เล็งเห็นถึงความเหมาะสมของการปรับแบบนี้ แต่คำถามที่สำคัญคือ เราจะทำให้เป็นจริงได้อย่างไร?
เรื่องการทำให้เป็นจริงได้ มันต้องดูถึงรายละเอียดของแผนที่ผมเตรียมจะนำเสนอต่อพรรคและประชาชนในเร็วๆนี้ แต่ผมคิดว่าเราต้องคำนึงถึง 2 ข้อ:
1. กองทัพจะต้องมีกำลังทหารเพียงพอสำหรับปฏิบัติหน้าที่หลักในการป้องกันประเทศ ซึ่งต้องมาจากทั้ง
1.1. การประเมินและลดยอดพลทหารที่ไม่จำเป็นต่อความมั่นคง (เช่น พลทหารรับใช้ การลด “ไขมัน” ในองค์กร) ควบคู่ไปกับ
1.2. การเพิ่มคุณภาพชีวิตพลทหารให้อาชีพทหารเป็นอาชีพที่น่าดึงดูดขึ้น ด้วยการรับรองค่าตอบแทนต่อเดือนที่เหมาะสมต่อค่าครองชีพและไม่โดนหักโดยไม่จำเป็น การขยายสวัสดิการที่ครอบคลุมความต้องการของพลทหารมากขึ้น และ การกำจัดความรุนแรงในค่ายทหารให้หายไป
2. เรื่องนี้ต้องไม่กลายเป็นประเด็นทางการเมือง หรือ ถูกมองว่าเป็นการต่อสู้กับกองทัพ เพราะผมเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดก็ตาม จะประสบความสำเร็จได้ดีที่สุด ถ้าเราได้รับความร่วมมือจากฝ่ายที่เกี่ยวข้อง หน้าที่ของฝ่ายการเมือง จึงจำเป็นต้องทำให้กองทัพ (ในฐานะองค์กรที่มีส่วนได้เสีย) ให้การยอมรับข้อเสนอนี้ เพื่อจะปรับตัวไปพร้อมกัน
(ผมได้ฟังบทสัมภาษณ์ของท่าน ผบ. ทบ. ฉบับเต็มแล้ว ความจริงถ้าเราตัดประโยคพาดหัวที่ท่านพูดว่า “มันเป็นไปไม่ได้” สิ่งอื่นที่ท่านพูด มันกลับไม่ได้แสดงให้เห็นว่ามันเป็นเช่นนั้น ผมกลับมองว่าหลายอย่างที่ท่านพูดบ่งบอกด้วยซ้ำว่า “มันเป็นไปได้”)
วันหลังผมจะมาอธิบายว่าทำไมผมถึงยังไม่รู้สึกหมดหวังหลังได้ฟังคำพูดของท่าน ผบ. ทบ. และลงรายละเอียดเกี่ยวกับข้อเสนอของผม แต่ผมหวังว่าแนวทางนี้จะตอบโจทย์ทุกฝ่าย
แนวทางนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ทั้งผู้ที่ต้องการเป็นทหาร และผู้ที่ต้องการทำอาชีพอื่น
แนวทางนี้จะคืนศักดิ์ศรีให้กองทัพ ให้พ้นครหา “สถาบันอำนาจนิยม” ไปสู่ “กองทัพยุคใหม่” ที่แม้เล็กลงด้วยขนาด แต่แข็งแกร่งด้วยประสิทธิภาพ เต็มไปด้วยบุคลากรที่สมัครใจทำงานและพร้อมทุ่มเทให้องค์กรอย่างแท้จริง
แนวทางนี้จะตอบโจทย์ความมั่นคงของชาติในโลกสมัยใหม่ ทำให้ประเทศไทยรับมือกับภัยคุกคามในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างเท่าทัน
“ทหารสมัครใจ ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่นใจ”
ที่มา พริษฐ์ วัชรสินธุ - ไอติม - Parit Wacharasindhu
https://www.img.in.th/images/e0c90439a99342c026c513a3a84e744d.jpg
[ปรับจากระบบเกณฑ์ทหาร มาเป็นระบบสมัครใจ]
ผมไม่น่าจะเป็นคนเดียวหรือคนแรกที่เล็งเห็นถึงความเหมาะสมของการปรับแบบนี้ แต่คำถามที่สำคัญคือ เราจะทำให้เป็นจริงได้อย่างไร?
