หนังทรงอิทธิพลแห่งเกาหลี (Influential Korean Film) เป็นกลุ่มหนังประสบความสำเร็จทั้งด้านรายได้ คำวิจารณ์ และกลายเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก ที่สำคัญได้
กลายเป็นแพทเทิร์นหรือแบบอย่างชั้นเยี่ยมในการศึกษาของหนังแนวดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นโรแมนซ์ ดราม่า ทริลเลอร์ และฮอเรอร์ ซึ่งในลิสต์นี้จะขอรวบรวม 10 หนังทรงอิทธิพลแห่งยุคโดยไล่ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอย่าง Shiri ตลอดจน Train to Busan ที่เป็นกระแสฟีเวอร์ไปทั่วโลก เพื่อต้อนรับการมาของหนังที่อาจเป็นปรากฏการณ์ครั้งใหม่อย่าง Rampant
.
.
.
.
Rampant เปรียบได้กับการสานต่อความสำเร็จของ Train to Busan ที่วางตัวเป็นหนังโมเดิร์นซอมบี้รูปแบบเดียวกับ World War Z ที่ผนวกเมโลดราม่าสไตล์เกาหลีเข้าไปได้อย่างลงตัว ขณะเดียวกัน Rampant ที่ใช้ทีมผู้สร้างเดียวกัน แต่มีการปรุงแต่งบทในไอเดียที่สดใหม่ กับแนว 'พีเรียดซอมบี้' ที่นำเอาประวัติศาสตร์เกาหลีมาผสมผสานความสยองขวัญระดับสากล จนเรียกได้ว่าเป็นหนังโปรเจคท์ยักษ์ของเกาหลีที่ทั้งโลกจับตามอง โดยเนื้อเรื่องพูดถึงยุคสมัยโชซอนที่ตกอยู่ในภาวะตึงเครียดทางการเมืองและมีเงามืดที่หวังจะโค่นล้มราชวงศ์ ขณะเดียวกันผู้คนก็เกิดคลุ้มคลั่งกลายเป็นซอมบี้กระหายเลือด จนทำให้ 'กังลิม' (ฮยอนบิน) องค์ชายรัชทายาทที่ช่ำชองในศิลปะการต่อสู้ได้ถูกเรียกตัวกลับมาเพื่อกอบกู้อาณาจักร
ตัวอย่างหนัง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เข้าฉายในไทย 1 พฤศจิกายนนี้
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
10. The Host (2006)
หนังมอนสเตอร์ระดับท็อปแห่งศตวรรษที่ 21 ของผู้กำกับ Bong Joon-Ho ที่ยังคงเอกลักษณ์การเซ็ทบริบทที่ดูเป็นธรรมชาติ ด้วยมู้ดแอนด์โทนและดีเทลที่ต่างไปจากขนบหนังมอนสเตอร์ ที่มักเน้นความสยองควบคู่ไปกับจังหวะระทึกขวัญ และยังเซ็ทตัวเอกให้ดูฉลาด เปี่ยมด้วยปฏิภาณไหวพริบในการแก้ปัญหาที่โดดเด่นกว่าตัวละครอื่นๆ ทว่ามันต่างไปจากเรื่องนี้ที่ใส่ความตลกร้ายเล่นกับสภาวะภัยพิบัติ ความเป็นความตาย คลุกเคล้าปมดราม่าครอบครัวได้อย่างมีชั้นเชิง ทั้งยังสะท้อนการวิพากษ์ชนชั้นทางสังคม ตลอดจนการเมืองระดับชาติ ผ่านเรื่องราวที่โฟกัสไปยังผู้เป็นพ่อ ซึ่งเป็นชายธรรมดาๆคนหนึ่งที่พยายามตามหาลูกสาว หลังเหตุการณ์สัตว์ประหลาดไล่อาละวาดผู้คนแถบริมแม่น้ำฮาน
9. I Saw the Devil (2010)
