ปัญหาทางผ่าน/ทางภาระจำยอมในที่ดินจัดสรรกรมพัฒนาที่ดืนรืมคลองประปา

จขกท.ได้รับมรดกจากพี่ชายเป็นที่ดินจัดสรรแปลงเล็กๆ ที่ซื้อมา 40 ปีที่แล้วจากกรมพัฒนาที่ดิน อยู่ริมคลองประปา ช่วงระหว่างถนนแจ้งวัฒนะและสรงประภา  มีถนนเมนใหญ่ในที่จัดสรร มีแท๊งค์น้ำซีเมนต์ขนาดใหญ่  หลังจากนั้นที่ดินจัดสรรดังกล่าวไม่มีการพัฒนาใดๆ จน 10 กว่าปีต่อมา มีเมือทองธานี หมู่บ้านจัดสรรรายรอบเพิ่มขึ้นเนื่อยๆ   จขกท.ไปอยู่ ตจว.นานมาก กลับมาหาที่ดินไม่พบ ถูกกลืนหายไปในหมู่บ้านจัดสรร ต้องไปขอรังวัดที่ดินใหม่  ที่ดินอยู่ริมถนนเมน แต่เข้าไปถมที่ไม่ได้เนื่องจากทราบว่าหมู่บ้านจัดสรรเรียกค่าผ่านทาง ที่ดินแปลงละประมาณ 1-2 แสนบาท ได้สอบถาม สนง.ที่ดินปากเกร็ด ได้ความว่า นาย บจ.พลก.เจ้าของเดิมอดีตอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินได้ขายที่ดินที่เหลือให้บ้านจัดสรร  ยกเว้นถนนเมน  ไม่ได้โอนให้  แต่หมูบ้านสามารถเรียกเก็บค่าพัฒนาทำถนน  วางท่อน้ำ เดินเสาไฟได้  ถ้าไม่จ่ายจะโดนฟ้อง  ที่สำคัญไม่ใหารถขนดินผ่านซุ้มทางเข้าที่หมู่บ้านอ้างว่า/ได้ซื้อที่ดินตรงทางเข้าแล้ว ผู้เข้าไปสร้างบ้านใหม่จะต้องเสียค่าภาระจำยอม  ดังกล่าวข้างต้น  ปัญหานี้คาราคาซังมาหลายปี เจ้าของที่ดินทีซื้อจากกรมพัฒนาที่ดินไม่สามารถเข้าไปพัฒนาที่ดินของตนได้  เป็นผลให้ที่ดินจัดสรรรถูกปล่อยรกร้างจำนวนมาก พัฒนาไม่ได้ ขายก็ไม่มีคนอยากซื้อ เพราะติดปัญหาค่าภาระจำยอมดังกล่าว

ประเด็นคำถาม
1.ผู้จัดสรรรายแรก  สามารถเอาที่ภาระจำยอมส่วนกลาง คือ ถนนทางเข้าที่ดินหลัก(มีทางเข้าออกเพียงจุดเดียว)ไปขายให้เอกชน  ที่ทำบ้านจัดสรรและปิดกั้นเรียกค่าผ่านทางจากผู้เมีกรรมสิทผธิที่ดินด้านในก่อนการสร้างบ้านจัดสรรภายหลังนั้นถูกต้องหรือไม่
2. ถนนเมนเป็นภาระจำยอมของเจ้าของที่เดิม เพื่อให้ผู้ที่ดินได้ใช่ร่วมกัน หมู่บ้านจัดสรรมาพัฒนาเพิ่ม อ้างสิทธิภาระจำยอม+ต่าพัฒนาที่ดินตามอำเภอใจจากเจ้าของที่ดินที่จะไปสร้างที่อยู่อาศัย โดยแจ้งว่าปีกน้าจะเพิ่มเป็น 2 เท่า เหมือนเร่งรัดให้ผู้มีที่ดินด้านในเร่งจ่าย  จึงข้องใจว่ามีกฏหมายรองรับหรือไม่ในการกำหนดการเรียกทั้งค่าผ่านทางภาระจำยอมและค่าพัฒนาที่ดิน

อนึ่ง ค่าภาระจำยอมกมู่บ้าน้รียกเก็ครั้งแรกครั้งเดียว ตามขนาดที่ดิน  ปัญหาที่เจ้าของที่ดินจัดสรรไม่ยินยอม โดยเห็นว่าอ้างสิทธิไม่เป็นธรรม และเรียกค่าผ่านใช้ทาง แพงเกินไป

ขอทราบประสบการณ์ท่านที่เคยประสบปัญหาในลักษณะดังกล่าว และผู้ที่ ทราบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวด้วย จะขอบคุณมาก

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
มีคำพิพากษาเทียบเคียงนะครับ คำพิพากษาฎีกาที่ 1157/2553 ที่วินิจฉัยว่า เมื่อฟังได้ว่า ด. จัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยจำนวนตั้งแต่ 10 แปลง และได้มีการให้คำมั่นว่าจะจัดให้ทางพิพาทเป็นทั้งทางเดินและทางรถยนต์สำหรับเข้าออกสู่ทางสาธารณะด้วย ตรงตามความหมายของการจัดสรรที่ดิน ทางพิพาทจึงตกอยู่ในภาระจำยอมโดยผลของกฎหมายเพื่อประโยชน์แก่การจัดสรรที่ดินตามข้อ 30 วรรคหนึ่ง ของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 จำเลยในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทางพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์จะกระทำการใดๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกหาได้ไม่ การที่จำเลยยินยอมให้ผู้อื่นสร้างรั้วคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในทางพิพาทของจำเลยจึงฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำเลยต้องรื้อรั้วและทำให้ที่ดินพิพาทอยู่ในสภาพเดิม    

ดังนั้น ตามคำถามที่ถามมาจึงไม่น่าจะทำได้  แต่เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง แนะนำให้ทำเป้นหนังสือหารือไปที่กรมที่ดิน จะชัดเจนที่สุดครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่