วันนี้ ..... ดาวหาง 21P/Giacobini–Zinner จะโคจรเข้าใกล้โลก

กระทู้สนทนา
สวัสดีครับ อมยิ้ม17   วันนี้ผมมีข่าวดาราศาสตร์สั้น ๆ มาแจ้งให้ทราบครับ

วันนี้ (จันทร์ 10 กันยายน 2018)  จะมีดาวหางชื่อว่า 21P/Giacobini–Zinner  ผ่านใกล้โลกครับ
ดาวหาง 21P/Giacobini–Zinner นี้  ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 1900  โดย  Michel Giacobini
นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส    และต่อมาในวันที่ 23 ตุลาคม 1913  ก็ได้ถูกค้นพบอีกครั้งหนึ่งโดย  Ernst Zinner  
นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน  หลังจากการหายไปจากการสำรวจติดตามนานถึง 13 ปี   ดังนั้น ต่อมาภายหลัง
จึงได้กำหนดชื่อดาวหางดวงนี้ให้ครองชื่อร่วมกันเป็นดาวหาง 21P/Giacobini–Zinner ครับ

คำว่า 21P  หมายความว่าดาวหางดวงนี้เป็นลำดับที่ 21  ในลำดับการคำนวณวงโคจรของดาวหางคาบสั้น
โดยที่ 1P หรือดาวหางคาบสั้นดวงแรกที่ได้มีการคำนวณอย่างสมบูรณ์ คือ ดาวหาง Hellay นั่นเองครับ

ดาวหาง 21P/Giacobini–Zinner  เป็นดาวหางคาบสั้น  มีช่วงเวลาการโคจรเพียง 6.4 - 6.6 ปี
มีขนาดของนิวเคลียสแค่ 2 กิโลเมตรเท่านั้น  วงโคจรของ 21P/Giacobini–Zinner  ก็ตามภาพนี้เลยครับ
คือไปไกลแค่บริเวณดาวพฤหัสเท่านั้น  และถูกอิทธิพลแรงโน้มถ่วงจากดาวพฤหัสรบกวนบ่อย
ทำให้วงรอบการโคจรเปลี่ยนแปลงไปมาระหว่าง 6.4 - 6.6 ปี

ภาพวงโคจรของ 21P/Giacobini–Zinner


ในวันที่ 10 - 11 กันยายน นี้  ดาวหาง 21P/Giacobini–Zinner จะผ่านใกล้โลกมากที่สุด
ในระยะ 58.5 ล้าน กิโลเมตร  ซึ่งจะมีความสว่างปรากฏ (Apparent magnitude) เพียงแค่
+7 magnitude เท่านั้นครับ  ซึ่งตาเปล่าของคนเราจะมองเห็นได้ที่ +6.5 magnitude ลงไป
(ค่า magnitude ตัวเลขยิ่งน้อย  ยิ่งสว่าง  ยิ่งติดลบก็ยิ่งสว่าง)  ดังนั้น  ดาวหางดวงนี้จะต้อง
มองด้วยกล้องดูดาวเท่านั้น

ภาพดาวหาง 21P/Giacobini–Zinner  ถ่ายโดย Alexander Vasenin  เมื่อ 18 สิงหาคม 2018

สวัสดีครับ อมยิ้ม17
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่