นับตั้งแต่ "เดอะ เวนเจินซ์ ทริโลจี้" ที่อัดแน่นด้วยความดิบ ความโหด และแอคชั่นที่หนักหน่วงอย่างมีชั้นเชิง ทางเกาหลีก็กลายเป็นที่เลื่องลือในการทำหนังทริลเลอร์ที่ผนวกด้วยปมด้วยปมความแค้น ทว่าหลังจากนั้นไม่นานการมาของ Kim Jee-woon ที่แจ้งเกิดกับหนังสยองขวัญอย่าง A Tale of Two Sisters ได้ก่อเกิดหนังแนวล้างแค้นที่ขยายขอบเขตความโหดขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ทั้งแอคชั่นเลือดสาด ภาพความรุนแรง และการทารุณกรรมทางเพศที่อัดแน่นตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวการไล่ล่าเฉือนคมของตัวเอกที่ต้องการล้างแค้นฆาตกรต่อเนื่องที่ทำการฆ่าชำแหละแฟนสาวของตนอย่างโหดเหี้ยม
8. Miracle in Cell No. 7 (2013)
ความอินโนเซ้นส์ที่ถูกใส่ลงในคาแรคเตอร์และปมเรื่องเพื่อสร้างโมเม้นท์บีบคั้นอารมณ์ ทลายบ่อน้ำตาคนดูที่ถูกปิดกั้นเอาไว้ เป็นอีกแพทเทิร์นที่ใช้แพร่หลายในหนังเมโลดราม่าเกาหลี และเรื่องนี้ก็นับเป็นอีกตัวอย่างน่าสนใจ ทั้งความสำเร็จด้านรายได้และกระแสวิจารณ์ กับการพาคนดูไปสำรวจความสัมพันธ์รักที่ยิ่งใหญ่ระหว่างพ่อลูกในลักษณะเดียวกับหนัง I Am Sam โดยวางให้ผู้เป็นพ่อมีความพิการทางสมองและต้องพลัดพรากจากลูกสาวอันเป็นที่รัก หลังกลายเป็นแพะรับบาปในคดีอาชญากรรมสะเทือนขวัญ ที่ตัวบทสามารถตีแผ่ด้านมืดของกระบวนการความยุติธรรมในสังคมอย่างตรงไปตรงมา
7. Spring, Summer, Fall, Winter… and Spring (2003)
ผลงานที่ทำให้คนทั้งโลกได้รู้จักชื่อของ Kim Ki-Duk หนึ่งในผู้กำกับทรงอิทธิพลที่สุดของเกาหลี กับแก่นแท้ของชีวิตที่สะท้อนผ่านความเชื่อ ทัศนคติของมนุษย์ที่แปรเปลี่ยนตามวันเวลาและวัฎจักรของฤดูกาล โดยเน้นภาษาภาพในการนำเสนอผ่านเรื่องราวของเณรน้อยกับพระชราที่อาศัยอยู่ในวัดลอยน้ำบนหุบเขาลึก ซึ่งหนังเปิดด้วยฤดูใบไม้ผลิที่ชีวิตของเณรน้อยได้เรียนรู้ถึงแก่นศีลธรรมและมนุษยธรรม ก่อนถัดมาในช่วงฤดูร้อนที่เณรน้อยได้เติบโตเป็นหนุ่ม พร้อมกับการมาของหญิงสาวที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้า ซึ่งมันได้กลายเป็นจุดขมวดปมสำคัญเมื่อพระหนุ่มต้องเผชิญหน้ากับกิเลสและตัณหาภายในจิตใจ ก่อนวันเวลาที่ผันเปลี่ยนและการวนเวียนกลับมาของฤดูกาลจะช่วยสร้างความตระหนักถึงแก่นแท้ของหนัง
6. A Moment to Remember (2004)