เรื่องการทำให้เป็นจริงได้ มันต้องดูถึงรายละเอียดของแผนที่ผมเตรียมจะนำเสนอต่อพรรคและประชาชนในเร็วๆนี้ แต่ผมคิดว่าเราต้องคำนึงถึง 2 ข้อ:
1. กองทัพจะต้องมีกำลังทหารเพียงพอสำหรับปฏิบัติหน้าที่หลักในการป้องกันประเทศ ซึ่งต้องมาจากทั้ง
1.1. การประเมินและลดยอดพลทหารที่ไม่จำเป็นต่อความมั่นคง (เช่น พลทหารรับใช้ การลด “ไขมัน” ในองค์กร) ควบคู่ไปกับ
1.2. การเพิ่มคุณภาพชีวิตพลทหารให้อาชีพทหารเป็นอาชีพที่น่าดึงดูดขึ้น ด้วยการรับรองค่าตอบแทนต่อเดือนที่เหมาะสมต่อค่าครองชีพและไม่โดนหักโดยไม่จำเป็น การขยายสวัสดิการที่ครอบคลุมความต้องการของพลทหารมากขึ้น และ การกำจัดความรุนแรงในค่ายทหารให้หายไป
2. เรื่องนี้ต้องไม่กลายเป็นประเด็นทางการเมือง หรือ ถูกมองว่าเป็นการต่อสู้กับกองทัพ เพราะผมเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดก็ตาม จะประสบความสำเร็จได้ดีที่สุด ถ้าเราได้รับความร่วมมือจากฝ่ายที่เกี่ยวข้อง หน้าที่ของฝ่ายการเมือง จึงจำเป็นต้องทำให้กองทัพ (ในฐานะองค์กรที่มีส่วนได้เสีย) ให้การยอมรับข้อเสนอนี้ เพื่อจะปรับตัวไปพร้อมกัน
(ผมได้ฟังบทสัมภาษณ์ของท่าน ผบ. ทบ. ฉบับเต็มแล้ว ความจริงถ้าเราตัดประโยคพาดหัวที่ท่านพูดว่า “มันเป็นไปไม่ได้” สิ่งอื่นที่ท่านพูด มันกลับไม่ได้แสดงให้เห็นว่ามันเป็นเช่นนั้น ผมกลับมองว่าหลายอย่างที่ท่านพูดบ่งบอกด้วยซ้ำว่า “มันเป็นไปได้”)
วันหลังผมจะมาอธิบายว่าทำไมผมถึงยังไม่รู้สึกหมดหวังหลังได้ฟังคำพูดของท่าน ผบ. ทบ. และลงรายละเอียดเกี่ยวกับข้อเสนอของผม แต่ผมหวังว่าแนวทางนี้จะตอบโจทย์ทุกฝ่าย
แนวทางนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ทั้งผู้ที่ต้องการเป็นทหาร และผู้ที่ต้องการทำอาชีพอื่น
แนวทางนี้จะคืนศักดิ์ศรีให้กองทัพ ให้พ้นครหา “สถาบันอำนาจนิยม” ไปสู่ “กองทัพยุคใหม่” ที่แม้เล็กลงด้วยขนาด แต่แข็งแกร่งด้วยประสิทธิภาพ เต็มไปด้วยบุคลากรที่สมัครใจทำงานและพร้อมทุ่มเทให้องค์กรอย่างแท้จริง
แนวทางนี้จะตอบโจทย์ความมั่นคงของชาติในโลกสมัยใหม่ ทำให้ประเทศไทยรับมือกับภัยคุกคามในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างเท่าทัน
“ทหารสมัครใจ ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่นใจ”
ที่มา พริษฐ์ วัชรสินธุ - ไอติม - Parit Wacharasindhu
https://www.img.in.th/images/e0c90439a99342c026c513a3a84e744d.jpg