ปมโรคร้ายที่กลายเป็นอุปสรรคของความสัมพันธ์ เป็นการเซ็ทพล็อตที่เป็นเอกลักษณ์ของหนังรักเกาหลีที่ผู้คนต่างคุ้นเคยกันดี เมื่อพูดถึงหนังลักษณะนี้ที่ประสบความสำเร็จในบ็อกซ์ออฟฟิศและคุณภาพได้ถูกบอกต่อกันในวงกว้างอย่างมากที่สุด แน่นอนว่าหนังเรื่องนั้นควรจะเป็น A Moment to Remember ผลงานที่ดัดแปลงจากซีรีส์ทางโทรทัศน์ของญี่ปุ่น โดยพูดถึงความรักของหนุ่มสถาปนิกกับลูกสาวเจ้าของบริษัทที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และยิ่งเวลาผ่านไปอาการดังกล่าวก็ค่อยๆรุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งก่อนที่ความทรงจำจะเลือนหายไปหมดสิ้น เธอได้ตัดสินใจบอกเลิกกับคนรักและหนีไปยังที่ที่ไกลแสนไกล ท้ายที่สุดหนังก็ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงสิ่งที่มีคุณค่ากว่าความทรงจำที่เป็นเครื่องยืนยันของการมีรักนิรันดร์
5. My Sassy Girl (2001)
หนังจากยุคบุกเบิกที่ถูกกล่าวขานในฐานะของรอมคอมเกาหลีที่ยอดเยี่ยมที่สุด โดยตัวบทอิงเค้าโครงจากเรื่องเล่าบนอินเทอร์เน็ต กับจุดเริ่มต้นบนสถานีรถไฟใต้ดินที่กลายเป็นรักดั่งพรหมลิขิตของหนุ่มสาวคู่หนึ่ง ซึ่งหนังนำเสนอในลักษณะของการซ้อนเรื่องเล่าที่เต็มไปด้วยจินตนาการ ลูกเล่นอันแพรวพราว ซุกซ่อนรายละเอียดสำคัญไว้ระหว่างทางเพื่อนำไปสู่ความจริงที่จะเติมเต็มความรู้สึกตัวละครและคนดู ขณะที่การเซ็ทคาแรคเตอร์ของพระนางที่ฝั่งหนึ่งเป็นหนุ่มหน้าตาธรรมดา ไม่ได้มีฐานะร่ำรวย แต่ศรัทธาในความรัก กับอีกฝั่งที่เป็นสาวหน้าตาดี ขี้เล่น เต็มไปด้วยพฤติกรรมที่ยากจะคาดเดา แม้เป็นส่วนผสมที่ดูผิดแปลกจากขนบหนังรักเกาหลียุคก่อน แต่เคมีกลับเข้ากันอย่างน่าเหลือเชื่อและกลายเป็นหนังแจ้งเกิดอย่างเต็มตัวของทั้ง Cha Tae-Hyun และ Jun Ji-hyun
4. Shiri (1999)
การกลับมาเคลื่อนไหวของสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติเกาหลี ประจวบกับการมาของบล็อกบัสเตอร์ชั้นเยี่ยมอย่าง Shiri ที่ช่วยกู้ศรัทธาความเชื่อมั่นและกลายเป็นจุดเริ่มแห่งยุครุ่งโรจน์ของอุตสาหกรรมหนังเกาหลี โดยเป็นหนังแนวสปายแอคชั่นที่มีฉากหลังเป็นความขัดแย้งของสองชาติดินแดนเกาหลี ซึ่งพูดถึงสายลับเกาหลีใต้ที่ถูกส่งไปติดตามนักฆ่ามือฉมังของเกาหลีเหนือ ที่ได้ทำการสังหารเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลและแหล่งข่าวสำคัญที่เป็นพ่อค้าอาวุธเถื่อน ซึ่งตัวหนังมีความเป็นหนังสายลับเชือดเฉือนคมแบบ Mission Impossible 1996 ทั้งยังอัดแน่นด้วยแอคชั่นซีนสุดมันตลอดทั้งเรื่อง คงไม่น่าแปลกใจกับความสำเร็จที่หนังแสดงให้เห็นทั้งฝั่งบ็อกซ์ออฟฟิศ คำวิจารณ์ และการคว้ารางวัลทางภาพยนตร์
3. Memories of Murder (2003)
ถูกกล่าวขานในฐานะของหนังสืบสวนที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งของศตวรรษที่ 21 ด้วยความเป็นธรรมชาติขององค์ประกอบและวิธีการเล่าเรื่อง ทำให้หนังเสมือนเป็นภาพสะท้อนของเหตุการณ์จริงที่ดึงคนดูเข้าไปรับรู้ความรู้สึกเศร้า หดหู่ และสั่นผวาของผู้คนในโศกนาฏกรรมช่วงปี 1986-1991 กับการฆาตกรรมต่อเนื่องที่เกิดกับหญิงสาวในวันที่ฝนตก โดยเป้าหมายของ Bong Joon-Ho จะเป็นความพยายามในการไขปริศนาฆาตกรต่อเนื่องผ่านสองตำรวจคู่หูที่จิตใจค่อยๆดำดิ่งสู่ด้านมืดไปพร้อมกับความจริงที่ไม่อาจหาข้อสรุป ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้คนต่างทราบกันดี แต่ทว่าสิ่งที่สอดแทรกระหว่างทางก็ดูมีความสำคัญและน่าสนใจไม่แพ้กัน โดยเฉพาะเบื้องหลังการทำงานของตำรวจอย่างการใช้กำลังบีบเค้นข้อมูลจากผู้ต้องสงสัย หรือการจับแพะรับบาปมาลงโทษ ที่นับเป็นเรื่องหมิ่นเหม่ทางศีลธรรมจริยธรรมและเป็นการสะท้อนความเป็นจริงร่วมสมัยออกมาได้อย่างโจ่งแจ้ง
2. Oldboy (2003)
ผลงานลำดับที่สองจาก "เดอะ เวนเจินซ์ ทริโลจี้" ที่คว้ารางวัลกรังด์ปรีซ์จากเทศกาลหนังเมืองคานส์ครั้งที่ 57 และนับเป็นการแจ้งเกิดอย่างเต็มตัวของ Park Chan-Wook กับผลงานนีโอนัวร์ซึ่งมีพล็อตเรื่องสุดแปลกที่พาตัวเอกเข้าสู่วังวนแห่งการล้างแค้นที่เต็มไปด้วยปมซ่อนเร้นมากมาย และการโยงใยสู่ตอนจบที่สะเทือนใจผู้ชมเป็นอย่างยิ่ง โดยหนังเปิดปมด้วยตัวเอกของเรื่องที่ถูกขังไว้ในห้องเล็กๆ จนเวลาผ่านไป 15 ปี ก็ถูกปล่อยออกมาเป็นอิสระ ซึ่งหนังจะโฟกัสไปยังตัวเอกที่พยายามสืบหาผู้อยู่เบื้องหลัง ว่าแท้จริงแล้วมีจุดประสงค์อะไรที่ต้องทำเช่นนี้ ขณะเดียวกันเขาก็ได้พบหญิงสาวปริศนาคนหนึ่งที่เหมือนจะมีชะตาต้องกันตั้งแต่แรกพบ และจะกลายเป็นตัวแปรที่มีผลต่อการตัดสินใจเหตุการณ์ครั้งสำคัญในช่วงท้ายเรื่อง
1. Train to Busan (2016)
ปรากฏการณ์หนังซอมบี้เกาหลีที่แผ่ขยายความสำเร็จไปทั่วโลก จนฝั่งผู้สร้างทางฮอลลีวู้ดต้องขอซื้อลิขสิทธิ์เพื่อนำไปสร้างใหม่อีกครั้ง นับเป็นอีกหนึ่งผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมจากความมุ่งมั่นในการพัฒนาอุตสาหกรรมหนังเกาหลีตลอดเกือบสองทศวรรษ โดยจุดแข็งของหนังคือส่วนผสมอันสดใหม่และดูลงตัวระหว่างการเป็นหนังบล็อกบัสเตอร์แนวซอมบี้กับเอกลักษณ์เมโลดราม่าสไตล์เกาหลี ที่เปี่ยมไปด้วยความรัก การเสียสละภายใต้สถานการณ์ที่มนุษย์ต่างปลดปล่อยสัญชาตญาณดิบในการเอาตัวรอด อีกทั้งหนังยังแบ่งสัดส่วนการเล่าเรื่องได้อย่างเหมาะสม โดยใช้เวลาเพียง 20 นาทีในการปูความสัมพันธ์และทำความรู้จักเหล่าตัวละครหลัก ก่อนจะพาเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความระทึกขวัญแบบนอนสต็อปกับการหนีตายจากเหล่าซอมบี้ที่มีความปราดเปรียวและความเกรี้ยวกราด
.
.
.
.
.
.
.

ทวิตเตอร์เพจ @Review_Me_ พูดคุยหนังทั่วไปเเละซีรีส์(โดยเฉพาะฝั่งเกาหลี)
ขออนุญาตฝากเพจนะครับ
https://www.facebook.com/Criticalme
เเละขออนุญาตฝากไอจีเพจด้วยนะครับ @review_me__
เป็นพื้นที่สำหรับรีวิวหนังสือนิยายต่างๆโดยเฉพาะแนวสืบสวน
10 หนังทรงอิทธิพลแห่งเกาหลี ที่สร้างปรากฏการณ์เขย่าโลก
หนังทรงอิทธิพลแห่งเกาหลี (Influential Korean Film) เป็นกลุ่มหนังประสบความสำเร็จทั้งด้านรายได้ คำวิจารณ์ และกลายเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก ที่สำคัญได้กลายเป็นแพทเทิร์นหรือแบบอย่างชั้นเยี่ยมในการศึกษาของหนังแนวดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นโรแมนซ์ ดราม่า ทริลเลอร์ และฮอเรอร์ ซึ่งในลิสต์นี้จะขอรวบรวม 10 หนังทรงอิทธิพลแห่งยุคโดยไล่ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอย่าง Shiri ตลอดจน Train to Busan ที่เป็นกระแสฟีเวอร์ไปทั่วโลก เพื่อต้อนรับการมาของหนังที่อาจเป็นปรากฏการณ์ครั้งใหม่อย่าง Rampant
.
.
.
.
Rampant เปรียบได้กับการสานต่อความสำเร็จของ Train to Busan ที่วางตัวเป็นหนังโมเดิร์นซอมบี้รูปแบบเดียวกับ World War Z ที่ผนวกเมโลดราม่าสไตล์เกาหลีเข้าไปได้อย่างลงตัว ขณะเดียวกัน Rampant ที่ใช้ทีมผู้สร้างเดียวกัน แต่มีการปรุงแต่งบทในไอเดียที่สดใหม่ กับแนว 'พีเรียดซอมบี้' ที่นำเอาประวัติศาสตร์เกาหลีมาผสมผสานความสยองขวัญระดับสากล จนเรียกได้ว่าเป็นหนังโปรเจคท์ยักษ์ของเกาหลีที่ทั้งโลกจับตามอง โดยเนื้อเรื่องพูดถึงยุคสมัยโชซอนที่ตกอยู่ในภาวะตึงเครียดทางการเมืองและมีเงามืดที่หวังจะโค่นล้มราชวงศ์ ขณะเดียวกันผู้คนก็เกิดคลุ้มคลั่งกลายเป็นซอมบี้กระหายเลือด จนทำให้ 'กังลิม' (ฮยอนบิน) องค์ชายรัชทายาทที่ช่ำชองในศิลปะการต่อสู้ได้ถูกเรียกตัวกลับมาเพื่อกอบกู้อาณาจักร
ตัวอย่างหนัง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
10. The Host (2006)
หนังมอนสเตอร์ระดับท็อปแห่งศตวรรษที่ 21 ของผู้กำกับ Bong Joon-Ho ที่ยังคงเอกลักษณ์การเซ็ทบริบทที่ดูเป็นธรรมชาติ ด้วยมู้ดแอนด์โทนและดีเทลที่ต่างไปจากขนบหนังมอนสเตอร์ ที่มักเน้นความสยองควบคู่ไปกับจังหวะระทึกขวัญ และยังเซ็ทตัวเอกให้ดูฉลาด เปี่ยมด้วยปฏิภาณไหวพริบในการแก้ปัญหาที่โดดเด่นกว่าตัวละครอื่นๆ ทว่ามันต่างไปจากเรื่องนี้ที่ใส่ความตลกร้ายเล่นกับสภาวะภัยพิบัติ ความเป็นความตาย คลุกเคล้าปมดราม่าครอบครัวได้อย่างมีชั้นเชิง ทั้งยังสะท้อนการวิพากษ์ชนชั้นทางสังคม ตลอดจนการเมืองระดับชาติ ผ่านเรื่องราวที่โฟกัสไปยังผู้เป็นพ่อ ซึ่งเป็นชายธรรมดาๆคนหนึ่งที่พยายามตามหาลูกสาว หลังเหตุการณ์สัตว์ประหลาดไล่อาละวาดผู้คนแถบริมแม่น้ำฮาน
9. I Saw the Devil (2010)
นับตั้งแต่ "เดอะ เวนเจินซ์ ทริโลจี้" ที่อัดแน่นด้วยความดิบ ความโหด และแอคชั่นที่หนักหน่วงอย่างมีชั้นเชิง ทางเกาหลีก็กลายเป็นที่เลื่องลือในการทำหนังทริลเลอร์ที่ผนวกด้วยปมด้วยปมความแค้น ทว่าหลังจากนั้นไม่นานการมาของ Kim Jee-woon ที่แจ้งเกิดกับหนังสยองขวัญอย่าง A Tale of Two Sisters ได้ก่อเกิดหนังแนวล้างแค้นที่ขยายขอบเขตความโหดขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ทั้งแอคชั่นเลือดสาด ภาพความรุนแรง และการทารุณกรรมทางเพศที่อัดแน่นตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวการไล่ล่าเฉือนคมของตัวเอกที่ต้องการล้างแค้นฆาตกรต่อเนื่องที่ทำการฆ่าชำแหละแฟนสาวของตนอย่างโหดเหี้ยม
8. Miracle in Cell No. 7 (2013)
ความอินโนเซ้นส์ที่ถูกใส่ลงในคาแรคเตอร์และปมเรื่องเพื่อสร้างโมเม้นท์บีบคั้นอารมณ์ ทลายบ่อน้ำตาคนดูที่ถูกปิดกั้นเอาไว้ เป็นอีกแพทเทิร์นที่ใช้แพร่หลายในหนังเมโลดราม่าเกาหลี และเรื่องนี้ก็นับเป็นอีกตัวอย่างน่าสนใจ ทั้งความสำเร็จด้านรายได้และกระแสวิจารณ์ กับการพาคนดูไปสำรวจความสัมพันธ์รักที่ยิ่งใหญ่ระหว่างพ่อลูกในลักษณะเดียวกับหนัง I Am Sam โดยวางให้ผู้เป็นพ่อมีความพิการทางสมองและต้องพลัดพรากจากลูกสาวอันเป็นที่รัก หลังกลายเป็นแพะรับบาปในคดีอาชญากรรมสะเทือนขวัญ ที่ตัวบทสามารถตีแผ่ด้านมืดของกระบวนการความยุติธรรมในสังคมอย่างตรงไปตรงมา
7. Spring, Summer, Fall, Winter… and Spring (2003)
ผลงานที่ทำให้คนทั้งโลกได้รู้จักชื่อของ Kim Ki-Duk หนึ่งในผู้กำกับทรงอิทธิพลที่สุดของเกาหลี กับแก่นแท้ของชีวิตที่สะท้อนผ่านความเชื่อ ทัศนคติของมนุษย์ที่แปรเปลี่ยนตามวันเวลาและวัฎจักรของฤดูกาล โดยเน้นภาษาภาพในการนำเสนอผ่านเรื่องราวของเณรน้อยกับพระชราที่อาศัยอยู่ในวัดลอยน้ำบนหุบเขาลึก ซึ่งหนังเปิดด้วยฤดูใบไม้ผลิที่ชีวิตของเณรน้อยได้เรียนรู้ถึงแก่นศีลธรรมและมนุษยธรรม ก่อนถัดมาในช่วงฤดูร้อนที่เณรน้อยได้เติบโตเป็นหนุ่ม พร้อมกับการมาของหญิงสาวที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้า ซึ่งมันได้กลายเป็นจุดขมวดปมสำคัญเมื่อพระหนุ่มต้องเผชิญหน้ากับกิเลสและตัณหาภายในจิตใจ ก่อนวันเวลาที่ผันเปลี่ยนและการวนเวียนกลับมาของฤดูกาลจะช่วยสร้างความตระหนักถึงแก่นแท้ของหนัง
6. A Moment to Remember (2004)
ปมโรคร้ายที่กลายเป็นอุปสรรคของความสัมพันธ์ เป็นการเซ็ทพล็อตที่เป็นเอกลักษณ์ของหนังรักเกาหลีที่ผู้คนต่างคุ้นเคยกันดี เมื่อพูดถึงหนังลักษณะนี้ที่ประสบความสำเร็จในบ็อกซ์ออฟฟิศและคุณภาพได้ถูกบอกต่อกันในวงกว้างอย่างมากที่สุด แน่นอนว่าหนังเรื่องนั้นควรจะเป็น A Moment to Remember ผลงานที่ดัดแปลงจากซีรีส์ทางโทรทัศน์ของญี่ปุ่น โดยพูดถึงความรักของหนุ่มสถาปนิกกับลูกสาวเจ้าของบริษัทที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และยิ่งเวลาผ่านไปอาการดังกล่าวก็ค่อยๆรุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งก่อนที่ความทรงจำจะเลือนหายไปหมดสิ้น เธอได้ตัดสินใจบอกเลิกกับคนรักและหนีไปยังที่ที่ไกลแสนไกล ท้ายที่สุดหนังก็ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงสิ่งที่มีคุณค่ากว่าความทรงจำที่เป็นเครื่องยืนยันของการมีรักนิรันดร์
5. My Sassy Girl (2001)
หนังจากยุคบุกเบิกที่ถูกกล่าวขานในฐานะของรอมคอมเกาหลีที่ยอดเยี่ยมที่สุด โดยตัวบทอิงเค้าโครงจากเรื่องเล่าบนอินเทอร์เน็ต กับจุดเริ่มต้นบนสถานีรถไฟใต้ดินที่กลายเป็นรักดั่งพรหมลิขิตของหนุ่มสาวคู่หนึ่ง ซึ่งหนังนำเสนอในลักษณะของการซ้อนเรื่องเล่าที่เต็มไปด้วยจินตนาการ ลูกเล่นอันแพรวพราว ซุกซ่อนรายละเอียดสำคัญไว้ระหว่างทางเพื่อนำไปสู่ความจริงที่จะเติมเต็มความรู้สึกตัวละครและคนดู ขณะที่การเซ็ทคาแรคเตอร์ของพระนางที่ฝั่งหนึ่งเป็นหนุ่มหน้าตาธรรมดา ไม่ได้มีฐานะร่ำรวย แต่ศรัทธาในความรัก กับอีกฝั่งที่เป็นสาวหน้าตาดี ขี้เล่น เต็มไปด้วยพฤติกรรมที่ยากจะคาดเดา แม้เป็นส่วนผสมที่ดูผิดแปลกจากขนบหนังรักเกาหลียุคก่อน แต่เคมีกลับเข้ากันอย่างน่าเหลือเชื่อและกลายเป็นหนังแจ้งเกิดอย่างเต็มตัวของทั้ง Cha Tae-Hyun และ Jun Ji-hyun
4. Shiri (1999)
การกลับมาเคลื่อนไหวของสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติเกาหลี ประจวบกับการมาของบล็อกบัสเตอร์ชั้นเยี่ยมอย่าง Shiri ที่ช่วยกู้ศรัทธาความเชื่อมั่นและกลายเป็นจุดเริ่มแห่งยุครุ่งโรจน์ของอุตสาหกรรมหนังเกาหลี โดยเป็นหนังแนวสปายแอคชั่นที่มีฉากหลังเป็นความขัดแย้งของสองชาติดินแดนเกาหลี ซึ่งพูดถึงสายลับเกาหลีใต้ที่ถูกส่งไปติดตามนักฆ่ามือฉมังของเกาหลีเหนือ ที่ได้ทำการสังหารเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลและแหล่งข่าวสำคัญที่เป็นพ่อค้าอาวุธเถื่อน ซึ่งตัวหนังมีความเป็นหนังสายลับเชือดเฉือนคมแบบ Mission Impossible 1996 ทั้งยังอัดแน่นด้วยแอคชั่นซีนสุดมันตลอดทั้งเรื่อง คงไม่น่าแปลกใจกับความสำเร็จที่หนังแสดงให้เห็นทั้งฝั่งบ็อกซ์ออฟฟิศ คำวิจารณ์ และการคว้ารางวัลทางภาพยนตร์
3. Memories of Murder (2003)
ถูกกล่าวขานในฐานะของหนังสืบสวนที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งของศตวรรษที่ 21 ด้วยความเป็นธรรมชาติขององค์ประกอบและวิธีการเล่าเรื่อง ทำให้หนังเสมือนเป็นภาพสะท้อนของเหตุการณ์จริงที่ดึงคนดูเข้าไปรับรู้ความรู้สึกเศร้า หดหู่ และสั่นผวาของผู้คนในโศกนาฏกรรมช่วงปี 1986-1991 กับการฆาตกรรมต่อเนื่องที่เกิดกับหญิงสาวในวันที่ฝนตก โดยเป้าหมายของ Bong Joon-Ho จะเป็นความพยายามในการไขปริศนาฆาตกรต่อเนื่องผ่านสองตำรวจคู่หูที่จิตใจค่อยๆดำดิ่งสู่ด้านมืดไปพร้อมกับความจริงที่ไม่อาจหาข้อสรุป ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้คนต่างทราบกันดี แต่ทว่าสิ่งที่สอดแทรกระหว่างทางก็ดูมีความสำคัญและน่าสนใจไม่แพ้กัน โดยเฉพาะเบื้องหลังการทำงานของตำรวจอย่างการใช้กำลังบีบเค้นข้อมูลจากผู้ต้องสงสัย หรือการจับแพะรับบาปมาลงโทษ ที่นับเป็นเรื่องหมิ่นเหม่ทางศีลธรรมจริยธรรมและเป็นการสะท้อนความเป็นจริงร่วมสมัยออกมาได้อย่างโจ่งแจ้ง
2. Oldboy (2003)
ผลงานลำดับที่สองจาก "เดอะ เวนเจินซ์ ทริโลจี้" ที่คว้ารางวัลกรังด์ปรีซ์จากเทศกาลหนังเมืองคานส์ครั้งที่ 57 และนับเป็นการแจ้งเกิดอย่างเต็มตัวของ Park Chan-Wook กับผลงานนีโอนัวร์ซึ่งมีพล็อตเรื่องสุดแปลกที่พาตัวเอกเข้าสู่วังวนแห่งการล้างแค้นที่เต็มไปด้วยปมซ่อนเร้นมากมาย และการโยงใยสู่ตอนจบที่สะเทือนใจผู้ชมเป็นอย่างยิ่ง โดยหนังเปิดปมด้วยตัวเอกของเรื่องที่ถูกขังไว้ในห้องเล็กๆ จนเวลาผ่านไป 15 ปี ก็ถูกปล่อยออกมาเป็นอิสระ ซึ่งหนังจะโฟกัสไปยังตัวเอกที่พยายามสืบหาผู้อยู่เบื้องหลัง ว่าแท้จริงแล้วมีจุดประสงค์อะไรที่ต้องทำเช่นนี้ ขณะเดียวกันเขาก็ได้พบหญิงสาวปริศนาคนหนึ่งที่เหมือนจะมีชะตาต้องกันตั้งแต่แรกพบ และจะกลายเป็นตัวแปรที่มีผลต่อการตัดสินใจเหตุการณ์ครั้งสำคัญในช่วงท้ายเรื่อง
1. Train to Busan (2016)
ปรากฏการณ์หนังซอมบี้เกาหลีที่แผ่ขยายความสำเร็จไปทั่วโลก จนฝั่งผู้สร้างทางฮอลลีวู้ดต้องขอซื้อลิขสิทธิ์เพื่อนำไปสร้างใหม่อีกครั้ง นับเป็นอีกหนึ่งผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมจากความมุ่งมั่นในการพัฒนาอุตสาหกรรมหนังเกาหลีตลอดเกือบสองทศวรรษ โดยจุดแข็งของหนังคือส่วนผสมอันสดใหม่และดูลงตัวระหว่างการเป็นหนังบล็อกบัสเตอร์แนวซอมบี้กับเอกลักษณ์เมโลดราม่าสไตล์เกาหลี ที่เปี่ยมไปด้วยความรัก การเสียสละภายใต้สถานการณ์ที่มนุษย์ต่างปลดปล่อยสัญชาตญาณดิบในการเอาตัวรอด อีกทั้งหนังยังแบ่งสัดส่วนการเล่าเรื่องได้อย่างเหมาะสม โดยใช้เวลาเพียง 20 นาทีในการปูความสัมพันธ์และทำความรู้จักเหล่าตัวละครหลัก ก่อนจะพาเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความระทึกขวัญแบบนอนสต็อปกับการหนีตายจากเหล่าซอมบี้ที่มีความปราดเปรียวและความเกรี้ยวกราด
.
.
.
.
.
.
.
ทวิตเตอร์เพจ @Review_Me_ พูดคุยหนังทั่วไปเเละซีรีส์(โดยเฉพาะฝั่งเกาหลี)
ขออนุญาตฝากเพจนะครับ
https://www.facebook.com/Criticalme
เเละขออนุญาตฝากไอจีเพจด้วยนะครับ @review_me__
เป็นพื้นที่สำหรับรีวิวหนังสือนิยายต่างๆโดยเฉพาะแนวสืบสวน